Home > Cover Story (Page 151)

ฟื้นเศรษฐกิจแบบไทยไทย? ตามรอย Discover Thainess

  พลันที่เสียงระเบิดดังกึกก้องไปทั่วบริเวณสี่แยกราชประสงค์ ควันไฟและเศษฝุ่นปูนที่ลอยคละคลุ้งอยู่ในอากาศเพิ่งจางหายไปไม่นาน นับเป็นเหตุการณ์ระทึกขวัญที่สร้างความตระหนกให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวไม่น้อย ส่งผลให้มีการยกเลิกการจองโรงแรมสำหรับเข้าพักในบางพื้นที่ ความวิตกปรากฏอยู่เพียงไม่นานเมื่อทุกชีวิตยังต้องดำเนินต่อไปท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดขึ้นทันตา แน่นอนว่าหลายฝ่ายเป็นกังวลต่อเหตุดังกล่าว ว่าจะส่งผลให้สถานการณ์การท่องเที่ยวของไทยที่กำลังขยายตัวอยู่อย่างต่อเนื่องชะลอตัวลง ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจของไทยกำลังน่าเป็นห่วง ซึ่งรายได้จากการท่องเที่ยวอาจจะช่วยพยุงและหนุนนำการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยได้บ้าง ซึ่งหากดูจากสถิติตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2558 มีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 30.93 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา และมีรายได้จากการท่องเที่ยว 826,867.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.95  โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามียุทธศาสตร์การปฏิรูปท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560 ซึ่งมุ่งเน้นในด้านมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นสุดท้าย ทั้งนี้หลังจากเปิดระดมความคิดเห็นจากหลายฝ่ายจึงได้ข้อสรุป 3 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1. ยุทธศาสตร์ปฏิรูปด้านการตลาด 2. ยุทธศาสตร์ปฏิรูปด้านการพัฒนาสินค้าและบริหารท่องเที่ยว และ 3. ยุทธศาสตร์ปฏิรูปด้านการบริหารจัดการ ปีแห่งการท่องเที่ยววิถีไทย อีกหนึ่งแคมเปญที่ภาครัฐตั้งธงขึ้นมาเพื่อหวังให้เป็นหมากสำคัญที่จะทำคะแนนได้ ซึ่งแม้จะได้ผลอยู่บ้างจากการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างหนักหน่วง หากแต่เกิดคำถามขึ้นในเวลาที่เรากำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนว่า การท่องเที่ยวไทยมาถูกทางหรือไม่ จะดีกว่าไหมหากจะมองข้ามความงามอันฉาบฉวย แล้วหันกลับมามองให้ลึกถึงทรัพยากรที่มีอยู่และพัฒนาเพื่อผลประโยชน์อันจีรัง นอกจากยุทธศาสตร์การปฏิรูปท่องเที่ยวไทยแล้ว กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวฯ ยังผลักดันกลยุทธ์พัฒนาเชิงพื้นที่ 5 คลัสเตอร์ รีแบรนดิ้งพลิกโฉมท่องเที่ยวไทย ยกระดับจากแหล่งท่องเที่ยวราคาถูกสู่แหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ โดยมีสาระสำคัญของแผนพัฒนาการท่องเที่ยวทั้ง

Read More

ถอดรหัสท่องเที่ยวอินเดีย “Incredible” อย่างเป็นระบบ

  พลันที่เสียงระเบิดดังกึกก้องกัมปนาทและส่งผลให้เกิดความสูญเสียแก่ทั้งชีวิตผู้คนและทรัพย์สิน โดยรอบย่านราชประสงค์เมื่อ 17 สิงหาคมที่ผ่านมา ดูเหมือนว่ากิจกรรมด้านการท่องเที่ยวซึ่งผูกพันกับประเด็นว่าด้วยสวัสดิภาพความปลอดภัยจะได้รับการหยิบยกและคาดการณ์ถึงผลกระทบที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง แต่ระยะเวลาเพียงสามสัปดาห์หลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่ว่านี้ การประเมินความเสียหายหรือทิศทางแนวโน้มในอนาคตอาจไม่ปรากฏชัดเจนมากนัก แม้ว่าในเบื้องต้นจะมีตอบสนองในเชิงลบว่าด้วยการยกเลิกการเดินทางหรือการจองบ้างก็ตาม ซึ่งนั่นอาจเป็นเหตุปกติท่ามกลางกลุ่มควันที่เพิ่งปกคลุมและยังไม่ทันได้จาง ความพยายามที่จะกระตุ้นและอาศัยการท่องเที่ยวให้เป็นส่วนหนึ่งในการแสวงหารายได้เข้าสู่ประเทศมิได้เกิดขึ้นเฉพาะในกรณีของประเทศไทยเท่านั้น หากในความเป็นจริงดูเหมือนว่าเกือบทุกประเทศทั่วโลกจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ในระดับดีกรีความเข้มข้นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพียงแต่ในรายละเอียดของการส่งเสริมการท่องเที่ยวนั้นจะดำเนินไปท่ามกลางมิติและจุดขายที่มุ่งเน้นเพื่อหนุนส่งสถานภาพของแต่ละประเทศในสังคมโลกอย่างไรเท่านั้น หากประเมินในมิติที่ว่านี้ กรณีของ Incredible India ซึ่งเป็นการรณรงค์ส่งเสริมการท่องเที่ยวของอินเดียที่ดำเนินมาตั้งแต่เมื่อปี 2002 ดูจะเป็นตัวอย่างที่ดีในการสร้างและขยายตลาดการท่องเที่ยว ที่ประสบผลสำเร็จจนกลายเป็นแบรนด์ที่มีบทบาทอิทธิพลในตลาดการท่องเที่ยวในระดับนานาชาติไม่น้อยเลย การส่งเสริมการท่องเที่ยวของอินเดียในช่วงก่อนหน้าปี 2002 ก็คงไม่แตกต่างจากความพยายามที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศอื่นๆ ที่พยายามออกโบรชัวร์หรือแผ่นพับแนะนำประเทศและจุดท่องเที่ยวสำคัญหลากหลาย ควบคู่กับการจัดกิจกรรมพิเศษในแต่ละคราวแต่ละวาระ ตามแต่ที่โอกาสและความสามารถในการบริหารจัดการจะเอื้ออำนวย ซึ่งย่อมไม่สามารถลงหลักปักหมุดให้เกิดความรู้สึกตระหนักรู้ในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยังไม่นับรวมการบริหารจัดการด้านงบประมาณจำนวนมากที่เมื่อเทียบกับประโยชน์ที่จะได้รับเป็นผลตอบแทนในรูปของจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้เข้าสู่ประเทศ ที่อาจไม่เกิดความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ เพราะขาดยุทธศาสตร์ที่เชื่อมโยงและต่อเนื่องอีกด้วย แต่พลันที่รัฐบาลอินเดียริเริ่มแผนการรณรงค์ภายใต้ Incredible India ปรากฏว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าสู่อินเดียมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและเติบโตด้วยอัตราเร่งที่น่าสนใจ โดยข้อมูลจาก Visa Asia Pacific เมื่อปี 2006 หรือหลังจากที่ Incredible India ได้รับการนำเสนอสู่สาธารณะเพียง 4 ปีระบุว่า อินเดียกลายเป็นจุดหมายปลายทางและตลาดการท่องเที่ยวที่เติบโตอย่างรวดเร็วของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของการจับจ่ายใช้สอยของนักท่องเที่ยวนานาชาติ ซึ่งตัวเลขในรายงานระบุว่าในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2005 (ตุลาคม-ธันวาคม) มีนักท่องเที่ยวใช้จ่ายเงินตราในการท่องเที่ยวอินเดียมากถึง 372 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 25

Read More

มอง “เศรษฐกิจดิจิตอล” ผ่านมายาของ ทีวีโฮมช้อปปิ้ง

  ทีวีโฮมช้อปปิ้งเติบโตอย่างต่อเนื่องสวนกระแสภาวะเศรษฐกิจขาลง ในปัจจุบันนี้ ซึ่งดูได้จากการขยายตัวต่อเนื่อง โดยคาดว่าในปีนี้จะมียอดขายรวม 8,000 ล้านบาท หรือเติบโตร้อยละ 20–25 จากปีก่อนที่มียอดขายรวม 6,000 ล้านบาท และคาดการณ์ว่า 3- 5 ปีข้างหน้ายอดขายทีวีโฮมชอปปิ้งจะสูงถึง 20,000–30,000 ล้านบาท ทีวีโฮมช้อปปิ้งเป็นการหามูลค่าเพิ่มจากกิจการโทรทัศน์ แต่ก็เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่จะเป็นจิ๊กซอว์ในการขับเคลื่อนไปสู่ creative economy และ digital economy แม้ว่าจะเป็นธุรกิจที่ยังเล็ก แต่เป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตทุกขณะ สวนกระแสสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ในขณะที่บางประเทศ เช่น เกาหลีใต้ ซึ่งถือเป็นเบอร์หนึ่งของอุตสาหกรรมโฮมช้อปปิ้งในโลก และเป็นต้นแบบของอุตสาหกรรมนี้ มีการเติบโต และสร้างรายได้มากถึง 400,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งนับว่าช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นหลังภาวะวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในเอเชียหรือวิกฤตต้มยำกุ้ง เมื่อปี 2540 ซึ่งเกาหลีใต้ได้พัฒนาแนวคิดและเริ่มดำเนินการทีวีโฮมช้อปปิ้งในปี 2542 และสามารถสร้างรายได้พร้อมกับเป็นกลไกส่วนหนึ่งที่ทำให้เกาหลีใต้ฟื้นตัวกลับมาอย่างรวดเร็ว  ในส่วนของประเทศไทย กสทช. พยายามศึกษาแนวทางและนำหลักการของธุรกิจนี้ของเกาหลีใต้ มาประยุกต์ใช้กับประเทศไทย ภายใต้ปัจจัยหนุนหลายประการ เช่น การเกิดขึ้นของทีวีดิจิตอล การเพิ่มช่องฟรีทีวี พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปโดยหันมานิยมซื้อสินค้าทางทีวีมากขึ้น รวมถึงการออกใบอนุญาตของ

Read More

ทีวีโฮมช้อปปิ้ง การผสานของมีเดียและสินค้า

 โทรทัศน์ถือได้ว่าเป็นสื่อดั้งเดิมที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่ายและมีอิทธิพลมากที่สุด ขณะที่ปัจจุบันอุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์ไทยก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ หรือที่อาจเรียกได้ว่าเป็นการปฏิวัติวงการทีวีเมืองไทย นั่นคือการเปลี่ยนจากระบบอะนาล็อกสู่ยุคระบบทีวีดิจิตอล พร้อมการเพิ่มช่องทางฟรีทีวี จาก 6 ช่อง เป็น 24 ช่อง  หลายธุรกิจได้รับอานิสงส์ในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ โดยเฉพาะธุรกิจที่ทำมาหากินผ่านสื่อโทรทัศน์ ธุรกิจทีวีโฮมช้อปปิ้ง (TV Home Shopping) ก็เป็นหนึ่งธุรกิจในการเปลี่ยนครั้งสำคัญนี้  แม้ภาพรวมเศรษฐกิจของไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2558 จะอยู่ในทิศทางที่ชะลอตัวลง จากประกาศตัวเลขของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ GDP ของประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 3% ขณะที่ภาพรวมดัชนีสมาคมผู้ค้าปลีกไทยครึ่งปีแรกปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 2.8 ทั้งนี้ เป็นผลจากปัจจัยลบต่างๆ จากทั้งต่างประเทศและในประเทศ ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจชะลอตัวดังกล่าว ธุรกิจทีวีโฮมช้อปปิ้งในปีนี้กลับขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเติบโตร้อยละ 20–25 จากปีที่แล้ว ซึ่งมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ประมาณ 6,000 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นมาสู่ระดับประมาณ 8,000 ล้านบาทในปัจจุบัน ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือ แม้ทีวีโฮมชอปปิ้งจะเป็นธุรกิจที่ไม่ใหญ่ แต่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและเป็นแบบก้าวกระโดด คู่ขนานกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค และความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ขณะที่บางภาคส่วนถึงขนาดนำทีวีโฮมช้อปปิ้งไปผนวกรวมให้เป็นส่วนหนึ่งและเป็นตัวแบบในการพัฒนา Digital Economy ที่คาดหวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่จะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตได้ จากการผสมผสานของอุตสาหกรรมบอร์ดแคสติ้ และอุตสาหกรรมค้าปลีก

Read More

“Symbol of Trust” มาตรฐานทีวีโฮมช้อปปิ้งไทย?

 ความพยายามที่จะยกระดับและสร้างมาตรฐานกิจการทีวีโฮมช้อปปิ้ง ซึ่งกำลังเกิดขึ้นและผุดพรายราวดอกเห็ดในฤดูฝน โดยเฉพาะในยุคหลังจากที่ช่องทีวีไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะสถานีหลักในแบบเดิม หากยังมีสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม เคเบิลทีวี และดิจิตอลทีวี มาช่วยขยายและเพิ่มช่องทางการจำหน่ายอีกด้วย การแสวงหาความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการทีวีโฮมช้อปปิ้ง ที่จะร่วมกันสร้างบรรทัดฐานทางธุรกิจ ทั้งในมิติของการสร้างภาพลักษณ์ของธุรกิจ การร่วมกันจัดวางกฎระเบียบ รวมถึงการให้ความคุ้มครองกับผู้บริโภคที่เข้ามาเป็นผู้ซื้อสินค้า และมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ที่จะจัดหน่าย เป็นกรณีที่ดำเนินสืบเนื่องมาเป็นระยะ หากย้อนหลังกลับไปตั้งแต่เมื่อทีวีโฮมช้อปปิ้งได้เข้ามาสู่การรับรู้ของสังคมไทย เมื่อช่วงปี 1994 หรือเมื่อประมาณ 20 ปี ล่วงมาแล้ว พบว่าธุรกิจดังกล่าวได้จุดกระแสทั้งความสนใจและวิพากษ์จากสังคมวงกว้างอยู่เป็นระยะ ทั้งในมิติของกฎระเบียบจากภาครัฐ ที่ขาดความชัดเจน การโฆษณาสินค้าด้วยสรรพคุณที่พิเศษเกินจริง ซึ่งทำให้ธุรกิจทีวีโฮมช้อปปิ้ง ต้องเผชิญกับปัญหาว่าด้วยภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือจากสังคมตลอดมา “การเกิดขึ้นของสมาคมทีวีโฮมช้อปปิ้งประเทศไทย ไม่ได้ยุติปัญหาให้หมดไป เพราะยังมีประเด็นการขายโฆษณา การให้บริการลูกค้า และคุณภาพของสินค้าที่พึงมีในอนาคต แต่เราพยายามควบคุมและจัดการให้ลดน้อยลง และที่สำคัญ ในทุกๆ ครั้งที่เกิดปัญหา ก็จะมีคนรับผิดชอบตั้งแต่เริ่มต้น จนจบทุกกรณีไป นั่นคือ ความตั้งใจของการก่อตั้งสมาคมทีวีโฮมช้อปปิ้ง ประเทศไทย” ทรงพล ชัญมาตรกิจ นายกสมาคมทีวีโฮมช้อปปิ้ง (ประเทศไทย) ระบุในงานเปิดตัวสมาคมฯ เมื่อไม่นานมานี้ การจัดตั้งสมาคมผู้ประกอบการทีวีโฮมช้อปปิ้ง เป็นความพยายามที่ดำเนินต่อเนื่องมานับปี โดยในเบื้องต้นมีบริษัทผู้ประกอบการธุรกิจทีวีช้อปปิ้ง 5 รายประกอบด้วย “ทรูซีเล็คท์-ช้อปแชนแนล-โอช้อปปิ้ง-ทีวีไดเร็ค-ทีวีดีช้อป” ประกาศความร่วมมือจัดตั้ง

Read More

ถอดรหัส “วรวุฒิ อุ่นใจ” ดัน “เซ็นทรัลออนไลน์” โตหมื่นล้าน

  20 กว่าปีก่อน “วรวุฒิ อุ่นใจ” เข้ามาพลิกฟื้นธุรกิจครอบครัว ร้านขายเครื่องเขียน “กิจวิทยา สเตชั่นเนอรี่” ที่กำลังอยู่ในสภาพย่ำแย่ เปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายจากลูกค้าทั่วไปเป็นกลุ่มองค์กร ฝ่ายจัดซื้อของบริษัทต่างๆ จนในที่สุดกลายเป็นจุดเริ่มก่อตั้งบริษัท ออฟฟิศเมท จำกัด สร้างกลยุทธ์ใหม่ขายสินค้าผ่านแค็ตตาล็อก และรับคำสั่งซื้อทางโทรศัพท์ หรือ Call Center แข่งขันกับซูเปอร์สโตร์อย่าง “แม็คโคร ออฟฟิศ” และ “ออฟฟิศดีโป”  เปิดบริษัทแค่ 2 ปี เจอวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 แต่ออฟฟิศเมทใช้เวลาไม่ถึง 6 เดือน พลิกสถานการณ์สร้างยอดขายเติบโตขึ้น 3 เท่า และเดินหน้าพัฒนาธุรกิจ ทำระบบการสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์ ซีดี-รอม แค็ตตาล็อก นำระบบโรดแมปควบคุมและวางแผนเส้นทางการจัดส่งสินค้า การปรับปรุงระบบคอลเซ็นเตอร์ เริ่มพัฒนาสินค้าเฮาส์แบรนด์ ในชื่อ “Dee Den” และ “Furradec” ปี 2542 วรวุฒิเปิดเว็บไซต์ www.officemate.co.th เพิ่มช่องทางการสั่งสินค้าของลูกค้าง่ายยิ่งขึ้น ปี

Read More

“เซเว่นอีเลฟเว่น” รุกขยาย เครือข่ายออนไลน์กินรวบ

 ทิศทางธุรกิจค้าปลีกครึ่งปีหลังนอกจากเจอปัจจัยลบหนักหน่วง ทั้งหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น กำลังซื้อลดต่ำลง ล่าสุดเหตุระเบิดกลางสี่แยกราชประสงค์ดับฝันการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และมีแนวโน้มลุกลามถึงสิ้นปี ส่งผลให้ทุกค่ายเร่งงัดกลยุทธ์ปลุกกำลังซื้อ โดยเฉพาะคอนวีเนียนสโตร์ที่มีลูกค้าระดับกลางและล่างเป็นกลุ่มหลัก แต่ต้องถือว่า “เซเว่นอีเลฟเว่น” มีจุดแข็งด้านเครือข่ายธุรกิจเหนือคู่แข่งหลายขุมมาก ล่าสุด ค่ายเทสโก้โลตัสประกาศยุบโมเดลร้านสะดวกซื้อ “365” และปิดสาขานำร่องทั้ง 5 แห่ง แม้อ้างเหตุผลข้อสำคัญ เพื่อหันมาโฟกัสโมเดลเอ็กซ์เพรส เพราะตอบโจทย์ผู้บริโภคมากกว่าคอนวีเนียนสโตร์ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเด็นสำคัญอยู่ที่ความสามารถในการแข่งขัน ทั้งที่ทำเลร้าน 365 ล้วนอยู่ใจกลางเมืองและชุมชนหนาแน่น เช่น ประตูน้ำ ทองหล่อ จนต้องถอยกลับมาหาจุดแข็งเดิมเรื่องความหลากหลายและสินค้าราคาถูก  ที่สำคัญ การรุกตลาดของเซเว่นอีเลฟเว่นไม่ใช่แค่หน้าร้านที่มีมากกว่า 8,500 สาขาทั่วประเทศ แต่ยังมีช่องทางออนไลน์ ซึ่งกำลังรุกขยายตลาดใหม่ เจาะกลุ่มลูกค้าใหม่และเปิดเซกเมนต์ใหม่อย่างเข้มข้นด้วย  ปัจจุบัน ภายใต้บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) มีเครือข่ายธุรกิจสนับสนุนคอนวีเนียนสโตร์แบรนด์ “เซเว่นอีเลฟเว่น” ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นบริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด ตัวแทนรับชำระเงินค่าสินค้าและบริการ และเป็นนายหน้าประกันชีวิตและประกันวินาศภัย บริษัท ซีพีแรม จำกัด ผลิตและจำหน่ายอาหารแช่แข็งและเบเกอรี่ บริษัท

Read More

สงครามออนไลน์ ประชันกลยุทธ์แข่งเดือด

 ประเมินกันว่า ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Commerce ทุกช่องทาง ทุกตลาด มีมูลค่าการซื้อขายเกือบ 1 ล้านล้านบาท มีเว็บไซต์ขายสินค้า หรือร้านค้าออนไลน์มากกว่า 1 ล้านเว็บไซต์ และยังมีอัตราเติบโตสูงต่อเนื่อง 30-35% และเคยขยายตัวทะลุเพดาน 50% แต่ในกลุ่มค้าปลีกโมเดิร์นเทรดยังมีสัดส่วนการขายสินค้าออนไลน์หรือ Shopping online น้อยมาก ไม่ถึง 1%  กลายเป็นช่องว่างที่บิ๊กรีเทลต่างพุ่งเป้าเข้ามาสร้างโอกาสและแข่งขันกลยุทธ์การตลาดช่วงชิงลูกค้า รองรับเทรนด์การจับจ่ายซื้อขายรูปแบบใหม่ รวมถึงพฤติกรรมการเข้าถึงสื่อออนไลน์ของผู้บริโภคที่มากเกินกว่า 8  ชั่วโมงต่อวัน โดยเฉพาะการซื้อขายออนไลน์บนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต หรือ M-Shopping  ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA ซึ่งสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตปี 58 ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2558 แบ่งเป็นช่วงอายุ 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม Gen X อายุ 35-50 ปี กลุ่ม Gen Y

Read More

แผนฟื้นฟูการบินไทย เพื่ออนาคตระยะยาวหรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้า?

 กว่าครึ่งทศวรรษที่สายการบินแห่งชาติอย่างการบินไทย ให้บริการขนส่งบนน่านฟ้าด้วยความสุภาพและยิ้มสยามเป็นอัตลักษณ์ หากจะเปรียบการบินไทยเป็นคนคนหนึ่ง คงไม่ยากหากจะจินตภาพถึงคนทำงานที่เกือบปลดระวางเพราะกรำงานมาอย่างหนัก แน่นอนว่าช่วงชีวิตของคนทำงานย่อมเจอกับหลายเหตุการณ์ การบินไทยเองก็เช่นกัน กว่า 50 ปีที่ดำเนินกิจการมามีช่วงเวลาที่สร้างรอยยิ้มให้ทั้งผู้บริหารและผู้ถือหุ้น กระทั่งปี พ.ศ. 2551 ปีแรกที่นับได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ เมื่อการบินไทยประสบสภาวะขาดทุนกว่า 2 หมื่นล้านบาท  กระทั่งการมาถึงของสายการบิน Low Cost ทำให้ธุรกิจการบินมีการแข่งขันที่สูงขึ้น ผู้บริโภคมีทางเลือกเพิ่มขึ้น แน่นอนว่าเป็นการดีต่อผู้บริโภคเมื่อมีสินค้าหรือบริการที่มีความหลากหลาย ไม่เป็นการผูกขาดทางการค้า หากแต่การยืนหยัดที่จะตรึงราคาเดิม ภายใต้เงื่อนไขด้านบริการที่สูงกว่า ส่งผลให้ต้นทุนต่อเที่ยวบินต่อที่นั่งสูงกว่าสายการบินอื่นๆ ที่บินในเส้นทางเดียวกัน ผลสรุปจึงกลายเป็นการติดลบทางบัญชีอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2556 ขาดทุน 12,047 ล้านบาท และ ปี 2557 ขาดทุน 15,573 ล้านบาท กระทั่งผลประกอบการครึ่งปีแรก พ.ศ. 2558 ขาดทุน 8 พันล้านบาท โดยไตรมาสแรกของปี 2558 (มกราคม – มีนาคม) ผลการดำเนินงานของการบินไทย มีกำไรอยู่ที่ 4.4

Read More

ประเมินศักยภาพการบินอาเซียน ฤา สายการบินแห่งชาติพ่าย low cost?

 ข่าวความเป็นไปของสายการบินแห่งชาตินามการบินไทย ที่กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างและฟื้นฟูธุรกิจจากที่ประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่องและสะสมยาวนาน ไม่เพียงแต่สั่นคลอนองค์กรธุรกิจแห่งนี้โดยลำพังเท่านั้น หากแต่ยังก่อให้เกิดคำถามถึงศักยภาพการแข่งขันของประเทศในห้วงยามที่กำลังจะเดินหน้าเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนไปโดยปริยายด้วย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือในบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศต่างมีสายการบินแห่งชาติหรือ flag carrier ซึ่งเป็นประหนึ่งธงนำในการสื่อแสดงสัญลักษณ์และความจำเริญก้าวหน้าของแต่ละประเทศไปสู่สาธารณชนในระดับนานาชาติ และต่างมีภูมิหลังที่มาในฐานะวิสาหกิจของรัฐที่ได้รับการคุ้มครองและสนับสนุนมาอย่างยาวนาน แต่ภูมิทัศน์ของอุตสาหกรรมการบินได้ปรับเปลี่ยนไปอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการบินในระดับนานาชาติถูกบีบอัดด้วยข้อจำกัดและส่วนต่างของผลกำไรที่ลดลงอย่างมากในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา และเป็นผลให้สายการบินแต่ละแห่งต้องเร่งปรับปรุงการบริหารจัดการทั้งในมิติของการลดต้นทุนการดำเนินการและการเร่งสร้างความเติบโตทางรายได้ควบคู่ไปด้วย ประเด็นที่น่าสนใจติดตามก็คือ อุตสาหกรรมการบินถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากมิติของรายได้ ซึ่ง International Air Transport Association (IATA) ระบุว่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการบินมีรายได้เพิ่มจาก 3.69 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2004 มาสู่ระดับ 7.46 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2014 หรือเพิ่มขึ้นเท่าตัวเลยทีเดียว แม้แนวโน้มของอุตสาหกรรมการบิน จะยังปรากฏแสงเรืองรอง นั่นก็มิได้หมายความว่าผู้ประกอบการสายการบินจะสามารถคาดหมายและบันทึกตัวเลขผลกำไรอย่างเป็นกอบเป็นกำและสม่ำเสมอลงในรายงานผลประกอบการเช่นในอดีต ซึ่งคงเป็นสิ่งที่หาได้ยากในสถานการณ์ปัจจุบัน ปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้อุตสาหกรรมการบินในระดับนานาชาติยังเติบโตต่อเนื่องอยู่ที่การเกิดขึ้นและขับเคลื่อนของสายการบินประเภท Low-Cost Carriers (LCCs) ซึ่งครอบครองส่วนแบ่งตลาดการบินอยู่ในสัดส่วนที่มากถึงร้อยละ 25 และยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องในตลาดเกิดใหม่และกำลังพัฒนา ขณะเดียวกันสายการบิน low-cost เหล่านี้ก็สามารถเบียดแทรกเข้าไปทำตลาดและเติมเต็มช่องว่างในตลาดที่พัฒนาแล้วได้อีกด้วย กล่าวเฉพาะสำหรับตลาดการบินในอาเซียนซึ่งถือเป็นตลาดการบินที่มีการเติบโตและแข่งขันสูงที่สุดภูมิภาคหนึ่งของโลก พบว่ากว่าร้อยละ 60

Read More