Home > Cover Story (Page 144)

“บ้านนพวงศ์” โรงแรมบูติกกลางเกาะรัตนโกสินทร์ การอนุรักษ์ที่เดินควบคู่ไปกับการพัฒนา

  ท่ามกลางกระแสการอนุรักษ์ความเป็นไทยในมิติต่างๆ ที่กำลังเป็นที่สนอกสนใจของผู้คนอยู่ในขณะนี้ บ่อยครั้งที่เราพบว่า ความพยายามในการอนุรักษ์จะจบอยู่ที่การคงสิ่งที่มีอยู่เดิมเอาไว้เพียงเท่านั้น แต่มิติของการพัฒนาต่อเพื่อล้อไปกับความเปลี่ยนแปลงของกาลเวลาและเพิ่มมูลค่าให้กับความเก่าเหล่านั้น กลับมีให้เห็นได้น้อย จากสี่แยกคอกวัวบนถนนราชดำเนินกลาง ถนนที่อัดแน่นไปด้วยประวัติศาสตร์ทางการเมืองและสังคม เดินตัดเข้าไปยังซอยดำเนินกลางใต้ด้านหลังอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ไม่ไกลนัก เราจะพบกับ “บ้านนพวงศ์” บ้านไม้สีขาวสไตล์โคโลเนียลที่ดูเงียบสงบและงดงาม บ้านเก่าอายุกว่า 70 ปี ที่ปัจจุบันได้รับการปรับปรุงจนกลายเป็นโรงแรมบูติกชื่อดังที่ยังคงเอกลักษณ์บ้านเก่าไว้ได้อย่างครบถ้วน บ้านนพวงศ์เป็นบ้านเก่าของสกุลนพวงศ์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 7ราวๆ พ.ศ.2488 อันเป็นช่วงปลายของสงครามมหาเอเชียบูรพา เพื่อใช้เป็นบ้านพักของหม่อมหลวงดิศพงศ์ นพวงศ์ และสาลี่ นพวงศ์ ณ อยุธยา ได้รับการออกแบบโดย “หลวงบุรกรรมโกวิท” หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งและอดีตนายกสมาคมสถาปนิกสยาม ซึ่งถือเป็นบุคคลสำคัญในวงการสถาปัตยกรรมไทย โครงสร้างบ้านเป็นเรือนไม้สักทรงไทยสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในยุคอาณานิคม และเริ่มแพร่ขยายเข้าสู่ประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 5-6 อันจะเห็นได้จากลวดลายการตกแต่ง ลายฉลุ ช่องแสง การกลึงไม้แบบตะวันตก ผสมกับบ้านไทยที่เน้นช่องลม มีบานกระทุ้ง บานเกล็ด เรือนหลังหน้าเป็นเรือนสำหรับอยู่อาศัย ส่วนเรือนด้านหลังเป็นห้องน้ำและห้องครัวตามลักษณะของบ้านไทยสมัยก่อน จากบ้านพักอาศัยของตระกูล นานวันเข้าก็ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ความคิดในการอนุรักษ์บ้านเก่าของตระกูลนพวงศ์จึงเกิดขึ้น เพื่อคงคุณค่าและเก็บรักษาความทรงจำของบ้านหลังนี้ไว้ แต่นอกเหนือจากการอนุรักษ์ “กันตศม นพวงศ์

Read More

Ari Football Concept Store เปลี่ยนความคลั่งไคล้เป็นธุรกิจ

 สำหรับคอลูกหนังเมืองไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ชื่นชอบรองเท้าสตั๊ดด้วยแล้ว น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก Ari Football Concept Store หรือ “อาริ” ร้านขายอุปกรณ์เกี่ยวกับฟุตบอลแบบครบวงจร ที่เกิดขึ้นมาจากความคลั่งไคล้ในกีฬาลูกหนังของศิวัช วสันตสิงห์ เริ่มต้นจากร้านเล็กๆ เพียงไม่กี่ตารางเมตร ณ วันนี้ อาริขยายสาขาออกไปมากกว่า 10 สาขา ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เติบโตขึ้นจนกลายเป็นธุรกิจที่น่าจับตามอง ร้านอาริก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2553 ด้วยความชื่นชอบในกีฬาฟุตบอลและรองเท้าสตั๊ดเป็นทุนเดิมของศิวัช วสันตสิงห์ บวกกับข้อเท็จจริงที่ว่าขณะนั้นเมืองไทยยังไม่มีร้านขายอุปกรณ์เกี่ยวกับฟุตบอลโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่จะเป็นร้านที่ขายอุปกรณ์กีฬาหลายประเภทรวมๆ กัน  ความคิดที่จะเปิดร้านขายอุปกรณ์เกี่ยวกับกีฬาฟุตบอลแบบเต็มรูปแบบจึงเกิดขึ้น เพื่อให้คนไทยได้มีโอกาสใช้สินค้าที่มีคุณภาพ หลากหลาย ได้ใช้สินค้าของทีมฟุตบอลที่ตัวเองชอบ และหาซื้อสะดวกไม่ต้องเดินทางไปซื้อถึงต่างประเทศ ซึ่งเป็นที่มาของ “Ari Football Concept Store” ร้านขายอุปกรณ์กีฬาฟุตบอลแบบครบวงจร  โดยสาขาแรกตั้งอยู่บนพื้นที่เล็กๆ ขนาดเพียง 25 ตารางเมตร ภายในโครงการอารีน่า 10 ย่านทองหล่อ ด้วยเงินลงทุนตั้งต้น 2 ล้านบาท โดยมีธารา เทย์เลอร์ (Tahra

Read More

แปลงบ้านเก่าเป็นโรงแรม สไตล์ Siam Hotel Maker

  บ่อยครั้งที่เรามักเห็นภาพอาคารบ้านเรือนเก่าแก่แต่ทรงคุณค่าทั้งด้านสถาปัตยกรรมและเรื่องราวในอดีต กลับถูกทิ้งร้าง ทรุดโทรม รอวันผุพังไปตามกาลเวลา และบ่อยครั้งอีกเช่นกันที่บ้านเรือนเหล่านั้นถูกแทนที่ด้วยอาคารสมัยใหม่ชนิดหารากแทบไม่เจอ กลบความมีเสน่ห์และคุณค่าดั้งเดิมของอาคารไปจนเกือบหมดสิ้น แต่ก็มีคนอีกกลุ่มหนึ่งอย่าง “สยาม โฮเทล เมกเกอร์” (Siam Hotel Maker) ที่เห็นคุณค่าและมูลค่าของสิ่งเหล่านี้ พยายามชุบชีวิตตึกเก่า อาคารเก่า ให้กลับมาถ่ายทอดเรื่องราวในอดีตพร้อมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเจ้าของได้ในรูปแบบของโรงแรมขนาดเล็กที่มีเอกลักษณ์และมาตรฐานไม่แพ้โรงแรมใหญ่ สยาม โฮเทล เมกเกอร์ คือบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สำหรับธุรกิจโรงแรมที่พักขนาดเล็ก ตั้งแต่ โรงแรมบูติก (Boutique Hotel), โฮสเทล (Hostel), บัดเจท โฮเทล (Budget Hotel) รวมถึงเบดแอนด์เบรคฟาสต์ (Bed&Breakfast) โดยก่อตั้งขึ้นภายใต้การริเริ่มและบริหารงานของ “กันตศม นพวงศ์ ณ อยุธยา” เจ้าของและสถาปนิกผู้ออกแบบ “บ้านนพวงศ์” บูติกโฮเทลต้นแบบด้านการอนุรักษ์และปรับปรุงอาคารเก่าที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่มีรางวัลชนะเลิศการประกวดในโครงการ “Thailand Boutique Awards 2014-2015” ในหมวด Basic Thematic City Hotel เป็นเครื่องการันตี อาจกล่าวได้ว่าสยาม โฮเทล

Read More

ชฎาทิพ จูตระกูล ผู้หวังสร้างนวัตกรรมค้าปลีก

 หลายต่อหลายครั้งที่ข่าวสารของวงการค้าปลีกไทยที่มักจะวนเวียนอยู่เพียงแค่ไม่กี่กลุ่มบริษัท ซึ่งโดยส่วนใหญ่เนื้อหาสาระที่ถูกกล่าวถึงมักจะเป็นไปในด้านการเปิดตัวโครงการใหม่ การปักหมุดล้อมเมือง การสร้างฐานที่ตั้งทางธุรกิจใหม่ๆ  แต่หากเป็นข่าวสารที่เกี่ยวกับนวัตกรรมการค้าปลีก ชื่อของนักธุรกิจหญิงจากบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ชฎาทิพ จูตระกูล ที่นั่งแท่นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มักจะถูกพูดถึงอยู่บ่อยๆ ในฐานะผู้สร้างปรากฏการณ์ หรือหากจะกล่าวว่าเป็นนักปฏิวัติวงการค้าปลีกดูจะไม่เกินไปนัก ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ว่ามีทิศทางเป็นเช่นไร กระแส Talk of the Town ที่เกิดขึ้นจากแนวความคิดของ ชฎาทิพ จูตระกูล มักจะมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่การคิดการใหญ่ของนักธุรกิจหญิงผู้นี้ที่จับมือกับพันธมิตรที่เป็นผู้ชำนาญด้านการค้าปลีก ร่วมกันพัฒนาสยามพารากอน รวมไปถึงการร่วมกับกลุ่ม MBK ที่ปัดฝุ่นห้างเก่าอย่างเสรีเซ็นเตอร์ และชูให้เป็น “สวรรค์แห่งการชอปปิ้งของกรุงเทพฯ ย่านตะวันออก” และจบที่ชื่อพาราไดซ์พาร์ค กระทั่งอภิมหาโปรเจกต์บนพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยมูลค่าโครงการกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท ที่ร่วมกับกลุ่มซีพี ในการพัฒนาโครงการอสังหาฯ ในชื่อไอคอนสยาม นอกเหนือไปจากการปลุกปั้นโครงการใหม่ๆ แล้ว โครงการ Renovate สยามเซ็นเตอร์ นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากมันสมองของชฎาทิพ และทีมงานมืออาชีพของสยามพิวรรธน์ กระทั่งถึงเวลาที่สยามพิวรรธน์ตัดสินใจที่จะปรับโฉมศูนย์การค้าอย่างสยามดิสคัฟเวอรี่ ภายใต้คอนเซ็ปต์ The Exploratorium โดยมีความพยายามจะทิ้งภาพจำของศูนย์การค้าและปรับสู่การเป็นไฮบริดรีเทลสโตร์แห่งแรกของไทย หลักฐานดังกล่าวทำให้ ชฎาทิพ ถูกสื่อหลายแขนงเขียนถึงในเชิงบวกเสมอ

Read More

Re-Discovery “สยามดิสฯ” ปรับ-เปลี่ยน-ถอด เพื่อเป็นผู้นำ

 หลังจากสร้างปรากฏการณ์จนกลายเป็นกระแส Talk of the Town ให้สยามเซ็นเตอร์ไปเมื่อปี พ.ศ. 2556 ด้วยการปิดปรับปรุงนานถึง 6 เดือน ซึ่งครั้งนั้นสยามพิวรรธน์ใช้งบประมาณไปกว่า 1.8 พันล้านบาท เสียงตอบรับเชิงบวกที่ได้จากการปรับปรุงสยามเซ็นเตอร์ไปเมื่อสามปีก่อน น่าจะสร้างความมั่นใจให้แก่บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ที่นำทัพโดยชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จนบังเกิดเป็นไอเดียที่กำลังจะถูกถ่ายทอดออกมาบนอาคารที่ตั้งอยู่บนย่านสำคัญของการค้าปลีก ห้วงเวลานี้คงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการปรับโฉมสยามดิสคัฟเวอรี่ ถือเป็นการปรับปรุงครั้งที่สอง นับตั้งแต่สยามดิสคัฟเวอรี่เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2540  บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด มักจะสร้างกระแสให้เกิดขึ้นในวงการค้าปลีกอยู่เนืองๆ และมักถูกจับตามองทั้งจากนักธุรกิจ คู่ค้า สื่อมวลชน และลูกค้า ทั้งจากการลงทุนในโครงการใหม่ๆ ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นมหากาพย์แห่งวงการค้าปลีก หรือจากการปรับปรุงรูปลักษณ์ของศูนย์การค้า ที่อุดมไปด้วยดีไซน์ เช่นที่เคยสร้างความโดดเด่นแตกต่างให้แก่สยามเซ็นเตอร์ ซึ่งการันตีได้จากการคว้ารางวัลระดับนานาชาติจำนวน 8 รางวัล รวมถึงการได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งใน 5 ศูนย์การค้าที่ออกแบบดีที่สุดในโลก จากสมาคมศูนย์การค้าระหว่างประเทศ (International Council of Shopping Centers–ICSC) ยิ่งเป็นการตอกย้ำคำว่า

Read More

ศึก “เจฟเฟอร์-ซานตาเฟ่” สเต็กหมื่นล้านร้อนระอุ

  ธุรกิจร้านสเต็กเดือดขึ้นมาทันที เมื่อคู่แข่ง 2 ค่าย “เจฟเฟอร์-ซานตาเฟ่” พร้อมใจเปิดเกมรุกช่วงชิงตลาดที่มีเม็ดเงินมากกว่า 14,000 ล้านบาท โดยเฉพาะ “เจฟเฟอร์สเต็ก” ที่มีแบ็กแข็งแกร่ง ทั้งเงินทุนก้อนใหญ่และตัวผู้บริหารที่เคยปลุกปั้นสินค้าแบรนด์ยักษ์ใหญ่ประสบความสำเร็จมาแล้ว  แน่นอนว่า ชื่อบริษัท เวฟ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ไม่ใช่คนวงในธุรกิจร้านอาหาร ก่อตั้งเมื่อปี 2536 และถือเป็นธุรกิจในกลุ่มครอบครัวมาลีนนท์ โดยเปลี่ยนชื่อจากบริษัท ซีวีดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)   เริ่มแรกผลิตและจำหน่ายตลับวิดีโอเทปก่อนเข้าสู่ธุรกิจผู้ผลิตและจำหน่ายรายการโทรทัศน์ ธุรกิจจัดแสดงคอนเสิร์ตและกิจกรรมต่างๆ เจ้าของลิขสิทธิ์จำหน่ายละครไทยช่อง 3  จนกระทั่ง ดร.แคทลีน มาลีนนท์ ดึงตัวสามี คือ แมทธิว กิจโอธาน เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เกมขยายไลน์ธุรกิจจึงเริ่มต้นอย่างเข้มข้น  3 ปีที่ผ่านมา เวฟเอ็นเตอร์เทนเมนท์ไล่ซื้อกิจการต่อเนื่อง เริ่มจากซื้อกิจการโรงเรียนสอนภาษาวอลล์สตรีท 100% มูลค่า 800 ล้านบาท ถัดจากนั้น ซื้อกิจการบริษัท เจฟเฟอร์ เรสโตรองต์

Read More

A&W-เบอร์เกอร์คิง รุมเขย่าบัลลังก์แชมป์

 ยักษ์ฟาสต์ฟู้ด ทั้งเคเอฟซีและแมคโดนัลด์กำลังเจอศึกเขย่าบัลลังก์แชมป์รอบด้าน โดยเฉพาะล่าสุด เมื่อ A&W Restaurant Inc. USA บรรลุข้อตกลงให้สิทธิ์แฟรนไชส์กับกลุ่ม “นิปปอนแพ็ค” ยาวนานถึง 20 ปี โดยเตรียมทุ่มทุนก้อนใหญ่ผุดสาขาในประเทศไทยอย่างน้อย 100 แห่ง เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งขึ้นเป็นเบอร์ 3  พร้อมกับเปิดแนวรุกต่อเนื่องเจาะตลาดอาเซียนด้วย ในระดับนโยบายของบริษัทแม่ เควิน บาซเนอร์ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร A&W Restaurant Inc. ซึ่งบินตรงมาเซ็นสัญญาแฟรนไชส์กับบริษัท นิปปอนแพ็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เมื่อปลายปี 2558 ระบุชัดเจนว่า ประเทศไทยถือเป็นตลาดสำคัญที่ A&W ต้องกลับมาสร้างความยิ่งใหญ่อีกครั้ง หลังจากไม่ได้รุกตลาดมานานหลายปีเพราะอยู่ในกระบวนการหาพันธมิตรที่มีทีมงานมืออาชีพ และหลังจากจับมือกับพันธมิตรซื้อกิจการ A&W จากยัมแบรนด์ อิงค์ (Yum! Brand Inc.) เมื่อ 4 ปีที่แล้ว บริษัทมองเห็นโอกาสและตั้งเป้าการเติบโตแบบดับเบิ้ลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมีธุรกิจอยู่ในภูมิภาคนี้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1963

Read More

เปิดเกม” นิปปอนแพ็ค” แผนท้าชนยักษ์ฟาสต์ฟู้ด

  “ผมหันมาลุยธุรกิจร้านอาหาร ทุ่มเงินซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ด A&W เพราะคิดต่างจากคนอื่น...” สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท นิปปอนแพ็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ “NPP” กล่าวกับทุกคนในงานเปิดตัวธุรกิจร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด เอแอนด์ดับบลิว (A&W) ในฐานะผู้ได้รับสิทธิ์แฟรนไชส์แบบเอ็กซ์คลูซีฟในประเทศไทย ระยะเวลาสัญญายาวถึง 20 ปี ซึ่งก้าวย่างครั้งนี้ไม่ใช่แค่การประกาศท้าชนยักษ์ฟาสต์ฟู้ดในตลาด แต่เป็นจุดพลิกโฉมธุรกิจในเครือนิปปอนแพ็ค จากเจ้าตลาดบรรจุภัณฑ์พลาสติกรายใหญ่สู่ธุรกิจร้านอาหารและยังวางแผนการใหญ่ เตรียมทุ่มทุนซื้อแบรนด์ร้านอาหารชื่อดังอีกหลายดีล  เฉพาะปีนี้นิปปอนแพ็คจะเปิดตัวอีก 2 แบรนด์ โดยเตรียมเผยโฉมร้านอาหารญี่ปุ่นในเครือเร็วๆนี้  1 แบรนด์ ส่วนอีก 1 แบรนด์ยังอยู่ระหว่างการเจรจา ซึ่งสุรพงษ์ย้ำว่าต้องเป็นร้านอาหารที่มีศักยภาพ โดนใจลูกค้า มีจำนวนสาขาในระดับหนึ่ง และเป็นแบรนด์ของคนไทย เพื่อต่อยอดสู่แผนการเจาะตลาดในต่างประเทศ  ส่วนแบรนด์ A&W ซึ่งถือเป็นฟาสต์ฟู้ดระดับทอปไฟว์ของโลกและผู้นำธุรกิจแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดนั้น ด้านหนึ่งนิปปอนแพ็คต้องการขยายสิทธิ์แฟรนไชส์เข้าสู่ประเทศอื่นๆ ในอาเซียน หลังจากเจ้าของสิทธิ์แฟรนไชส์เดิมสัญชาติมาเลเซียหยุดการทำตลาดหลายปี  โดยล่าสุด บริษัทแม่ A&W Restaurant Inc. USA อนุมัติเพิ่มสิทธิ์แฟรนไชส์ในประเทศ สปป.ลาว

Read More

Content Provider แบบไทยรัฐ ขยับหนีหวังรุกแพลทฟอร์มใหม่

 สถานการณ์ของวงการสื่อสิ่งพิมพ์ในเวลานี้ หลายคนมักจะให้คำจำกัดความที่ช่วยให้คนวงนอกเข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า “ยุคฟองสบู่ของสื่อสิ่งพิมพ์” เพราะจากการที่สื่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต่างทยอยปิดตัวลงเพื่อรักษาสถานภาพที่มั่นคงของตัวเองที่ยังเหลืออยู่ให้ได้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ข่าวการปิดตัวของหนังสือพิมพ์ นิตยสาร มักจะปรากฏให้เห็นอยู่เป็นระยะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเกิดขึ้นในระนาบเดียวกันกับการเติบโตแบบรวดเร็วของเทคโนโลยี จึงทำให้ไลฟ์สไตล์ของผู้คนเปลี่ยนไป และเหตุผลนี้เองที่ทำให้สื่อจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนผ่านของโลกที่อุดมไปด้วยเทคโนโลยี  สื่อบางองค์กรเมื่อมองเห็นและเข้าใจถึงสถานการณ์ความเป็นไป ต่างเร่งหาทางออก และฉกฉวยโอกาสเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด แม้จำเป็นจะต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมหาศาลในการลงทุนก็ตาม เราจะเห็นได้ว่า สื่อบางองค์กรเลือกมุ่งสู่แพลทฟอร์มของทีวีดิจิตอล การเบนเข็มจากการเป็นสื่อสิ่งพิมพ์เข้าสู่สื่อทีวีนั้น แม้จะไม่ต่างกันในรูปแบบวิธีการทำงาน แต่ต่างกันที่รูปแบบการนำเสนอ กระนั้นการจะเป็นสื่อบนทีวีดิจิตอลก็ยังไม่ใช่เรื่องง่าย  เมื่อผู้มาทีหลังจำเป็นต้องสร้างกลยุทธ์บนแพลทฟอร์มนี้ด้วยความรวดเร็ว เพื่อแย่งชิงฐานคนดูจากสื่อทีวีหน้าเก่าที่มีความแข็งแรงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว สรรพกำลังจึงถูกระดมจากทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นระดับมันสมองที่การที่จะสร้างคอนเทนต์ รูปแบบวิธีการนำเสนอคือบรรดาผู้ประกาศและพิธีกร หรือระดับปฏิบัติการผู้อยู่เบื้องหลังซึ่งจำเป็นต้องเชี่ยวชาญเทคโนโลยี ในห้วงเวลานี้สื่อที่น่าจับตามองมากที่สุดคงจะหนีไม่พ้น “ไทยรัฐ” ที่เติบโตและมีฐานรากที่มั่นคงในฐานะของการเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ ที่ผู้คนให้การยอมรับมากที่สุด แม้ว่าฐานของผู้อ่านไทยรัฐจะอยู่ในระดับกลางลงมาถึงระดับล่าง แต่ก็เป็นคนกลุ่มใหญ่ของสังคม การมาถึงของดิจิตอลทีวีในเมืองไทย ทำให้ไทยรัฐตัดสินใจเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิตอล โดยหวังที่จะขยายฐานรากของตัวเองให้มั่นคงยิ่งขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือการหนีจากสื่อสิ่งพิมพ์ที่หลายคนมองว่าเป็นช่วงเวลานับถอยหลัง และเดินหน้าเข้าสู่ทีวีดิจิตอลอย่างเต็มตัว ทั้งนี้ผลงานของไทยรัฐทีวีนับตั้งแต่เริ่มออกอากาศบนโครงข่ายทีวีดิจิตอลไปประมาณหนึ่งปีนั้น ผลการวัดค่าความนิยม (เรตติ้ง) ของการรับชมช่องรายการฟรีทีวีในระบบดิจิตอลเมื่อเดือนธันวาคม 2558 นั้น ช่องไทยรัฐได้เรตติ้งอยู่ที่ 0.120 ซึ่งอยู่อันดับ 12 ของช่องดิจิตอลทั้งหมด และนี่อาจเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ไทยรัฐทีวีตัดสินใจในฐานะ Content Provider ในการทาบทามพิธีกรหญิงชื่อดัง และได้รับความนิยมมากอีกคนหนึ่งให้เข้ามาร่วมงาน “จอมขวัญ

Read More

ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ไทย ในวันลมหายใจรวยริน

 ข่าวการปิดตัวไปของสื่อสิ่งพิมพ์และนิตยสารหลายฉบับในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์และการคาดการณ์ต่างๆ นานา ถึงอนาคตของธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ ว่ากำลังจะอัสดงลาลับดับแสงลงแล้วหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงยามแห่งยุคสมัยที่ประพฤติกรรมของผู้คนปรับเปลี่ยนไปสู่แพลทฟอร์มอื่นๆ และพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำให้การเสพรับข่าวสารในปัจจุบันสามารถกระทำได้หลากหลายช่องทางมากขึ้น ผู้บริหารและบรรณาธิการของนิตยสารหลายฉบับที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบและความถี่ในการนำเสนอหรือแม้กระทั่งยุติ-ปิดตัว ระงับการพิมพ์ ถึงกับให้ความเห็นไปในทิศทางใกล้เคียงกันในท่วงทำนองที่ระบุว่า ยุคสมัยของนิตยสารกระดาษกำลังจะสิ้นสุดลงแล้ว เพราะโลกยุคปัจจุบัน พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปมาก สื่อสิ่งพิมพ์ไม่มีทางสู้กับความรวดเร็วทันใจของสื่อดิจิตอลได้ ทุกวันนี้ใครๆ ก็บริโภคข่าวสารและข้อมูลจากมือถือและอินเทอร์เน็ต ไม่มีใครรออ่านนิตยสารที่จับต้องได้ “ผู้บริโภคมองหาแต่นิวมีเดียใหม่ๆ แนวโน้มนี้เกิดขึ้นทั่วโลก มันหมดยุคของแมกกาซีนแล้วจริงๆ ยิ่งในสภาพเศรษฐกิจซบเซาแบบนี้ ต่อให้สายป่านยาวแค่ไหนก็รอดยาก” พนิตนาฎ แย้มเพกา บรรณาธิการบริหารนิตยสารเปรียว ซึ่งปิดตัวเองไปเมื่อปลายปี 2558 หลังจากโลดแล่นอยู่ในวงการสื่อสิ่งพิมพ์ไทยมานานกว่า 35 ปี ระบุ ประเด็นที่น่าสนใจของกรณีที่ว่านี้ ก็คือภาวะวิกฤตในวงการสื่อสิ่งพิมพ์มิได้เป็นปฏิกิริยาชั่วข้ามคืนหากแต่เป็นปรากฏการณ์ที่ได้ส่งเค้าลางแห่งความเสื่อมถอยให้เห็นเป็นระยะ ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเพราะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการอ่านการบริโภคข่าวสารของผู้อ่านเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ โดยเฉพาะประเด็นว่าด้วยแหล่งที่มาของรายได้จากค่าโฆษณาเป็นปัจจัยเร่งอีกทางหนึ่งด้วย ข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นอยู่ที่ในช่วงระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา (2548-2558) รายได้จากค่าโฆษณาที่เคยเป็นแหล่งพลังงานสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ ให้สามารถก้าวเดินไปข้างหน้า หดหายไปจากระบบมากกว่าร้อยละ30-40 มูลเหตุด้านหนึ่งได้รับการประเมินว่าเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในระดับนานาชาติ และสถานการณ์ความไม่สงบวุ่นวายไร้ทิศทางของการเมืองภายในประเทศ หากแต่ในอีกด้านหนึ่งต้องยอมรับว่า สื่อสิ่งพิมพ์ถูกสื่อในรูปแบบและช่องทางอื่นๆ ขยับตัวขึ้นมาท้าทายและกลายเป็นคู่แข่งขันในการดึงดูดเม็ดเงินค่าโฆษณาอย่างมีนัยสำคัญด้วย ผลสำรวจของ บริษัท เดอะนีลเส็นคอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด ในช่วงที่ผ่านมาได้เน้นย้ำข้อเท็จจริงที่ว่านี้ โดยระบุว่า เงินค่าโฆษณาในธุรกิจสิ่งพิมพ์ในช่วงปี

Read More