สมาคมแฟรนไชส์ไทย ร่วมกับ ซีพี ออลล์ และธนาคารกสิกรไทย ผนึกกำลังส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย รองรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
สมจิตร ลิขิตสถาพร นายกสมาคมแฟรนไชส์ไทย และบรรณาธิการ นิตยสาร ฟรี อีแมกกาซีนโอกาสธุรกิจ กล่าวถึงการส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์ไทยยุคใหม่ว่า “สมาคมแฟรนไชส์ไทยมีบทบาทใน
การส่งเสริม ธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศ ที่ผ่านมา ธุรกิจแฟรนไชส์ มีการเติบโตที่ต่อเนื่องประมาณ 15-20% ในแต่ละปี ซึ่งเป็นเพิ่มขึ้นของแฟรนไชซี่ โดยกลุ่มผู้ขายแฟรนไชส์รายใหม่ยังเกิดขึ้นไม่สูงนัก
ซึ่งส่วนหนึ่งมีข้อจำกัดในด้านการขาดความรู้ในการสร้างระบบแฟรนไชส์
สมาคมแฟรนไชส์ไทยจึงจัดโครงการอบรมสร้างระบบแฟรนไชส์ 20 ชั่วโมงเป็นหลักสูตรเข้มข้น เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการสร้างระบบแฟรนไชส์ให้แก่เจ้าของกิจการที่ต้องการขยายธุรกิจ หรือผู้ที่มีความสนใจในเรื่องแฟรนไชส์ โดยเป็นการผนึกกำลัง จาก 3 องค์กร ได้แก่ คณะกรรมการสมาคมแฟรน
ไชส์ไทย, บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด(มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และ ธนาคารกสิกรไทย โดยมี นิตยสารฟรี อี แมกกาซีนโอกาสธุรกิจ และบริษัทแฟรนไชส์โฟกัส เป็นผู้บริหารการจัดสัมนา โดย โครงการอบรมนี้มีหลักสูตรประกอบด้วย ขั้นตอนการสร้างระบบแฟรนไชส์, เรื่องระบบมาตรฐาน, การ
จัดทำคู่มือ,ระบบการอบรม,การสร้างร้านต้นแบบ,การสร้างแบรนด์,สัญญาแฟรนไชส์ และการเรียนรู้จาก
ผู้มีประสบการณ์จริง เป็นต้น
อนิษฐา ธนมิตต์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น
อีเลฟเว่น ร้านอิ่มสะดวกของคนไทย ได้กล่าวว่า “ เนื่องจากซีพี ออลล์มีนโยบายในการส่งเสริมและ
สนับสนุนด้านการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง จึงได้ร่วมกับสมาคมแฟรนไชส์ไทยและธนาคารกสิกรไทย จัดอบรมหลักสูตร นี้ ขึ้นมา เพื่อให้ความรู้ในการสร้างระบบแฟรนไชส์ ปัจจุบันมีผู้ให้ความสนใจในการทำธุรกิจแฟรนไชส์เป็นจำนวนมาก เซเว่น อีเลฟเว่น เป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีระบบมาตรฐานสากลและเป็น
ธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีผู้สนใจจะเข้าร่วมเป็นแฟรนไชส์จำนวนมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ การจัดอบรม
ครั้งนี้บริษัทฯ ได้ให้การสนับสนุน อาทิ สถานที่อบรมโดยจัดขึ้นที่ อาคารซีพี ทาวเวอร์ สีลม วิทยากรที่มีประสบการณ์มาถ่ายทอดความรู้ในการสร้างระบบแฟรนไชส์ รวมไปถึงการบริหารจัดการสินค้าและบริการ การบริหารการตลาด การบริหารเงินทุน โลจิสติกส์ สต็อกสินค้า การบริหารบุคคล การบริหารการเปลี่ยนแปลงการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธุรกิจแฟรนไชส์”
“ มีการให้ผู้เข้าอบรม เยี่ยมชมกิจการของบริษัท ซีพีแรม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผลิตอาหารประเภทติ่มซำ, อาหารกล่องพร้อมรับประทาน, เบเกอร์รี่ต่างๆ ซึ่งได้มาตรฐานสากล ในกลุ่มซีพี ออลล์ อีกด้วย “ปัจจุบันร้านเซเว่น อีเลฟเว่น มีจำนวนร้าน แฟรนไชส์ 3,923 สาขาทั่วประเทศ สัดส่วนร้านแฟรนไชส์คิดเป็น 56 % โดยในปี 2556 ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนของร้านแฟรนไชส์เป็น 58 % สำหรับการบริหารธุรกิจแฟรนไชส์ให้เติบโตอย่างยั่งยืนได้นั้น ซีพี ออลล์ได้พัฒนาระบบงานและทีมงานที่มีคุณภาพ ให้ความรู้
และทักษะด้านต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ ” อนิษฐา กล่าวเพิ่มเติม
พิภวัตว์ ภัทรนาวิก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า “ ธนาคารกสิกรไทยได้มีบทบาทสำคัญยิ่งในการผลักดันธุรกิจแฟรนไชส์ของประเทศให้ก้าวหน้า และให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง ที่ผ่านมาธนาคารกสิกรไทยได้เข้ามามีส่วนช่วยในการสนับสนุนและผลักดันธุรกิจแฟรนไชส์อย่างเป็นรูปธรรมตั้งแต่ปี 2553 โดยการออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อ K-SME Franchise Credit ซึ่งเป็นการให้วงเงินแก่
ผู้รับสิทธิ์ในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchisee) ที่เลือกธุรกิจแฟรนไชส์ซอร์ (Franchisors ) ซึ่งผ่านเกณฑ์ของธนาคารจำนวน 65 แฟรนไชส์ โดยปัจจุบันมีผู้รับสิทธิ์ในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchisee) ที่ได้รับการสนับสนุนวงเงินไปแล้วกว่า 522 ล้านบาท ทั้งนี้ แฟรนไชส์เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถสร้างธุรกิจของตนเองให้เติบโตได้อย่างเร็วขึ้น และเป็นธุรกิจที่โตอย่างมีระบบ ที่สำคัญยังสามารถสร้างรายได้ให้เจ้าของแฟรนไชส์ได้อย่างมาก
สำหรับความร่วมมือ ในโครงการนี้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโครงการสำคัญ ในการสนับสนุนธุรกิจแฟรนไชส์ไทย เพราะจะผลักดันให้ผู้ประกอบการสามารถขยายธุรกิจโดยใช้ระบบแฟรนไชส์เข้ามาบริหารจัดการ ทำให้เกิดแฟรนไชส์ซอร์หน้าใหม่ที่มีศักยภาพในประเทศ เพิ่มขึ้น โดยธนาคารกสิกรไทยจะให้ความสนับสนุนด้านผลิตภัณฑ์การเงินที่เหมาะสม ตลอดทั้งองค์ความรู้ในการบริหารจัดการการเงินอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ ธุรกิจแฟรนไชส์ซอร์ที่ผ่านการอบรมจะสามารถเข้ามาอยู่ในระบบรายชื่อธุรกิจแฟรนไชส์ซอร์ของธนาคาร ซึ่งจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะทำให้เจ้าของแฟรนไชส์ มีโอกาสขยายธุรกิจได้เร็วขึ้น
จากข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีการคาดการแนวโน้มตลาดแฟรนไชส์ในประเทศว่า
ภายหลังการเปิดเสรีทางการค้าภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ในปี 2558 จะมีตลาดแฟรนไชส์ต่างชาติที่สนใจและเตรียมจะใช้ประเทศไทยเป็นฐานลงทุนระบบแฟรนไชส์เพื่อขยายในตลาด
อาเซียน โดยส่วนใหญ่จะเป็นประเทศในเอเชีย ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน เป็นต้น จากทิศทางดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ตลาดแฟรนไชส์ในประเทศไทยมีโอกาสที่จะโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป้นอีกหนึ่งทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจ เพราะมีปัจจัยที่สนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชนที่เข้ามาช่วยส่งเสริมและสนับสนุนในการสร้างมาตรฐานให้ระบบแฟรนไชส์ในประเทศให้สามารถที่จะพัฒนาศักยภาพของธุรกิจตัวเองเข้าสู่มาตรฐานเท่าเทียมในระดับสากล และสามารถแข่งขันทั้งตลาดภายในและขยายออกไปนอกประเทศมากขึ้น
ตลาดแฟรนไชส์ในปี 2555 มาถึงปี 2556 พบว่าแฟรนไชส์ มีมูลค่าตลาดรวมกว่า 2.38 แสนล้านบาท โดยมี Franchisors (ผู้ให้สิทธิ์ในการประกอบธุรกิจ) จำนวนประมาณ 330 ราย และ Franchisee
(ผู้รับสิทธิ์ในการประกอบธุรกิจ) จำนวน 63,000 สาขา โดยธุรกิจ Franchisors ที่ได้รับความนิยมสูงสุด 3 อันดับแรกของประเทศไทย ในตอนนี้ ได้แก่ 1. ธุรกิจร้านอาหาร (28%) 2. ธุรกิจร้านเครื่องดื่ม-เบอร์เกอรี่ (15 % ) และ 3. ธุรกิจบริการ (12% ) เนื่องจากธุรกิจทั้ง 3 ประเภทนี้ เป็นธุรกิจที่มีการลงทุนไม่สูงมากนัก และมีระบบบการจัดการที่ไม่ซับซ้อน
สมาคมแฟรนไชส์ไทย มีความมั่นใจว่า แนวโน้มแฟรนไชส์ยุคใหม่ หลังปี 2556 เป็นต้นไป น่าจะ
มีแนวโน้มที่สดใสยิ่ง หากมีแนวทางสนับสนุน ที่เกิดขึ้นดังนี้
1.ให้ความรู้อย่างไม่จำกัด โดยมีความร่วมมือระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ,เอกชน,สถาบันการเงิน และสมาคม แฟรนไชส์ไทยขยายความร่วมมือเพื่อเปิดกว้างในการให้ความรู้ที่จำเป็น สำหรับการสร้างระบบแฟรนไชส์ และการเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ รวมถึงเทคนิคในการบริหารร้านให้ประสบความสำเร็จอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
2.รวบรวมผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ซึ่งทำโดยสมาคมแฟรนไชส์ไทย เช่น ด้านการจัดทำคู่มือ การสร้างแบรนด์ การสร้างระบบมาตรฐาน ออกแบบร้านต้นแบบ เป็นต้น เพื่อจัดทำโครงการพี่เลี้ยง หรือเข้าร่วมเป็นทีมที่ปรึกษา ฝึกสอนเจ้าหน้าที่ในสถานประกอบการ ที่ได้รับการคัดเลือกว่าเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการทำแฟรนไชส์ โดยการสนับสนุนของภาครัฐ หรือสถาบันการเงิน
3.นโยบายการสนับสนุนที่ชัดเจนและต่อเนื่อง โดยการวางเป้าหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการส่งเสริมทั้งระยะสั้นและในระยะยาว เช่น ใน 5 ปีข้างหน้า จะมีแฟรนไชส์ใหม่ 50 กิจการ เป็นต้น หรือใน 10 ปี จะมีแฟรนไชส์ไทยส่งออก 100 บริษัท เป็นต้น
4.ให้รางวัลส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์ดีเด่น เพื่อกระตุ้นการพัฒนาระบบแฟรนไชส์ให้ดีขึ้น
5.สนับสนุนการสร้างแบรนด์ สินค้าไทยส่วนใหญ่ไม่มีสิทธิ์ในการโฆษณาทีวี สินค้าที่โฆษณาใน
ทีวีไทยที่เป็นสื่อที่มีอิทธิพลสูงสุดในการสร้างความนิยมสินค้า-บริการนั้น มีแต่สินค้าแบรนด์ต่างชาติมากกว่า 80-90% เพราะราคาโฆษณาสูง นาทีเฉลี่ยประมาณ 50,000-300,000 บาท เป็นราคาที่กิจการคนไทยไม่สามารถจ่ายได้ ดังนั้นการสร้างแบรนด์ให้ธุรกิจที่ได้รางวัลต่างๆ ที่รัฐบาลส่งเสริมนั้น ควรได้รับการสนับสนุนให้มีโอกาสได้ใช้สื่อสาธารณะและสื่อของรัฐที่ต่อเนื่องระยะหนึ่ง เพื่อส่งเสริมการสร้าง
แบรนด์สินค้า ให้เกิดความนิยมในตลาด อย่างได้ผล
6.กองทุนพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ หากมีกองทุนที่ส่งเสริมการสร้างแฟรนไชส์นั้น จะมีรายได้ส่วนหนึ่งที่มาจากค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์กลับคืนมา หากมีกองทุนส่งเสริมเพื่อการพัฒนาธุรกิจให้ดีขึ้นจะเป็นแนวทางที่ดีมาก ในการสร้างการเติบโตได้อย่างรวดเร็ว