วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
Home > Entrepreneurship > Money > 4 กูรู หวั่นเศรษฐกิจโลก ส่งผลกระทบต่อไทย ทางออกอยู่ที่ไหน

4 กูรู หวั่นเศรษฐกิจโลก ส่งผลกระทบต่อไทย ทางออกอยู่ที่ไหน

4 กูรู หวั่นเศรษฐกิจโลก ส่งผลกระทบต่อไทย ทางออกอยู่ที่ไหน
ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ – ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ – ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล- ศ.ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย แนะหนทางพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างยั่งยืน รับมือต่อความผันผวนของเศรษฐกิจโลก

ดร.สมคิดแนะสร้างความยั่งยืนให้ประเทศไทยในระยะยาว ด้วยความสมดุล-ความพอดี-
สร้างภูมิคุ้มกันทดแทนนโยบายประชานิยม เพราะประเทศไทยได้มีโอกาสที่จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจ
อาเซียน ที่ผ่านมาประเทศไทยเติบโตขึ้นจากการส่งออก การลงทุนจากต่างประเทศ และการทำ FTA
กับต่างประเทศ และการเติบโต 30 ปีที่ผ่านมาการส่งออกของไทยได้เติบโตขึ้น แต่ท่ามกลางการเติบโตนี้ สิ่งที่ประเทศไทยละเลย คือ การสร้างความเข้มแข็งภายใน ซึ่งการเติบโตนี้ก็เป็นสัญญาณอันตราย
ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยเท่านั้น อันตรายนี้ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจโลกอีกด้วย ดังนั้นการพัฒนาให้เกิดความยั่งยืนคือ ทำให้เกิดความสมดุล ขจัดความเหลื่อมล้ำและต่อต้าน
การสุจริตคอรัปชั่นประการต่อมาคือ ความพอดี กรณีตัวอย่างวิกฤติเศรษฐกิจโลกเมื่อปี 2540 และปี 2552 เกิดจากความโลภและความไม่โปร่งใสของกลุ่มธุรกิจ แต่คนที่รับผลกระทบคือคนยากจนไม่มีบ้าน
เริ่มตกงาน

ปัจจุบันนี้ประเทศไทยเริ่มส่ออาการนี้อีกครั้ง สิ่งที่นำมาแก้ไขได้ คือการสร้างตลาดภาย
ในประเทศให้เข้มแข็งมีอำนาจซื้อเพื่อมาทดแทนรายได้การส่งออกโดยไม่ใช่นโยบายประชานิยม การแจก
เงินให้คนบริโภค หรือเพียงรายได้ให้เพิ่มขึ้นเท่านั้น ทว่าคือ หัวใจการสร้างฐานที่แข็งแกร่งโดยสร้างโอกาสทางการศึกษา โอกาสทางการรักษาพยาบาล และสร้างความเท่าเทียมกันให้คนที่เข้าไม่ถึงได้มีโอกาส แต่ความเท่าเทียมกันนั้นไม่เพียงพอต้องมาควบคู่กับการพัฒนาความสามารถของคนด้วยเช่นกัน

ขณะเดียวกันการจะสร้างประเทศให้ยั่งยืนได้ คือ การสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งต้องสร้างตั้งแต่
รากฐาน และการพัฒนาที่ไม่ใช่วัตถุ แต่เป็นการพัฒนาที่สังคม (well –being ) ดังนั้นจีดีพีเป็นเพียง
เครื่องมือผลของการวัดเศรษฐกิจ แต่ไม่ใช่มาตรวัดความสุขและความมั่งคั่งของประชาชาติได้
จริงและการจุดเริ่มของการสร้างโอกาส คือ นโยบายของรัฐที่จะมากำหนดขับเคลื่อนจะช่วยลด
ความเหลื่อล้ำให้กับสังคมไทยได้อย่างยั่งยืน ดร.สมคิดกล่าว

ดร.ศุภชัยน้อมนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ทางออกของสังคมโลก” คือ การเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน
ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา
(UNCTAD) กล่าวปาฐกถา “ทิศทางการพัฒนาให้มีการเจริญเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน ภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ทางออกของสังคมโลก”ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์
นักสังคม และนักสิ่งแวดล้อม ล้วนเห็นพ้องกันว่า โลกไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ยั่งยืนเลย
ในทุกๆ ด้าน ทั้งสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม วิกฤติด้านแหล่งอาหาร สภาวะโลกร้อน
มลภาวะทั้งหลายเกิดจากการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย โดยไม่คำนึงถึงทิศทางในการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีการนำมาใช้ในปัจจุบันแล้ว ประกอบด้วยหลักสำคัญมีดังนี้
1.การจำกัดการก่อหนี้ คือ หลักการก่อหนี้อย่างมีความรับผิดชอบ เพราะปัจจุบันมีการก่อหนี้
ที่ไม่มีความรับผิดชอบเป็นจำนวนมาก
2.ความรอบคอบ คือการคิดในระยะยาว ต้องคิดว่าหากจะทำแล้วไม่เกินตัว เช่น ธุรกิจระยะยาว รวมไปถึงการคิดถึงสมดุลทั้งในเชิงสิ่งแวดล้อม และโยงไปถึงความสมดุลของธรรมาภิบาล และการค้า
ห้สมดุลทั้งการค้าภายในประเทศ และระหว่างประเทศ
3.ทางสายกลาง เรื่องของความสมดุลในเรื่องของการผลิตการใช้ทรัพยากรธรรมชาติแล้วต้องให้คืน
4.การผลิตที่ยั่งยืน ทฤษฎีใหม่ที่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมอบให้ เป็นสนธิสัญญาข้อตกลงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งดูแลการใช้สิ่งจากธรรมชาติมาเป็นผลผลิต และต้องดูแลรักษาให้ดี ให้มีความสมดุล ปัจจุบันประเทศที่เจริญแล้วมีการตรวจสอบประเทศที่ยากจน และไปนำความรู้โบราณที่สั่งสมของประเทศนั้นมาทำประโยชน์ โดยไม่แบ่งผลประโยชน์ จึงให้มีการจดทะเบียนเป็นทรัพย์สินทางปัญญา นี่คือการใช้ทฤษฏีที่ยั่งยืนมาเพื่อการดูแล
5.หลักการพัฒนาระดับหมู่บ้าน เป็นเรื่องการดูแลเรื่องความเหลื่อมล้ำ การพัฒนาชนบท ดูความพอเพียงของหมู่บ้านที่ต้องมีการแบ่งส่วนการผลิตสินค้าต่างๆ ก่อนจะมีการพัฒนาในระดับอื่นให้เกิดความทัดเทียมขึ้นมาได้
6.การคุ้มครองด้านสังคม ซึ่งเป็นหลักที่มีการนำไปใช้ในระดับโลกกันมาก เช่น การมีสวัสดิการด้านแรงงาน

สำหรับหลักปรัชญาด้านเศรษฐกิจพอเพียงที่สหประชาชาติจะนำไปใช้ในระดับโลก
คือ เรื่องของรีโอ+ 20 โดยมีข้อตกลงในประเด็นความไม่พอเพียงในบทบาทของรัฐ ธรรมาภิบาลประชาธิปไตย การวัดจากทรัพยากรธรรมชาติมากกว่าใช้จีดีพี ทั้งหมดอยู่ในเอกสาร The Future
We want ที่เสนอให้ทุกประเทศ และภาคเอกชนได้ศึกษาในรายละเอียด ซึ่ง โครงการนี้ยูเอ็นมี
คณะกรรมการในระดับสูงมาช่วยผลักดัน และถือเป็นเรื่องสำคัญของสหประชาชาติ ที่มาทดแทน
เป้าหมาย MDG (Millennium Development Goals) ซึ่งเป็นเป้าหมายทางด้านการพัฒนาในปี 2015
โดยต่อไปจะเป็น SDG (Sustainable Development Goals) ถือเป็นเรื่องแรกในวาระของสหประชาชาติ
ในระดับประเทศที่ต้องมีส่วนร่วมคือ การรักษาน้ำ รักษาป่า และต้องดูผลต่อเนื่องทางเศรษฐกิจ
อย่างไร รวมทั้งมีแผนเงินทุนซึ่งจะมีการระดมจากทั้งเอกชนและรัฐบาล เพื่อกระตุ้นให้เกิดการ
พัฒนาอย่างยั่งยืน และการทำงานระหว่างภาคเอกชนและรัฐบาล ตามทฤษฎีของความยั่งยืน
คือ PPP (Public Private Partnership) แต่นำ People เข้ามาด้วย เป็น PPPP จะเป็น คน รัฐบาล เอกชน และการมีส่วนร่วมซึ่งกันและกัน มี 3 เรื่องใหญ่ที่กำลังทำในปัจจุบัน คือ “พลังงาน น้ำ และด้านการเงิน” พลังงาน คือ ทำอย่างไรให้เป็นอุตสาหกรรมสีเขียวมากขึ้น มีการใช้พลังงาน
ทดแทนมากขึ้น และใช้พลังงานจากทรัพยากรธรรมชาติที่ทดแทนไม่ได้ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

โครงการนี้จะมีกลุ่มภาคเอกชนเป็นผู้ดูแลโดยตรง ส่วนน้ำจะมีโครงการ ซีอีโอ วอเตอร์
ที่เป็นคณะของสหประชาชาติร่วมกับภาคเอกชน ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป
เช่น เนสท์เล่ ยูนิลีเวอร์มาช่วยดูแล การใช้น้ำรวมไปถึงการใช้น้ำสำหรับขั้นตอนการผลิต และ
การเงินมีการร่วมมือกันจากหลายบริษัท เรียกว่าโครงการ IOD (Institute of Director) ดูแลการมี
ธรรมาภิบาลขององค์กรเอกชนและรัฐบาล เป็นโครงการที่ดีมากและจะทำในระดับอาเซียน เป็น
เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน และสุดท้ายคือ Sustainable Stock Exchange คือตั้งเงื่อนไข
การจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ว่าต้องมีรายงาน 3 เรื่อง คือ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม
และธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นหลักการการทำธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นความยั่งยืน

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล และ ศ.ดรคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ” เชื่อมสัมพันธ์ประเทศอาเซียน รับมือความเปลี่ยนแปลงของโลก
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ร่วมกับศ.ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ แนะตั้ง “คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ” กำหนดกลยุทธ์ของประเทศและเชื่อมสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ในเศรษฐกิจประชาคมอาเซียน เพราะในภาวะเศรษฐกิจของโลกในเขตยุโรปที่ตกต่ำลง คาดว่าต้องใช้เวลากว่า 10 ปีจึงจะมีการฟื้นตัว ทำให้
ประเทศข้างเคียงอย่าง โปรตุเกส กรีก ซึ่งมีกำลังการผลิตที่ต่ำกว่าสองประเทศมหาอำนาจต้องวิ่งไปเป็นลูกจ้างประเทศอื่น ส่งผลให้ภาคการส่งออกของประเทศไทยในเขตยุโรปจะลดน้อยลง สิ่งที่ประเทศไทยจะต้องให้ความสำคัญเพื่อรักษาสภาพเศรษฐกิจของประเทศ คือการเตรียมพร้อมในการดำเนินธุรกิจกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่จะมาถึงในปี 2558 เพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้าของประเทศไทยมากขึ้น

การเตรียมรับมือของประเทศไทยกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในจังหวะนี้ คือ การปรับตัวเป็นประเทศค้าขายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยทำเลภูมิศาสตร์ที่อยู่ตรงกลางภูมิภาคอาเซียน จะช่วยผลักดันให้ประเทศไทยเป็นผู้นำทางการค้าและเชื่อมต่อกับทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งต้องมีการพัฒนาเปิดแหล่งขนส่งใหม่ เช่น ส่งเสริมการสร้างท่าเรือน้ำลึกทวาย เพื่อขยายฐาน การขนส่งและระบบโลจิสติกส์ นอกจากการดำเนินงานของภาครัฐแล้ว ภาคเอกชนซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจควรจะเริ่มขยายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อรองรับการลงทุนขนาดใหญ่ ที่ต้องใช้แรงงานและพื้นทีการลงทุนที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้น

ปัจจุบันไทยมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกว่า 40% เป็นการเติบโตจากกลุ่มส่งออกไปประเทศ จี3 และไทยมีการส่งออกในภูมิภาคเอเชียที่รวมญี่ปุ่นด้วย มากกว่า 50 % ซึ่งถือเป็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดี เนื่องด้วยระบบการคลังของประเทศมีการรักษาเสถียรภาพทางการเงินได้
อย่างดี หากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน ร่วมมือกันผลักดันและเตรียมความพร้อมให้
กับประเทศไทย ก็จะสามารถรับมือกับความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้อย่างมั่นคง

ศ.ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า “ความเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน พบว่า ปรัชญาการ
แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของโลกนั้นจะไม่ได้กระทำโดยภาครัฐ แต่จะเป็นการดำเนินการของ Invisible Hand หรือใช้กลไกตลาดเป็นผู้จัดการ ประเทศจีนและอินเดียมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น
สิ่งที่เห็นคือการเกิดขึ้นของบูรพาภิวัฒน์ประเทศในกลุ่มเอเซียโดยเฉพาะประเทศจีนที่เติบโตและมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจมากขึ้น ส่งผลต่อท่าทีของสหรัฐอเมริกา จะเปลี่ยนแปลงจากการควบคุมเป็นการเข้าไปมีส่วนร่วมในทุกส่วนที่ประเทศจีนได้ร่วมพัฒนาธุรกิจหรือการเจรจาการค้า เพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลก รวมถึงการสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐสภาเอเชีย-ยุโรป (ASEP) ที่เป็นเวทีในการเจรจาความร่วมมือระหว่างประเทศในกลุ่มเอเซีย และกลุ่มยุโรปให้มีข้อตกลงร่วมกัน   ซึ่งนอกจากความเปลี่ยนแปลงของประเทศมหาอำนาจ 2 ขั้วทั้งสหรัฐอเมริกาและจีนแล้วนั้น ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ยังได้แก่ 1. การพัฒนาระบบเส้นทางการขนส่ง 2. ถนนหนทางการค้าสะดวกมากขึ้น 3. มีแหล่งพลังงานแหล่งใหม่เพิ่มมากขึ้นทั้งประเทศอินเดีย จีน รัสเซีย 4. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมวิชาการ และ 5. วัฒนธรรมที่มีการยอมรับในความแตกต่างกันมากขึ้น

ยุทธศาสตร์ที่ไทยควรมีเพื่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก คือ ภูมิศาสตร์ของ
ประเทศไทยที่ตั้งอยู่ในจุดศูนย์กลางของอาเซียนเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการทำการค้าการลงทุน
จะต้องพัฒนา Strategic Location ที่มีอยู่ให้เป็น Strategic Action ให้ได้ ทั้งการพัฒนาแผนการ
ลงทุนร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้านให้มีความเชื่อมโยง การสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อกับประเทศจีน
นั้น ควรจะมีการพิจารณาอย่างจริงจัง การรักษาเสถียรภาพทางความสัมพันธ์กับประเทศ
เพื่อนบ้านให้เป็นไปอย่างปกติ ลดข้อพิพากระหว่างประเทศเพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างราบรื่น
การตั้ง “คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ” เพื่อให้ประเทศไทยมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนไม่เปลี่ยนแปลงไปตามความผันผวนทางเศรษฐกิจและการเมืองของประชาคมโลก เช่นเดียวกับการตั้งสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ชาติให้ชัดเจน จากยุทธศาสตร์แผนการดำเนินงานใหญ่ก็ย่อยออก
มาเป็นกรอบการดำเนินนโยบายของรัฐบาล และจากนโยบายก็นำไปสู่การลงมือปฏิบัติทั้งระบบภาษี
การพิจารณาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิต (Trading Center) หรือเป็นศูนย์กลางของระบบการค้า (Trading Network) การพัฒนาด้านอุตสาหกรรม
บริการด้านธุรกิจ

นอกจากนี้ยุทธศาสตร์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งการสร้างวินัยของคนไทยในการดำรงชีวิต
ด้วยความมีเหตุผลมีความพอเพียงโดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ในทุกส่วนของการทำธุรกิจ การสร้างสังคมให้เข้มแข็ง พัฒนาระบบสถาบันครอบครัวให้มีความเอื้ออาทร ซึ่งรัฐบาลควรจะต้องมีการพัฒนากฎหมายให้มีความโปร่งใส มีระบบอัตโนมัติในการบังคับใช้ และประชาชนทุกคนปฎิบัติร่วมกันจริง ซึ่งจะก่อให้เกิดความสมานฉันท์ การอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุขโดยการยอมรับความแตกต่างของสังคมที่หลากหลาย และสิ่งสุดท้ายที่ควรจะต้องคำนึงถึงมากที่สุดคือ ยุทธศาสตร์ในการเชื่อมยุทธศาสตร์ทุกข้อให้ดำเนินไปพร้อมเพรียงกันสอดประสานกันอย่างดี เพราะการดำเนินงานยุทธศาสตร์ทุกขั้นตอนนั้นจำเป็นจะต้องมีการจัดลำดับความสำคัญ และคำนึงถึงความเหมาะสม เพื่อให้ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้าอย่างมีกลยุทธ์ และมียุทธศาสตร์ที่เข้มแข็งไม่แปรเปลี่ยนไปตามสภาวการณ์ของประเทศหรือในระดับโลก และเกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน