3เอ็ม เผยผลสำรวจ ชี้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบในหลายมิติ พร้อมแนะแนวทางการใช้ชีวิตในอนาคต โดย จิม ฟาลเทอเสค รองประธานอาวุโส ฝ่ายกิจการองค์กร 3เอ็ม ภูมิภาคเอเชีย และกรรมการผู้จัดการ 3เอ็ม ประเทศเกาหลี
3เอ็ม ได้ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนมาอย่างต่อเนื่อง โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ใน 11 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส บราซิล จีน เม็กซิโก แคนาดา ญี่ปุ่น เยอรมนี สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา อินเดีย และเกาหลีใต้ จำนวน 22,000 คน ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่าผลกระทบของโรคระบาด ก่อให้เกิดกระบวนทัศน์ใหม่ หรือกรอบความคิดในการดำเนินชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไปอย่างถาวร โดยเฉพาะเรื่อง สุขภาพ เทคโนโลยี และความยั่งยืน
จากผลสำรวจทั่วโลก ทำให้พบความเปลี่ยนแปลงด้านความคิดของคนส่วนใหญ่ ดังนี้
1.ผู้คนเกิดความตื่นตัว และใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น
การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ทำให้พบว่า 76% ของผู้คนทั่วโลกมีมุมมองด้านสุขภาพที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจน โดยเห็นพ้องต้องกันว่าการแพร่ระบาดครั้งใหญ่นี้ ส่งผลให้พวกเขาหันมาดูแลใส่ใจสุขภาพของตนเองมากขึ้น และจากการสำรวจความคิดเห็นของคนไทยผ่านแบบสอบถาม จำนวน 1,025 คน พบว่า กว่า 90% ของคนไทยส่วนใหญ่ต้องการมีสุขภาพที่ดีขึ้น โดยแบ่งเป็น 64% เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น และอีก 58% เลือกการออกกำลังการเข้ามาในกิจวัตรประจำวัน
ขณะเดียวกันการแพร่ระบาดยังส่งผลกระทบต่อแนวคิดเกี่ยวกับการใช้พื้นที่สาธารณะ มากถึง 77% โดยเห็นว่าพื้นที่สาธารณะจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบันมากขึ้น ซึ่งรวมไปถึง ออฟฟิศ สำนักงานต่างๆ ทั้งในเรื่องแนวคิดการออกแบบภายใน ที่ต้องการสร้างสรรค์พื้นที่ เพื่อสร้างความกระตือรือร้นต่อพนักงาน ในขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยด้านสุขอนามัยให้แก่พนักงานด้วยเช่นกัน
2.การใช้ดิจิทัลหลากหลายด้าน ทั้งในการทำงาน การติดต่อสื่อสาร และชีวิตประจำวัน
ตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 หลายประเทศเข้าสู่สภาวะล็อกดาวน์ ทำให้ระบบการทำงานบนโลกออนไลน์ หรือโลกเสมือนเข้ามาแทนที่อย่างรวดเร็ว แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกะทันหัน ทำให้เกิดความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยผู้คนมากกว่า 64% ชอบการทำงานที่บ้านและยินดีที่จะลองใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ระบบบ้านที่ยั่งยืน การใช้พลังงานหมุนเวียน และยานพาหนะไฟฟ้าทั้งหมด แต่ยังมีอีกกลุ่มเลือกที่จะลดบทบาทการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ผลสำรวจยังพบว่ากว่า 77% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครอบครัวได้ดีกว่าเมื่อใช้เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มออนไลน์ ขณะเดียวกันผู้คน 7 ใน 10 คน ชื่นชอบงานอดิเรกที่ช่วยให้พวกเขาสามารถพักการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของตนได้ และอีก 75% เห็นว่าการใช้เวลาอยู่หน้าจอมากเกินไป ส่งผลต่อปัญหาด้านสุขภาพที่ควรได้รับการแก้ไข
3.การเข้าใกล้โลกอนาคตแห่งปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
โลกอนาคตของการใช้ชีวิตร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ (AI-infused future) ได้เริ่มขึ้นแล้ว ผู้คนกว่า 63% ทั่วโลกเชื่อว่าความก้าวหน้าของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ล้ำสมัย เช่น ยานยนต์ไร้คนขับ จะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราในอีก 10 ปีข้างหน้า และกว่า 55% เต็มใจที่จะใช้รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ แม้ว่าเทคโนโลยีด้าน
AI จะเป็นเรื่องน่าตื่นเต้น แต่ก็ยังมีการตั้งคำถามในด้านของจริยธรรม และจุดประสงค์ที่แท้จริง รวมไปถึงความโปร่งใสเกี่ยวกับวิธีการใช้เทคโนโลยีในสังคม เพื่อสามารถควบคุมความอัจฉริยะของ AI และการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ โดยที่ไม่กระทบต่อความเป็นส่วนตัว รัฐบาลจำเป็นต้องออกแบบวิธีที่อนุญาตให้แบ่งปันข้อมูลที่มีคุณภาพได้อย่างปลอดภัย
ขณะที่ข้อมูลจากประเทศไทย โดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของประเทศไทย แสดงให้เห็นว่า อุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือหุ่นยนต์และอุตสาหกรรมดิจิทัล เป็นภาคส่วนสำคัญในยุทธศาสตร์ระดับชาติของรัฐบาลหรือThailand 4.0 ซึ่งรัฐบาลได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อส่งเสริมการใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมในประเทศ เพื่อยกระดับการพัฒนาและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเน้นที่เทคโนโลยีขั้นสูงและการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน
ซึ่งในส่วนของ 3เอ็ม ได้มีการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาสนับสนุนธุรกิจในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับสังคม ตั้งแต่การวิเคราะห์บันทึกสำหรับการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพและประหยัดที่สุด ไปจนถึงการใช้ข้อมูลถนน อาคาร และสิ่งแวดล้อมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความปลอดภัยของพนักงานและอุปกรณ์ ในเวลาจริง ในระดับโลก เราใช้อัลกอริทึม (Algorithm) ขั้นสูงเพื่อปรับปรุงห่วงโซ่อุปทาน พัฒนาคุณภาพของการผลิต รวมถึงช่วยจัดหาโซลูชั่นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
4.ความยั่งยืน ซึ่งไม่ใช่แค่ความต้องการของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นความคาดหวังของทุกคน
การพัฒนาอย่างยั่งยืน ยังคงเป็นหัวข้อที่เราเรียกร้องให้ภาคธุรกิจต่างๆ หาแนวทางอย่างต่อเนื่อง โดย 3 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลก ต้องการความโปร่งใสจากแบรนด์ธุรกิจต่างๆ ที่ให้คำมั่นสัญญาในเรื่องนี้ ควรให้ความสำคัญกับการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง แทนที่จะเป็นเพียงจุดขายทางการตลาดเท่านั้น
สำหรับประเทศไทยได้มีการยกระดับความสำคัญในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน และการปกป้องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม แค่การตอบรับของผู้คนทั่วไป ไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้เร็วมากพอ แม้ผู้คนทั่วโลกส่วนใหญ่ 73% ยินดีที่จะปรับเปลี่ยนมาใช้นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน แต่คนส่วนมากกลับเห็นว่า แนวคิดการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนจะไม่ถูกให้ความสำคัญในลำดับต้นๆ ภายในระยะเวลาอันใกล้ และยิ่งไปกว่านั้นผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 40% ยังรู้สึกว่าพลังงานหมุนเวียนไม่สามารถกลายเป็นพลังงานหลักในเมืองของพวกเขาได้ภายในทศวรรษหน้า
ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมจึงเป็นหัวข้อที่รัฐบาลให้ความสำคัญเช่นกัน โดยล่าสุดรัฐบาลไทยชูโมเดลเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green (BCG) เพื่อเป็นกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนทุกระดับในประเทศไทยอย่างยั่งยืน
3เอ็ม ตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และมีความมุ่งมั่นในการไปถึงเป้าหมายสูงสุดนั่นคือการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตั้งแต่ปี 2562 เราได้นำความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมมาคิดค้นและพัฒนาขั้นตอนการผลิตที่ทันสมัย สามารถลดการใช้วัสดุในการผลิตลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้เรากำลังศึกษาหาแนวทางในการลดรูปแบบการปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภคแบบดั้งเดิม ซึ่งมักจะก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง เพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม
ไม่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะสร้างผลดีหรือผลเสีย แต่การเกิดขึ้นของโรคระบาดในครั้งนี้ก็ได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตพื้นฐานของผู้คนอย่างถาวร ทั้งการปฏิสัมพันธ์ รวมถึงรูปแบบการทำงาน และแม้ว่ากระบวนทัศน์ใหม่นี้จะเป็นความท้าทาย แต่ถือเป็นการสร้างโอกาสใหม่ๆ สำหรับนวัตกรรมในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการออกแบบ เพื่อสนับสนุนแนวทางที่แตกต่างออกไป ซึ่งหน่วยงานภาครัฐ องค์กรต่างๆ และผู้มีส่วนร่วม จะต้องเตรียมแผนดำเนินงานให้ทันถ่วงที เพื่อร้อน และการปกป้องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม แค่การตอบรับของผู้คนทั่วไป ไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้เร็วมากพอ แม้ผู้คนทั่วโลกส่วนใหญ่ 73% ยินดีที่จะปรับเปลี่ยนมาใช้นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน แต่คนส่วนมากกลับเห็นว่า แนวคิดการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนจะไม่ถูกให้ความสำคัญในลำดับต้นๆ ภายในระยะเวลาอันใกล้ และยิ่งไปกว่านั้นผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 40% ยังรู้สึกว่าพลังงานหมุนเวียนไม่สามารถกลายเป็นพลังงานหลักในเมืองของพวกเขาได้ภายในทศวรรษหน้า
ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมจึงเป็นหัวข้อที่รัฐบาลให้ความสำคัญเช่นกัน โดยล่าสุดรัฐบาลไทยชูโมเดลเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green (BCG) เพื่อเป็นกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนทุกระดับในประเทศไทยอย่างยั่งยืน
3เอ็ม ตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และมีความมุ่งมั่นในการไปถึงเป้าหมายสูงสุดนั่นคือการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตั้งแต่ปี 2562 เราได้นำความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมมาคิดค้นและพัฒนาขั้นตอนการผลิตที่ทันสมัย สามารถลดการใช้วัสดุในการผลิตลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้เรากำลังศึกษาหาแนวทางในการลดรูปแบบการปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภคแบบดั้งเดิม ซึ่งมักจะก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง เพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม
ไม่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะสร้างผลดีหรือผลเสีย แต่การเกิดขึ้นของโรคระบาดในครั้งนี้ก็ได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตพื้นฐานของผู้คนอย่างถาวร ทั้งการปฏิสัมพันธ์ รวมถึงรูปแบบการทำงาน และแม้ว่ากระบวนทัศน์ใหม่นี้จะเป็นความท้าทาย แต่ถือเป็นการสร้างโอกาสใหม่ๆ สำหรับนวัตกรรมในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการออกแบบ เพื่อสนับสนุนแนวทางที่แตกต่างออกไป ซึ่งหน่วยงานภาครัฐ องค์กรต่างๆ และผู้มีส่วนร่วม จะต้องเตรียมแผนดำเนินงานให้ทันถ่วงที เพื่อปรับตัวและค้นหาวิธีเพื่อใช้ประโยชน์จากความเปลี่ยนแปลงที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา