Kantar (คันทาร์) บริษัทวิจัยชั้นนำด้านข้อมูลเชิงลึกและที่ปรึกษาทางการตลาดระดับโลก เผยข้อมูลผลกระทบจากวิกฤติ COVID-19 ที่มีต่อพฤติกรรมการจับจ่ายสินค้า FMCG ระดับโลก ปี 2020 ที่ผ่านมาและส่งผลต่อเนื่องในปี 2021 ถึงแม้ว่าเราจะเข้าสู่ปีใหม่แล้วก็ตามแต่ในบางภูมิภาคก็ยังรู้สึกเหมือนกลับไปสู่ในยุคเริ่มต้นของการแพร่ระบาด โดย Kantar พิจารณาอัตราการเติบโตของ FMCG ทั่วโลก หมวดหมู่สินค้าที่ได้รับผลกระทบ แบรนด์และผู้ผลิตที่ทำได้ดีท่ามกลางวิกฤติและผลกระทบที่มีต่อพฤติกรรมการจับจ่ายอย่างแท้จริงของผู้บริโภค
การเติบโตของ Global FMCG คาดว่าจะแตะ 10% ภายในสิ้นไตรมาสที่ 1 2021 และเราอาจจะไม่ได้เห็นการเติบโตแบบ Double-digit ของสินค้า FMCG อีก ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยความไม่แน่นอนต่างๆ เช่น แผนการเปิดตัววัคซีน ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย กระแสการทำงานที่บ้านหลังการแพร่ระบาด และการเปลี่ยนแปลงข้อจำกัดต่างๆ ที่ส่งผลโดยตรงกับผู้บริโภค
สินค้า Health & Beauty กระทบหนัก จากเติบโตเร็วที่สุดกลายเป็นช้าที่สุด ท่ามกลางการแพร่ระบาด คาดการณ์ว่าจะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งเมื่อผู้บริโภคออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านอย่างปกติอีกครั้ง แน่นอนตรงกันข้ามกับสินค้าหมวดอาหารที่เติบโตขึ้นขณะผู้บริโภคอยู่บ้าน
แบรนด์และผู้ผลิตที่ “โตสวนวิกฤติ” ที่สุดในเอเชีย
ไม่เพียงแต่สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าเชื้อโรคที่ได้รับอานิสงส์จากวิกฤตินี้ แต่แบรนด์ขนมขบเคี้ยวก็ยังได้รับประโยชน์จากการแพร่ระบาดอีกด้วย บ่งชี้ว่าแบรนด์อื่นๆ ในตลาดก็ยังมีโอกาสที่จะชนะใจในการตอบสนองของผู้บริโภคและการกู้คืนสถานการณ์ยอดขายของตัวเอง
อันดับ 1 Dettol อัตราการเติบโต 60%
อันดับ 2 Harpic อัตราการเติบโต 44%
อันดับ 3 Cheetos อัตราการเติบโต 14%
อันดับ 4 Nestea และ Doritos อัตราการเติบโต 13%
ทั้งนี้เอเชียมีผู้ผลิตเพียง 3 ราย ที่เป็นแบรนด์ระดับโลก มีอัตราการเติบโตสูงที่สุดนับตั้งแต่เกิดโรคระบาด ได้แก่ Reckitt Benckiser, Kellogg’s และ Pepsico (ข้อมูลจาก Kantar, Worldpanel Division เปรียบเทียบ MAT Q3 2020 v 2019 ของสินค้า FMCG Take Home สะท้อนข้อมูลใน 9 ตลาด ได้แก่ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม)
ผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ที่มีต่อเศรษฐกิจจะคงอยู่กับเราไปอีกสักระยะ โลกของ FMCG จะมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น ในฐานะแบรนด์ต้องไม่เพียงแต่วิเคราะห์สถานการณ์ตลาดภายในประเทศเพียงอย่างเดียว แต่ต้องจับกระแสตลาดทั้งโลกให้ได้ เทรนด์ที่นักการตลาดควรตระหนักหลังจากนี้
1. สินค้าที่เน้นสุขอนามัย มีความจำเป็นช่วงนี้และหลังจากนี้ แบรนด์ต้องทำให้เกิด “Trust” และสินค้าต้องทำใช้งานง่าย
2. ผู้บริโภคจะ Work-from-home กันมากขึ้น กว่าช่วง Pre-COVID อาหารคลีนกำลังได้รับความนิยม
3. ความเป็นอยู่ที่ดี ผู้บริโภคมองว่าจิตใจมีความสำคัญเท่ากันกับร่างกาย
4. การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) ส่งผลให้บรรจุภัณฑ์รีไซเคิลและการจัดหาอย่างยั่งยืนเป็นที่โดดเด่นในการแข่งขัน ผู้บริโภคปรับพฤติกรรมตัวเองเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดการปล่อยก๊าซ
5. การเปิดรับ E-Commerce จะสูงขึ้น ผู้บริโภคปรับพฤติกรรมการจับจ่ายใหม่
6. กลยุทธ์ Premiumization จะเป็นช่องทางในการเติบโตของแบรนด์ในอีก 3 ปีข้างหน้า
7. การ Fragment ผู้บริโภค ยังคงดำเนินต่อไป และการตลาดมวลชนแบบ “Personalized” จะถูกพัฒนาขึ้นไปอีกขั้น