9 หน่วยงานสานพลังขานรับนโยบายบูรณาการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการยกระดับคุณภาพชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความอยู่ดีมีสุข ความสามัคคีปรองดอง และความสงบสุขของชุมชน
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาคใต้และภาคใต้ชายแดน (อ.ก.บ.ภาคใต้และภาคใต้ชายแดน) เป็นประธานและมอบนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา พร้อมมอบนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนฯ และชมนิทรรศการ
ในโอกาสนี้รองนายกรัฐมนตรีได้ให้เกียรติเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนต้นแบบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) ระหว่าง 6 หน่วยงาน และ 3 จังหวัด ประกอบด้วย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ศูนย์อำนวยการบริหารส่วนจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ ทุกฝ่ายมีเจตจำนงในการร่วมมือขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนต้นแบบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน (CBT Thailand) เพื่อสร้างโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ได้รับการเพิ่มมูลค่า ชุมชนท้องถิ่นมีศักยภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อสร้างประโยชน์แก่คนในชุมชน และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชนได้อย่างยั่งยืน โดยจะมีการสนับสนุนกาดำเนินการซึ่งกันและกันตามข้อตกลงและหลักการของความร่วมมือ
วัตถุประสงค์สำคัญของความร่วมมือ คือ 1) บูรณาการการมีส่วนร่วมระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างเป็นระบบ และสอดรับกับนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชน 2) พัฒนาบุคลากรภาคส่วนต่าง ๆ ให้สามารถบริหารจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวในพื้นที่ได้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่น 3) สนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงชุมชนท้องถิ่นสู่ตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีคุณภาพ โดยส่งเสริมให้ชุมชนสามารถเข้าถึงตลาดทั้งในและต่างประเทศ เป็นที่รู้จักและยอมรับของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่สนใจการท่องเที่ยวโดยชุมชนประเทศไทย 4) ร่วมกันถอดบทเรียนและติดตามประเมินผลการพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน พร้อมทั้งจัดทำและเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการพัฒนาเพื่อประโยชน์ในการขยายผลการพัฒนาไปสู่ชุมชนอื่น ๆ 5) สนับสนุนภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนต้นแบบ ให้สามารถบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า “นโยบายและเป้าหมายในการพัฒนาพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ครอบคลุมทุกมิติในการพัฒนา ทั้งการพัฒนาคน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาอุตสาหกรรม และสิ่งสาคัญคือ การเสริมสร้างความมั่นคงและสามัคคีในพื้นที่ ซึ่งรวมถึงการยกระดับความเชื่อมั่นของพื้นที่ให้คนภายนอกได้รับรู้ถึงความงามและความจริงของพื้นที่ ซึ่งเต็มไปด้วยเสน่ห์ที่ซ่อนอยู่และถูกบิดเบือนมานาน การท่องเที่ยวไม่ใช่เพียงแค่โอกาสทางเศรษฐกิจให้คนในพื้นที่ แต่ยังเป็นโอกาสในการสร้างความเข้าใจและมิตรภาพให้กับคนในประเทศได้รักและสามัคคีกันมากขึ้น”
ทั้งนี้ อพท. ในฐานะหน่วยงานประสานความร่วมมือในการขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เล็งเห็นถึงความสาคัญของการบูรณาการทุกภาคส่วน ผ่านกระบวนการ Co-Creation “ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมรับผลประโยชน์” ซึ่งเป็นปัจจัยสู่ความสาเร็จอย่างยั่งยืน จึงได้จัดให้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือขึ้น โดยแสดงให้เห็นถึงรูปธรรมของการใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือในการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้าในสังคม เพื่อผลสัมฤทธิ์ คือ ความสามัคคีปรองดอง และความสงบสุขในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
พันเอก ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อานวยการ อพท. กล่าวว่า “การบูรณาการความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการสานพลังของหน่วยงานที่มีภารกิจและความเชี่ยวชาญที่หลากหลาย แต่มีเจตนารมณ์ร่วมกันในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้การท่องเที่ยวเป็นโจทย์ในการพัฒนา เพื่อเป้าหมายเดียวกันคือ การยกระดับความอยู่ดีมีสุข ความสามัคคีปรองดอง และความสงบสุขของชุมชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป”