วันจันทร์, พฤศจิกายน 25, 2024
Home > New&Trend > มาทำความรู้จักกับบทบาทผู้นำ “ยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น”

มาทำความรู้จักกับบทบาทผู้นำ “ยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น”

ปัจจุบัน องค์กรธุรกิจยุคใหม่กำลังอยู่ในช่วงของการปรับปรุงกระบวนการทำงาน และแสวงหานวัตกรรม ที่จะสามารถแก้ปัญหาและลดอุปสรรค ในการดำเนินงานแบบเดิมๆ เพื่อเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้ก้าวไปในทิศทางเดียวกันกับโลกยุคปัจจุบันได้ จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทและเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้การทำงานยุคดิจิทัลที่เพิ่มการเชื่อมโยงในการติดต่อ ความคล่องตัว ความสะดวกสามารถทำงานได้ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ ซึ่งทั้งหมดก็เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วนั่นเอง ดังนั้น ถ้าหากเราต้องการที่ก้าวสู่ยุคดิจิทัล และเป็นที่ต้องการขององค์กร สิ่งที่ต้องทำคือการปรับตัวให้มีความรู้ ความสามารถ โดยยกระดับทักษะในการใช้เทคโนโลยี และอุปกรณ์ทันสมัยรูปแบบใหม่ ๆ รวมไปถึงต้องอัพเดทความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้การเป็นคนที่สามารถทำงานในองค์กรยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดอยู่เสมอ วันนี้ “ไรท์ แมเนจเมนท์” บริษัทในเครือ “แมนพาวเวอร์กรุ๊ป” ได้ทำการสำรวจและได้นำกฎกับหลักทฤษฎีที่ผู้นำองค์กร ซึ่งเป็นแม่ทัพใหญ่ในการบัญชาการต้องทำเพื่อก้าวสู่ผู้นำแบบดิจิทัล

การเป็นผู้นำเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงธุรกิจด้วยแนวคิดดิจิทัล

จากผลการสำรวจพบว่าหากองค์กรที่เปิดรับการเปลี่ยนแปลงก้าวสู่ดิจิทัล จะทำให้องค์กรนั้นมีกำไรมากกว่าคู่แข่งถึง 26% และมีมูลค่าทางการตลาดสูงขึ้น 12% อย่างไรก็ตาม จากการปรับตัวของหลายองค์กรเพื่อรองรับการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี ซึ่งเข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจและองค์กรให้ประสบความเร็จ “ผู้นำ” ถือเป็นกลไกสำคัญ แต่อย่างไรก็ตาม หลายๆองค์กรคงหลีกเลี่ยงความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงที่จะมีผลต่อวัฒนธรรมองค์กรไม่ได้ ดังนั้น การสร้างความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงขององค์กรจะต้องสร้างวัฒนธรรมเชิงนวัตกรรมขึ้นก่อน โดยการเปิดรับการเปลี่ยนแปลง และเตรียมการรับมือกับความเสี่ยงที่คาดการณ์ไว้ อีกทั้งยังต้องพร้อมสำหรับความล้มเหลวที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงจะต้องเริ่มจากผู้บริหารระดับสูง และผู้นำองค์กรต้องเปลี่ยนวิธีการนำให้ต่างจากเดิม ถึงแม้การเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานจะก่อให้เกิดความขัดแย้ง เพราะการเปลี่ยนแปลงส่งผลต่อการตัดสินใจกับความก้าวหน้า และกรอบงานเดิมๆ นั้น การสร้างผู้นำที่ใช่กับรูปแบบการทำงานที่เหมาะสมจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายปฏิบัติงาน

“จากผลการสำรวจระบุว่า ผู้บริหารระดับซีอีโอ 47% เท่านั้นที่เริ่มเปลี่ยนธุรกิจของตนเข้าสู่ระบบดิจิทัล และ 89% เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงจะต้องเริ่มจากผู้บริหารระดับสูง และผู้นำองค์กรต้องเปลี่ยนวิธีการนำของตัวเองให้ต่างจากเดิม และ 34% เห็นผลสำเร็จของระบบดิจิทัลจากการเติบโตของธุรกิจแล้ว”

“สำหรับผู้นำแบบดิจิทัล ได้จำกัดความและหมายถึง กลุ่มผู้นำที่พร้อมสำหรับการทำงานด้วยระบบดิจิทัล มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเชื่อมโยง พร้อมสร้างนวัตกรรมและศักยภาพ เพื่อผลักดันโอกาสและความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงไปสู่การทำงานในระบบดิจิทัล”

นอกจากนี้ การเป็นผู้นำแบบดิจิทัลไม่ได้แทนที่ลักษณะความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพตามแนวคิดดั้งเดิมทั้งหมด แต่จะใช้กฏ 80/20 แทน ศักยภาพและความสามารถที่จำเป็นสำหรับผู้นำอะนาล็อคยังคงอยู่ที่ร้อยละ 80 โดยอย่ามองข้ามทักษะความเป็นผู้ที่เข้มแข็งที่สั่งสมประสบการณ์ที่เรียนรู้ความสำเร็จและล้มเหลวมาแล้ว การจะแทนที่ผู้นำแบบดั้งเดิมด้วยผู้นำแบบดิจิทัล ที่พร้อมสำหรับการทำงานในยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นในทันทีจึงไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง ความท้าทายของการเป็นผู้นำผ่านการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัลยิ่งทำให้สั่งสมประสบการณ์การทำงานเพิ่มขึ้นไปอีก ซึ่งผู้นำทุกคนควรมีความสนใจใฝ่รู้และทักษะความเชี่ยวชาญในระบบดิจิทัลด้วย ดังนั้นการผสมผสานความเก่ง ความสามารถ ความมุ่งมั่นและอดทนเป็นปัจจัยที่จะส่งเสริมสนับสนุนและพื้นฐานที่เข้มแข็งของผู้นำที่มีประสิทธิภาพจะเป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จและการเติบโตในอนาคตได้

ขณะที่อีกร้อยละ 20 เป็นทักษะความสามารถที่เรียนรู้ได้จะต้องเพิ่มเติมเข้ามาเพื่อพัฒนาผู้นำแบบดิจิทัล ทั้งนี้ผู้นำที่พร้อมในการทำงานยุคดิจิทัลต้องมีทักษะความเป็นผู้นำแบบดั้งเดิมที่แข็งแกร่งและต้องแสดงให้เห็นว่ามีทักษะใหม่นี้ด้วยเช่นกัน ผู้นำต้องแสดงศักยภาพ ความกล้าที่จะนำและเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานได้ โดยผู้นำสามารถพัฒนาทักษะเพิ่มพูนความรู้และเรียนรู้ร่วมกับผู้นำแบบดิจิทัลจากองค์กรอื่นๆ ที่นำหน้าคุณมา ปรับประยุกต์ในการบริหารงานเพื่อขับเคลื่อนความสำเร็จขององค์กร

พร้อมกันนี้ จากการสำรวจภาคการผลิตเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนไปสู่ระบบดิจิทัลมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา การผลิตรวมถึงห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตมีมูลค่าถึง 32% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ แม้จะมีการคาดการณ์กันว่าหุ่นยนต์จะเข้ามาแทนมนุษย์ในหลายส่วนในทศวรรษหน้า ขณะที่ระบบอัตโนมัติกำลังถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในภาคการผลิตจะมีตำแหน่งงานเปิดเพิ่มขึ้นในสายงานการผลิตด้วยมูลค่าถึง 3.5 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในทุกภาคส่วน เช่น อุปกรณ์การแพทย์และอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ การพิมพ์สามมิติ อาหารและสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ อุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของภาคการผลิตไม่ใช่เครื่องจักรแต่เป็นมนุษย์ เป็นไปได้ว่าจะมีตำแหน่งงานว่างกว่า 2 ล้านตำแหน่ง เนื่องจากแรงงานที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่จะมีในอนาคตขาดทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานนั้น

นอกจากนี้ “ไรท์ แมเนจเมนท์” นำเสนอโมเดลที่จะช่วยองค์กรกำลังหาวิธีเพื่อใช้ในการคาดการณ์ พัฒนา และวัดความสามารถของผู้นำ ด้วย “โมเดลผู้นำแบบ P3” ซึ่งประกอบด้วย People-บุคลากร Purpose-วัตถุประสงค์ และ Performance-สมรรถนะในการทำงาน จะช่วยให้องค์กรสามารถค้นหา ฝึกสอนและพัฒนาผู้นำในปัจจุบันและอนาคตได้ จากการประเมินศักยภาพของผู้นำกว่า 13,000 คนในหลายภาคส่วน ได้แก่ การผลิต พลังงาน สาธารณูปโภค เทคโนโลยี บริการด้านสุขภาพ การธนาคารและการเงิน พบว่าโมเดลผู้นำ P3 สามารถทำให้องค์กรค้นพบปัจจัยที่ส่งเสริมความสามารถที่ฝึกสอนได้ เพื่อช่วยให้องค์กรพัฒนาผู้นำที่มีคุณลักษณะเหมาะสมกับยุคดิจิทัล พร้อมกันนี้ “ไรท์ แมเนจเมนท์” ยังร่วมมือกับองค์กรทุกขนาดธุรกิจเพื่อพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำที่เหมาะสมของบุคลากรที่ใช่ในเวาที่เหมาะสม เพื่อผลักดันความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคดิจิทัล

อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าเรากำลังก้าวสู่โลกโลกดิจิทัลที่มีการนำเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบอัตโนมัติปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence : AI หรือหุ่นยนต์ แต่เทคโนฯและอุปกรณ์อัจฉริยะต่าง ๆ เหล่านั้นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งยังไม่ใช่สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงได้ทันทีทีทันใด แต่อย่างไรก็เทคโนโลยีเหล่านี้เป็นแรงฉุดที่รวดเร็วที่ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ต้องการหาวิธีทำงานที่เร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือช่วยให้ลูกค้ามีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรได้สะดวกมากขึ้น จึงเป็นความท้าทายของฝ่ายทรัพยากรบุคคล (Human Resources : HR) การพัฒนาบุคลากรในองค์กรเดิมและการสรรหาบุคลากรที่มีทักษะพร้อม หรือไม่ก็ให้พนักงานทุกคนพัฒนาทักษะที่จำเป็นเพื่อใช้เครื่องมือและกระบวนการใหม่ๆ เหล่านี้ได้

ทั้งนี้การที่จะเป็นผู้นำในยุคดิจิทัลได้นั้น ผู้นำต้องผสมผสานปัญญาของมนุษย์เข้ากับความสามารถของเครื่องจักร เพื่อสร้างบริษัทที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีและมุ่งมั่นที่จะเติบโตข้างหน้า ไม่ว่าองค์กรจะอยู่ที่ขั้นตอนใดในการ เปลี่ยนแปลง สิ่งที่สำคัญคือองค์กรจะต้องค้นหา สนับสนุนและพัฒนาแรงงานของตนที่มีอยู่ในปัจจุบันและผู้นำในอนาคต เพื่อพัฒนาศักยภาพที่จำเป็นสำหรับบุคลากรในโลกดิจิทัล ผู้นำที่สามารถผลักดันกลยุทธ์ขององค์กร สร้างวัฒนธรรม และ สื่อสารวิสัยทัศน์รวมถึงแผนงานที่ชัดเจนแก่บุคลากรของตน พร้อมกับการค้นหา ส่งเสริมและพัฒนาทักษะแรงงานจะช่วยเปลี่ยนแปลงองค์กรให้เข้าสู่ระบบดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์และกลายเป็นผู้บริหารแบบดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จต่อไป

ใส่ความเห็น