Home > TRF

สกว.จับมืออุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือกระตุ้นการวิจัยสู่สตาร์ทอัพ

สกว.จับมืออุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือกระตุ้นการวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ หวังต่อยอดสู่สตาร์ทอัพ ทุ่มงบวิจัยต่อยอดรวม 10 ทุน ด้านผู้บริหาร มช. ย้ำนักวิจัยมีบทบาทสำคัญในการร่วมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับสังคมและยกระดับมหาวิทยาลัยเคียงบ่าเคียงไหล่นานาประเทศ ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมงานสัมมนากระตุ้นการวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ภายใต้โครงการ “การแปลงงานวิจัยและยกระดับสู่การใช้ประโยชน์” และการศึกษาการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จากงานวิจัยพื้นฐานภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจาก สกว. และเยี่ยมชมการดำเนินงานของอุทยานฯ และโรงงานต้นแบบ-บริษัทสตาร์ทอัพภายใต้การผลักดันของอุทยานฯ ผู้อำนวยการ สกว. กล่าวระหว่างการบรรยายโครงสร้างและระบบวิจัยใหม่ ว่าอยากให้ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะผู้บริหารและนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีช่วยกันจัดทำแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยแลลำนวัตกรรมของประเทศ โดยใช้กลไกสนับสนุนทุนวิจัย งบประมาณ และการติดตามประเมินผล เป็นตัวขับเคลื่อนงานวิจัยภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ดีแบบมีส่วนร่วมผ่านกองทุนในระดับหน่วยงานในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในประเทศ สำหรับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นั้นน่าจะทำการวิจัยด้านปฏิกิริยานิวเคลียร์เป็นอย่างมาก เพราะเป็นแหล่งพลังงานที่น่าลงทุน ขณะที่ รศ. ดร.สัมพันธ์ สิงหราชวราพันธ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศบนฐานนวัตกรรมในยุคประเทศไทย 4.0 บทบาทของนักวิจัยในมหาวิทยาลัยจะทวีความสำคัญมากขึ้น เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่านอกจากการสอนและทำวิจัยแล้วยังต้องสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับสังคมด้วย มิฉะนั้นจะถูกดิสรัป ถ้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไม่ก้าวสู่มหาวิทยาลัยวิจัยก็จะไปไม่รอด เราจึงต้องยกระดับมหาวิทยาลัยให้เคียงบ่าเคียงไหล่ประเทศต่าง ๆ ที่พัฒนาไปไกลแล้ว เช่น

Read More

สกว.-มจธ.โชว์ฐานข้อมูลวิศวกรรมโบราณสถาน หวังไทยเป็นผู้นำด้านการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม

สกว.จับมือ มจธ. จัดกิจกรรมสื่อสัญจรโชว์การจัดทำฐานข้อมูลทางวิศวกรรมของโบราณสถาน เพื่อใช้ในการอนุรักษ์และบูรณะโบราณสถานให้ใกล้เคียงของเดิม และคำนวณได้อย่างแม่นยำ พร้อมจัดทำต้นแบบฐานข้อมูลให้ผู้เกี่ยวข้องหรือคนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ ด้านรองปลัดกระทรวงวัฒนธรรมหวังสร้างองค์ความรู้และบุคลากรเพื่อให้ไทยเป็นผู้นำภูมิภาคในการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดกิจกรรมสื่อสัญจร “การจัดทำฐานข้อมูลทางวิศวกรรมของโบราณสถาน” ณ ห้องประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อรายงานความก้าวหน้าของโครงการวิจัย ‘การพัฒนาฐานข้อมูลทางวิศวกรรมเพื่อการประเมินและติดตามสภาพโครงสร้างโบราณสถานของไทย’ ภายใต้การสนับสนุนของ สกว. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวถึงแถลงถึงความร่วมมือในการสนับสนุนการวิจัย ตลอดจนการใช้นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์และบูรณะโบราณสถานโดยกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ต่อไปว่ามูลค่าของมรดกวัฒนธรรม ไม่มีระบบการจัดเก็บที่คนสามารถเข้าไปสืบค้นและนำมากล่าวอ้างทางวิชาการได้ สกว. นอกจากช่วยเก็บฐานข้อมูลวิศวกรรมของประเทศแล้วจะช่วยให้กรมศิลปากรและคนทั่วไปสามารถเข้าไปดูข้อมูลอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการใช้โบราณสถานเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม และจะขยายผลได้อีกต่อไป “แม้ว่าปัจจุบันบิ๊กดาต้าจะมีข้อมูลโบราณคดีและประวัติศาสตร์ทั่วไปที่สามารถเข้าไปดูได้ แต่ยังไม่มีข้อมูลที่ช่วยในการบูรณะอย่างถูกต้อง เรามองไปไกลกว่านั้นว่าจะมีบทบาทในกลุ่มภูมิอินโดจีนซึ่งมีลักษณะโครงสร้างใกล้เคียงกับประเทศไทย จึงอยากให้ไทยมีบทบาทนำและใช้ศักยภาพของประเทศในการสร้างเกียรติภูมิ ทั้งนี้สิ่งที่จะทำให้เรามีบทบาทในการเป็นผู้นำหรือจุดศูนย์กลางของภูมิภาคได้นอกจากการมีฐานข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์ได้แล้วยังต้องมีคนจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้ามาร่วมทำงานกับกรมศิลปากร เพื่อเป็นตัวชี้วัดว่าเรามีองค์ความรู้และบุคลากรที่ตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม เพราะการสำรวจ รังวัด ปักหมุดอาจไม่ทันต่อความเจริญของบ้านเมือง จำเป็นต้องใช้นวัตกรรมในการกำหนดขอบเขตพื้นที่เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการประกาศเขตเมืองเก่าและเข้าไปควบคุมดูแลหรืออนุรักษ์ นอกจากนี้ยังนำไปประยุกต์เป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กและเยาวชนได้ ดังนั้นกรมศิลปากรจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้นและพยายายามผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง” ขณะที่ ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกว. ระบุว่างานวิจัยนี้เป็นการเปิดมิติใหม่ของการวิจัยและงานด้านโบราณสถานที่ถ่ายทอดมรดกวัฒนธรรมโดยใช้องค์ความรู้ด้านวิศวกรรมเข้ามาศึกษาในหลายมิติ และเป็นครั้งแรกของไทยที่ได้นำเทคโนโลยีจากงานวิจัยเข้ามาศึกษางานที่มีมานานหลายร้อยปี นอกจากนี้ยังได้ชิ้นงานซึ่งเป็นนวัตกรรมหลายอย่าง

Read More