Home > 2015 > มีนาคม (Page 2)

แอร์โฮสเตสอาชีพในฝันของสาวๆ ที่ไม่สวยงาม และเลิศหรูอย่างที่คิด

 Women in Wonderland อาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Flight Attendance หรือ Cabin Crew) ผู้ชายที่ทำหน้าที่ต้อนรับบนเครื่องบินเรียกว่า สจ๊วต ส่วนผู้หญิงที่ทำงานนี้เรียกว่า แอร์โฮสเตส เป็นหนึ่งอาชีพในฝันของผู้หญิงหลายคน เพราะเป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้อย่างมากมาย (ประมาณ 40,000 บาทต่อเดือน สำหรับผู้ที่เริ่มทำงานแรกๆ และอาจจะมีรายได้มากกว่านี้สำหรับบางสายการบิน) แถมยังได้แต่งตัวสวยๆ มีโอกาสท่องเที่ยวเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในที่ต่างๆ อยู่เสมอ หน้าที่หลักๆ ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน คืออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินในระหว่างการเดินทาง เช่น ดูแลอุปกรณ์ความปลอดภัยบนเครื่องบิน และสาธิตการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น  ในขณะเดียวกันแอร์โฮสเตสก็จะทำงานบริการต่างๆ บนเครื่องบินให้กับผู้โดยสารทุกท่าน เช่น เสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่ม เตรียมอาหาร ให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้นกับผู้โดยสารที่เกิดเจ็บป่วยระหว่างการเดินทาง จัดหาที่นั่งให้กับผู้โดยสาร แจ้งข้อมูลที่จำเป็นต่างๆ ในการเดินทาง รวมทั้งคอยให้บริการด้านอื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกทั้งในยามปกติและยามเกิดเหตุฉุกเฉิน ฟังแล้วอาชีพแอร์โฮสเตสดูเหมือนไม่ยาก เพียงแค่คอยบริการและอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้ผู้โดยสารตั้งแต่เริ่มเดินทางจนถึงที่หมายปลายทางให้อยู่ในความเรียบร้อย แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาชีพแอร์โฮสเตสนั้นเป็นงานที่หนัก เพราะต้องทำงานทั้งกลางวันและกลางคืน ขึ้นอยู่กับว่าสายการบินจะกำหนดให้ทำงานในเที่ยวบินที่จะออกเดินทางตอนกี่โมง จึงไม่สามารถเลือกเวลาทำงานได้เหมือนอาชีพอื่นๆ  นอกจากนี้แอร์โฮสเตสยังต้องทำงานภายใต้ความกดดันสูง เพราะพวกเธอไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะพบเจอลูกค้าแบบไหน และสายการบินยังมีการประเมินและทำการทดสอบต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ

Read More

เอสซีจี วางศิลาฤกษ์โรงงานปูนซีเมนต์คำม่วน ที่สปป.ลาว

เอสซีจี วางศิลาฤกษ์โรงงานปูนซีเมนต์คำม่วน ที่สปป.ลาวมุ่งนำเสนอสินค้าคุณภาพเยี่ยม รองรับการพัฒนาสู่ AEC นายพิชิต ไม้พุ่ม (ที่ 4 จากขวา) กรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ – ปฏิบัติการ นายนิธิ ภัทรโชค (ที่ 2 จากซ้าย) ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ – ตลาดในประเทศ เอสซีจี ซิเมนต์ – ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง นายจันสอน แสนบุดตะลาด (ที่ 3 จากซ้าย) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Read More

แนวรบ “เครื่องดื่มเกลือแร่” ระอุรับหน้าร้อน

 สภาพอากาศกลางเดือนมีนาคมในประเทศไทยที่อุณหภูมิความร้อนไต่ระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งแตะ 36 องศาเซลเซียส คงทำให้ใครหลายคนต้องมองหาตัวช่วยดับร้อน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนสถานที่ที่ชุ่มฉ่ำไปด้วยแอร์เย็นๆ หรือการอาบน้ำชำระล้างเหงื่อกาฬเพื่อเรียกความสดชื่นคืนมา แต่นั่นเป็นการคลายร้อนเพียงภายนอกเท่านั้น หากแต่ตัวช่วยที่สามารถสร้างความกระปรี้กระเปร่าจากภายในคงหนีไม่พ้นน้ำสะอาด หรือเครื่องดื่มเกลือแร่ที่ช่วยทดแทนการเสียเหงื่อ แน่นอนว่าเครื่องดื่มบรรจุขวดหรือกระป๋องที่เรียงแถวกันบนชั้นในตู้แช่เย็นที่ดาหน้ามาให้ผู้บริโภคเลือกซื้อกันนั้น แม้จะเป็นเครื่องดื่มที่ให้ความสดชื่นต่อร่างกาย แต่ภาวะการตลาดของเครื่องดื่มเกลือแร่กลับร้อนระอุ เมื่อมีการแข่งขันที่สูงขึ้น  เครื่องดื่มเกลือแร่ที่มีมูลค่าทางการตลาดสูงถึง 6,000 ล้านบาท ตัวเลขการตลาดของเครื่องดื่มเกลือแร่ที่สูงในขณะที่คู่แข่งทางการตลาดยังมีจำนวนไม่มากมายนัก ดูจะไม่ใช่เรื่องแปลกหากจะมียักษ์ใหญ่หลายค่ายมองเห็นช่องทางการเติบโต พร้อมความหวังให้ตัวเลขในบัญชีรายรับสูงขึ้น และเริ่มบุกตลาดเพื่อหวังแชร์ส่วนแบ่งของเค้กก้อนเขื่องที่มีกลิ่นหวานหอมชวนลิ้มลอง ตลาดเครื่องดื่มเกลือแร่ถูกเพิ่มดีกรีความร้อนจากค่าย “คาราบาวกรุ๊ป” ที่ส่ง “สตาร์ท พลัส ซิงค์” ลงมาประเดิมตลาด ที่พร้อมจะแข่งกับผู้นำตลาดอย่างแบรนด์สปอนเซอร์ ที่ยังครองส่วนแบ่งการตลาดไปมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ด้วยการชูส่วนประกอบสำคัญอย่าง “Zinc” ที่เป็นตัวช่วยควบคุมกระบวนการต่างๆ ในร่างกายให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยซ่อมบำรุงเอนไซม์ รวมถึงเซลล์ต่างๆ หากร่างกายมีเหงื่อออกมากเกินไป อาจจะทำให้ร่างกายต้องสูญเสียสังกะสีมากถึง 3 มิลลิกรัมต่อวัน ในยุคสมัยที่ผู้คนมักนิยมวิ่งตามกระแสสังคม ที่ผู้บริโภคหันมาให้ความใส่ใจกับสุขภาพร่างกายกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์การออกกำลังกายอย่าง T25 หรือการปั่นจักรยาน สิ่งที่ตามมาคือ เรื่องความต้องการอาหารและเครื่องดื่มที่ให้ประโยชน์ สามารถซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายได้  กระแสความนิยมดังกล่าวของผู้บริโภคยิ่งเป็นตัวผลักดันให้การแข่งขันเริ่มดุเดือดมากขึ้น เมื่อผู้แข่งขันทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ต่างพากันควักกระเป๋าทำการตลาดหลายร้อยล้านบาท ทั้ง Ad โฆษณาตัวใหม่

Read More

ยุทธการดอยช้าง เมื่อ สิงห์ รุกตลาดกาแฟ

 ยุทธการออกจากพื้นที่ปิด ไปสู่สังเวียนที่เปิดกว้างในกลุ่มนอนแอลกอฮอล์ ของสิงห์ยังคงเดินหน้าต่อเนื่อง หลังจากชิมลางบุกตลาด “ชาเขียว” เมื่อปลายปีที่แล้ว เริ่มศักราชใหม่ ค่ายสิงห์เปิดเกมรุกด้วยการเข้าร่วมมือกับกาแฟ “ดอยช้าง” ที่นับเป็นข้อต่อเชื่อมส่วนหนึ่งของแผนการรุกธุรกิจ “นอนแอลกอฮอลส์” ที่ค่ายสิงห์หวังจะเพิ่มสัดส่วนรายได้ให้เป็นครึ่งหนึ่งของรายได้รวม ประเด็นสำคัญของการรุกครั้งใหม่ในธุรกิจกาแฟ อยู่ที่กลยุทธ์ในการขยายที่นอกจากจะประกอบส่วนด้วยการซื้อหรือควบรวมกิจการ Mergers and acquisitions (M&A) เพื่อเป็นการขยายตัวแบบก้าวกระโดดแล้ว ก็เป็นการร่วมลงทุนในฐานะพันธมิตรธุรกิจที่อาศัยความชำนาญของแต่ละฝ่ายสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นมาใหม่ สอดคล้องกับกลยุทธ์และแนวคิดการบริหารงานของสันติ ภิรมย์ภักดี บอสใหญ่ของค่ายสิงห์ ที่ว่าการเริ่มต้นจากศูนย์ต้องใช้เวลาและลำบาก แต่หากสามารถนำเอาจุดแข็งของแต่ละฝ่ายมาร่วมกันจะสร้างการเติบโตให้ธุรกิจได้เร็ว “เราอยู่คนเดียวไม่ได้ ต้องมีเพื่อน ในโลกธุรกิจก็เช่นกัน เราต้องนำจุดเด่นและความเก่งที่มีกันคนละด้านมาผสานกัน” สันติย้ำ ในวันเปิดตัวบริษัท ดีวีเอส 2014 จำกัด เมื่อไม่นานมานี้ สันติได้มาเป็นประธานเปิด ซึ่งนับเป็นการกลับมาออกงานในโลกธุรกิจงานแรกๆ หลังจากห่างหายไปนานเกือบ 10 ปี ภายหลังจากที่มอบหมายภารกิจให้ลูกชายทั้งสองสานงานต่อในช่วงก่อนหน้านี้ ดีวีเอส 2014 เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท วราฟู้ดส์ แอนด์ดริ้งค์ จำกัด ในเครือของสิงห์ กับบริษัท ดอยช้าง คอฟฟี่ ออริจินอล จำกัด ผู้ผลิตกาแฟ

Read More

คืนวันพระจันทร์เต็มดวง

 เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สังคมไทยคงได้รำลึกถึงพระพุทธคุณเนื่องในวันมาฆบูชา ซึ่งถือเป็นวันพระใหญ่ โอกาสแรกของปี 2558 นี้ ท่ามกลางกระแสข่าวความเป็นไปในแวดวงพระศาสนา และวงการสงฆ์ ที่อาจทำให้ศาสนิกชนอย่างพวกเรารู้สึกกระอักกระอ่วนในใจไม่น้อยเลยใช่ไหมคะ ลองหันไปพิจารณาสังคมที่ถือศีลถือธรรมตามหลักพุทธศาสนาแห่งอื่นๆ บ้างดีไหมคะว่าพวกเขามีวัตรปฏิบัติในการทำนุบำรุงศาสนาที่พวกเขาเชื่อถือ ศรัทธากันอย่างไร โดยเฉพาะความเป็นไปของพุทธศาสนิกชนในศรีลังกา ซึ่งได้ชื่อว่ามีความเคร่งครัดในเรื่องเหล่านี้เป็นลำดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ วันสำคัญทางศาสนาของชาวพุทธศรีลังกา นอกจากจะกำหนดขึ้นคล้ายคลึงกับบ้านเรา ทั้งวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา ตามแบบประเพณีนิยมแล้ว ยังมีวันพระ วันธรรมสวนะ หรือวันอุโบสถ ไม่แตกต่างกัน แต่ที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด คงเป็นเรื่องของการให้ความสำคัญกับคืนวันที่พระจันทร์เต็มดวงในแต่ละเดือน ซึ่งชาวพุทธที่นี่เรียกว่า Poya และนับเป็นวันหยุดราชการทั่วทั้งประเทศศรีลังกาด้วย ความเป็นมาของ Poya ในด้านหนึ่งมีรากฐานต้นทางมาจากคำในบาลี-สันสกฤตที่เกี่ยวเนื่องด้วยคำว่า อุโบสถ (Uposatha) ซึ่งมีความหมายตามคำได้ว่า การเข้าถึง (อุปะ) ยาแก้โรค (โอสถ) ที่ขยายความไปสู่การเข้าถึงธรรมซึ่งเป็นยาแก้โรคจากกิเลสนั่นเอง ด้วยเหตุดังนี้ Poya จึงเป็นวันที่ดำเนินไปสู่การลด การละ ซึ่งนอกจากหน่วยราชการและห้างร้านจำนวนมากจะหยุด ไม่ทำการแล้ว ร้านค้าเนื้อสัตว์และเครื่องมึนเมาทั้งหลายก็จะหยุดทำการค้าเป็นการชั่วคราวในวันสำคัญนี้เช่นกัน กิจกรรมของชาวพุทธศรีลังกาในวัน Poya นับเป็นสีสันและเรื่องราวให้ชวนศึกษาติดตามไม่น้อย เพราะในศรีลังกาไม่มีธรรมเนียมให้สงฆ์มาเดินบิณฑบาตโปรดสัตว์ ตามท้องถนนเหมือนกับที่พบเห็นเจนตาในบ้านเรานะคะ แต่ชาวพุทธที่นี่จะเข้าวัดไปฟังเทศน์ ฟังธรรม ด้วยเครื่องแต่งกายสีขาวกันตั้งแต่เช้า และด้วยเหตุที่

Read More

ยุทธการสร้างแบรนด์ ฉบับ นวลพรรณ ล่ำซำ

 ในบรรดาแวดวงนักธุรกิจสตรีที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้หญิงแถวหน้าในสังคมไทย ชื่อของนวลพรรณ ล่ำซำ ถือเป็นชื่อที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดชื่อหนึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไม่เฉพาะในมิติของการดำเนินธุรกิจ หากแต่ยังขยายไปสู่บริบทแวดล้อมอื่นๆ ที่ เธอคนนี้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทในฐานะผู้จัดการทีมฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย ที่ประสบความสำเร็จได้ไปสำแดงฝีเท้าในสังเวียนฟุตบอลโลกหญิง ซึ่งถือเป็นการไปฟุตบอลโลกครั้งแรกของไทย โดยไม่ต้องรอถึงชาติหน้าชาติไหน อย่างที่ทีมฟุตบอลชายไทยกำลังพยายามลบคำปรามาสนี้ออกไป ความสำเร็จในการนำพาทีมฟุตบอลหญิงไทยไปแข่งขันรอบสุดท้ายในฟุตบอลโลกหญิง ทำให้มีหลายฝ่ายพยายามที่จะเรียกขาน นวลพรรณ ล่ำซำ ในฐานะที่เป็นนางฟ้าแห่งวงการฟุตบอลไทย ซึ่งอาจไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเพราะผลงานในการแข่งขันฟุตบอลเท่านั้น แต่ด้วยรูปลักษณ์ภายนอกและชาติตระกูลถิ่นกำเนิดก็อาจมีส่วนให้คำเรียกขานนี้ ไม่ได้ดูเกินจริง และแน่นอนว่าคงให้ความรู้สึกที่เป็นไปในทางที่ดีกว่าฉายา สวยประหาร ที่นวลพรรณ ล่ำซำ เคยได้รับมาก่อนหน้านี้ นวลพรรณ ล่ำซำ เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2509 เป็นบุตรีคนโตของโพธิพงษ์ ล่ำซำ กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กับ ยุพา ล่ำซำ เจ้าของธุรกิจเมืองไทยประกันชีวิต และเมืองไทยประกันภัย มีน้องสาวและน้องชายประกอบด้วย วรรณพร พรประภา กรรมการผู้จัดการ บริษัท พี แลนด์สเคป จำกัด และ สาระ ล่ำซำ ผู้บริหารบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต ซึ่งทั้งหมดนับเป็นทายาทสายตระกูลล่ำซำ รุ่นที่

Read More

คำแนะนำสั้นๆ เพื่อชีวิตที่ยืนยาว (1)

 บทความสั้นกระชับเกี่ยวกับปัญหาและการดูแลสุขภาพที่นำเสนอนี้ คัดเลือกจากหนังสือ A Short Guide to a Long Life เขียนโดยนายแพทย์ David B. Agus, MD ผู้เขียน The End of Illness ซึ่งเป็นหนังสือเพื่อสุขภาพเล่มแรกของเขา และติดอันดับหนึ่งหนังสือขายดีที่สุดของ  New York Times David B. Agus เป็นแพทย์และนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็งระดับแถวหน้าคนหนึ่งของโลก เขาเป็นศาสตราจารย์ด้านการแพทย์และวิศวกรรมประจำ University of Southern California (USC) และเป็นผู้อำนวยการ Westside Cancer Center และ Center for Applied Molecular Medicine ของ USC รวมทั้งเป็นคอลัมนิสต์ของสำนักข่าว CBS News เราประเดิมบทความแรกด้วยเรื่อง ...  ประโยชน์อเนกอนันต์ของยาลดไขมันกลุ่ม statin ปัจจุบันโรคหัวใจยังได้ชื่อว่าเป็นเพชฌฆาตหมายเลขหนึ่งที่คร่าชีวิตคนอเมริกันได้มากที่สุด

Read More

นวลพรรณ ล่ำซำ สร้างฐานใหม่ “เมืองไทยประกันภัย”

 หลังดีลประวัติศาสตร์ควบรวมกิจการ “เมืองไทยประกันภัย” กับ “ภัทรประกันภัย” เมื่อปี 2551 นวลพรรณ ล่ำซำ ใช้จุดแข็งจากฐานทางการเงิน ฐานการบริหาร ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และช่องทางการตลาด เปิดเกมรุกช่วงชิงส่วนแบ่ง เปลี่ยนสถานะจากบริษัทรั้งท้ายไม่ติดอันดับ กระโดดสู่กลุ่มท็อปไฟว์ กวาดเบี้ยประกันภัยทะลุหลักหมื่นล้านบาท และล่าสุดแซงหน้าบริษัทคู่แข่งยึดอันดับ 4 ในตลาด ดันกำไรพุ่งสูงสุดติดต่อกัน 3 ปี  แน่นอนว่าชื่อนวลพรรณ ล่ำซำ ฉายา “มาดามแป้ง” “สวยประหาร” และ “นางฟ้าท่าเรือ” ด้านหนึ่งสร้างสีสันให้องค์กรธุรกิจ แต่สำคัญมากกว่านั้น นวลพรรณมักย้ำกับสื่อทุกครั้งว่า เติบโตและเรียนรู้ธุรกิจประกันวินาศภัยมาตลอดชีวิต ตั้งแต่รุ่นพ่อ คือ โพธิพงษ์ ล่ำซำ จนเข้ามาบริหารงานนานเกือบ 10 ปี และเชื่อมั่นว่า ประกันภัย คือปัจจัยที่ 5 ของมนุษย์ ซึ่งหมายถึงโอกาสการเติบโตทางธุรกิจอีกมากมาย แต่ต้องสร้าง “จุดต่าง” จากคู่แข่ง  โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์การประกันภัยหลากหลายรูปแบบตามสถานการณ์และไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมาย เพราะในอดีตผลิตภัณฑ์ในตลาดประกันวินาศภัยเหมือนถูกจำกัดไว้ไม่กี่ประเภท เช่น

Read More

“ล่ำซำ” ยึดธุรกิจประกัน เส้นทาง 80 ปีจาก “กวางอันหลง”

 เส้นทางธุรกิจประกันภัยของกลุ่ม “ล่ำซำ” ใช้เวลากว่า 80 ปี ต่อสู้ในสงครามการแข่งขันจนยึดกุมส่วนแบ่งติดอันดับ “ท็อปไฟว์” ทั้งตลาดประกันชีวิตและประกันวินาศภัย กลายเป็นอาณาจักรธุรกิจที่ยิ่งใหญ่อีกสายหนึ่งของตระกูล เม็ดเงินในตลาดมากกว่า 7 แสนล้านบาท  ต้องถือว่ากิจการประกันภัยของกลุ่มล่ำซำเกิดขึ้นพร้อมๆ กับกิจการธนาคารพาณิชย์และเป็นธุรกิจที่ฝังรากลึกตั้งแต่ต้นตระกูล แม้ล่ำซำรุ่นที่ 1 อึ้งเมี่ยวเหงี่ยน ตัดสินใจเดินทางจากตำบลส่งเค้าโป๊ อำเภอบ้วยกุ้ย จังหวัดเกี่ยเอ้งจิวฮู้ มลฑลกวางตุ้ง เข้าสู่ประเทศไทย โดยเริ่มทำมาหากินในร้านขายเหล้าของ “จิวเพ็กโก”     แต่อึ้งเมี่ยวเหงี่ยน ศึกษาหาความรู้เปลี่ยนฐานะเป็นเถ้าแก่ เปิดร้านขายไม้ซุง ติดลำน้ำเจ้าพระยาแถวจักรวรรดิ สัมพันธวงศ์ ชื่อร้าน “ก้วงโกหลง” และทำสัมปทานป่าไม้แถวจังหวัดนครสวรรค์กับแพร่ ขยายการค้าทั้งในและต่างประเทศ เติบโตรุดหน้า ต่อมา อึ้งยุกหลง ล่ำซำ บุตรชาย เข้ามาดูแลรับผิดชอบธุรกิจของตระกูล ขยายกิจการโรงสีและรับซื้อข้าว รวมถึงสินค้าเกษตรตัวอื่นๆ ส่งขายต่างประเทศ  ปี 2475 อึ้งยุกหลงก่อตั้งบริษัทกวางอันหลงประกันภัย และธนาคารก้วงโกหลง โดยกิจการประกันภัยทำหน้าที่ดูแลและป้องกันวินาศภัยของการขนส่งสินค้า ส่วนธนาคารเป็นเพียงร้านแลกเปลี่ยนเงินตรา แต่ต่อมาธนาคารต้องปิดตัว ผลพวงจากนโยบายของคณะราษฎร ส่วนกิจการประกันภัยมีการขยายธุรกิจต่อเนื่องและเปลี่ยนชื่อเป็น “ล่ำซำประกันภัย” ขณะที่จุลินทร์

Read More

ครัวสร้างชาติ ครัวไทยสู่โลก แบบ คสช.

 นโยบายสาธารณะจำนวนมาก ที่เคยถูกปรามาสว่าเป็นเพียงนโยบายขายฝัน หรือประชานิยม และเป็นมรดกของรัฐบาลในชุดก่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นนโยบาย ครัวไทยสู่ครัวโลก (Kitchen of the World) รวมถึงการวาดหวังจะเป็นศูนย์กลางแฟชั่น ศูนย์กลางการบิน ฯลฯ ซึ่งเคยกำหนดให้เเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะการเพิ่มศักยภาพสร้างรายได้เข้าประเทศมหาศาล แม้เวลาจะล่วงเลยผ่านมากว่าหนึ่งทศวรรษ และเปลี่ยนพ้นผ่านความเป็นไปมาหลายรัฐบาลจนถึงรัฐบาลยุคสมัยแห่ง คสช. ซึ่งประกาศท่าทีที่พร้อมสนับสนุนให้มีนโยบายกระตุ้นอุตสาหกรรมอาหารไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกอาหารไทยที่ยังคงให้การส่งเสริมนโยบาย “ครัวไทยสู่ครัวโลก” เพราะเป็นหนึ่งในเครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย รัฐบาลชุด คสช. วางมาตรการที่จะเข้ามาสานต่อโครงการเพื่อให้อาหารไทยเป็นที่รู้จักในในเวทีโลกมากขึ้น ภายใต้แผนยุทธศาสตร์สำคัญ 4 ประการ คือ 1. การสร้างนวัตกรรมและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน 2. การพัฒนาระบบข้อมูลสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารที่ล้ำสมัย เข้าถึงได้ง่ายและตอบสนองทันต่อเหตุการณ์ 3. การพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการผลิตตลอดห่วงโซ่อาหารสู่สากล และ 4. การพัฒนาสมรรถนะสถาบันเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ โดยมีแผนดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง  ขณะที่เพ็ชร ชินบุตร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม คาดการณ์แนวโน้มการส่งออกอาหารไทยปีนี้ว่ามีมูลค่า 1.08 ล้านล้านบาท ขยายตัว 6.9% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยปีนี้สถาบันเร่งผลักดันโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทยให้เป็นครัวอาหารคุณภาพของโลก โครงการเสริมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่อุตสาหกรรมอาหารของไทย และโครงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล

Read More