Home > โควิด (Page 9)

หวังพึ่งปาฏิหาริย์วัคซีน ปลุกอสังหาริมทรัพย์ฟื้น

การมาถึงของวัคซีนป้องกัน COVID-19 ดูกำลังจะเป็นประหนึ่งยาวิเศษและแก้วสารพัดนึกที่ปลุกให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมหลากหลายกลับมามีความหวังหลังจากที่ตกอยู่ในภาวะซบเซาต่อเนื่องมานานกว่า 1 ปีนับตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของโรค แม้ว่าการนำเข้าวัคซีนดังกล่าวจะทำให้ไทยเป็นประเทศแรกในกลุ่มอาเซียนที่มีการนำเข้าวัคซีนเชิงพาณิชย์จากจีน หลังจากที่ประเทศสมาชิกอื่นๆ ได้รับวัคซีนด้วยวิธีอื่นๆ ไปก่อนหน้าแล้วก็ตาม ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นับเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่มี Multiplier Effect สูงมาก ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะการซื้อบ้าน ซื้อคอนโด ซื้อทาวน์เฮาส์เท่านั้น หากแต่ยังเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจสี ปูนซีเมนต์ เหล็ก เฟอร์นิเจอร์ เครื่องปรับอากาศ หรือเครื่องครัว ซึ่งการฟื้นตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อาจจะช่วยให้เกิดความต่อเนื่องทางธุรกิจและน่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไปกว้างขวางยิ่งขึ้น หากแต่ในช่วงที่ผ่านมา ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยดัชนีราคาที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ ลดลงร้อยละ 2 มาอยู่ที่ 197 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 14 ไตรมาส ขณะที่แนวโน้มราคาและอุปทาน มีทิศทางลดลงต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีแรก โดยกำลังซื้อจากผู้บริโภคต่างชาติที่หายไปนาน รวมถึงความไม่แน่นอนทางการเมือง อาจทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ฟื้นตัวช้าลงจากที่คาดไว้ช่วงครึ่งหลังปีนี้ โดยล่าสุด พบว่า COVID-19 ระลอกใหม่ส่งผลให้แนวโน้มราคาอสังหาริมทรัพย์ลดลงต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปีที่แล้ว และจะไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกนี้ ด้านดัชนีอุปทานก็มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน เนื่องจากผู้ประกอบการหันมาเร่งระบายสต็อกคงค้างและชะลอการเปิดโครงการใหม่ ขณะที่ความต้องการซื้อก็ถูกดูดซับไปจำนวนมากจากสงครามราคาที่รุนแรงช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าสงครามราคาอาจไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการฟื้นตัว หากแต่มาตรการเยียวยาจากภาครัฐอย่างตรงจุดและความชัดเจนของการฉีดวัคซีนจะเป็นตัวแปรสำคัญที่เร่งการฟื้นตัว ส่วนมาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

Read More

เมื่อความหวังเดินทางมาถึง และโอกาสของการท่องเที่ยวไทย

ทันทีที่ล้อของเครื่องบินแอร์บัส A350-900 เที่ยวบินที่ TG 675 ที่เดินทางออกจากปักกิ่งแตะพื้นรันเวย์กรุงเทพ นั่นหมายความว่า “ความหวังเดินทางมาถึง” และการรอคอยด้วยใจจดจ่อสิ้นสุดลงเมื่อวันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เมื่อวัคซีนล็อตแรกจำนวน 200,000 โดสจากทั้งหมด 2 ล้านโดส ส่งตรงจากบริษัท ซิโนแวค ไบโอเทค จำกัด จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ถูกส่งถึงจุดหมายปลายทาง นอกจากนี้ ยังมีวัคซีนจากแอสตราเซเนกา จำนวน 117,000 โดส ที่เดินทางมาถึงไทยเช่นกัน โดยวัคซีนล็อตแรกนี้จะถูกฉีดให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน บุคคลที่มีโรคประจำตัว อาทิ โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 โรคเบาหวาน โรคอ้วน กลุ่มผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด-19 ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย เป็นที่ทราบกันดีว่า วัคซีนคือกุญแจสำคัญในการปลดล็อกกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งในไทยและต่างประเทศ เพราะนอกจากหน้าที่หลักของวัคซีนคือการลดความรุนแรงและโอกาสการติดเชื้อไวรัสโควิดให้แก่ประชาชนแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นตัวแปรในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งระบบ แม้เศรษฐกิจไทยและทั่วโลกจะอยู่ในภาวะชะลอตัวก่อนที่โลกจะได้รู้จักกับความร้ายกาจของโควิด-19 แต่เชื้อไวรัสโควิดกลับสร้างรอยช้ำให้เศรษฐกิจทรุดตัวลงหนักกว่าเดิม โดยในปี 2563 ภาพรวมจีดีพีไทยหดตัวลงถึง 6.1 เปอร์เซ็นต์ หลายอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยหยุดชะงัก

Read More

รีเทลคึกสู้โควิด เพลินนารี่อัพจุดขาย แจส กรีนวิลเลจ ลุยเฟสแรก

ธุรกิจค้าปลีกยุคโควิดอยู่ในช่วงแข่งขันสร้างแรงดึงดูดกำลังซื้อ โดยเฉพาะกลุ่มคอมมูนิตี้มอลล์ ทุกค่ายรีบเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสในจังหวะที่ผู้คนส่วนใหญ่ลดพฤติกรรมจากการเดินศูนย์การค้าขนาดใหญ่ หันมาใช้บริการห้างขนาดกลางขนาดเล็ก เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดที่ยังมีผู้ติดเชื้อใหม่และคลัสเตอร์ใหม่ๆ ตลอดเวลา แน่นอนว่า ความเป็นคอมมูนิตี้มอลล์เปิดโล่ง ลักษณะ Open Air และจำนวนผู้ใช้บริการไม่มาก กลายเป็นจุดขายใหม่ในยุค New Normal บางโครงการประกาศปรับเพิ่มพื้นที่ Free Space และพื้นที่สีเขียวรับมาตรการ Social Distancing มากขึ้น ขณะที่บางโครงการปรับภาพลักษณ์ พลิกจุดขายขยายฐานลูกค้ากว้างขึ้นด้วย อย่างล่าสุด กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์อัลไล (ALLY Leasehold Real Estate Investment Trust) ของบริษัท เค.อี. รีท แมเนจเมนท์ จำกัด ในเครือ เค.อี. กรุ๊ป ตัดสินใจปรับ Positioning โครงการ เพลินนารี่ มอลล์ วัชรพล ช้อปปิ้งมอลล์ จากเดิมเน้นภาพลักษณ์ช้อปปิ้งมอลล์สไตล์สวนสนุก คอนเซ็ปต์ Amusement Experience Shopping

Read More

คนอาเซียนยังกังวล เศรษฐกิจฉุดกำลังซื้ออสังหาฯ หวัง “วัคซีนต้านไวรัส” เป็นอัศวินขี่ม้าขาว ช่วยกระตุ้นความมั่นใจซื้อบ้าน

แม้ภาครัฐในหลายประเทศแถบอาเซียนจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อหวังฟื้นความเชื่อมั่นและกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศของตนให้กลับมา แต่แน่นอนว่าอิทธิพลจากปัจจัยต่าง ๆ ในตอนนี้ย่อมส่งผลให้ผู้บริโภคยังคงไม่มั่นใจในการใช้จ่ายมากพอ ข้อมูลจากรายงาน “Global Economic Prospects” ฉบับล่าสุดของธนาคารโลก เผยแนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกในระยะสั้นยังคงมีความไม่แน่นอนสูงจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คาดว่าการฟื้นตัวจะไม่สม่ำเสมอและเปราะบาง ในขณะที่ความเสี่ยงด้านลบที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ภาคอสังหาริมทรัพย์ในอาเซียนยังคงได้รับผลกระทบ เนื่องจากการซื้อที่อยู่อาศัยถือเป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูงและเป็นภาระทางการเงินระยะยาว เมื่อผู้บริโภคต้องเผชิญความท้าทายทั้งจากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและได้รับผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงต้องวางแผนการเงินอย่างเข้มงวดและชะลอแผนการซื้ออสังหาฯ ออกไป ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัยในไทย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study ฉบับล่าสุด และผลสำรวจจากเว็บไซต์ในเครือ PropertyGuru Group (พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป) ในสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ชี้ให้เห็นว่าแม้กำลังซื้อผู้บริโภคในอาเซียนจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดฯ อย่างต่อเนื่อง แต่ความต้องการที่อยู่อาศัยยังมีแนวโน้มเติบโตในอนาคตแน่นอน เห็นได้จากแผนการใช้จ่ายของผู้บริโภคกลุ่ม Millennials (มิลเลนเนียล) หรือ Gen Y มากกว่าครึ่งในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทยที่ยังคงให้ความสำคัญไปที่การออมเงินเพื่อซื้อบ้านใน 1 ปีข้างหน้า

Read More

จาก “เราชนะ” ถึง “เรารักกัน” เดิมพัน 3 แสนล้าน ปลุกเศรษฐกิจ

ขณะนี้เริ่มเปิดฉากการลงทะเบียนโครงการ “ม33 เรารักกัน” มาตรการอัดฉีดกำลังซื้อชุดล่าสุดของรัฐบาล หลังลุยสารพัดกลยุทธ์ตั้งแต่โควิดรอบแรกจนถึงระลอกสอง โดยดึงเม็ดเงินจาก พ.ร.ก. กู้เงิน 1 ล้านล้าน ซึ่งนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว. พลังงาน ระบุในการอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภาผู้แทนราษฎรว่า มีการอนุมัติโครงการไปแล้ว 256 โครงการ วงเงินมากถึง 7.5 แสนล้านบาท เหลือเงินก้อนสุดท้ายอีก 2.5 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตาม ต้องถือว่า รัฐบาลพยายามกระจายความช่วยเหลือไปถึงกลุ่มคนทั่วประเทศ ซึ่งผู้ประกันตนตามมาตรา 33 อาจเป็นกลุ่มสุดท้าย หลังจากมีเสียงเรียกร้องในฐานะผู้จ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมทุกเดือน ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 เห็นชอบโครงการ ม33 เรารักกัน โดยจะจ่ายเยียวยาผู้ได้รับสิทธิ์คนละ 4,000 บาท ภายใต้คุณสมบัติต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 สัญชาติไทย ไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และไม่ได้รับสิทธิ์โครงการ “เราชนะ” ไม่มีเงินฝากในสถาบันการเงินรวมกันเกิน 500,000

Read More

โควิดบีบแบงก์แห่ปิดสาขา เมื่อออนไลน์แรงแซงทุกโค้ง

พิษโควิดยังส่งผลกระทบต่อกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อัปเดตล่าสุดเมื่อเดือนมกราคม 2564 พบว่า จำนวนสาขาและจุดให้บริการของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ ณ เดือนธันวาคม 2563 จาก 30 ค่ายแบงก์ มีสาขารวมทั้งหมด 6,167 แห่ง เทียบปี 2562 มีการปิดสาขาไป 341 แห่ง และหากเทียบกับปี 2561 เกือบทุกค่ายตัดสินใจปิดสาขาอย่างถาวรถึง 568 แห่ง หากพิจารณาข้อมูลแยกตามพื้นที่หลักๆ เริ่มจากกรุงเทพฯ เมื่อปี 2561 มีสาขาและจุดให้บริการรวม 2,007 แห่ง ปี 2562 ลดลงมาอยู่ที่ 1,897 แห่ง และปิดปี 2563 อยู่ที่ 1,817 แห่ง ภาคกลาง ปี 2561 อยู่ที่ 2,170 แห่ง ปี 2562 อยู่ที่

Read More

เจ็ทส์ เผยเทรนด์ฟิตเนสไทย หลังจุดเปลี่ยนยุคโควิด-19

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตในหลายแง่มุม เช่นเดียวกันกับเกือบทุกอุตสาหกรรมทั่วโลก ธุรกิจฟิตเนสต้องปรับตัวครั้งใหญ่ ไม่เพียงแต่เพื่อความอยู่รอด แต่ยังต้องมองหาโอกาสในชีวิตวิถีใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม เจ็ทส์ ฟิตเนส ในฐานะผู้นำธุรกิจฟิตเนสอันดับหนึ่งและเติบโตเร็วที่สุดในประเทศไทย เผยเทรนด์ฟิตเนสหลังจุดเปลี่ยนยุคโควิด-19 ที่คาดว่าจะทำให้ประสบการณ์การออกกำลังกายแตกต่างไปจากเดิม การอยู่รอดของคนฟิต นอกจากผู้ประกอบธุรกิจฟิตเนสแล้ว กลุ่มคนรักสุขภาพก็ยังต้องปรับตัวอย่างมาก เพราะการประกาศปิดสถานที่ออกกำลังกายชั่วคราว จากสถานการณ์ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับการแพร่ระบาดในเดือนมีนาคมและพฤษภาคมปีที่แล้ว พฤติกรรมของสมาชิกเจ็ทส์ ฟิตเนส มีความแตกต่างกัน หลังโควิด-19 ระลอกแรก สมาชิก 73% กลับมาเข้ายิมภายในหนึ่งเดือนหลังฟิตเนสกลับมาเปิดให้บริการ และมีจำนวนผู้ใช้บริการในแต่ละสาขาสูงใกล้เคียงช่วงปกติภายในเดือนกรกฎาคม โดยสมาชิกยอมรับว่าออกกำลังกายมากกว่าก่อนมีโรคโควิด-19 และมีความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์ สามารถปรับตัวกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดในยิมได้มากขึ้น ในขณะที่ช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา เจ็ทส์ ฟิตเนส สาขาเชียงใหม่ โคราช และภูเก็ต ยังคงเปิดให้บริการตามปกติ สมาชิกกว่า 85 เปอร์เซนต์ ยังคงออกกำลังกายในยิมตามปกติ โดยสามารถปรับตัว และพร้อมปฏิบัติตามมาตรการด้านสุขอนามัยในยิม ใส่ใจสุขภาพ ในอีกมุมหนึ่ง สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ก็ส่งผลเชิงบวกต่อธุรกิจฟิตเนส เพราะผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของการมีสุขภาพดี ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง และเป็นตัวช่วยสำคัญต่อการใช้ชีวิตในโลกยุคโควิด-19 เมื่อการรักสุขภาพไม่เป็นเพียงไลฟ์ไตล์ กลายแต่เป็นเรื่องจำเป็น หลังจากที่ เจ็ทส์ ฟิตเนส

Read More

COVID ระลอกใหม่พ่นพิษ ฉุดความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมไทย

ผลจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 นอกจากจะส่งผลกระเทือนต่อชีวิตความเป็นอยู่และการดำเนินไปของสังคมไทยอย่างกว้างขวางหนักหน่วงแล้ว ล่าสุดพิษของการระบาดครั้งใหม่นี้ได้ฉุดให้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2563 ทรุดต่ำลงอีกครั้ง ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงในทุกองค์ประกอบ ซึ่งนับเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 8 เดือนนับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรคตั้งแต่เมื่อต้นปี 2563 ที่ผ่านมา ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2563 ปรับตัวมาอยู่ที่ระดับ 85.8 ลดลงจากระดับ 87.4 ในเดือนพฤศจิกายน โดยค่าดัชนีความเชื่อมั่นที่ปรับลดลงนี้ เป็นการปรับลดลงในทุกองค์ประกอบ ทั้งคำสั่งซื้อโดยรวม, ยอดขายโดยรวม, ปริมาณการผลิต, ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ โดยมีปัจจัยลบจากการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ที่มีความรุนแรงกว่ารอบแรก และขยายวงกว้างไปในหลายจังหวัดอีกด้วย การแพร่ระบาดระลอกใหม่ได้ส่งผลให้ภาครัฐออกคำสั่งปิดสถานที่บางแห่ง และกำหนดพื้นที่ควบคุมสูงสุดในจังหวัดที่มีการระบาดสูง รวมทั้งงดจัดกิจกรรมปีใหม่และขอความร่วมมือประชาชนชะลอการเดินทางข้ามจังหวัด อีกทั้งขอให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนและข้าราชการทำงานที่บ้าน (Work From Home) เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ปัจจัยดังกล่าว ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศชะลอลง ทั้งการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนและการเดินทางท่องเที่ยวลดลง ส่งผลกระทบต่อยอดขายสินค้าของผู้ประกอบการลดลงโดยเฉพาะ SMEs อย่างไม่อาจเลี่ยง นอกจากนี้ การขนส่งสินค้าข้ามจังหวัดยังมีความล่าช้าเนื่องจากมาตรการที่เข้มงวดของภาครัฐไปโดยปริยาย ก่อนหน้านี้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2563 ว่าอยู่ที่ระดับ 87.4 ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 86.0 ในเดือนตุลาคม

Read More

COVID-19 ถล่มค้าปลีกไทย วอนร้องรัฐเร่งช่วยเหลือด่วน

พิษจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบกระเทือนไปทุกแวดวงธุรกิจอุตสาหกรรม โดยล่าสุดสมาคมค้าปลีกไทยเป็นอีกองค์กรหนึ่งที่ได้ออกมาเปิดเผยถึงตัวเลขผลกระทบที่ผู้ประกอบการค้าปลีกได้รับจากผลของการแพร่ระบาดและมาตรการป้องกันควบคุมโรคของรัฐในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมา การแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกไทยสูญเสียรายได้ไปมากกว่า 5 แสนล้านบาท จากผลของกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคมที่ชะงักตัวลง ความสำคัญและเป็นไปของธุรกิจค้าปลีกไทย ซึ่งถือเป็นกลไกและฐานรากสำคัญของระบบเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นกลไกที่ครอบคลุมและเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการผลิตการค้าทั้งระบบตั้งแต่ผู้ประกอบการต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ และมีผู้ประกอบการในห่วงโซ่ค้าปลีกรวมในระบบมากกว่า 1.3 ล้านราย และมีการสร้างงานโดยตรงมากกว่า 6.2 ล้านราย และเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ธุรกิจค้าปลีกได้รับผลกระทบ และทำให้ดัชนีค้าปลีกของสมาคมค้าปลีกไทยปี 2563 ปรับตัวลดลงจากร้อยละ 2.8 ในปี 2562 มาอยู่ที่ระดับติดลบที่ร้อยละ -12 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ดัชนีติดลบด้วยตัวเลข 2 หลัก ความชะลอตัวลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากผลของมาตรการควบคุมโรคของรัฐยังส่งผลต่อเนื่องมาสู่การคาดการณ์ตัวเลขในไตรมาสที่ 1/2564 หลังจากที่เกิดการระบาดระลอกใหม่ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งมีความหนักหน่วงและรุนแรงมากกว่าการแพร่ระบาดระลอกแรกและยังไม่มีแนวโน้มจะกลับมาสู่ภาวะปกติได้ในเร็ววัน โดยคาดว่าดัชนีค้าปลีกไทยในไตรมาส 1/2564 จะยังหดตัวติดลบที่ระดับร้อยละ 7-8 ผลจากภาวะชะลอตัวดังกล่าวนี้ได้ส่งให้เกิดผลเสียหายในวงกว้างอย่างมาก โดยนอกจากจะเกิดอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น รายได้ลดลง และมีหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการ SMEs จำนวนมากทยอยปิดตัวลง

Read More

อิเกีย ปรับแผนสู้โควิดระลอกใหม่ ช้อปสะดวก ปลอดภัย ประหยัด ทั้งออนไลน์และที่สโตร์

อิเกีย ประเทศไทย ปรับกลยุทธ์รับมือการระบาดโควิดระลอกใหม่ เพิ่มความสะดวกให้ลูกค้าเข้าถึงง่ายขึ้น คุ้มค่ามากขึ้น ทั้งช่องทางออนไลน์และที่สโตร์ ช้อปออนไลน์สะดวกได้ของเร็วทันใจ ฟรีค่าบริการ Click & Collect และลดค่าจัดส่งโดยพัสดุ* 49 บาท จากปกติ 149 บาท ทางด้านการช้อปที่สโตร์ เพิ่มความสบาย และมั่นใจยิ่งขึ้น เปิดอาคารจอดรถใหม่ที่อิเกีย บางนา จุเพิ่มกว่า 2,000 คัน พร้อมเพิ่มมาตรการความปลอดภัยฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อในอากาศทั่วพื้นที่สโตร์อิเกียทุกแห่ง อิเกีย ปรับรูปแบบและลดค่าบริการ เอาใจลูกค้าช้อปออนไลน์ ดังนี้ - ฟรีค่าบริการ Click & Collect 100 บาท ตั้งแต่วันนี้ - 28 กุมภาพันธ์ 2564 ทางเลือกใหม่ที่สะดวก ปลอดภัย และได้ของเร็วทันใจ สามารถช้อปออนไลน์แล้วเลือกรับสินค้าที่สโตร์อิเกีย บางนา และอิเกีย บางใหญ่ สำหรับลูกค้าที่ชำระเงินก่อน 14:00 น.

Read More