Home > โควิด (Page 8)

COVID ระลอกใหม่ ฉุดเศรษฐกิจไทยดิ่งเหว?

การแพร่ระบาดระลอกใหม่ล่าสุดของ COVID-19 นอกจากกำลังเป็นภาพสะท้อนที่บ่งชี้ถึงความล่าช้าในการจัดหาวัคซีนเพื่อต้านทานและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคแล้ว ในอีกด้านหนึ่งยังเป็นการเน้นย้ำให้เห็นถึงความล้มเหลวในการบริหารจัดการสถานการณ์ในภาวะวิกฤตของกลไกรัฐได้อย่างชัดเจน และเผยให้เห็นถึงความไร้ประสิทธิภาพในการวางแผนและกำหนดมาตรการเชิงรุก ที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในสังคมไทยและต่อนักท่องเที่ยวและนักลงทุนต่างชาติที่ได้รับการคาดหมายและฝากความหวังว่าจะเป็นปัจจัยหนุนนำให้เศรษฐกิจไทยกลับมาฟื้นตัวในอนาคต ผลของการแพร่ระบาดครั้งใหม่ดังกล่าว ทำให้การประเมินทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 2564 ซึ่งเดิมกลไกรัฐพยายามโหมประโคมว่า GDP ของไทยจะกลับมาเติบโตได้อีกครั้งที่ระดับร้อยละ 4 จากดฐานคิดที่ว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐได้ผลดี และฐานทางเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาหดตัวแคบมากแล้วการเติบโตที่ระดับร้อยละ 4 จึงไม่น่าจะเป็นความเพ้อฝันแต่เป็นสิ่งที่กระทำได้ไม่ยาก หากแต่ความเป็นไปของการแพร่ระบาดระลอกล่าสุดดูเหมือนจะทำให้ความคาดหวังของกลไกรัฐดังกล่าวพังครืนลงอย่างยากที่จะปฏิเสธ ขณะที่สำนักวิจัยและคาดการณ์ทางเศรษฐกิจหลายแห่งต่างปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยลงอีก โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ซึ่งได้เคยคาดการณ์เศรษฐกิจไทยว่าจะเติบโตได้ที่ร้อยละ 2.6 เมื่อไตรมาสแรกของปีที่ผ่านมา ได้ปรับลดประมาณการลงเหลือที่ระดับร้อยละ 1.8 เท่านั้น ปัจจัยที่ทำให้สำนักวิจัยแห่งนี้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยลงต่ำเช่นนี้ นอกจากจะเป็นผลกระทบเบื้องต้นจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ ซึ่งส่งผลต่อการท่องเที่ยวเดินทาง โดยเฉพาะเมื่อประเมินจากสถานการณ์ในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา ทำให้เห็นว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่มีความรุนแรงกว่าในระลอกก่อนหน้านี้ ขณะที่กลไกรัฐไม่สามารถออกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวด แต่ความกังวลต่อสถานการณ์จะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คน รวมถึงความเชื่อมั่นที่ลดลงมีผลต่อการบริโภคของครัวเรือนให้มีทิศทางต่ำกว่าที่ประเมิน เหตุดังกล่าวส่งผลต่อภาคธุรกิจการท่องเที่ยวที่น่าจะยืดเวลาฟื้นตัวออกไป ยังไม่นับรวมถึงกรณีการจัดหาและจัดสรรวัคซีนที่ล่าช้าอีกด้วย ความน่ากังวลจากสถานการณ์ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันอยู่ที่ภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มชัดเจนขึ้นว่าจะมีเข้ามาต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 2 ล้านคน ซึ่งกลไกรัฐต้องมีมาตรการเพื่อดูแลผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรค โดยตัวแปรสำคัญอยู่ที่การเร่งจัดการและกระจายฉีดวัคซีน ที่ไม่ได้เป็นไปเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคเท่านั้น หากยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคมไทยในวงกว้างและนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามาด้วย ความล่าช้าในการจัดหาและกระจายวัคซีนสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้การแพร่ระบาดยืดเยื้อหรืออาจเกิดการระบาดอีกระลอกในไตรมาส 3 ของปีนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างมาก ทำให้ความหวังของการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวให้ทยอยกลับมาเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอาจต้องล่าช้าออกไปอีกหนึ่งปี ส่งผลต่อการจ้างงานและการบริโภค ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นโอกาสที่เศรษฐกิจไทยในปี 2564 จะไม่เติบโตจากปีก่อนหน้าก็มีความเป็นไปได้สูงมาก การควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาด และการปูพรมกระจายวัคซีนเป็นภารกิจเร่งด่วน

Read More

วัคซีนต้านโควิด-โรงพยาบาลสนาม ความหวัง ความพร้อม และการจัดการของรัฐไทย

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ซึ่งถือเป็นระลอก 3 และมีการกระจายตัวในหลายกลุ่มคลัสเตอร์ เฉพาะระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน พบผู้ติดเชื้อสะสมกว่า 17,000 ราย (ข้อมูลวันที่ 1-17 เมษายน 2564) ระลอกคลื่นแห่งหายนะในครั้งนี้ก่อให้เกิดคำถามอันนำมาซึ่งความขัดแย้งหลายประเด็นในสังคม การถามหาจิตสำนึกรับผิดชอบที่มีต่อสังคมส่วนรวม ไม่ว่าจะในแวดวงใดก็ตามเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อประชาชนบางส่วนยังไร้การตระหนักรู้ เมินเฉยต่อความเสี่ยงที่อาจได้รับ จนในที่สุดกลายเป็นต้นเหตุของการกระจายตัวของเชื้อไวรัสในระลอกสามที่ดูจะทวีความรุนแรงและขยายวงกว้างมากขึ้น นอกจากนี้ สังคมยังคงตั้งคำถามไปยังภาครัฐถึงเรื่องการสั่งซื้อวัคซีนต้านโควิด-19 และความพร้อมของโรงพยาบาลสนามในหลายพื้นที่ เพื่อรองรับกรณีที่จำนวนผู้ติดเชื้อมีจำนวนสูงขึ้น แน่นอนว่าโรงพยาบาลสนามนั้นมีไว้สำหรับรองรับผู้ติดเชื้อที่อาการไม่หนักหรือไม่มีอาการ และพร้อมจะส่งต่อผู้ติดเชื้อไปยังโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนที่มีรูปแบบการรักษาที่ได้มาตรฐาน คำถามต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในโลกโซเชียล ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะขาดการสื่อสารที่ครบถ้วนจากภาครัฐเอง อีกส่วนหนึ่งอาจเกิดจากความพยายามบิดเบือนข้อมูลอันมีผลประโยชน์แอบแฝงจากฝ่ายไม่หวังดี เมื่อขาดข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนบวกกับตาชั่งที่มีบรรทัดฐานไม่เท่ากันของแต่ละคน จึงไม่น่าแปลกใจที่คนไทยจะเกิดความขัดแย้งภายใต้สถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ ทั้งที่ห้วงยามนี้น่าจะเป็นช่วงเวลาที่เรียกหาความสามัคคีให้ก่อตัวขึ้นได้ในหมู่มวลประชาชน ความจริงที่ว่า วัคซีนด้านโควิด-19 คือความหวังอันเรืองรองที่จะพลิกฟื้นวิกฤตครั้งนี้ และเป็นอาวุธสำคัญของมนุษยชาติให้เอาชนะเชื้อไวรัสได้ ประเด็นสำคัญของวัคซีนจึงเป็นเรื่องที่หลายคนตั้งข้อสงสัยว่า เพราะเหตุใดประเทศไทยจึงมีการสั่งซื้อและนำเข้าวัคซีนต้านโควิด-19 ได้เพียงแค่ 2 ล้านโดส จากบริษัทซิโนแวค และจากแอสตราเซเนกาอีก 117,600 โดส เท่านั้น อีกคำถามที่ตามมาคือ การสั่งซื้อและนำเข้าวัคซีนผูกขาดอยู่แต่กับภาครัฐเท่านั้นใช่หรือไม่ เหตุใดจึงไม่อนุญาตให้บริษัทเอกชนที่มีศักยภาพจัดหาเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน เมื่อวัคซีนจะเป็นตัวแปรสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอันนำไปสู่การเปิดประเทศในที่สุด พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตอบข้อสงสัยของคำถามดังกล่าวหลังจบการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 เมษายน

Read More

ค้าปลีกอ่วมซ้ำแสนล้าน จี้อัปเกรด ช้อปดีมีคืน-คนละครึ่งเฟส 3

โควิดระลอก 3 เหมือนฝันร้ายของธุรกิจค้าปลีกที่เกี่ยวพันโดยตรงกับกำลังซื้อของผู้คน และแนวโน้มจะหนักหนาสาหัสกว่า 2 ระลอกแรก ที่นับเม็ดเงินหดหายตลอดทั้งปี 2563 มากกว่า 5 แสนล้านบาท ทำลายบรรยากาศการจับจ่ายช่วงเทศกาลวันหยุดยาว และยังต้องลุ้นแผนการควบคุมการระบาดช่วง 2 เดือนนับจากนี้ ที่สำคัญ ประเทศไทยต้องกลับมาทบทวนตัวเลขการเติบโตทุกด้าน ซึ่งข้อมูลเบื้องต้นจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า ผลจากการแพร่ระบาดโควิด-19 กรณีคลัสเตอร์สถานบันเทิง และมีผู้ติดเชื้อต่อวันสูงขึ้นมาอีกครั้ง ทำให้กิจกรรมต่างๆ หยุดชะงัก คนระมัดระวังการใช้จ่าย คิดเป็นความเสียหายต่อเดือน 3-5 หมื่นล้านบาท และหากดูสถิติย้อนหลังเมื่อเกิดการแพร่ระบาดรอบใหม่จะใช้เวลาควบคุมและเรียกความเชื่อมั่นให้การจับจ่ายกลับมาอีกครั้งจะใช้เวลาอย่างน้อย 1-2 เดือน เท่ากับเงินใช้จ่ายจะหายไปจากระบบ 6 หมื่นล้านบาทถึง 1 แสนล้านบาท และกระทบตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไม่ต่ำกว่า 0.3-0.5% นี่ยังไม่ประเมินในกรณีเลวร้าย การระบาดวงกว้างหยุดไม่อยู่จนถึงขั้นล็อกดาวน์ในบางพื้นที่ เศรษฐกิจปีนี้อาจเติบโตเพียง 2.0-2.5% ดังนั้น นอกจากการควบคุมการแพร่ระบาดและเร่งกระจายฉีดวัคซีนเร็วที่สุด มากที่สุด เพื่อเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวแล้ว รัฐต้องเร่งออกมาตรการลดค่าครองชีพเร็วขึ้นภายในปลายเดือนเมษายน จากเดิมจะเริ่มในเดือนมิถุนายน ทั้งโครงการเราชนะและคนละครึ่งเฟส 3

Read More

โควิดโผล่ระลอก 3 CRG รุกช่องทางใหม่ลุย Mobile Box

ธุรกิจร้านอาหารมูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท เจอวิกฤตอีกรอบ หลังเกิดเหตุโควิด-19 แพร่ระบาดระลอก 3 โดยรอบนี้มีคลัสเตอร์ใหญ่จากสถานบันเทิงย่านทองหล่อ และจำนวนผู้ติดเชื้อกระจายอย่างรวดเร็ว จนดูเหมือนว่าสถานการณ์การพลิกฟื้นรายได้กลายเป็นโจทย์ยากขึ้น และต้องอาศัยการปรับกลยุทธ์ต่างๆ ชนิดที่ว่า ใครพลิกรับปัจจัยเสี่ยงได้เร็วจะมีโอกาสรอดและเจ็บตัวน้อยที่สุด แม้สมาคมภัตตาคารไทยได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ยืนยันสาเหตุการแพร่ระบาดระลอกที่ 3 ไม่ได้เกิดจากร้านอาหาร แต่เกิดจากสถานบริการเปิดเกินเวลา และมีจำนวนคนเข้าใช้บริการแออัด ไม่เว้นระยะห่าง เจ้าหน้าที่ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ขณะที่ร้านอาหารและภัตตาคารทำตามกฎระเบียบของสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดมาตลอด ต่อให้ร้านอาหารขายแอลกอฮอล์และเปิดได้ถึง 23.00 น. จะไม่ทำให้เกิดการติดต่อหรือแพร่กระจายโรค ทั้งการจัดโต๊ะเว้นระยะห่าง มาตรการตรวจวัดอุณหภูมิ และสวมแมสก์ก่อนเข้าร้านอย่างเคร่งครัด อุปกรณ์ จานชาม ช้อมส้อม แก้ว มีการห่อคลุมป้องกันอย่างดี โต๊ะ เก้าอี้ มีการฉีดแอลกอฮอล์ทุกครั้งที่มีการใช้ ลูกค้าถูกจำกัดให้นั่งรับประทาน นั่งดื่ม ที่โต๊ะในกลุ่มของตัวเองเท่านั้น ไม่มีการยืนเต้นรำ รำวง หายใจรดต้นคอกันเหมือนสถานบันเทิง หรือสถานประกอบการอื่น ลูกค้าที่ดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้เมามายจนขาดสติหรือสนุกสนานจนเกินการควบคุมเหมือนสถานบันเทิง แต่โควิดระลอก 3 ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของกลุ่มลูกค้าและอาจถึงขั้นทำให้บรรยากาศการจับจ่ายใช้บริการหยุดชะงัก

Read More

สงกรานต์ ’64 กับโควิดระลอก 3 ความซบเซาที่มาพร้อมความตระหนก

อีกปีที่เทศกาลสงกรานต์ของไทยจะดำเนินไปด้วยรูปแบบวิถีใหม่ หรือ New Normal เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในไทยระอุขึ้นอีกครั้ง และครั้งนี้อาจดับฝันของบรรดาผู้ประกอบการเลยก็ว่าได้ ก่อนหน้านี้ภาครัฐประกาศเพิ่มวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ตั้งแต่วันที่ 12-15 เมษายน โดยมีเป้าประสงค์ให้เกิดการจับจ่ายของภาคประชาชนในช่วงเวลาดังกล่าวมากขึ้น ผู้ประกอบการแบกความหวังและรอคอยให้เทศกาลแห่งความสุขนี้เดินทางมาถึงโดยเร็ว เพราะนั่นหมายถึงช่วงเวลาที่สามารถคาดหวังรายได้ที่จะเข้ามา ทว่า เพียงแค่พริบตาเดียว ความหวังที่ว่าดูเหมือนจะหลุดลอยและแทบจะสูญสลายไป หลังจากพบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอก 3 เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคม ถึงต้นเดือนเมษายน ต้องยอมรับว่าด้านสาธารณสุขของไทยสามารถควบคุมวงการแพร่ระบาดให้อยู่ในพื้นที่จำกัดได้ เหมือนที่เคยทำมาได้แล้วในการระบาดครั้งแรกและครั้งที่สอง ทว่า ครั้งนี้อาจสร้างความตระหนกให้แก่ประชาชนมากพอสมควร เมื่อการแพร่ระบาดระลอกที่ 3 นี้ กระจายอยู่ในหลายวงการ เช่น กลุ่มพริตตี้-พีอาร์ กลุ่มศิลปิน-นักแสดง กลุ่มนักการเมือง และวงการแพทย์ ซึ่งหมายความว่าประชาชนทั่วไปอาจมีอยู่ในกลุ่มเสี่ยงมากขึ้น สิ่งที่ตามมาจากการระบาดระลอก 3 คือ บรรยากาศในช่วงสงกรานต์ที่หลายคนคาดหวังว่าจะคึกคักโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการท่องเที่ยวและการจับจ่าย อาจจะเงียบเหงาและซบเซากว่าเดิม เหตุการณ์ในครั้งนี้อาจเป็นตัวแปรสำคัญของการได้มาซึ่งรายได้ในอนาคตของประชาชน ไม่ว่าจะในฐานะของผู้ประกอบการหรือบุคคลทั่วไป แน่นอนว่าตัวเลขรายได้เป็นเหตุผลสำคัญของการระมัดระวังการใช้จ่าย โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ค่าใช้จ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้เฉลี่ยต่อคนอาจอยู่ที่ 5,700 บาท (คำนวณที่วันหยุดเฉลี่ย 6 วัน) ส่งผลให้เม็ดเงินใช้จ่ายของคนกรุงเทพฯ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2564 รวมน่าจะอยู่ที่ 24,000

Read More

เดอะมอลล์ บางแค การ์ดไม่ตก! ทำ Big Cleaning ครั้งใหญ่

เดอะมอลล์ บางแค การ์ดไม่ตก! ทำ Big Cleaning ครั้งใหญ่ พร้อมคุมเข้ม 5 มาตรการสุขอนามัย ความปลอดภัยสูงสุด ตอกย้ำความมั่นใจลูกค้าช้อปปลอดภัย ดูแล ใส่ใจ ไปด้วยกัน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 บริเวณ 6 ตลาดย่านบางแค ได้แก่ ตลาดสิริเศรษฐนนท์, ตลาดศูนย์การค้าบางแค, ตลาดกิตติ, ตลาดภาสม, ตลาดใหม่บางแค และตลาดวันเดอร์ นั้น เดอะมอลล์ บางแค ตอกย้ำความมั่นใจให้ผู้ใช้บริการศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้า ทำ Big Cleaning ครั้งใหญ่เป็นพิเศษ นอกเหนือจากมาตรการความปลอดภัยด้านสุขอนามัยที่ศูนย์การค้าฯ ปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน พร้อมเดินหน้าคุมเข้มมาตรการความปลอดภัยขั้นสูงสุด เพื่อเพิ่มความมั่นให้ผู้ใช้บริการในเขตบางแค และลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ครอบคลุมทุกมิติ นายอมร อมรกุล ผู้จัดการใหญ่ สายงานปฏิบัติการ บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า “จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 บริเวณ

Read More

ธุรกิจโลจิสติกส์หวังฟื้น หลังผ่านมรสุม COVID-19

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบกระเทือนต่อภาคเศรษฐกิจสังคมอย่างกว้างขวางและหลากหลาย ซึ่งหนึ่งในภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ในช่วงปีที่ผ่านมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ธุรกิจขนส่งพัสดุ หรือโลจิสติกส์ ที่ได้รับผลจากการปิดพรมแดนและการระงับการขนส่งสินค้าและพัสดุทางอากาศในหลายประเทศ ซึ่งทำให้เกิดการหดตัวในธุรกิจโลจิสติกส์นี้มากกว่าร้อยละ 30-40 เลยทีเดียว วิกฤตจากการระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจโลจิสติกส์ เนื่องจากการขนส่งทั้งทางบกในประเทศ และขนส่งข้ามแดนมีความล่าช้า จากการล็อกดาวน์หลายพื้นที่ ส่วนการขนส่งทางอากาศถูกระงับไปหลังจากที่ธุรกิจการบินไม่สามารถทำการบินได้ ซึ่งทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์ได้รับผลกระทบด้านรายได้อย่างหนัก ขณะที่การขนส่งทางเรือได้รับผลกระทบเช่นกัน แต่ยังมีการขนส่งสินค้านำเข้าส่งออกอยู่บ้าง สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์ในปี 2563 มีแนวโน้มจะหดตัวลงมากถึงร้อยละ 30-40 ซึ่งแม้ว่าการขนส่งหลายประเภทจะอยู่ในภาวะหดตัว แต่การขนส่งพัสดุ การขนส่งสินค้าถึงบ้านหรือเดลิเวอรี่ต่างๆ กลับมีการเติบโตสูงมาก สวนกระแสตลาดโดยรวม เนื่องจากห้างร้านปิดให้บริการ และการที่ประชาชนได้รับคำแนะนำให้อยู่บ้านเพื่อหยุดโรค ทำให้การใช้บริการสั่งซื้อสินค้าและบริการส่งตรงถึงบ้านปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ตัวเลขที่น่าสนใจในธุรกิจโลจิสติกส์อยู่ที่ธุรกิจนี้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดขนส่งพัสดุในไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดดจากระดับ 18,000 ล้านบาทในปี 2559 มาสู่ระดับ 25,000 ล้านบาทในปี 2560 และพุ่งทะยานอย่างรวดเร็วมาสู่ระดับ 35,000 ล้านบาทในปี 2561 ก่อนที่จะขึ้นสู่ระดับ 49,000 ล้านบาทในปี 2562 และมาสู่ระดับ 66,000

Read More

LPN Wisdom ระบุ 3 เทรนด์ การออกแบบที่อยู่อาศัยในปี 2564

LPN Wisdom ระบุ การออกแบบโดยเพิ่มพื้นที่ใช้สอยที่ใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น, ให้ความสำคัญกับสุขอนามัยในการอยู่อาศัย, และการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบที่พักอาศัย เป็นเทรนด์ของการออกแบบที่ตอบทุกโจทย์การอยู่อาศัยของคนทุกวัยในปี 2564 นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) (LPN Wisdom) บริษัทวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเครือบริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการออกแบบที่อยู่อาศัยในปี 2564 ว่า หลังการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสสายพันธ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ตั้งแต่ปี 2562 ไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยและต่อเนื่องมาถึงปี 2564 ผนวกกับประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมของผู้สูงวัย ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะพฤติกรรมของผู้ซื้อที่อยู่อาศัย ที่หันมาให้ความสนใจในการซื้อบ้านพักอาศัยมากขึ้นจากผลการสำรวจของ LPN Wisdom พบว่าปี 2563 มีการเปิดตัวโครงการบ้านพักอาศัยในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล 44,001 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วนถึง 63% ของจำนวนโครงการที่เปิดขาย 70,126 ยูนิต

Read More

เศรษฐกิจไทยยังเปราะบาง เร่งรัฐวางมาตรการฉุกเฉิน

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยในยุคหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ดำเนินต่อเนื่องมายาวนานกว่า 1 ปียังเป็นไปท่ามกลางความเปราะบางและไร้สัญญาณบวกที่จะพลิกฟื้นกลับมาโดยง่าย ขณะเดียวกันรายได้ครัวเรือนที่ปรับลดลง โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อยที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดรอบก่อนและได้รับผลกระทบเพิ่มเติม ทำให้ต้องติดตามคุณภาพหนี้ในภาคครัวเรือนที่อาจด้อยลงในระยะต่อไป ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ภาคธุรกิจมีรายได้ลดลงและมีฐานะการเงินเปราะบางมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวและบริการที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดของโรค ขณะที่ธุรกิจ SMEs ประสบปัญหาความเสี่ยงด้านเครดิตที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้กลุ่มธุรกิจดังกล่าวน้อยลง และอาจทำให้ธุรกิจมีปัญหาขาดสภาพคล่องมากขึ้น บางธุรกิจมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้และต้องยุติกิจการไปโดยปริยาย รายงานตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4 ปี 2563 ของไทยยังติดลบเพิ่มอีกร้อยละ 4.2 จากไตรมาส 3 ที่ติดลบในระดับร้อยละ 6.4 ส่งผลให้จีดีพีปี 2563 ติดลบร้อยละ 6.1 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ย่ำแย่ที่สุดในรอบ 22 ปีนับตั้งแต่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ซึ่งผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้กระทบต่อภาคการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในประเทศ ส่วนจีดีพีปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวได้ที่ระดับร้อยละ 2.5-3.5 หรือเฉลี่ยที่ร้อยละ 3 ลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ประเมินไว้ในระดับ 3.5-4.5 ประเด็นดังกล่าวสะท้อนความชัดเจนว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่กลับเข้าสู่ศักยภาพเต็มที่ และยังมีปัญหาความเสี่ยงอยู่มาก รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในไตรมาส 1 ปีนี้ด้วย ซึ่งปัจจัยที่สนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวในระดับร้อยละ

Read More

ใครบ้าง ติดโควิด-19 เสี่ยงถึงตาย

ขณะที่คนไทยและคนทั่วโลกยังต้องเผชิญกับวิกฤตโรคโควิด-19 ท่ามกลางความคาดหวังเรื่องวัคซีนที่จะช่วยให้สถานการณ์การระบาดจบลงโดยเร็ว แต่รู้หรือไม่ ยังมีภัยด้านสุขภาพที่รุนแรงและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในลำดับต้นๆ ของคนไทย นั่นคือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs (Non-Communicable Diseases) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ เช่น การรับประทานอาหารรสจัด ไขมันสูง การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ พักผ่อนน้อย มีความเครียดสูง ฯลฯ จากข้อมูลของหนังสือ “ThaiHealth WATCH 2021 จับตาทิศทางสุขภาพคนไทย ปี 2564” โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้รายงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค NCDs ซึ่งเป็นภัยเงียบที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตเพิ่มขึ้นในแต่ละปี โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคอ้วน พบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคอุบัติใหม่ และเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ป่วยทั่วไป ซึ่งรวมถึงโรคโควิด-19 ที่พบว่ามีความเสี่ยงอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า ที่น่ากังวลคือ ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงจาก 6 โรคกลุ่ม NCDs ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคอุดกั้นเรื้อรัง และโรคไตวายเรื้อรัง หากติดเชื้อโควิด-19 จะมีความเสี่ยงเกิดอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

Read More