Home > สุขภาพ (Page 5)

การออกกำลังกาย ในผู้ป่วยโรคหัวใจ

ใครว่า “ผู้ป่วยโรคหัวใจ” ออกกำลังกายไม่ได้ เรามักจะเคยได้ยินคนทั่วไปให้คำแนะนำแก่ผู้ที่มีอาการความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ หรือผู้ป่วยโรคหัวใจว่า ไม่ควร ไม่เหมาะที่จะออกกำลังกาย แต่แท้จริงแล้ว ผู้ป่วยโรคหัวใจสามารถออกกำลังกายได้ ข้อมูลจากสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ เปิดเผยว่า การออกกำลังกายมีความจำเป็นอย่างมาก สำหรับทุกคนหรือแม้แต่ผู้ป่วยโรคหัวใจ เพราะการออกกำลังกายจะช่วยกล้ามเนื้อหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายมากขึ้น สิ่งที่ควรทำก่อนออกกำลังกาย ผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อประเมินสภาพร่างกายและความพร้อม ทั้งเรื่องของอัตราการเต้นของหัวใจ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างออกกำลังกาย ความหนักของการออกกำลังกาย รวมไปถึงประเภทและชนิดของกีฬาที่ควรเล่น ไม่ไหว อย่าฝืน ผู้ป่วยต้องรู้จักประมาณตน เช็กอาการเบื้องต้นของตัวเองได้ เช่น ชีพจร อาการหอบ ความเหนื่อยที่ร่างกายแสดงออกมา หรือปริมาณเหงื่อ อาการเจ็บหน้าอก หน้ามืด คลื่นไส้ หากเกิดอาการเหล่านี้ ควรหยุดและปรึกษาแพทย์ ตั้งเป้าหมายระยะสั้นๆ ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อครั้ง สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง เช่น การเดิน แอโรบิก หรือเวทเบาๆ เพื่อทำให้ร่างกายเริ่มปรับและคุ้นชิน หากละเลยจากการออกกำลังกายไปเป็นเวลานาน เมื่อกลับมาเริ่มต้นใหม่ หัวใจจะทำงานหนักขึ้น ดังนั้น ควรออกกำลังกายให้สม่ำเสมอจะส่งผลดีต่อสภาพร่างกายมากขึ้น หัวใจทำงานได้ดีขึ้น หาเพื่อนออกกำลังกาย ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ยังต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ จำเป็นที่จะต้องออกกำลังกายโดยมีบัดดี้

Read More

7 สาเหตุทำให้คันไร้ผื่น

Column: Well-being ถ้าคุณรู้สึกคันผิวหนัง ดร.เมแกน ฟีลี แพทย์ผิวหนังผู้ผ่านการรับรองแห่งรัฐนิวเจอร์ซีย์ และอาจารย์คลินิกประจำแผนกผิวหนัง โรงพยาบาลเมาต์ ไซนาย แห่งนิวยอร์กซิตี้ อธิบายว่า เมื่อมีผื่นขึ้นด้วยจะช่วยคุณระบุอาการได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับผิวหนัง เช่น ถ้ามีตุ่มแดง สันนิษฐานว่าอาจเพราะยุงกัด หรือผิวเห่อแดงเยิ้ม อาจเพราะถูกไม้เลื้อยมีพิษ แต่ถ้าคันไร้ผื่นล่ะ บางครั้งกลายเป็นความท้าทายด้านการวินิจฉัยโรคได้ เพราะเหตุผลที่จะอธิบายอาการคันอย่างรุนแรงนั้นกว้างขวางและซับซ้อน มูลเหตุของอาการคันผิวหนังอาจมีตั้งแต่เพราะผิวแห้งไปจนถึงปัญหาสุขภาพที่หลากหลาย นิตยสาร Prevention จึงแจกแจงเหตุผลที่อธิบายว่า ทำไมคุณจึงเกิดอาการคันผิวหนังไร้ผื่น รวมทั้งวิธีหยุดอาการคันดังนี้ 1. ผิวแห้ง ดร.อลิกซ์ เจ.ชาร์ลส์ แพทย์ผิวหนังผู้ผ่านการรับรองกล่าวว่า “เหตุผลอันดับแรกที่อธิบายว่า ทำไมจึงมีอาการคันคือ “ผิวแห้ง” ภาวะผิวแห้งยิ่งย่ำแย่ลงเพราะสาเหตุจากผิวหนังลอกเพราะถูกแดดเผา สภาพภูมิอากาศ ความชื้นลดลง การใช้สบู่มากเกินไป (ซึ่งทำให้ผิวหนังสูญเสียน้ำมันตามธรรมชาติ) สารคลอรีนในสระว่ายน้ำ การถูกน้ำเป็นเวลานาน และอายุที่มากขึ้น (เพราะผิวหนังเริ่มบางลง) โดยเหตุที่ผิวแห้งมีหลากหลายสาเหตุ จึงแนะนำให้คิดว่า คุณสัมผัสอะไรบ่อยมากเป็นพิเศษ ให้ลดการสัมผัสกับปัจจัยที่ดึงความชื้นออกจากผิวหนัง ก็จะหยุดอาการคันได้ จากนั้นเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวหนังด้วยโลชั่นมอยเจอไรเซอร์ 2. แมลงกัดต่อย การถูกยุงกัดมักทำให้เราเกิดตุ่มแดงที่ง่ายต่อการระบุ แต่มีแมลงอีกหลายชนิดที่เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่ง ดร.ชาร์ลส์ระบุว่า อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการคันไร้ผื่นได้ เช่น

Read More

สัญญาณติดเชื้อสเตฟที่พึงระวัง

Column: Well – Being เป็นไปได้ว่า ณ เวลานี้ มีโอกาสที่แบคทีเรียกลุ่มสเตฟฟิโลคอคคัสปักหลักอาศัยอยู่ในรูจมูกของคุณราวร้อยละ 30 เลยทีเดียว แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่คุณจะหงุดหงิดใจ สเตฟฟิโลคอคคัสเป็นกลุ่มแบคทีเรียที่มีมากกว่า 30 ชนิด นอกจากนี้ ยังเป็นที่รู้จักกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดจิ๋วที่ “อยู่แบบพึ่งพาอาศัยกัน” เพราะมันมีความเป็นมิตรมากพอที่จะอาศัยอยู่ในร่างกายของเราโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาใดๆ ทั้งนี้เป็นคำอธิบายของ ดร.พอล เฟย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ แผนกพยาธิวิทยาและจุลชีววิทยาของศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยเนบราสกา “ คุณสามารถพบเชื้อสเตฟในจมูก บนผิวหนัง และบางครั้งก็ในเยื่อเมือกของอวัยวะอื่นๆ เช่น ที่ทวารหนัก” ขณะที่เบคทีเรียสเตฟเป็นเหมือนแขกที่ปักหลักเฉพาะที่อยู่ในร่างกายของเรา มันสามารถเป็นสาเหตุของการติดเชื้อและความเจ็บป่วยได้ ถ้ามันเข้าสู่อวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกายที่มันไม่สมควรเข้าไปอยู่ ดร.เฟย์กล่าวว่า การติดเชื้อสเตฟมีหลายชนิดและแสดงอาการแตกต่างกัน “การติดเชื้อสเตฟที่พบมากที่สุดคือ เมื่อมีรอยแผลที่ผิวหนัง ทำให้เชื้อสเตฟมีทางเข้าไปจนเกิดการติดเชื้อได้” นพ.โจชัว ซีคเนอร์ ผู้อำนวยการด้านการวิจัยเครื่องสำอางและทางคลินิก สาขาวิชาโรคผิวหนังแห่งโรงพยาบาลเมาต์ ไซนาย อธิบาย “ภาวะนี้อาจเกิดขึ้นหลังจากถูกมีดบาด และเกิดรอยขีดข่วน เป็นแผลหลังโกนหนวด หรือแม้แต่เมื่อผิวหนังเปิดเพราะโรคน้ำกัดเท้า” นอกเหนือจากภาวะติดเชื้อเฉพาะที่เล็กๆ น้อยๆ แล้ว เชื้อสเตฟยังเป็นสาเหตุของการเกิดปฏิกิริยาในระบบภูมิคุ้มกันขั้นรุนแรง ไปจนถึงการติดเชื้อที่รู้จักกันว่า “ภาวะติดเชื้อ”

Read More

ลดน้ำหนักไม่ได้ผล เพราะความเข้าใจที่ผิดๆ

ความคิดที่ว่า “กินไปก่อน ค่อยไปออกก็ได้” “เล่นหนักๆ เข้าไว้ น้ำหนักจะได้ลงเร็ว” หรือ “เหงื่อออกเยอะ ไขมันยิ่งลด” เป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่งยวด ที่ทำให้การออกกำลังไม่ประสบความสำเร็จ น่าแปลกที่ความคิดเหล่านี้ยังคงมีอยู่ ทั้งที่โลกปัจจุบันความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่ได้ผลสามารถหาอ่านได้เพียงแค่ปลายนิ้ว แต่หลายคนกลับปักใจเชื่อความคิดเดิมๆ ทว่า ความเข้าใจเหล่านี้หากเกิดขึ้นกับใครก็ตาม คงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใด หากบุคคลคนนั้นออกกำลังกายแทบตาย แต่น้ำหนักไม่ลดลงเสียที มิหนำซ้ำอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว โภชนาการสำคัญกว่าการออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพนั้น แท้จริงแล้ว ความสำคัญของโภชนาการมีความสำคัญถึง 70 เปอร์เซ็นต์ และอีก 30 เปอร์เซ็นต์ คือการออกกำลังกายที่ถูกต้อง ผู้เขียนออกกำลังกายอย่างจริงจังมาหลายปี และมักเจอกับคำถามเช่นว่า กินน้อยๆ ได้ไหม น้ำหนักจะได้ลด หรือซิตอัปอย่างเดียวได้ไหม หน้าท้องจะได้ยุบ หรือแม้แต่วิ่งอย่างเดียวได้ไหม น้ำหนักจะได้ลงเร็วๆ คำตอบที่ให้ไปคือ คุณสามารถทำได้ทั้งหมดทุกข้อ เพื่อให้น้ำหนักลด คำถามเหล่านั้นไม่ผิดแม้แต่น้อย เพราะทุกการกระทำล้วนให้ผลตามที่ต้องการ คือ “น้ำหนักลด หน้าท้องยุบ” ทว่า ประสิทธิภาพที่ได้นั้นจะดีพอให้น้ำหนักลดต่อเนื่องหรือไม่ คำตอบคือ “ไม่” ทำไมโภชนาการถึงมีความสำคัญกับการออกกำลังกายมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ หากเข้าใจคำนิยามนี้ “You are

Read More

ลดน้ำหนักให้ถูกวิธีเมื่ออายุเกิน 60 ปี

Column: Well – Being สำหรับหลายๆ คน เมื่ออายุมากขึ้น การดำเนินชีวิตหลายด้านดูเหมือนจะง่ายขึ้นและดีขึ้น แต่ก็โชคร้ายในหลายประเด็น เช่น เมื่อต้องการลดน้ำหนัก กลับไม่ง่ายอย่างที่ใจต้องการ เพียงแค่การกำจัดน้ำหนักส่วนเกินไม่กี่กิโลกรัม ดูเหมือนช่างยากเย็นเสียนี่กระไร ไม่ว่าเพราะสาเหตุจากตารางเวลายุ่งเหยิงจนหาเวลาไม่ได้ หรือเพราะปัญหาข้อเสื่อมที่คอยรบกวน ทำให้คุณมีแรงบันดาลใจอยากไปโรงยิมน้อยลง น้ำหนักตัว 10 ปอนด์ที่เพิ่มขึ้นช่วงอายุ 40 กว่าปีสามารถกลายเป็นน้ำหนักส่วนเกินที่เพิ่มขึ้นเป็น 20 ปอนด์ได้เมื่อคุณอยู่ในช่วงอายุ 50 หรือ 60 กว่าปี แต่ผู้เชี่ยวชาญต่างเห็นพ้องว่า เป็นสิ่งสำคัญมากที่ต้องจดจ่อกับการควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่ว่าคุณจะอยู่ในช่วงอายุเท่าไร “ไขมันส่วนเกินเป็นสิ่งที่เราไม่ควรละเลยไม่ว่าเราจะมีอายุเท่าไร” ดร.โรเบิร์ต ฮุยเซนกา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านการแพทย์คลินิก มหาวิทยาลัยยูซีแอลเอ กล่าว ไมเคิล สพิทเซอร์ เทรนเนอร์ส่วนบุคคลและผู้เขียนหนังสือ Fitness at 40, 50, 60 and Beyond ก็เห็นพ้องด้วยและเพิ่มเติมว่า “เส้นทางที่แท้จริงที่นำไปสู่การควบคุมน้ำหนักและความแข็งแรงเมื่ออายุเกิน 60 ปีไปแล้ว ไม่มีอะไรแตกต่างจากช่วงอายุอื่นๆ ในชีวิตเท่าไรนัก” อย่างไรก็ตาม นิตยสาร

Read More

รู้ได้ไงเป็นไข้หวัดธรรมดาหรือไข้หวัดใหญ่?

Column: Well – Being เมื่อคุณไม่สบาย สิ่งที่ปรารถนาคือ ให้รู้สึกทรมานจากอาการป่วยนั้นน้อยลง แต่ในฤดูฝนอย่างนี้ จะแยกแยะอย่างไรว่าคุณเป็นไข้หวัดธรรมดาหรือไข้หวัดใหญ่? ที่เป็นอย่างนี้เพราะมีอาการหลายอย่างที่เหมือนกัน แต่มีข้อแตกต่างสำคัญคือ “ไข้หวัดใหญ่เหมือนเป็นไข้หวัดธรรมดาแล้วกินสเตียรอยด์” นพ.ดร.โจเซฟ ลาดาโป ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย, ลอสแองเจลิส กล่าว “ผมเคยได้ยินคนไข้พูดว่า ‘นี่เป็นอาการย่ำแย่ที่สุดในชีวิต’” การจะหยุดอาการสูดจมูกบ่อย ๆ ให้ได้ คุณจำเป็นต้องรู้เสียก่อนว่าสาเหตุคืออะไร นิตยสาร Prevention นำเสนอคำอธิบายของแพทย์เกี่ยวกับวิธีแยกไข้หวัดธรรมดาออกจากไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดธรรมดา vs ไข้หวัดใหญ่ เหตุผลหนึ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้ว่า คุณเป็นไข้หวัดธรรมดาหรือไข้หวัดใหญ่กันแน่ เป็นเพราะมีข้อแตกต่างเล็ก ๆ น้อย ๆ เพียงไม่กี่ข้อระหว่างสองอาการนี้ อาการไข้หวัดธรรมดา จะแสดงอาการเริ่มแรกตั้งแต่ส่วน เหนือลำคอขึ้นไป ได้แก่ - น้ำมูกไหล - ไอและจาม - เจ็บคอ - ต่อมน้ำเหลืองบวมเล็กน้อย - ปวดเมื่อยและปวดตามลำตัวเล็กน้อย อาการไข้หวัดใหญ่ จะแสดงอาการทั้งส่วน เหนือและใต้ลำคอ ลงมา โดยคุณมีอาการของไข้หวัดธรรมดาทั้งหมดรวมทั้ง - ไข้สูงกว่า 100 องศาฟาเรนไฮต์ - ไอมีเสมหะ - อ่อนเพลียและอ่อนล้า - หนาวสั่น - อาเจียน - ท้องร่วง - ปวดเมื่อยทั้งตัว ตกลงเป็นไข้หวัดธรรมดาหรือไข้หวัดใหญ่? ข้อแตกต่างสำคัญที่สุดระหว่างสองอาการไข้หวัดคือ

Read More

วิธีธรรมชาติแก้คลื่นไส้… ไม่ต้องกินยา

Column: Well – Being คำว่า “คลื่นไส้” กระตุ้นประสบการณ์สุดสยอง จากการที่คุณเกิดความรู้สึกเหมือนมีระลอกคลื่นปั่นป่วนอยู่ในกระเพาะอาหาร และมักเกิดขึ้นก่อนการอาเจียน แม้จะเป็นอาการเลวร้ายเพียงใดก็ตาม แต่อาการคลื่นไส้เป็นการแสดงออกถึงภูมิปัญญาของร่างกายด้วย เหมือนกับการที่เกิดอาการหิว ที่เตือนให้เราต้องกินอาหารให้อิ่มในยามที่ร่างกายต้องการอาหาร แต่อาการคลื่นไส้สื่อการกระทำในทางตรงข้าม คือ เราจำเป็นต้องทำให้กระเพาะอาหารว่างเปล่า ไม่อย่างนั้นแล้วสุขภาพของคุณจะย่ำแย่ ดังนั้น เมื่อมีอาการคลื่นไส้จึงไม่จำเป็นต้องหาทางกำจัด เช่น ในกรณีของอาหารเป็นพิษ ส่วนใหญ่ของการตอบสนองที่เหมาะสมที่สุด คือ ยอมโอนอ่อนไปตามความรู้สึกที่เกิดขึ้น นั่นคือ คลื่นไส้แล้วปล่อยให้อาเจียนออกมา ทันทีที่อาเจียน คุณได้ลดศักยภาพการทำลายล้างของพิษ หรือเชื้อโรค และมักทำให้คุณรู้สึกสบายตัวขึ้นเกือบจะในทันที มีหลายวาระด้วยกันที่อาการคลื่นไส้จู่โจมคุณอย่างไม่ทันตั้งตัว นั่นคือในระหว่างเดินทาง เช่น เมื่อคุณรู้สึกท้องไส้ปั่นป่วนขณะอยู่บนดาดฟ้าเรือที่โคลงเคลงเพราะแรงคลื่น ยาที่ช่วยแก้คลื่นไส้มีหลากหลาย ที่นิยมมากที่สุดตัวหนึ่งคือ dimenhydrinate (Dramamine) แต่อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงคือ ปวดศีรษะ เวียนหัว และง่วงซึมอย่างรุนแรง ทำให้ยาตัวนี้ไม่เหมาะสำหรับผู้ต้องขับรถ หรือผู้ที่จำเป็นต้องจดจ่อกับงานและต้องตื่นตัวอยู่เสมอ นิตยสาร Prevention เสนอให้ลองใช้วิธีธรรมชาติโดยไม่ต้องกินยาดังนี้ ขิงช่วยได้ การวิจัยพบว่า สารที่อยู่ในแง่งขิงที่เรียกว่า จินเจอรอล ช่วยระงับการหลั่งเซโรโทนิน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งที่เป็นตัวกระตุ้นหลักให้เกิดอาการคลื่นไส้ หากต้องการรักษาหรือป้องกันอาการคลื่นไส้ แนะนำให้ชงขิงผงครึ่งช้อนชาในน้ำหนึ่งแก้ว หรือกินขิงผง

Read More

นักวิจัยมช.พบพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ของโลก ‘พรหมจุฬาภรณ์’ รอต่อยอดยาต้านมะเร็ง

นักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลกในสกุลมหาพรหม ได้รับพระราชทานนาม “พรหมจุฬาภรณ์” จากป่าดิบแล้งบนเขาหินปูนขนาดเล็กในนครศรีธรรมราช พร้อมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเพื่อขยายพันธุ์ให้มากขึ้นและพัฒนาเป็นยาต้านมะเร็งต่อไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการแถลงข่าวพืชชนิดใหม่ของโลกในสกุลมหาพรหม (Mitrephora (Blume) Hook.f. & Thomson) ซึ่งได้รับพระราชทานนาม “พรหมจุฬาภรณ์” จากศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนภูมิภาค ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ อาคาร ๔๖ ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ สิงหราชวราพันธ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.คมกฤต เล็กสกุล รองผู้อำนวยการภารกิจจัดสรรงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมแถลงข่าว คณะนักวิจัยนำโดย ดร.ธนวัฒน์ เชาวสกู สังกัดภาควิชาชีววิทยา

Read More

ว่ายน้ำเผาผลาญแคลอรีได้เท่าไร?

Column: Well – Being ถ้าคุณเคยกระโดดลงไปในสระว่ายน้ำเพื่อออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ คุณย่อมรู้ดีว่า การว่ายน้ำต้องออกแรงหนักหน่วงมากแค่ไหนเมื่อเทียบกับการวิ่งหรือปั่นจักรยาน ที่น่าทึ่ง แม้ว่ายน้ำไปแค่ไม่กี่นาทีเท่านั้น มันทำให้คุณหายใจหอบได้แค่ไหน นิตยสาร Shape จึงช่วยคุณคำนวณการเผาผลาญแคลอรีดังนี้ ข้อดีของการว่ายน้ำ “ว่ายน้ำเป็นการออกกำลังกายที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง” โรเชลล์ แบ็กซ์เตอร์ ผู้ฝึกสอนผู้ได้รับอนุญาตและนักไตรกีฬากล่าว นอกเหนือจากข้อดีที่ว่า ว่ายน้ำเป็นการออกกำลังกายแรงกระแทกต่ำ ซึ่งกลายเป็นทางเลือกที่ดีมากสำหรับการฟื้นฟูร่างกาย และการป้องกันการบาดเจ็บ “มันยังช่วยเผาผลาญไขมัน ลดน้ำหนัก สร้างความแข็งแกร่ง และทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น” เหตุผลที่การว่ายน้ำดีมากสำหรับคุณ คือ ทุกครั้งที่คุณดึงแขน เตะน้ำ หรือว่ายท่าต่างๆ คุณกำลังออกแรงดึงแขนในน้ำโดยสู้กับแรงต้านของน้ำ ซึ่งมีความหนาแน่นกว่าอากาศมาก “วิธีนี้เป็นการสร้างกล้ามเนื้อและเผาผลาญแคลอรีที่สำคัญ” แบ็กซ์เตอร์อธิบาย “ขณะที่คุณกำลังเผาผลาญแคลอรีนั้น คุณกำลังสร้างกล้ามเนื้อไร้ไขมันในเวลาเดียวกันด้วย ซึ่งหมายความว่า คุณจะเผาผลาญแคลอรีต่อเนื่องไปตลอดทั้งวันด้วย” ว่ายน้ำเผาผลาญแคลอรีได้เท่าไร? การจะคำนวณว่าคุณเผาผลาญแคลอรีได้เท่าไรในขณะกำลังว่ายน้ำ เริ่มแรกคุณต้องเข้าใจวิธีที่นักวิทยาศาสตร์ประเมินปริมาณพลังงานที่ร่างกายของคุณใช้ในระหว่างการทำกิจกรรมทางกายภาพ หน่วยที่ใช้เรียกว่า MET (metabolic equivalent) และมันวัดว่าร่างกายของคุณทำงานหนักแค่ไหนเมื่อเกี่ยวข้องกับการพัก เมื่อคุณนอนเล่นหรืออยู่ในภาวะพัก ร่างกายของคุณเผาผลาญ 1 MET ซึ่งเท่ากับ 1 แคลอรีต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัมต่อชั่วโมง ถ้าคุณรู้ว่ากิจกรรมที่ทำเผาผลาญได้กี่ MET และรู้น้ำหนักตัว คุณสามารถคำนวณจำนวนแคลอรีที่เผาผลาญได้ขณะกำลังทำกิจกรรมนั้น

Read More

พึงระวัง… หิวตลอดเวลาอาจไม่ใช่หิวจริง

Column: Well – Being เมื่อท้องเริ่มร้องจ๊อกๆ คุณเริ่มเดินวนรอบโต๊ะหรือตู้กับข้าวเพื่อหาอะไรขบเคี้ยว แม้เพิ่งผ่านมื้ออาหารมาได้ไม่ถึงชั่วโมงด้วยซ้ำ! อาการนี้ฟังดูคุ้นเคยใช่ไหม? ถ้าคุณรู้สึกหิว ตลอดเวลา มันต้องมีอะไรผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกายของคุณแน่ๆ ดร.ซูซาน อัลเบอร์ส ผู้เชี่ยวชาญด้านการกินอย่างระมัดระวังและผู้เขียนหนังสือ Hanger Management อธิบายว่า ผู้มีอาการหิวตลอดเวลาอย่างนี้ จริงๆ แล้วมีแค่ไม่กี่คนที่หิวเพราะเกี่ยวข้องกับความต้องการอาหาร “ในแต่ละวันเราต้องตัดสินใจเกี่ยวกับอาหารนับร้อยครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วแรงกระตุ้นไม่ได้มาจากความหิวจริง เราถูกแวดล้อมด้วยอาหารตลอด 24 ชั่วโมงทั้ง 7 วัน ถูกครอบงำด้วยความเครียดและอารมณ์อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน พฤติกรรมการกินส่วนใหญ่ถูกกระตุ้นด้วยอารมณ์” นิตยสาร Prevention แจกแจงเหตุผลสำคัญๆ ที่อาจทำให้คุณอยู่ในภาวะหิวตลอดเวลา กินไม่อิ่มในมื้ออาหาร สำหรับเหตุผลแรก ขอให้ยอมรับพฤติกรรมนี้: ถ้าคุณเพียงแค่หยิบเฉพาะจานแตงกวา หรือพยายามจำกัดปริมาณอาหารเพื่อลดน้ำหนักตัว ซึ่งเป็นการจำกัดอาหารแต่ละกลุ่มเกือบทั้งหมด คุณจะอยู่ในภาวะหิวโหยต่อไป จากนั้นคุณจะกลับไปหาอาหารขบเคี้ยว ซึ่งชนะจุดประสงค์หลักของความพยายามลดปริมาณแคลอรีทั้งหมดที่คุณทำมา วิธีที่จะทำให้คุณรู้สึกอิ่มนานกว่าระยะเวลาที่ใช้ในการเดินออกจากห้องครัวไปยังห้องนั่งเล่นคือ ให้เพิ่มสารอาหารอันหลากหลายเข้าไปในมื้ออาหาร เช่น โปรตีน ไขมันดี (ลูกนัต อะโวคาโด น้ำมันมะกอก) และเส้นใย ดร.อเล็กซานดรา โซวา ผู้ก่อตั้ง SoWell Health อธิบายว่า

Read More