Home > สุขภาพ (Page 3)

เสริมระบบภูมิคุ้มกัน ทำได้…ไม่ยาก

Column: Well – Being ระบบภูมิคุ้มกัน คือ แนวรับสำคัญของการป้องกันความเจ็บป่วยของคุณ ดังนั้น มันจะเป็นเหตุเป็นผลเท่านั้นที่คุณต้องการรักษาระบบภูมิคุ้มกันให้อยู่ในระดับสูงสุด ซึ่งจริงแท้เป็นพิเศษในช่วงที่ฤดูกาลไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่กำลังระบาด โดยเฉพาะการระบาดอย่างรุนแรงในทั่วโลกของโรคโควิด-19 ดร. จูเลีย แบลงค์ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวประจำศูนย์สุขภาพของโพรวิเดนซ์ เซนต์ จอห์น, รัฐแคลิฟอร์เนีย กล่าวว่า ตามธรรมชาติแล้วคุณเกิดมาพร้อมระบบภูมิคุ้มกันติดตัวมาด้วย และแต่ละคนก็แตกต่างกันไปเล็กน้อย แต่ที่แน่นอนคือ คุณสามารถลงมือทำเพื่อเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายได้ “การจะรักษาระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแกร่งอยู่ได้ คุณจำเป็นต้องดูแลร่างกายเป็นอย่างดีด้วย” ระบบภูมิคุ้มกันทำงานอย่างไร? ดร. แบลงค์ กล่าวกับนิตยสาร Prevention ว่า จริงๆ แล้วระบบภูมิคุ้มกันของคุณประกอบด้วย “การป้องกันหลายระดับชั้น” ซึ่งรวมถึงด่านทางกายภาพ เช่น ผิวหนัง และซิเลีย (เซลล์ขน) ที่เรียงรายอยู่ในทางเดินหายใจของคุณ เป็นเซลล์ที่เชี่ยวชาญการจดจำและโจมตีสิ่งแปลกปลอม เช่น ไวรัส และแบคทีเรีย ดร.แบลงค์อธิบายต่อไปว่า “เซลล์ภูมิคุ้มกันเหล่านี้บางตัวไม่ได้เจาะจงทำลายทุกอย่างที่ดูเป็นสิ่งแปลกปลอม ส่วนเซลล์อื่นๆ จะผลิตแอนติบอดี (โปรตีนต่อต้านเชื้อโรคในร่างกาย) ที่สามารถจดจำและเล็งเป้าหมายไปที่แอนติเจน (สารก่อภูมิคุ้มกัน) บนพื้นผิวของเชื้อโรค” ระบบภูมิคุ้มกันของคุณยังมีความสามารถในการจดจำเชื้อโรคที่คุณเคยสัมผัสมาก่อน และสร้างการตอบสนองอย่างรวดเร็ว “นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมคุณจึงไม่ล้มป่วยหลังจากสัมผัสกับเชื้อโรคที่คุณเคยเผชิญหน้ามาก่อน และเคยต่อสู้ด้วยในอดีต”

Read More

ทำอย่างไรให้หายไอเรื้อรัง?

Column: Well – Being เมื่อคุณหายจากไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่แล้ว แต่มีอีกอาการหนึ่งที่ดูเหมือนจะไม่ยอมหาย แถมยังมีทีท่าจะอยู่กับคุณตลอดไปซะอีก ... เฮ้อ ... ทำไงดี? ดร. นิโคล เอ็ม ไทเยอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์ประจำซีดาร์ ไซนาย เมดิคอล กรุ๊ป ในลอสแองเจลิส อธิบายว่า ส่วนใหญ่แล้วอาการไข้หวัดจะหายไปใน 7-10 วัน แต่ผลการวิจัยระบุว่า โดยเฉลี่ยแล้วผู้ป่วยไข้หวัดจะยังมีอาการไอต่อไปอีกจนถึงวันที่สิบแปด “อาการไอสามารถเป็นเรื้อรังยาวนานกว่าอาการอื่นๆ เพราะระบบภูมิคุ้มกันยังพยายามต่อสู้เพื่อให้ทางเดินหายใจกลับมาเป็นปกติ” ขณะที่อาการบวมคั่งของเลือดค่อยๆ ดีขึ้น เสมหะหรือน้ำมูกที่ไหลลงคอยังสามารถกระตุ้นไอได้เช่นกัน อาการนี้ดูเหมือนจะคงอยู่ตลอดไป แต่อาการน่าเบื่อนี้จะหายไปได้ในท้ายที่สุด ถ้ายังไอเรื้อรังนานกว่าสองเดือน ให้พบแพทย์ เพราะมันอาจส่งสัญญาณว่าคุณอาจมีโรคอื่นร่วมด้วย เช่น ภูมิแพ้ หอบหืด หรือกรดไหลย้อน (คุณควรบอกแพทย์ด้วยว่านอกเหนือจากอาการไอ คุณมีอาการใดอาการหนึ่งของโรคโควิด-19 ร่วมด้วย ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย) อย่างไรก็ตาม นิตยสาร Prevention นำเสนอวิธีป้องกันและควบคุมอาการไอเรื้อรังให้อยู่หมัดเสียแต่เนิ่นๆ หรือวิธีทำให้บรรเทาลงในทันทีที่มันเริ่มคุกคามคุณดังนี้ ปกป้องตัวเอง วิธีง่ายที่สุดที่จะปลอดภัยจากอาการไอเรื้อรังคือ หลีกเลี่ยงความเจ็บป่วยให้ได้เป็นลำดับแรก ตั้งแต่ตื่นตัวเกี่ยวกับการล้างมือทุกครั้งหลังออกไปในที่สาธารณะ สัมผัสพื้นผิวที่ใช้ร่วมกัน หรืออยู่ท่ามกลางผู้ป่วย ถ้าคุณรู้สึกมีอาการที่ค่อยๆ

Read More

จับตามะเร็งลำไส้ใหญ่คุกคามหนุ่มสาวมากขึ้น

Column: Well – Being การเสียชีวิตของแชดวิค โบสแมน “แบล็คแพนเธอร์” ดาราจอเงินขวัญใจคอหนังทั่วโลกขณะอายุเพียง 43 ปี ด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ทำให้คนทั่วโลกโดยเฉพาะแฟนคลับผู้ชื่นชอบฝีมือการแสดงของเขาทั้งช็อกทั้งเสียใจและเสียดายไปตามๆ กัน โบสแมนพบว่าตัวเองเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะ 3 เมื่อปี 2016 และพัฒนาจนเป็นระยะสุดท้ายหรือระยะ 4 กระทั่งเสียชีวิตเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาของปี 2020 นี้ กรณีของโบสแมนทำให้สมาคมมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (เอซีเอส) เปิดเผยว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเป็นโรคมะเร็งที่วินิจฉัยพบมากที่สุดเป็นอันดับสามของสหรัฐฯ เอซีเอสประเมินว่าปีนี้จะมีผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่รายใหม่กว่า 104,610 รายและอีกกว่า 43,000 รายในกรณีของมะเร็งลำไส้ตรง (rectal cancer) นิตยสาร Prevention กล่าวว่า การเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ของโบสแมนขณะอายุยังน้อยไม่ถือเป็นเรื่องน่าแปลก เพราะขณะที่อัตราการถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักในสหรัฐฯ มีตัวเลขลดลงในหมู่ประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่น่าจับตามองคือ อัตราการป่วยในคนหนุ่มสาวกลับเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เอซีเอสประเมินว่า มีผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักราวร้อยละ 12 (ประมาณ 18,000 ราย) มีอายุต่ำกว่า 50 ปี ทำไมมะเร็งลำไส้ใหญ่จึงคุกคามหนุ่มสาวมากขึ้น? เอซีเอสเปิดเผยว่า ผลการวิจัยระบุว่า

Read More

ไข้หวัดใหญ่ฤดูกาล 2020 ที่คุณต้องรู้

Column: Well – Being ไข้หวัดใหญ่เป็นภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่มีสาเหตุจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเดินทางผ่านอากาศเข้าสู่ร่างกายผ่านทางจมูกหรือปาก โดยเฉลี่ยแล้วชาวอเมริกันป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ร้อยละ 8 ต่อปี และทุกคนมีความเสี่ยงต่อไวรัสนี้ นิตยสาร Prevention รายงานการเปิดเผยของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งสหรัฐฯ (ซีดีซี) ว่า นับจากเดือนตุลาคม 2019 ถึงต้นเดือนเมษายน 2020 มีผู้เสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนเพราะไข้หวัดใหญ่ราว 62,000 ราย และต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล 740,000 ราย เทียบกับฤดูกาล 2018-2019 มีผู้เข้าโรงพยาบาลราว 490,000 ราย และผู้เสียชีวิตเพราะโรคแทรกซ้อนจากการป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ 34,200 ราย อาการของไข้หวัดใหญ่มีตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงรุนแรง ที่อาจรวมถึงไข้ หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บคอ ไอ และปวดศีรษะ บ่อยครั้งที่ไข้หวัดใหญ่มักสับสนกับไข้หวัดธรรมดา แต่ไข้หวัดใหญ่จะพัฒนาอาการอย่างเฉียบพลันและรุนแรงกว่ามาก ที่สำคัญอาการยังสามารถซ้ำซ้อนกับโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่มีสาเหตุจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สาเหตุของไข้หวัดใหญ่ เมื่อผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ไอหรือจาม ทำให้ละอองฝอยจากสารคัดหลั่งที่มีเชื้อไวรัสล่องลอยในอากาศ คุณสามารถติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ถ้าสูดกายใจเอาละอองฝอยเหล่านี้เข้าทางจมูกหรือปาก หรือถ้าคุณสัมผัสกับพื้นผิววัตถุต่างๆ เช่น ลูกบิดประตู หรือแป้นคีย์บอร์ดปนเปื้อนเชื้อไวรัส จากนั้นก็ใช้มือนั้นสัมผัสจมูก ตา หรือปาก

Read More

ช่วยกันลดกินเนื้อวัวเพื่อคุณ … เพื่อโลก

Column: Well – Being ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบ เนื้อวัวเป็นวัตถุดิบสำคัญในอาหารของชาวอเมริกัน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นชาติที่กินเนื้อวัวมากที่สุดในโลกประมาณ 58 ปอนด์ต่อคนต่อปี (ขณะที่คนทั่วโลกกินเนื้อวัวเฉลี่ยเพียง 14 ปอนด์ต่อคนต่อปี) แม้ว่าบางคนจะยังคงสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเนื้อวัวชนิดขาดไม่ได้ แต่ก็มีหลักฐานแจ้งชัดที่ชี้แนะว่า การลดกินเนื้อวัวจะเป็นคุณกับตัวคุณเองและโลกของเรา นิตยสาร Prevention จึงประกาศโครงการรณรงค์ลดการกินเนื้อวัวว่า นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2020 เป็นต้นไป ครัวของนิตยสารเล่มนี้จะไม่สร้างสรรค์สูตรอาหารใหม่ที่มีเนื้อวัวเป็นส่วนประกอบอีกต่อไป และจะหันไปเน้นโปรตีนชนิดอื่นแทนโดยให้เหตุผลว่า ... เนื้อวัวสร้างปัญหาให้โลก ผลการศึกษาปี 2018 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature ฟันธงว่า การเลี้ยงสัตว์เป็นธุรกิจที่ไม่มีประสิทธิภาพ การผลิตปศุสัตว์ต้องใช้พื้นที่การทำฟาร์มของโลกถึงร้อยละ 83 แต่สามารถผลิตแคลอรีรวมได้เพียงร้อยละ 18 และผลิตโปรตีนรวมเพียงร้อยละ 37 ซ้ำร้ายกว่านั้น ไม่ได้หมายความว่า ฟาร์มทั้งหมดดังกล่าวจะสร้างความยั่งยืนให้โลกได้ ผลการศึกษาปี 2016 กล่าวว่า อุตสาหกรรมการผลิตเนื้อวัวทำให้เกิดการทำลายป่าในลุ่มน้ำแอมะซอนถึงร้อยละ 80 โดยทั่วไปแล้ว โลกต้องรับภาระหนักหน่วงกว่าการผลิตแหล่งโปรตีนจากสัตว์ชนิดอื่นๆ มาก ได้แก่ เนื้อหมู และสัตว์ปีก ที่สำคัญมีธุรกิจน้อยรายมากที่ใช้แนวทางยั่งยืน เช่น การเลี้ยงสัตว์ที่มีการจัดการ ผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพต้องดำเนินควบคู่กันไป เนื้อแดงซึ่งในสหรัฐอเมริกามักหมายถึงเนื้อวัว สัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ

Read More

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับ “ต้อกระจก”

Column: Well – Being เมื่อถามคนส่วนใหญ่ว่า พวกเขารู้อะไรเกี่ยวกับโรค “ต้อกระจก” บ้าง คุณอาจได้ยินคำตอบที่ผสมผสานกันของคำว่า “ปัญหาทางสายตา” “มองเห็นเบลอ ๆ” และ “โรคคนแก่” ซึ่งไม่น่าแปลกใจเลย เพราะสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐฯ กล่าวว่า ประมาณครึ่งหนึ่งของชาวอเมริกันผู้มีอายุ 80 ปีล้วนรู้จักต้อกระจกกันดี จริงๆ แล้ว “ต้อกระจก” คืออะไร? คลินิกเมโยให้คำจำกัดความว่า ภาวะ “ต้อกระจก” เป็นอาการขุ่นมัวที่เกิดขึ้นกับเลนส์แก้วตาของคุณ ซึ่งปกติแล้วจะใส เฉพาะในสหรัฐฯ มีผู้ป่วยต้อกระจกรายใหม่ราว 2 แสนรายในแต่ละปี และก่อให้เกิดปัญหาการอ่านหนังสือ การขับรถ (โดยเฉพาะเวลากลางคืน) และแม้แต่การจดจำการแสดงออกทางสีหน้า อาการของโรคต้อกระจกมีทั้งสภาวะการมองเห็นขุ่นมัว เบลอ หรือมีความไวต่อแสง และมองเห็น “รัศมี” โดยรอบดวงไฟ ความเสี่ยงการเกิดโรคต้อกระจก ได้แก่ อายุที่มากขึ้น การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก รวมทั้งผู้เป็นโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เป็นไปได้ที่คุณอาจเกิดภาวะต้อกระจกที่สัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น โดยจะเริ่มมีอาการในช่วงอายุ 40 ปี แต่อาจไม่เป็นปัญหาต่อการมองเห็นจนกระทั่งคุณมีอายุ 60

Read More

ฟื้นความจำได้ด้วยวิธีธรรมชาติ

Column: Well – Being วันหนึ่งขณะคุณออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน คุณรู้สึกมีมือมาแตะที่ต้นแขน พร้อมเสียงคุ้นเคยเอ่ยเรียกชื่อคุณ เมื่อหันกลับไปดูก็พบว่าคนคนนี้ยิ้มให้ จริงๆ แล้วคุณรู้จักเธอดีเพราะรู้จักกันมานานปี แต่ได้ลืมเลือนชื่อของเธอไปเสียแล้ว คุณทำได้เพียงพึมพำว่า “เฮ้ ... เธอ” ก่อนคุณจะค้นหาในกูเกิลหัวข้อ “สัญญาณอาการสมองเสื่อม” ขอให้เชื่อมั่นเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงด้านความจำ ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสูงวัยที่เกิดขึ้นตามปกติ โดยเฉพาะเมื่อคุณรู้สึกถึงปัญหาการนึกหาคำพูด หรือการสูญเสียโฟกัสไปชั่วขณะ เช่น คุณถามตัวเองว่า “นี่ฉันเดินเข้ามาในครัวทำไมนะ?” ดร. โจเอล คราเมอร์ ผู้อำนวยการโครงการประสาทจิตวิทยาสูงวัยและความจำ แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย อธิบายว่า “ทักษะด้านความจำหลายอย่างของเรา เช่น การทำงานพร้อมกันหลายอย่างในเวลาเดียวกัน หรือความเร็วการประมวลผลของสมอง พัฒนาถึงขีดสูงสุดช่วงอายุราว 30 ปี จากนั้นจะค่อยๆ เสื่อมถอยลงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น” แต่นิตยสาร Prevention แย้งว่า กระบวนการดังกล่าวไม่จำเป็นต้องเป็นอย่างนั้นเสมอไป ด้วยการเลือกวิถีชีวิตอย่างชาญฉลาด ทำให้คุณสามารถฝึกสมองได้ใหม่เพื่อให้ยังคงความเฉียบคมและมีโฟกัสอยู่เสมอ โดยผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำที่น่าสนใจดังนี้ พยายามนึกให้ได้ก่อนค้นหาในกูเกิล อินเทอร์เน็ตเป็นผู้ช่วยสุดวิเศษที่จะบอกชื่อดาราที่คุณนึกชื่อไม่ออกทั้งที่ติดอยู่ตรงปลายลิ้นนี่เอง แต่ยุคสมัยในเวลานี้ทำให้คุณเกิดภาวะ digital amnesia (ภาวะความจำเสื่อม เพราะพึ่งพาเทคโนโลยีมากเกินไป) ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมครึ่งหนึ่งของคนรุ่นเราไม่สามารถโทรหาลูกๆ หรือโทรเข้าสำนักงานได้ โดยปราศจากการเปิดรายชื่อในโทรศัพท์มือถือ ดร.

Read More

8 สาเหตุทำคุณถ่ายปัสสาวะขัด

Column: Well – Being การถ่ายปัสสาวะปวดแสบปวดร้อนหรือที่เรียกว่าถ่ายปัสสาวะขัด จัดได้ว่าเป็นอาการที่สร้างความรำคาญใจและน่าอายได้มากที่สุดอาการหนึ่ง โดยเฉพาะเมื่อกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง ไม่ว่าอาการปวดแสบปวดร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ หรือคันและระคายเคืองผิวหนัง หรือต้องวิ่งเข้าห้องน้ำบ่อยครั้ง ... เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ทำไมจึงถ่ายปัสสาวะขัด? ข่าวดีคือ ตัวร้ายที่เป็นสาเหตุของการถ่ายปัสสาวะขัดมักเป็นตัวเดียวกันไม่มีอะไรซับซ้อน และแม้ว่าคุณกำลังเผชิญกับสาเหตุการถ่ายปัสสาวะขัดที่ไม่ได้มาจากสาเหตุร่วมโดยทั่วไป ให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยหาสาเหตุและหาวิธีรักษาที่ถูกต้องต่อไป ด้วยการเก็บตัวอย่างปัสสาวะส่งแพทย์ตรวจเท่านั้น ถ้าคุณสงสัยว่า ทำไมจู่ๆ จึงถ่ายปัสสาวะขัด นิตยสาร Prevention นำเสนอเหตุผล 8 ประการที่เป็นไปได้ พร้อมคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญดังนี้ (1) คุณอาจติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (UTI) ถ้าคุณต้องถ่ายปัสสาวะบ่อยๆ (แต่คุณไม่ต้องการ เพราะรู้สึกปวดแสบปวดร้อนและปัสสาวะขัด หรือในทุกครั้งที่มีปัสสาวะไหลออกมา) คุณอาจติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (urinary tract infection หรือ UTI) ดร. ไมเคิล อิงเบอร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบทางเดินปัสสาวะ อธิบายว่า “สิ่งแรกที่คุณควรคำนึงถึงคือ ภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการที่เกิดมากที่สุดของโรคติดเชื้อทั้งหมด และผู้หญิงร้อยละ50-60 ล้วนเคยเป็นโรคนี้อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต” นั่นไม่ได้หมายความว่าผู้ชายจะไม่เป็น UTI แต่ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชายราวร้อยละ 30 ... ทำไม? ดร. เดวิด

Read More

อดนอนแค่ 5 คืน ส่งผลถึงขั้นคิดลบ

Column: Well – Being การศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Sleep Research ระบุว่า การอดนอนเพียงคืนละ 5 ชั่วโมง เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน ส่งผลกระทบให้เกิดความคิดเชิงลบในชีวิตประจำวัน นิตยสาร Prevention รายงานการศึกษาชิ้นนี้ด้วยการเพิ่มเติมว่า การนอนพักผ่อนให้เพียงพอประมาณคืนละ 7- 9 ชั่วโมง ไม่เพียงเพิ่มโอกาสให้คุณเกิดความรู้สึกเชิงบวก แต่ยังอาจช่วยให้คุณมีความจำและเล่นกีฬาได้ดีขึ้นด้วย Journal of Sleep Research ให้รายละเอียดว่า นักวิจัยรับสมัครผู้เข้าร่วมการทดลอง 42 คน ในภารกิจนานสองสัปดาห์นี้ โดยให้พวกเขาแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ต่อรูปภาพ 90 รูป ซึ่งประกอบด้วยรูปที่น่าพึงพอใจ รูปที่เป็นกลาง และรูปที่ไม่น่าพึงพอใจ หลังจากพวกเขาได้นอนพักผ่อนตามปกติ 5 คืน จากนั้นจึงทดสอบปฏิกิริยาของพวกเขาอีกครั้งหลังจากถูกจำกัดการนอนเพียงคืนละ 5 ชั่วโมงเป็นเวลา 5 คืนติดต่อกัน ก่อนเริ่มการศึกษา พวกเขาต่างยืนยันว่า ปกติแล้วพวกเขานอนคืนละ 7-9 ชั่วโมง

Read More

เป็น โควิด-19 เสี่ยงลิ่มเลือดอุดตัน?

Column: Well – Being ท่ามกลางการแพร่ระบาดอย่างไม่หยุดยั้งของโรค โควิด-19 ที่เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจอย่างน่ากลัวนั้น ปรากฏว่าแพทย์หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า มีผู้ป่วยอาการหนักต้องต่อสู้กับอาการลิ่มเลือดอุดตัน เป็นการเพิ่มความซับซ้อนอย่างหนักหน่วงให้กับความเจ็บป่วยที่ทุกข์ทรมานอยู่แล้ว ผลการวิจัยเกี่ยวกับโรคนี้ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น เพราะเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ไม่เคยมีใครรู้จักมาก่อน ที่น่าสนใจคือ การศึกษาจากการชันสูตรศพผู้เสียชีวิตด้วยโรค โควิด-19 โดยนักวิจัยพบลิ่มเลือดอยู่ในปอดและบริเวณใต้ผิวหนัง นอกจากนี้ นักวิจัยยังพบลิ่มเลือดบริเวณใต้ผิวหนังของผู้ป่วยที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วย นิตยสาร Prevention นำเสนอบทความน่าสนใจชิ้นนี้ว่า การศึกษาผู้ป่วย โควิด-19 ในห้องไอซียู 184 คนที่เนเธอร์แลนด์ พบว่า ผู้ป่วยร้อยละ 27 มีอาการลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ (venous thromboembolism หรือ VTE) ซึ่งมักเป็นอาการลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำส่วนลึกที่ขา ต้นขา หรือกระดูกเชิงกราน ผู้ป่วยร้อยละ 25 มีอาการลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (pulmonary embolism หรือ PE) ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และเกิดขึ้นเมื่อลิ่มเลือดบางส่วนแตกตัวแล้วไหลเข้าสู่ปอด นักวิจัยสรุปว่า โดยรวมแล้วผู้ป่วยในห้องไอซียูร้อยละ 31 มีอาการแทรกซ้อนจากภาวะลิ่มเลือดนี้ค่อนข้างสูง ตัวอย่างกรณีนี้คือ ดาราชื่อดังแห่งบรอดเวย์ นิค คอร์เดโร

Read More