Home > สังคมผู้สูงวัย

วิกฤตเงียบสังคมผู้สูงวัย ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุคหมอนรองกระดูกเสื่อม

เปิดสัญญาณเตือนจาก แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกสันหลัง เมื่อประเทศไทยกำลังก้าวสู่ “สังคมผู้สูงวัยเต็มรูปแบบ” อย่างรวดเร็ว ภายใต้การเปลี่ยนผ่านนี้ นอกจากประเด็นด้านเศรษฐกิจและโครงสร้างประชากร ยังมี “วิกฤตสุขภาพที่ซ่อนอยู่” ซึ่งกำลังคืบคลานเข้ามาโดยที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ตัว นั่นคือ “โรคกระดูกสันหลังเสื่อมในผู้สูงวัย” นพ.เมธี ภัคเวช แพทย์เฉพาะทางศัลยศาสตร์กระดูกสันหลัง ศูนย์ผ่าตัดส่องกล้อง KLD โรงพยาบาลคามิลเลียน แพทย์ที่มีประสบการณ์ผ่าตัดผู้ป่วยด้วยเทคนิคส่องกล้องมาแล้วกว่า 5,000 เคส รักษาคนไข้ที่มีอาการปวดเรื้อรังมามากกว่า 20,000 เคส เปิดเผยว่า ปัญหากระดูกสันหลังในสังคมไทยกำลังลุกลามแบบเงียบๆ โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรอายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่เริ่มมีอาการจากความเสื่อมของหมอนรองกระดูกและการกดทับเส้นประสาท ชีวิตหนักในอดีต สะสมเป็นโรคในวันนี้ ในพื้นที่ชนบท คนจำนวนมากเคยใช้แรงงานหนักตั้งแต่วัยหนุ่มสาว ไม่ว่าจะเป็นการแบกของหนัก ขุดดิน ทำนา หรือทำงานก่อสร้าง สิ่งเหล่านี้แม้จะดูเป็นเรื่องปกติในยุคนั้น แต่ในมุมของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ กลับเป็น “รากฐานของความเสื่อม” ที่เริ่มแสดงออกอย่างชัดเจนเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ “จากการประเมิน ผู้สูงวัยในชนบทมากกว่า 50% มีภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกทรุด หรือเส้นประสาทถูกกดทับ” นพ.เมธีกล่าว คนเมืองก็ไม่รอด…โรคจาก “พฤติกรรมดิจิทัล”

Read More

Aged Society เมื่อไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย

เมื่อไม่นานมานี้ “มิวเซียมสยาม” ได้จัดการประชุม Museum Forum 2021 ภายใต้หัวข้อที่น่าสนใจอย่าง “มิวเซียมสายตายาว มองการณ์ไกลเพื่อสังคมสูงวัย Far-sighted Museum: Sighting forward to Aging Society” เพื่อรวบรวมองค์ความรู้และปฏิบัติการด้านพิพิธภัณฑ์สำหรับผู้สูงวัย เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมและรองรับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบของประเทศไทย ความจริงแล้วไทยก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยมีประชากรผู้สูงวัยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปอยู่ที่ 10.4% ของประชากรทั้งหมด ในขณะที่อัตราการเกิดมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จนถึง ณ ปัจจุบัน ปี 2564 ไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยโดยสมบูรณ์ โดยมีประชากรผู้สูงวัยในสัดส่วน 20% จากประชากรทั้งหมด และคาดว่าในปี 2578 อาจจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มเป็น 30% องค์การสหประชาชาติแบ่งการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) หมายถึงมีคนอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 10% หรือมีคนอายุ

Read More