มธ. ปรับตัวเพิ่มหลักสูตร ปั้นบัณฑิตสู่ยุค AI
โจทย์หลักที่สถาบันอุดมศึกษาต้องแก้ให้ทันเวลาคือการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงเพื่อรับมือกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างสังคม ทั้งอัตราการเกิดลดลง ความต้องการของตลาดแรงงานหนึ่งอาชีพหลายทักษะ และคำถามที่กลายเป็นโจทย์สำคัญคือ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยยังจำเป็นอยู่หรือไม่ ประเด็นดังกล่าวเป็นแรงผลักดันสำคัญ ที่มหาวิทยาลัยต้องสร้างการเปลี่ยนแปลง โดยที่การเปลี่ยนแปลงจะต้องส่งผลดีต่อตัวนักศึกษา ทั้งเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน มีทักษะหลายด้าน “โลกของการศึกษาถูกท้าทายจากโครงสร้างการเกิดที่ลดจำนวนลง การเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AI ที่เราไม่อาจปฏิเสธได้ ยังไม่นับรวมการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ มธ. ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาต้องเปลี่ยนแปลงเยอะมาก ถ้าไม่ปรับตัวเราอาจถูกดิสรัปต์ในที่สุด” ศ.ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ข้อมูล ก่อนจะขยายความว่า “ในศตวรรษที่ 21 ธรรมศาสตร์มีแผนที่จะขับเคลื่อนไปข้างหน้า ไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบชั้นนำแห่งอนาคต นั่นคือการปรับปรุงและพัฒนากว่า 298 หลักสูตร ซึ่งจะครอบคลุมทั้งด้านสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ นักศึกษาจะต้องมีความรู้รอบด้าน พร้อมลงมือปฏิบัติได้จริง” มธ. มีแนวคิดที่จะขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยให้พร้อมสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในทุกมิติด้วย 3 แกนหลัก ได้แก่ 1. การเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบชั้นนำแห่งอนาคต มุ่งบูรณาการองค์ความรู้หลากศาสตร์และการพัฒนาทักษะทางการวิจัยให้ตอบสนองต่อการเรียนรู้ยุคใหม่ 2. การเป็นมหาวิทยาลัยของสังคมโดยเน้นการผลิตบัณฑิตจิตสาธารณะ พร้อมสร้างความเข้าใจเชื่อมโยงกับชุมชนด้วยนวัตกรรมเพื่อสุขภาวะและการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ 3. การสร้างความสุขและความยั่งยืนให้กับประชาคมธรรมศาสตร์ ผ่านการใช้ระบบการบริหารแบบยั่งยืน และแผนงานเชิงระบบที่เน้นการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดOutcome-Based Education (OBE)
Read More