เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า เมื่อใดก็ตามที่ภาครัฐประกาศแนวนโยบายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นทางคมนาคม พื้นที่โดยรอบของโครงการจะถูกกลุ่มทุนให้ความสนใจและเริ่มปักหมุด แหแหนกันหาหนทางเข้าไปจับจองอาณาเขต ด้วยหวังว่าจะพัฒนาโครงการด้านอสังหาริมทรัพย์ไปพร้อมๆ กัน
และด้วยการคาดการณ์จากนักลงทุนด้านอสังหาฯ ทำให้พื้นที่ตลอดแนวเส้นทางรถไฟฟ้าค่อยๆ เปลี่ยนหน้าไป การนำสิ่งอำนวยความสะดวก ความทันสมัย และสิ่งที่สามารถตอบสนองไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมายได้ จึงเป็นเป้าประสงค์หลักของบรรดาผู้ประกอบการที่เล็งเห็นศักยภาพของพื้นที่ดังกล่าว
ย่านบางใหญ่ น่าจะอธิบายให้เห็นชัดเจนถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ไม่ใช่แค่การคมนาคมที่สามารถเข้าถึงได้เท่านั้น ทว่า สิ่งที่ตามมาทำให้พื้นที่บางใหญ่เปลี่ยนไปจากเดิม
นับตั้งแต่การเปิดทดลองเดินรถเสมือนจริงของเส้นทางส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพงถึงท่าพระ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2562 ยิ่งเป็นเครื่องตอกย้ำว่า พื้นที่เก่าแก่ที่รถไฟใต้ดินจะวิ่งผ่าน กำลังจะเปลี่ยนไป
ย่านเยาวราชกลายเป็นพื้นที่เนื้อหอมไปโดยปริยาย นับตั้งแต่รัฐบาลประกาศเส้นทางการพัฒนารถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย และด้วยอิทธิพลอันทรงเสน่ห์ของย่านเก่าแก่แห่งนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่ใครต่อใครอยากจะเข้ามาหาพื้นที่สำหรับการลงทุน
แม้จะเป็นไปไม่ได้ ที่จะหาพื้นที่ขนาดใหญ่สำหรับการลงทุนด้านอสังหาฯ เพื่อการอยู่อาศัย ทว่า ยังมีธุรกิจอื่นๆ อีกมากมายที่อาจจะน่าลงทุนและเหมาะสมกับพื้นที่แห่งนี้
ดังเช่นที่กลุ่ม BDMS ที่สบโอกาสทองจับอาคารสำนักงานเดิมของสหธนาคารให้เป็นโรงพยาบาลไชน่าทาวน์ จากนั้นก็ทรานส์ฟอร์มสู่โรงพยาบาลสมิติเวชไชน่าทาวน์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาด 59 เตียง สำหรับรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและคนไทยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่
การมาถึงของรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินทำให้ราคาที่ดินย่านเยาวราชมีราคาขายอยู่ที่ตารางวาละ 1.4-1.6 ล้านบาท เมื่อพิจารณาราคาที่ดินย่านนี้จะเห็นได้ว่า ตัวเลขราคาไม่ต่างจากย่านธุรกิจของไทยสักเท่าไร
ความยาวของถนนเยาวราชเพียง 1.4 กิโลเมตร อัดแน่นไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่การเปลี่ยนชื่อจากเดิมที่เคยใช้ว่า ถนนยุพราช และเป็นแหล่งทำกินของชาวจีนที่ข้ามน้ำข้ามทะเลมา ซึ่งเมื่อรัชกาลที่
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์พื้นที่แนวรถไฟฟ้าเยาวราชแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน Read More