Home > 2017 (Page 5)

สงครามเบียร์สะดุด “ช้าง-สิงห์” พลิกแผนปลุกตลาด

ในที่สุด เกมเปิดแนวรบสงครามเบียร์เจาะช่องทางคอนวีเนียนสโตร์ของ 2 ยักษ์ใหญ่ “ช้าง-สิงห์” เป็นอันต้องล่มไป เมื่อเจอกระแสต่อต้านอย่างหนัก ทั้งบิ๊กกระทรวงสาธารณสุขและกลุ่มองค์กรเอกชนที่ยกพลเครือข่ายบุกยื่นหนังสือคัดค้านกลยุทธ์ “เครื่องกดเบียร์สด” ในร้านสะดวกซื้อ ล่าสุด ที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ยังมีมติเมื่อวันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา ยืนยันว่า การขายเบียร์สดผ่านเครื่องกดอัตโนมัติในร้านสะดวกซื้อเข้าข่ายเป็นการขายโดยวิธีต้องห้ามขายตามมาตรา 30 (1) พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฯ ซึ่งระบุว่าห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการหรือในลักษณะใช้เครื่องขายอัตโนมัติ นอกจากนี้ ยังเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 32 เรื่องการห้ามโฆษณา เนื่องจากที่ตู้กดปรากฏยี่ห้อและสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งหลังจากนี้จะส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป แม้ทั้งบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เจ้าของเครือข่ายร้านเซเว่นอีเลฟเว่น และบริษัท เซ็นทรัล แฟมิลิมี่มาร์ท จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจร้านแฟมิลี่มาร์ท ประกาศยกเลิกการจำหน่ายเบียร์สดแล้ว หลายฝ่ายระบุว่า รูปแบบการจำหน่ายเบียร์สดในร้านคอนวีเนียนสโตร์ครั้งนี้ ไทยถือเป็นประเทศแรกที่เปิดกลยุทธ์เพื่อขยายช่องทางการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายง่ายขึ้นและมากขึ้น เนื่องจากตลาดเบียร์ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาซบเซา อัตราเติบโตแค่ 3% ซึ่งทำให้ค่ายเบียร์ทุกแบรนด์พยายามหาแผนเจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ โดยดึง

Read More

ค้าปลีกอาเซียน…เดือด ทีซีซี เซ็นทรัล อิออน บุกหนัก

แนวรบตลาดค้าปลีกอาเซียนร้อนเดือดมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อ 3 ค่ายยักษ์ใหญ่ คือ กลุ่มทีซีซีของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี เครือเซ็นทรัลของกลุ่มตระกูลจิราธิวัฒน์ และอิออนกรุ๊ป ประเทศญี่ปุ่น กำลังขับเคี่ยวเร่งขยายเครือข่ายสาขา และเพิ่มจำนวนคู่ค้าขนานใหญ่ เพื่อแย่งชิงยึดจุดยุทธศาสตร์สำคัญของภูมิภาค ล่าสุด นายเจริญ สิริวัฒนภักดี ออกมาเปิดเผยแผนการเปิดห้างบิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์แห่งแรกในประเทศมาเลเซีย ภายหลังการเข้าพบกษัตริย์ของประเทศมาเลเซีย และมีการตกลงกันเบื้องต้นจะให้กลุ่มทีซีซีกรุ๊ปเข้าลงทุนในมาเลเซียตามวิสัยทัศน์การเชื่อมต่อและสร้างเครือข่ายการกระจายสินค้าที่กว้างขวางในภูมิภาคอาเซียน แน่นอนว่า หมากเกมนี้ของนายเจริญกำลังก้าวรุดหน้าหลังจากกลุ่มธุรกิจในเครือบริษัทเบอร์ลี่ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ “บีเจซี” เข้าไปทำธุรกิจต้นน้ำ ทั้งโรงงานผลิตขวดแก้ว โรงงานผลิตมันฝรั่งทอดกรอบและขนมขึ้นรูป ที่มาเลเซียตั้งแต่ปี 2551 แผนขั้นต่อไป คือ การนำธุรกิจอื่นๆ ทั้งกลางน้ำและปลายน้ำเข้าไปขยายเพิ่มเติมด้วย โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกทั้งหมดในเครือบีเจซี ขณะเดียวกัน มาเลเซียจะกลายเป็นอีกประเทศเป้าหมายที่นายเจริญต้องการปักหมุดเชื่อมเครือข่ายค้าปลีกกับประเทศไทยและกลุ่ม CLMV อีก 4 ประเทศหลัก ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ปัจจุบัน บิ๊กซีและบีเจซีในประเทศไทยมีห้างค้าปลีกในเครือรวมทุกรูปแบบมากกว่า 1,200 สาขาในภูมิภาคอาเซียน โดยมีประเทศไทยเป็นแกนหลัก เชื่อมต่อกับหมุดหลักแรก “เวียดนาม” ซึ่งมีห้างไฮเปอร์มาร์เก็ต

Read More

จาก “แม่โขง” ถึง “รวงข้าว” ไทยเบฟฯ แก้เกมรุกธุรกิจเหล้า

แม้ “ไทยเบฟเวอเรจ” เดินหน้าขยายพอร์ตธุรกิจนอนแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า รายได้หลักของกลุ่มยังมาจากธุรกิจสุรามากกว่า 55% ตามด้วยธุรกิจเบียร์ 32% ขณะที่ธุรกิจกลุ่มเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์บวกธุรกิจอาหารมีสัดส่วนเพียง 13% หรือคิดจากรายได้รวม 9 เดือนในปีบัญชี 2560 (ต.ค.2559-มิ.ย.2560) 142,460 ล้านบาท มาจากธุรกิจสุราเกือบ 79,000 ล้านบาท ขณะที่ธุรกิจสุราเมื่อปี 2559 ตั้งแต่เดือนมกราคม-กันยายน มีรายได้จากการขาย 76,649 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ 112 ล้านบาท โดยมีปริมาณขายเพิ่มขึ้น 2.3% เป็น 416.8 ล้านลิตร แต่กำไรสุทธิรวม 14,548 ล้านบาท ไม่เติบโต เนื่องจากกําลังซื้อของผู้บริโภคยังไม่ปรับตัวดีขึ้น และผู้บริโภคบางส่วนปรับเปลี่ยนไปบริโภคสุราขาว ซึ่งมีราคาขายและกําไรต่อขวดน้อยกว่าสุราสี แม้มีปริมาณขายเติบโตขึ้นก็ตาม นั่นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กลุ่มธุรกิจสุราพลิกหากลยุทธ์เพิ่มอัตรากำไร โดยเฉพาะในกลุ่มเหล้าขาวที่ไทยเบฟฯ ยึดครองตลาดทั้งหมด จากเม็ดเงินในตลาดสุราของประเทศไทยที่มีมูลค่ารวมกันมากกว่า 1.7 แสนล้านบาท แบ่งเป็นตลาดเหล้าขาวมูลค่ากว่า 80,000 ล้านบาท และกลุ่มเหล้าสีอีกประมาณ

Read More

จากแรงส่งสู่แรงเฉื่อย รัฐหมดมุกกระตุ้นเศรษฐกิจ?

ปี 2017 กำลังเดินทางเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปี ควบคู่กับการเป็นจุดเริ่มต้นของงบประมาณก้อนใหม่ ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ที่มีมูลค่ารวม 2.9 พันล้านล้านบาท หากแต่สถานการณ์โดยรวมทางเศรษฐกิจของไทยดูจะไม่ได้ดำเนินไปตามที่กลไกภาครัฐพยายามที่จะโหมประโคมว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวขึ้นแล้วมากนัก ตลอดปี 2017 ที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐดูจะทุ่มเทความพยายามในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ การเร่งลงทุนในส่วนของรัฐวิสาหกิจ และการใช้นโยบายด้านภาษี ที่หลายฝ่ายเชื่อว่ามาตรการหลากหลายดังกล่าวได้ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่องและเกินกว่าเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ ภายใต้แรงส่งจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ดำเนินมาก่อนหน้า และทำให้ในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2017 หรือในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ไม่จำเป็นต้องนำเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใดๆ อีก ตรรกะวิธีคิดดังกล่าวในด้านหนึ่งเป็นผลจากกระบวนทัศน์ที่ฝากความหวังไว้กับการเบิกจ่ายงบลงทุนจากเงินงบประมาณประจำปีงวดใหม่ ที่เป็นงบประมาณขาดดุล ที่เชื่อว่าจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐและเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เศรษฐกิจไทยในช่วงท้ายของปีกระเตื้องขึ้นอีก ตัวเลขประมาณการภาพรวมเศรษฐกิจถูกนำมาอ้างอิงอย่างต่อเนื่องในฐานะภาพสะท้อนเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาโดยต่างระบุว่า เศรษฐกิจไทยได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากผลของการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวเกินกว่าที่ประมาณการไว้และอาจทำให้ตัวเลขการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปรับไปสู่ร้อยละ 3.8 จากเดิมที่ประเมินการขยายตัวทางเศรษฐกิจไว้ที่ระดับร้อยละ 3.4 เท่านั้น ความมั่นใจของกลไกภาครัฐจากความสำเร็จในการกระตุ้นให้เศรษฐกิจไทยขยายตัว ที่ดำเนินผ่านตัวเลขทางเศรษฐกิจในด้านหนึ่งกลับสะท้อนความตีบตันของมาตรการที่จะนำเสนอในอนาคต เพราะในขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาจะดีขึ้น แต่ในภาพที่เล็กลงไปในระดับจุลภาค ผลของเศรษฐกิจกลับมีแนวโน้มไปในทิศทางตรงกันข้าม หรือได้รับผลอย่างไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ยังเผชิญความยากลำบาก และเป็นประเด็นที่ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังต้องคำนึงและให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง มาตรการของภาครัฐที่มีรูปธรรมในทางปฏิบัติล่าสุด ในนามของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือที่เรียกขานโดยทั่วไปว่าบัตรสวัสดิการคนจน ซึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2560 ในด้านหนึ่งได้สะท้อนข้อเท็จจริงที่ว่าสังคมไทยยังมีผู้มีรายได้น้อยมาขึ้นทะเบียนเพื่อรับสวัสดิการดังกล่าวมากถึง 10-14 ล้านคน ซึ่งดูเหมือนว่าความมุ่งหมายที่จะนำพาประเทศไทยให้ “ก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง”

Read More

วัฒนธรรมท้องถิ่น จุดขายท่องเที่ยวยุคดิจิทัล

“Thailand 4.0” นโยบายหลักของรัฐบาลไทยกลายเป็นวาทกรรมหลักที่แทบทุกหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของฝ่ายบริหาร ต้องนำไปปฏิบัติและใช้ห้อยท้ายในทุกแคมเปญเพื่อเป็นการยืนยันความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้งนี้นโยบายดังกล่าวมีเป้าหมายหลักที่สำคัญคือ ความต้องการที่จะให้ไทยหลุดพ้นจากกับดักการเป็นประเทศรายได้ปานกลาง สู่การเป็นประเทศรายได้สูง หัวใจสำคัญของเป้าหมายนี้ทำให้ทุกฟันเฟืองที่อยู่ในระบบขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยต้องปรับตัว บุคลากรจากหลายภาคส่วนต้องระดมสรรพกำลัง ระดมสมองรังสรรค์แผนการ เพื่อให้เกิดแรงขับเคลื่อนทั้งองคาพยพ แน่นอนว่าไม่เว้นแม้แต่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่ต้องสร้างสรรค์แคมเปญหลากหลายในแต่ละปี ซึ่งแต่ละกิจกรรมที่สร้างขึ้นล้วนแล้วแต่มีกิมมิกที่โดดเด่นแตกต่างกันไป แม้ว่าฟันเฟืองตัวนี้จะเป็นเสมือนเครื่องจักรสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับประเทศไปแล้วก็ตาม โดยสถานการณ์ภาพรวมการท่องเที่ยวในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 มีรายได้กว่า 8 แสนล้านบาท เท่ากับว่ารายได้ครึ่งปีแรกขยายตัว 6.05 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งยังมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 17.32 ล้านคน เพิ่มขึ้น 4.4 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ตัวเลขนักท่องเที่ยวที่มาไทยเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุมาจากการขยายตัวของการท่องเที่ยวโลก หากแต่เมื่อมองที่จำนวนนักท่องเที่ยวสหรัฐฯ ประเทศเดียว จากข้อมูลสถิติของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พบว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2560 จำนวนนักท่องเที่ยวสหรัฐฯ เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยมีจำนวน 6.88 แสนคน เติบโตร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่นักท่องเที่ยวจากสหรัฐฯ มีการใช้จ่ายระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวในไทยมูลค่า 50,953.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับช่วงที่เหลือของปี 2560 กำลังจะก้าวเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจากสหรัฐฯ อีกครั้ง

Read More

E-Commerce แข่งระอุ สนามประลองกำลังไทย-เทศ

ข่าวคราวการเข้ามาบุกตลาด E-Commerce ไทย ของนักลงทุนต่างชาติในช่วงนี้ น่าจะเป็นผลมาจากทิศทางการเติบโตของตลาดนี้ ที่เติบโตจากปี 2558 ถึง 12.42 เปอร์เซ็นต์ โดยมูลค่าตลาด E-Commerce ไทยในปัจจุบันอยู่ที่ 2.5 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ยังเปิดเผยผลสำรวจอีกว่า ตลาด E-Commerce แบบ B2B (Business-to-Business) ยังกินส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุดด้วยตัวเลข 1.3 ล้านล้านบาท และแบบ B2C (Business-to-Customer) มีมูลค่ากว่า 7 แสนล้านบาท อันดับสุดท้ายคือ แบบ B2G (Business-to-Government) มีมูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท การเติบโตของตลาด E-Commerce ดูจะสวนทางกับสภาพเศรษฐกิจของไทยโดยรวม เมื่อสภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงเวลาปัจจุบันดูจะขับเคลื่อนไปได้เฉพาะเครื่องจักรที่เรียกว่า “การส่งออกและบริการ” ตามรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในเดือนกรกฎาคม 2560 ว่า มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวดี สอดคล้องกับอุปสงค์ต่างประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Read More

ทุนใหญ่รุกธุรกิจสื่อทีวี ช่องทางที่จำเป็นต้องมี?

ข่าวการรุกคืบเข้ามาในธุรกิจสื่อทีวีของกลุ่มทุนใหญ่ที่มีองค์ประกอบทางธุรกิจหลากหลายไม่ว่าจะเป็นจังหวะก้าวของกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ ที่เข้าซื้อช่องอมรินทร์ 34 และช่อง GMM25 หรือการรุกของกลุ่มปราสาททองโอสถ ที่มีช่อง PPTV อยู่ในมือ ควบคู่กับการเข้าซื้อช่อง ONE จากกลุ่ม Grammy กำลังปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ของธุรกิจสื่ออย่างมีนัยสำคัญ ท่ามกลางการล้มหายไปของผู้ประกอบการสื่อรายเดิม ที่ดูเหมือนว่านับวันจะยิ่งอยู่ในสถานการณ์ที่เรียกได้ว่า “กู่ไม่กลับ” ไปโดยปริยาย การเข้าซื้อกิจการทีวีดิจิทัลของกลุ่มทุนใหญ่ ได้รับการประเมินว่าเกิดขึ้นจากเหตุที่เป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง ด้วยจำนวนผู้ประกอบการที่มีมากขึ้น ขณะที่การหารายได้และโฆษณากลับหดตัว จนเจ้าของธุรกิจเดิมเริ่มแบกรับภาระไม่ไหว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประกอบส่วนกับรายได้ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากผลของพัฒนาการด้านเทคโนโลยีที่ทำให้แพลตฟอร์มในการสื่อสารกับผู้บริโภคมีทางเลือกหลากหลายอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ความเป็นไปของธุรกิจสื่อ ซึ่งประสบปัญหารายได้ลดลงและขาดทุนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง กลายเป็นภาพที่เห็นได้เจนตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากตัวเลขผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นในกรณีของ BEC อสมท Grammy RS รวมถึง อมรินทร์พริ้นติ้ง ซึ่งล้วนแต่มีรายได้และผลกำไรลดลง หรือจนถึงขั้นขาดทุน ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจทีวีดิจิทัลโดยเฉพาะการจ่ายค่าใบอนุญาตที่สูง ทำให้บริษัทมีปัญหาขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจอย่างไม่อาจเลี่ยง ความพยายามของผู้ประกอบการสื่อที่ครั้งหนึ่งเคยเชื่อมั่นในความคิดที่ว่า information is power หรือ content is King กำลังถูกกระแสธารของเทคโนโลยีและพลังแห่งทุนโหมกระหน่ำ จนไม่สามารถที่จะรักษาเสถียรภาพและบทบาทนำได้อย่างที่เคยเป็นเคยมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลาที่สถานการณ์เศรษฐกิจบีบคั้น จนทำให้บางรายเลือกที่จะปรับลดสัดส่วนการถือครองหุ้น หรือตัดทอนธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก

Read More

แก้วสารพัดนึกชื่อ EEC และคาถาเสื่อมมนต์ไทยแลนด์ 4.0

หากตั้งประเด็นคำถามว่ารัฐบาลภายใต้การกำกับดูแลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีนโยบายเศรษฐกิจ หรือจัดวางน้ำหนักในการพัฒนาประเทศไว้ที่เรื่องใด เชื่อว่า โครงการเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor (EEC) คงเป็นโครงการที่ผุดขึ้นในกระแสสำนึกอย่างทันที ด้วยเหตุที่สื่อประชาสัมพันธ์ภาครัฐต่างโหมประโคมโครงการที่ว่านี้ อย่างต่อเนื่องและเป็นประหนึ่งโครงการแห่งความหวังว่าจะช่วยฉุดลากเศรษฐกิจไทยในห้วงเวลานับจากนี้ให้หลุดพ้นจากหุบเหวของความตกต่ำที่ต่อเนื่องมาอย่างยาวนานเสียที แม้ว่าในความเป็นจริงโครงการที่ว่านี้ไม่ได้มีอะไรใหม่มากไปกว่าการพัฒนาพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง ซึ่งในด้านหนึ่งก็คือ การสานต่อและเติมเต็มโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด ที่ดำเนินมาเมื่อ 40 กว่าปีก่อน ให้มีความสดใหม่เพิ่มขึ้นและขยับให้ EEC เป็นประหนึ่งข้อต่อเชื่อมที่จะทำให้โครงการอีสเทิร์นซีบอร์ดเสร็จสมบูรณ์เต็มตามเป้าประสงค์ ภายใต้แผนการพัฒนา EEC รัฐบาลโดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดวางแผนงานเพื่อการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ไว้ 8 แผนงาน ประกอบด้วย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือสัตหีบและบริการลอจิสติกส์ต่อเนื่อง การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย การพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ การพัฒนาศูนย์กลางการเงิน การพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยี การพัฒนาเมืองใหม่ ฉะเชิงเทรา-พัทยา-ระยอง และที่ดูจะให้ความสำคัญมากก็คือ การประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่อันจะเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และเชื่อว่าจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศโดยรวม โดยก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 จำนวน 212

Read More

ยักษ์คอนโดแข่ง “แม็กเนต” “พฤกษา” จับ “สตาร์บัคส์-เซเว่น”

เข้าโค้งสุดท้ายของปี 2560 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะกลุ่มคอนโดมิเนียมนอกจากเร่งเปิดตัวโครงการใหม่รับภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวอย่างชัดเจนในไตรมาส 4 แล้ว กลยุทธ์การเพิ่ม “แม็กเนต” เพื่อสร้างคอมมูนิตี้กลายเป็นจุดขายที่บรรดาค่ายยักษ์ใหญ่หันมาจับและแย่งชิงพันธมิตรระดับ “บิ๊กแบรนด์” เข้ามาเสริมความแข็งแกร่ง ทั้งร้านสะดวกซื้อ ร้านกาแฟ หรือแม้กระทั่งโรงพยาบาลยักษ์ใหญ่ ล่าสุด บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ประกาศจับมือกับแบรนด์กาแฟชั้นนำระดับโลกอย่างร้าน Starbucks เข้ามาเปิดสาขาใหม่ภายในโครงการ “แชปเตอร์วัน อีโค รัชดา-ห้วยขวาง” โดยวางคอนเซ็ปต์เดียวกับการออกแบบคอนโดมิเนียมโครงการ “แชปเตอร์วัน อีโค รัชดา-ห้วยขวาง” สไตล์ Scandinavians กลายเป็นร้านกาแฟสตาร์บัคส์แบบ Scandinavians เป็นแห่งแรกในเมืองไทย แน่นอนว่า มีความเป็นไปได้ที่ “สตาร์บัคส์” จะเข้าไปเปิดสาขาในโครงการคอนโดมิเนียมในเครือพฤกษาเพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ “วิน-วิน” เนื่องจากพฤกษาต้องการเจาะขยายตลาดระดับพรีเมียมมากขึ้น ส่วนสตาร์บัคส์จะได้ลูกค้าประจำที่มีกำลังซื้อสูง ประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจพฤกษาเรียลเอสเตท-พรีเมียม บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า

Read More

“ศุภาลัย” โดดชิงแลนด์มาร์ก ตัดหน้า “วัน แบงค็อก”

ในที่สุด บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) สามารถเอาชนะศึกประมูลซื้อที่ดินสถานทูตออสเตรเลีย เนื้อที่ 7 ไร่ 3 งาน 82 ตารางวา บนถนนสาทร ติดถนนสวนพลู มูลค่าที่ดิน 4,600 กว่าล้านบาท หรือคิดเป็น ตร.ว. ละ 1.45 ล้านบาท ฝ่าด่านคู่แข่งที่มีทั้งบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ และสถาบันการเงินนับสิบราย เบื้องต้น นายประทีป ตั้งมติธรรม ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) วางแผนพลิกโฉมที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นโครงการขนาดใหญ่ และหมายมั่นปั้นเป็นแลนด์มาร์กใหม่ในย่านถนนสาทร-สีลม ซึ่งจะประกอบด้วยอาคารชุดพักอาศัยหรือคอนโดมิเนียมระดับเกรดเอ อาคารสำนักงานให้เช่า ซึ่งรวมถึงรูปแบบโครงการมิกซ์ยูส มูลค่าโครงการรวม 17,000-20,000 ล้านบาท หากวิเคราะห์เฉพาะจุดที่ตั้งของที่ดินสถานทูตออสเตรเลีย มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 70 เมตร และลึกประมาณ 160 เมตร ติดถนนสาทรใต้ ซึ่งถือเป็นถนนสายสำคัญ และทำเลทองในย่านธุรกิจที่มีศักยภาพด้านการพัฒนาสูง ด้านหลังมีถนนที่สามารถออกซอยสวนพลูได้

Read More