Home > 2016 (Page 10)

Maison Plisson ร้านอาหารในร้านชำ

 Column: From Paris Lafayette Gourmet เป็นแผนกซูเปอร์ของห้างสรรพสินค้ากาเลอรีส์ ลาฟาแยต (Galeries Lafayette) ขายอาหารสดอย่างเนื้อสัตว์และปลา ผักผลไม้ แถมเครื่องกระป๋องนิดหน่อย เครื่องปรุงและอาหารจากต่างประเทศอย่างอังกฤษ อเมริกา อิตาลีและเอเชีย อาหารจากอัลซาส (Alsace)  ที่พิเศษคือมีแผงขายอาหารสำเร็จ เช่น อาหารกรีกของร้าน Mavrommatis อาหารจีน ที่ซื้อกลับบ้านได้สำหรับวันที่ขี้เกียจทำอาหาร ปลาแซลมอนรมควันและไข่ปลาคาเวียร์ของร้าน Pétrossian อันลือชื่อ ฟัวกราส์ (foie gras) แฮมจากอิตาลี อาหารกรีกมีโต๊ะตั้งสำหรับเสิร์ฟอาหารด้วย ไข่ปลาคาเวียร์ก็เช่นกัน แฮมอิตาลีทำแซนด์วิชขาย และสามารถลิ้มแฮมที่เคาน์เตอร์ได้ด้วย แผงปลาขายหอยนางรมพร้อมเสิร์ฟ โดยมีไวน์ขาวแกล้ม แล้ว Lafayette Gourmet ก็ปิดไป ไปเปิดใหม่ฝั่งตรงข้ามในอาคารที่ขายของใช้ในบ้านของกาเลอรีส์ ลาฟาแยต เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Gourmet & Maison แผนกอาหารใหญ่ขึ้น ตั้งโต๊ะเสิร์ฟอาหารเป็นเรื่องเป็นราว ที่ดูน่ากินน่าจะเป็นแฮมจากอิตาลี ที่มีแฮมสารพัดชนิด เสิร์ฟพร้อมไวน์ ผู้คนนั่งกินกันอย่างเพลิดเพลิน แผงอาหารจีนมีเคาน์เตอร์เสิร์ฟบะหมี่น้ำและติ่มซำ

Read More

ท่องเที่ยว 4.0 ชูอัตลักษณ์ท้องถิ่น สร้างดุลยภาพทางเศรษฐกิจ

  ฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันยังคงเป็นเรื่องของการท่องเที่ยว ซึ่งต้องยอมรับว่ารายได้ของประเทศส่วนใหญ่มาจากส่วนนี้ เมื่อสถานการณ์การส่งออกของไทยยังคงโคลงเคลงที่ยังต้องการจุดจับยึดเพื่อสร้างความมั่นคงมากกว่าที่เป็น  ส่วนหนึ่งของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกคือเรื่องของสภาวะเศรษฐกิจโลกยังคงปรวนแปร ทั้งสถานการณ์ Brexit ที่ส่งผลกระทบเป็นระลอกคลื่น นับตั้งแต่ประเทศโซนยุโรป กระทั่งประเทศโซนเอเชีย และการที่ไทยยังไม่สามารถแก้ปัญหาในกรณีการค้ามนุษย์ได้ แม้ว่าปัจจุบันไทยจะถูกจัดอันดับขึ้นมาอยู่เทียร์ 2 ซึ่งถือว่ายังต้องเฝ้าระวัง  นอกเหนือจากปัจจัยแวดล้อมข้างต้นที่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องแก้ไข ยังมีปัญหาที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และกระทรวงการท่องเที่ยว ต้องหาทางออกเพื่อหยุดผลกระทบที่กำลังจะลุกลาม ซึ่งอาจจะส่งผลถึงรายได้การท่องเที่ยวจำนวนมหาศาลที่จะสูญไป  นั่นคือกรณีของผู้ประกอบการเชียงใหม่บางกลุ่มที่ไม่ต้องการนักท่องเที่ยวจีน จากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบางประการ และการเผยแพร่เรื่องราวบนสื่อโซเชียล ในเชิงดูถูก จนเกิดกระแสการต่อต้านในวงกว้าง  นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ทางการไทยออกมาตรการควบคุมรถนักท่องเที่ยวจากจีนที่เดินทางบนเส้นทาง R3a เข้าสู่ไทยทางภาคเหนือ กระทั่งในวันนี้ที่สื่อจีนชวนคนจีนบอยคอตงดเที่ยวเชียงใหม่ นับเป็นการตอบโต้คนเชียงใหม่ที่ส่งผลต่อผู้ประกอบการโรงแรม รีสอร์ต ผู้ให้บริการรถเช่า ร้านอาหาร แหล่งท่องเที่ยว และที่สำคัญคือภาพรวมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย เพราะเมื่อดูจากตัวเลขสถิติจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยในช่วงเดือนมกราคม ถึง เดือนมิถุนายน 2559 จำนวนนักท่องเที่ยวจีนลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเดือนมกราคมยอดนักท่องเที่ยวจีนอยู่ที่ 814,593 คน เดือนกุมภาพันธ์ 958,204 คน เดือนมีนาคม 856,676 คน เดือนเมษายน 816,028 คน เดือนพฤษภาคม 738,570 คน และเดือนมิถุนายน 715,413

Read More

ไอคอนสยามจับมือทรู ปั้นฮอลล์ใหม่ลุยธุรกิจไมซ์

  อีกครั้งที่หน้าข่าวเศรษฐกิจของหลายสำนักข่าวเปิดเผยเรื่องราวความร่วมมือระหว่างผู้นำด้านเทคโนโลยี โทรคมนาคม ระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไอคอนสยาม จำกัด ผู้พัฒนาโครงการไอคอนสยาม โครงการที่มีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 54,000 ล้านบาท ที่ผุดโปรเจกต์ใหม่ปลุกปั้นศูนย์ประชุมภายใต้ชื่อ “ทรู ไอคอนสยาม ฮอลล์” ดูเหมือนว่าสายสัมพันธ์อันดีระหว่างสองบริษัทจะสืบเนื่องมาตั้งแต่ปี 2557 เมื่อครั้งที่อภิมหาโปรเจกต์เกิดขึ้นบนเนื้อที่ 50 ไร่บนถนนเจริญนคร ริมแม่น้ำเจ้าพระยา จากความร่วมมือของกลุ่มซีพีและสยามพิวรรธน์ และทรู ไอคอนสยาม ฮอลล์ คือหลักฐานชิ้นสำคัญที่ชี้ให้เห็นถึงผลประโยชน์อันชัดเจนที่ทั้งสองบริษัทมีร่วมกัน โดยครั้งนี้เบนเข็มมาที่ธุรกิจ MICE (Meeting, Incentive Travel, Conventions, Exhibitions หรือบางครั้ง C หมายถึง Conferencing และ E หมายถึง Events)  ในฐานะที่เป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นด้านการสื่อสารโทรคมนาคมอย่างครบวงจร ทรูจึงเหมาะสมที่จะดูแลงานด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีการออกแบบของฮอลล์นี้ ซึ่งไอคอนสยามขนานนามให้ฮอลล์นี้เป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์แห่งไอคอนสยาม การหยิบยกเอาเทคโนโลยีล้ำสมัยมาใช้ทั้งเพื่อยกระดับมาตรฐานในการเป็นศูนย์กลางจัดการประชุมระดับนานาชาติ และเพื่อการเตรียมความพร้อมที่จะเข้าแข่งขันในตลาด MICE

Read More

ปรากฏการณ์ KABALI

 Column: AYUBOWAN สันทนาการหลักๆ ของชนชาวศรีลังกานอกจากจะออกมาหย่อนใจในสวนสาธารณะ หรือรวมกลุ่มเล่นกีฬากันอย่างสนุกสนานแล้ว ดูเหมือนว่าโรงภาพยนตร์ ก็เป็นแหล่งสันทนาการใหญ่ที่ดึงดูดผู้ชมได้อย่างหนาแน่น ความเป็นไปของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ศรีลังกา ในด้านหนึ่งก็คงคล้ายและใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียใต้อีกหลากประเทศที่ถูกบดบังไว้ด้วยภาพยนตร์จาก Bollywood ของอินเดียอยู่เป็นด้านหลัก โดยเฉพาะจากข้อเท็จจริงที่ว่า อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของศรีลังกาซึ่งเริ่มต้นขึ้นในปี 1947 หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เกิดขึ้นจากผลของผู้อำนวยการสร้างจากอินเดียใต้ ที่ทำให้ภาพยนตร์ศรีลังกาในยุคบุกเบิก ดำเนินไปท่ามกลางมิติของเทคนิควิธีการเล่าเรื่อง การถ่ายทำตามขนบแบบภาพยนตร์อินเดียไปโดยปริยาย แม้ว่าภาพยนตร์ศรีลังกาที่ผลิตขึ้นในช่วงที่ผ่านมาส่วนใหญ่ก็ผลิตภายใต้สื่อภาษาสิงหล ซึ่งเป็นภาษาหลักและเป็นภาษาของชนหมู่มากของศรีลังกา แต่ภาพยนตร์ภาษาฮินดีจากอินเดียก็ได้รับความสนใจและครองความนิยมในหมู่ผู้ชมได้เสมอ ประเมินในมิติที่ว่านี้ก็คงไม่แตกต่างจากแฟนหนังชาวไทยที่พร้อมจะซื้อบัตรเข้าชมภาพยนตร์จาก Hollywood มากกว่าที่จะสนับสนุนภาพยนตร์ไทยดีๆ สักเรื่อง หรือในความเป็นจริงภาพยนตร์ไทยดีๆ ยังไม่ค่อยมีให้สนับสนุนก็เป็นได้ แต่เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาพยนตร์ภาษาทมิฬจากฐานของอุตสาหกรรมภาพยนตร์อีกแห่งที่เมือง Kodambakkam ในเขต Chennai รัฐ Tamil Nadu ที่ได้รับการเรียกขานว่าเป็น Kollywood ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ที่ไม่จำกัดเฉพาะในบริบทของเมือง Chennai หรือในและอาณาเขตแว่นแคว้นของรัฐ Tamil Nadu ทางตอนใต้ของอินเดียเท่านั้น หากยังแผ่ข้ามมาสู่ศรีลังกาอีกด้วย ภาพยนตร์ภาษาทมิฬในนาม Kabali กลายเป็นหัวข้อสนทนาที่สร้างความตื่นตาตื่นใจอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะจากข้อเท็จจริงที่ว่า Kabali สร้างสถิติใหม่เป็นภาพยนตร์อินเดียที่ทำรายได้สูงสุดจากการฉายทั้งในโรงภาพยนตร์ 3,200 แห่งในอินเดียและอีกจำนวนหนึ่งในต่างประเทศในช่วงสัปดาห์แรก ด้วยมูลค่ารวมมากถึง 33 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื้อหาของ

Read More

บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ร่วมกับบีโอไอ เปิดบ้านพาสื่อมวลชนนานาชาติเยี่ยมชมโรงงาน

  บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป เป็นหนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลก เราผลิตและจำหน่ายรถยนต์ภายใต้แบรนด์บีเอ็มดับเบิลยู, มินิ และโรลส์-รอยซ์ และมอเตอร์ไซค์บีเอ็มดับเบิลยู โดยมีเครือข่ายการผลิต 31 แห่งใน 14 ประเทศ และมีเครือข่ายผู้จำหน่ายและบริการมากกว่า 140 ประเทศทั่วโลก  ในปี 2558 บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป มียอดขายรถยนต์ 2.247 ล้านคัน มอเตอร์ไซค์กว่า 137,000 คันทั่วโลก และมีพนักงานทั้งหมด 122,244 คนทั่วโลก  ความสำเร็จของบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ได้รับการขับเคลื่อนจากพลังแห่งวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยี สร้างผลิตภัณฑ์ที่ยอดเยี่ยม และให้บริการกับลูกค้าอย่างดีที่สุด ให้ความสำคัญกับการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน โดยคำนึงถึงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในทุกผลิตภัณฑ์และทุกขั้นตอนการผลิตอีกด้วย บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย เป็นสาขาของ BMW AG ประเทศเยอรมนี ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2541 โดยประกอบด้วยสามบริษัท ได้แก่ บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู (ประเทศไทย) จำกัด รับผิดชอบด้านการขายและการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ของบีเอ็มดับเบิลยู

Read More

อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ จาก “ปั๊ม” สู่ “มินิคอมมูนิตี้มอลล์”

  “ปตท. ไม่ใช่แค่ปั๊มน้ำมัน แต่เป็นมินิคอมมูนิตี้มอลล์...” อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ย้ำกับ “ผู้จัดการ360 ํ” ถึงเป้าหมายของ ปตท. ในการผลักดันกลุ่มธุรกิจนอนออยล์ (Non-oil) อย่างจริงจังและต่อเนื่องเกือบ 10 ปี นับจากปี 2550 ที่บรรลุดีลประวัติศาสตร์ ฮุบกิจการค้าปลีกน้ำมัน “JET” และร้านสะดวกซื้อแบรนด์ “Jiffy” ในประเทศไทยทั้งหมดจากบริษัท  ConocoPhillips ประเทศสหรัฐอเมริกา    ที่สำคัญ นั่นคือการเดินเกมที่ให้ผลลัพธ์ชัดเจน ทั้งการเป็นผู้นำในตลาดนอนออยล์ มีเครือข่ายธุรกิจเหนือกว่าคู่แข่งทุกค่าย และอัตรากำไรที่พุ่งสูงกว่าธุรกิจน้ำมันโดยเฉพาะปี 2558 ปตท. และบริษัทย่อยมีรายได้จากการขาย 2,026,912 ล้านบาท ลดลง 578,150 ล้าน บาท หรือ 22.2% มาจากปัจจัยด้านราคาน้ำมันที่ลดลงถึง 47% แม้ปริมาณขายน้ำมันยังเติบโตก็ตาม ทั้งนี้ เปรียบเทียบปริมาณรายได้ทั้งหมด

Read More

“เท็กซัสชิคเก้น” บุกปั๊ม เปิดศึกไก่ทอด ยก 2

  หลังจากนำร่องเปิดตัวแบรนด์ไก่ทอดนำเข้า “เท็กซัส ชิคเก้น (Texas Chicken)” บุกสมรภูมิฟาสต์ฟู้ดเมื่อปลายปีก่อน ล่าสุด ยักษ์ใหญ่ ปตท. เตรียมลุยศึกยก 2 ซึ่งไม่ใช่แค่การขยายสาขาในห้างใจกลางเมือง แต่เริ่มต้นเป่านกหวีดผุดร้านเท็กซัสชิคเก้นในปั๊มน้ำมัน PTT Life Station ในฐานะแม็กเน็ตชิ้นใหม่ รุกธุรกิจนอนออยล์และช่วงชิงส่วนแบ่งในตลาดฟาสต์ฟู้ดที่มีมูลค่าเกือบ 35,000 ล้านบาท   ในช่วงจังหวะเดียวกัน เจ้าตลาด “เคเอฟซี” กำลังเจอคู่แข่ง “แมคโดนัลด์” ไล่บี้กลยุทธ์ “บิ๊กไซส์” ออก “แมคไก่ทอดจัมโบ้” ชิ้นใหญ่กว่าเดิม 40% แต่ราคาถูกลง แถมเพิ่มเมนูชุดไก่ทอดหลากหลายมากขึ้น จนกระทั่ง เคเอฟซีต้องยิงแคมเปญ “KFC Always Original” ตอกย้ำความเป็นเจ้าตำรับไก่ทอดตัวจริง ใช้กลยุทธ์มิวสิกแอนด์ป๊อปอาร์ตเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ Gen Z ซึ่งทำให้แนวรบร้อนแรงกว่าเดิม  ทั้งนี้ ตามแผนเบื้องต้นของ ปตท. ในฐานะมาสเตอร์แฟรนไชส์เท็กซัสชิคเก้น ตั้งเป้าจะปูพรมสาขาทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 70 สาขา ภายในระยะเวลา

Read More

เคทีซีเร่งเครื่องครึ่งปีหลังรุกขยายฐานสมาชิกครอบคลุมหัวเมืองใหญ่

  เคทีซีเร่งเครื่องครึ่งปีหลังรุกขยายฐานสมาชิกครอบคลุมหัวเมืองใหญ่ เจาะกลุ่มคนเริ่มทำงาน เน้นพัฒนาทีมขายให้ครองใจสมาชิก เคทีซีเร่งขยายฐานสมาชิกใหม่บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล ผ่านสาขาธนาคารกรุงไทย เอาท์ซอร์ส เซลส์ รวมถึงช่องทางออนไลน์ เน้นเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่เริ่มทำงาน ทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งหัวเมืองใหญ่ 17 จังหวัด พร้อมเร่งพัฒนาบุคลากรและตัวแทนขายอย่างเข้มข้น ตอกย้ำการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ตั้งเป้าสิ้นปีเพิ่มสมาชิกบัตรเครดิตใหม่ 400,000 ราย และสินเชื่อบุคคล 146,000 ราย ณัฐชนัญ เก่งลือชา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร–ช่องทางการจัดจำหน่าย “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “ภาพรวมการขยายฐานสมาชิกใหม่ทั้งบัตรเครดิตและสินเชื่อพร้อมใช้ “เคทีซี พราว” ในครึ่งปีแรกเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยหากเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เคทีซีสามารถขยายฐานสมาชิกบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นถึง 30% และสินเชื่อบุคคลเพิ่มขึ้น 40% โดยที่บริษัทฯ ไม่มีการปรับหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อ แต่มุ่งให้ความสำคัญอย่างมากในการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ ให้กับหน่วยงานด้านการขายของเคทีซีเองและตัวแทนขาย (อิสระ) รวมถึงหน่วยงานสนับสนุนทั้งหมดที่มีอยู่ เพื่อให้การนำเสนอผลิตภัณฑ์ต่างๆ กับลูกค้ามีประสิทธิภาพและตรงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้ามากยิ่งขึ้น” “สำหรับช่องทางขยายฐานสมาชิกใหม่เคทีซีในครึ่งปีหลัง จะมุ่งเน้นไปที่สองช่องทางหลัก คือ สาขาของธนาคารกรุงไทย และเอาท์ซอร์ส

Read More

“ภาครัฐ -เอกชน-สังคม” ลดเหลื่อมล้ำ หนุนจ้างงานคนพิการ 10,000 อัตรา

 6 องค์กรวิชาชีพ-บริษัทเอกชนชั้นนำกว่า 200 องค์กร ร่วมสานพลัง ประชารัฐจ้างงานคนพิการ 10,000 อัตรา โครงการ “สานพลังสู่มิติใหม่ สร้างงาน สร้างอาชีพคนพิการ 10,000 อัตรา” ภายในปี 2559 “กระทรวงแรงงาน-พม.” ยืนยันเอกชนมั่นใจจ้างได้โดยมีกฎหมายรองรับ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำและยังสร้างมูลค่าเศรษฐกิจคิดเป็นเงินกว่า 1,000 ล้านบาท ด้าน “สสส.-มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม” เร่งสร้างความร่วมมือทั้งฝั่งผู้จ้างและคนพิการให้เกิดการขยายผล ชูคำขวัญ “ทำได้ ทำง่าย ไม่ต้องรอ” คาดว่าจะเกิดโอกาสจ้างคนพิการในงานนี้ไม่น้อยกว่า 3,000 อัตรา เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2559 ณ หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรชัย อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พลเอกศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมเป็นประธานงานประกาศความร่วมมือ โครงการ “สานพลังสู่มิติใหม่ สร้างงาน สร้างอาชีพคนพิการ 10,000 อัตรา”

Read More

ไข้เลือดออก

 Column: AYUBOWAN  “อาโรคฺยปรมา ลาภา” ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ เป็นพุทธปรัชญาที่เชื่อว่าท่านผู้อ่านทุกท่านคงตระหนักและเข้าใจเป็นอย่างดี ซึ่งในสังคมศรีลังกาที่ถือพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลักก็คงถือคตินี้ไม่แตกต่างกัน หากแต่ช่วงที่ผ่านมา หลังจากที่ได้รับมรสุมจนเกิดเหตุน้ำท่วมและดินถล่มในหลายพื้นที่ สิ่งที่ติดตามมาก็คือปริมาณน้ำที่ท่วมขังในแต่ละจุดกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยเฉพาะยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำพาโรคไข้เลือดออก หรือ Dengue fever อีกด้วย ภาวะการระบาดของไข้เลือดออกในศรีลังกาโดยปกติจะดำเนินเป็นประหนึ่งวงรอบที่มีการระบาดชุกชุมในช่วงปลายฝนต้นหนาวที่เริ่มมีการระบาดหนาแน่นตั้งแต่เดือนตุลาคมต่อเนื่องมาจนถึงกุมภาพันธ์ โดยมีเดือนธันวาคมและมกราคมเป็นช่วงที่มีการรายงานเกี่ยวกับผู้ป่วยไข้เลือดออกมากที่สุด จากสถิติของสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุขศรีลังการะบุว่า ในช่วงปี 2014 พบว่ามีผู้ป่วยด้วยไข้เลือดออกสูงมากถึง 47,500 ราย โดยในจำนวนที่ว่านี้เป็นผู้ป่วยในเขตกรุงโคลัมโบมากถึง 15,000 ราย เรียกได้ว่าผู้ป่วยจำนวนกว่า 1 ใน 3 เป็นผู้ป่วยในเขตเมือง ความจริงในเรื่องดังกล่าวนี้อาจแยกพิจารณาได้เป็นสองกรณีคือเขตเมืองเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดกับอีกด้านหนึ่งก็คือผู้คนในเขตเมืองมีโอกาสเข้ารับการรักษาพยาบาลมากกว่าผู้คนในเขตห่างไกล ทำให้สถิติเหล่านี้กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มประชากรชาวโคลัมโบ อย่างไรก็ดี การควบคุมโรคไข้เลือดออกของศรีลังกาในช่วงปีถัดมานับว่าประสบผลสำเร็จพอสมควรเพราะในปี 2015 จำนวนผู้ป่วยด้วยไข้ dengue ลดลงเหลือเพียง 30,000 รายหรือลดลงจากปีก่อนหน้ามากกว่าร้อยละ 30 เลยทีเดียว กระบวนการในการติดตามโรคของศรีลังกานับว่าอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ เพราะนอกจากจะติดตามความคืบหน้าอาการป่วยของผู้ติดเชื้อแต่ละรายผ่านโครงข่ายโรงพยาบาลและเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขแล้ว หน่วยงานเทศบาลในพื้นที่ก็ทำงานประสานเพื่อป้องกันการระบาดอย่างต่อเนื่อง ด้วยการฉีดพ่นสารเคมีเพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในพื้นที่เสี่ยงด้วย แต่สำหรับปี 2016 ดูเหมือนว่าสถานการณ์ไข้ Dengue ในศรีลังกาจะกลับเข้าสู่ภาวะที่ต้องวิตกกังวลมากขึ้นเมื่อปรากฏว่าเพียงระยะเวลา 6 เดือนของครึ่งปีแรกก็มีจำนวนผู้ป่วยไข้ Dengue

Read More