Home > 2015 (Page 16)

เยาวราช-ตลาดน้อย เส้นขนานบนรอยทางและรางรถไฟ

 ในห้วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านยุคสมัย รวมไปถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในหลายมิติ แม้ความล้ำสมัยของวิทยาการคือตัวแปรสำคัญที่สร้างให้เกิดพลวัตอันจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาในสังคม แต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจหมายถึงการคืบคลานเข้ามาแทนที่วัฒนธรรมทางสังคมดั้งเดิม ซึ่งอาจหมายถึงเสน่ห์แห่งวิถีชีวิตของชุมชนที่ตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น เยาวราช ถนนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานแห่งนี้ ถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2434–พ.ศ.2443 เพื่อให้เยาวราชเป็นสถานที่สำหรับส่งเสริมการค้า เดิมชื่อ “ถนนยุพราช” และได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า “ถนนเยาวราช” ซึ่งมีชุมชนชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เคยได้ชื่อว่าเป็นย่านธุรกิจการค้าที่สำคัญตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ นอกเหนือไปจากเยาวราช ยังมีอีกหนึ่งชุมชนที่เป็นสถานที่อันเต็มไปด้วยวัฒนธรรมและเสน่ห์ที่ชวนให้ค้นหา แฝงตัวอยู่ในตรอกเล็กๆ บนถนนเจริญกรุง “ตลาดน้อย” ชุมชุนเล็กๆ ที่มีชาวจีนขยายตัวมาจากสำเพ็งเมื่อครั้งที่เศรษฐกิจรุ่งเรือง ด้วยทำเลที่ไม่ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยามากนัก สร้างความสะดวกในการสัญจร ประกอบกับมีถนนเจริญกรุงตัดผ่าน อีกทั้งคลองผดุงกรุงเกษมไหลผ่าน จึงไม่แปลกหากย่านนี้จะเคยเป็นย่านการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ ที่สามารถรองรับการค้าได้ทั้งทางบกและทางน้ำ ห้องแถวไม้สองชั้นมีจำนวน 20 กว่าห้อง ที่บรรพบุรุษเคยอาศัยอยู่และใช้พื้นที่หน้าบ้านเป็นแหล่งค้าขายทั้งอาหารพื้นถิ่น โรงน้ำแข็ง โรงกลึง ธุรกิจเซียงกง อัตลักษณ์ที่ทำให้คนภายนอกรู้จักและจดจำตลาดน้อยได้มากขึ้น แม้ว่าในปัจจุบันตรอกนี้จะไม่มีตลาดให้เห็น แต่เมื่อถึงหน้าเทศกาลไหว้บะจ่าง เทศกาลถือศีลกินผัก วันตรุษจีน ชาวตลาดน้อยยังสืบทอดวิถีเดิมจนกระทั่งปัจจุบัน ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในปัจจุบันส่งผลให้ไชน่าทาวน์ไม่ใช่ย่านธุรกิจที่สำคัญของไทยอีกต่อไป อีกทั้งการขยายตัวของระบบคมนาคมแบบรางที่กำลังแทรกตัวเข้ามาแบบก้าวกระโดด แม้ความก้าวหน้าในด้านการคมนาคมจะมีส่วนช่วยให้ชีวิตมีความสะดวกสบายมากขึ้น ซึ่งเป็นตัวช่วยสำคัญในการย่นระยะทางและเครื่องมือในการช่วยประหยัดเวลาได้อย่างดี คำถามในนาทีนี้คือการเข้ามาแทรกตัวของรถไฟใต้ดินท่ามกลางถนนที่อุดมไปด้วยวัฒนธรรมนั้นเป็นเรื่องที่ยอมรับได้หรือไม่อย่างไร  แม้ปัจจุบันจะมีเพียงเส้นทางรถไฟใต้ดินสายสีน้ำเงินเท่านั้นที่กำลังก่อสร้างอยู่ หากแต่ในอนาคตอันใกล้ โครงการรถไฟสายสีม่วง และสายสีแดง ที่กำลังรอการอนุมัติในหลักการและงบประมาณ

Read More

Dark is Beautiful

 Column: Women in Wonderland ทุกวันนี้เวลาที่เราเปิดโทรทัศน์ ฟังวิทยุ หรือดูข่าวสารตามเว็บไซต์ต่างๆ เราจะเห็นโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับความสวยความงาม อย่างเช่นเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ดูแลผิว เป็นต้น โฆษณาเหล่านี้มักจะมีการกล่าวถึงคุณสมบัติเด่นๆ ของผลิตภัณฑ์ในแต่ละชิ้น และส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการปรับสีผิวให้ดูขาวขึ้นมากกว่าสีผิวปกติ  ในปี 2521 บริษัท Unilever ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคที่ใหญ่ที่สุดของโลก เป็นบริษัทแรกที่ออกผลิตภัณฑ์ที่ช่วยทำให้สีผิวขาวขึ้น และต่อมาก็มีบริษัทอื่นๆ เริ่มออกผลิตภัณฑ์ที่ช่วยปรับสีผิวให้ขาวขึ้นมากกว่าเดิม ทุกบริษัทจึงมีการแข่งขันโฆษณากันอย่างดุเดือดถึงคุณสมบัติต่างๆ ของสินค้าของตัวเองที่จะช่วยให้ผู้ใช้มีสีผิวที่ขาวขึ้นกว่าเดิม โฆษณาเหล่านี้หากดูเผินๆ แล้ว ก็เป็นการบอกเล่าคุณสมบัติเด่นของผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยให้ผู้ใช้มีสีผิวที่ขาวขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว โฆษณาเหล่านี้กำลังปลูกฝังค่านิยมที่ผิดให้กับสังคม เพราะโฆษณาเหล่านี้กำลังจะบอกอย่างอ้อมๆ ว่า การที่มีผิวขาวนั้นจะทำให้เป็นที่น่าสนใจหรือดึงดูดสายตาของผู้ที่พบเจอในแต่ละวันมากกว่าคนที่มีผิวสีคล้ำ การที่เด็กๆ และผู้ใหญ่ได้ดูโฆษณาเหล่านี้หลายๆ ครั้งจากหลายๆ ผลิตภัณฑ์ ก็จะทำให้ผู้คนเหล่านี้รู้สึกไม่พอใจกับสีผิวของตัวเอง และต้องการให้ตัวเองมีสีผิวที่ขาวขึ้นมากกว่านี้ และที่แย่ไปกว่านั้นคือ คนที่เกิดมามีสีผิวคล้ำหรือดำ ก็จะเกิดความรู้สึกไม่พอใจ ไม่มีความสุขกับสีผิวของตัวเอง และเกิดความวิตกกังวลว่าจะทำยังไงให้ตัวเองมีสีผิวที่ขาวขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้ ความคิดที่ว่า คนที่มีผิวขาวจะเป็นคนที่น่าสนใจ และดึงดูดสายตามากกว่าคนที่มีผิวสีคล้ำนั้น เป็นความคิดที่ผิด และนี่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติต่อผู้ที่มีสีผิวต่างกัน ในปี 2525 Alice Walker ซึ่งเป็นนักเขียนชาวอเมริกัน ได้ให้คำจำกัดความ คำว่า

Read More

การท่องเที่ยวริมโขง แกร่งและพร้อมเข้าสู่ AEC

  งวดเข้ามาทุกขณะกับการนับถอยหลังเข้าสู่การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ห้วงเวลาที่ผ่านมาหลายฝ่ายต่างเร่งเตรียมความพร้อมเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงและโอกาสที่กำลังจะมาถึง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน ทั้งในบริบทของสังคม เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นอีกฟันเฟืองหลักในวงล้อแห่ง AEC การสร้างความพร้อมและความแข็งแกร่งทางการท่องเที่ยว จึงเป็นสิ่งสำคัญในการนำพาประเทศเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างมีศักยภาพ การศึกษาวิจัยศักยภาพการท่องเที่ยวตามลำน้ำโขงไทย-ลาว เป็นอีกหนึ่งโครงการที่เกิดขึ้นภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. เพื่อพัฒนาและเตรียมความพร้อมให้กับการท่องเที่ยวระหว่างไทย-ลาว-เวียดนาม โดยมีลำน้ำโขงเป็นศูนย์กลาง แม่น้ำโขงที่มีความยาวราว 4,900 กิโลเมตร ติดอันดับ 10 ของแม่น้ำที่ยาวที่สุดในโลกไหลผ่านและเป็นเส้นกั้นพรมแดนประเทศน้อยใหญ่มากถึง 6 ประเทศ ตั้งแต่ จีน พม่า ลาว ไทย เวียดนาม และกัมพูชา อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ร่วมกันระหว่างประเทศสองฟากแม่น้ำโขง หลากหลายด้วยวิถีชีวิตและวัฒนธรรมประจำถิ่น ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวได้อย่างดี “เส้นทางท่องเที่ยวริมฝั่งโขงนครพนม-คำม่วน” คือผลผลิตอย่างเป็นรูปธรรมของความพยายามในการสร้าง จัดการ และพัฒนาให้เกิดแหล่งท่องเที่ยว อันเกิดจากการศึกษาวิจัยศักยภาพการท่องเที่ยวตามลำน้ำโขงไทย-ลาว ที่ผ่านการทำงานร่วมกันระหว่าง สกว. และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทั้งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว รวมถึงผู้ประกอบการท่องเที่ยวภายในท้องถิ่น ผลักดันให้เกิดโปรแกรมการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งชาวเอเชียและยุโรป จากจังหวัดเล็กๆ ทางภาคอีสานของประเทศไทย อย่างจังหวัดนครพนม กับเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ตอนกลางของ สปป.ลาว

Read More

เที่ยวเมืองคำม่วน ให้ม่วนซื่นรับ AEC

  อากาศร้อนแทบจะทะลุปรอทขนาดนี้ หลายคนอาจจะหงุดหงิดจนทำให้ความรื่นรมย์ในชีวิตขาดหายไปชั่วขณะ “ผู้จัดการ 360 ํ” ขอถือโอกาสนี้ พาผู้อ่านไป “ม่วนซื่น” กันที่ “คำม่วน” แขวงที่อยู่กึ่งกลางประเทศ สปป.ลาว เพื่อดับความร้อนและเพิ่มความเย็นให้กับหัวใจกันดีกว่า แต่ก่อนจะข้ามไปยัง “แขวงคำม่วน” เราตั้งต้นที่จังหวัดที่อยู่ติดกับแขวงคำม่วน มีเพียงลำน้ำโขงกั้นกลาง และเป็นจังหวัดที่ดัชนีชี้วัดความสุขของผู้คนในเมืองติดอันดับหนึ่งของประเทศไทย อย่างจังหวัดนครพนมกันก่อน รับรองว่าม่วนซื่นไม่แพ้กัน เพราะเขาว่ากันว่า “มาอีสานต้องสนุก” นครพนมตั้งอยู่ทางภาคอีสานของเมืองไทย อยู่ตรงข้ามกับแขวงคำม่วนของ สปป.ลาว เป็นเมืองที่เงียบสงบ ไม่เร่งรีบ และความที่เป็นเมืองชายแดนติดกับ สปป.ลาว เพราะฉะนั้นจึงมีการผสมผสานทางวัฒนธรรม ประเพณี วิถีความเป็นอยู่ ระหว่างไทย ลาว รวมถึงเวียดนาม และฉายภาพออกมาให้เราสัมผัสได้ ทั้งวัดวาอาราม อาหารการกิน และประเพณี โปรแกรมที่เรียกว่าขาดไม่ได้เลยสำหรับการมาเยือนนครพนมคือ “นมัสการพระธาตุพนม” พระธาตุศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองและเป็นพระธาตุประจำตัวผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ พระธาตุพนมเป็นพุทธเจดีย์ที่บรรจุพระอุรังคธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ตามตำนานกล่าวว่า องค์พระธาตุสร้างในสมัยอาณาจักรศรีโคตรบูร ซึ่งอาณาจักรศรีโคตรบูรนี้ครอบคลุมไปถึงแขวงคำม่วนของ สปป.ลาว ด้วยเช่นกัน พระธาตุพนมไม่เพียงแต่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวนครพนมเท่านั้น ยังเป็นที่เคารพของชาวไทยภาคอื่นๆ และชาวลาวอีกด้วย ว่ากันว่า ถ้าใครได้มานมัสการพระธาตุครบ 7 ครั้ง

Read More

“สก๊อต” ทุ่มงบ 30 ลบ. เปิดตัว “สก๊อต คอลลาเจน-เลฟอัพ” ต่อยอดไลน์สินค้า

“สก๊อต” เดินหน้าคิดค้นเครื่องดื่มคอลลาเจนสูตรใหม่เจาะตลาดบิวตี้ ทุ่มงบ 30 ล้านบาท เปิดตัวผลิตภัณฑ์ “สก๊อต คอลลาเจน-เลฟอัพ (Scotch Collagen-LeffUp)” ตอบโจทย์ความต้องการกลุ่มผู้หญิงวัยทำงานอายุ 28 ปีขึ้นไปที่ต้องการดูแลตัวเองให้ดูดีตลอดเวลา เน้นกลยุทธ์การตลาดแบบครบวงจร มั่นใจสามารถโกยยอดขาย 100 ล้านบาท ภายในสิ้นปี สมโภช ชวาลเวชกุล กรรมการผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด

Read More

ศึกโซลาร์รูฟท็อป กลยุทธ์ใหม่ปลุกอสังหาฯ

 การเดินหน้าโครงการนำร่องระบบผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์สำหรับบ้านและอาคาร หรือ “โซลาร์รูฟท็อปเสรี” ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยวางแผนอนุมัติให้ชาวบ้านกว่า 1 ล้านครัวเรือน สามารถผลิตไฟฟ้าใช้เอง ด้านหนึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนของนโยบายรัฐและปฏิบัติการที่เห็นเป็นรูปธรรม อีกด้านหนึ่งกำลังเปิดเกมใหม่ในการแข่งขัน โดยเฉพาะการประกาศรุกธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์แบบเต็มตัวของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์อย่าง “เสนาดีเวลลอปเม้นท์” กลายเป็นเจ้าแรกในตลาดที่เปิดขายบ้านติดโซลาร์รูฟท็อป ที่ผ่านมา ในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เน้นการเกาะกระแสสิ่งแวดล้อมไปที่รูปแบบบ้าน เช่น “ศุภาลัย” ออกแบบบ้านเพื่ออนุรักษ์พลังงาน  มีบานหน้าต่างขนาดใหญ่ รับแสงธรรมชาติ และรับลมพัดผ่าน ใช้กระจกอนุรักษ์พลังงาน สุขภัณฑ์รุ่นประหยัดน้ำ และหลอดประหยัดพลังงาน  ส่วน “แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์” ชูคอนเซ็ปต์ “LPN Green” ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ใช้หลอดไฟแอลอีดี จัดสรรพื้นที่จอดรถแบบพิเศษสำหรับรถยนต์ประเภทอีโคคาร์ สร้างสวนขนาดใหญ่กว่า 4 ไร่ นำน้ำทิ้งจากการใช้งานของชุมชนมาบำบัดจนได้มาตรฐานเพื่อนำกลับมาใช้รดน้ำต้นไม้ และลดการพึ่งพาเครื่องปรับอากาศ ออกแบบโครงการให้ระบายอากาศด้วยระบบธรรมชาติ หรือแม้กระทั่งโครงการกรีนคาแนล (Green Canal) ของบริษัทโมเดิร์นกรีนกรุ๊ป (Modern Green Group) ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งประกาศตัวว่าเป็นโครงการที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แต่เป็นการผลิตพลังงานไฟฟ้ารองรับสาธารณูปโภคส่วนกลาง ไม่ใช่ “โซลาร์รูฟท็อป”

Read More

เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ ดันบิ๊กไอเดีย “Solar City”

  เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ มองบทเรียนครั้งสำคัญจากมหาอุทกภัย ปี 2554 ที่กินระยะเวลายาวนานมากกว่า  6  เดือน ความสูญเสียที่ประชาชนได้รับผลกระทบกว่า 12.8 ล้านคน และประเมินมูลค่าความเสียหายสูงถึง 1.44 ล้านล้านบาท จนเป็นภัยพิบัติติดอันดับโลก  เกิดเป็น “แรงผลัก” ที่พลิกเปลี่ยนแนวคิดการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของเครือเสนากรุ๊ป ไม่ใช่แค่การพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อสนองความต้องการกลุ่มลูกค้าแบบเดิมๆ แต่ทุกโครงการหลังจากนั้นจะต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการประหยัดพลังงาน เพื่อลดการกอบโกยจากธรรมชาติให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะแนวคิดที่จะทำให้ “บ้านทุกหลัง” ของเสนากรุ๊ปเป็นอีกจุดเริ่มต้น เพื่อบรรลุเป้าหมายการสร้างประเทศไทยเป็น “Solar City” อย่างที่หลายๆ ประเทศกำลังเดินหน้าให้เกิดขึ้นจริง “เหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปลายปี 2554 ทำให้เราเห็นภาพผลกระทบและอันตรายจากภัยธรรมชาติที่ควบคุมไม่ได้ มันเป็นไปได้ขนาดนั้น และสร้างความเสียหายมากมายเหลือเกิน บริษัทจึงเริ่มศึกษาเรื่องพลังงานทดแทน ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง” เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการบริหาร บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ “ผู้จัดการ360 ํ” โปรเจกต์แรกจากแรงผลักเริ่มต้นขึ้นทันที ในฐานะผู้บริหารเสนากรุ๊ป ใช้เวลาศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เกือบ 3 ปี วิจัยการออกแบบบ้านประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

Read More

ถอดสูตรธุรกิจ “เสนากรุ๊ป” “แตกไลน์-พลิกเกม” สู้วิกฤต

  ระยะเวลามากกว่า 10 ปีที่เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ เข้ามารับไม้ต่อจาก “ธีรวัฒน์” ในฐานะเจนเนอเรชั่นที่ 2 พร้อมๆ กับโจทย์ทางธุรกิจ โดยเฉพาะบทเรียนจากวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” ปี 2540 และระเบิดเศรษฐกิจอีกหลายลูก ซึ่งกลุ่มอสังหาริมทรัพย์มักได้รับผลกระทบอย่างหนัก การปรับเปลี่ยนและขยายไลน์กลายเป็นสิ่งที่เสนากรุ๊ปนำมาพลิกสถานการณ์หนีรอดได้ทุกครั้ง ซึ่งรวมถึงการรุกธุรกิจพลังงานกับพันธมิตรยักษ์ใหญ่ “บี.กริม.พาวเวอร์” ครั้งล่าสุดด้วย   “เสนากรุ๊ป” ไม่ใช่บริษัทเล็กๆ ในวงการ แม้ครอบครัว “ธัญลักษณ์ภาคย์” เริ่มจากกิจการร้านขายลอดช่องย่านตลาดเก่าบางรัก เมื่อ 30 กว่าปีก่อน ซึ่งธีรวัฒน์มักยืนยันเช่นนั้นเสมอ กระทั่งเข้ามาจับธุรกิจโรงงานไม้ปาร์เกต์ จำหน่ายและติดตั้งวัสดุก่อสร้าง    แต่วันหนึ่ง เมื่อธุรกิจสร้างบ้านจัดสรรเฟื่องฟูมาก คนติดตั้งวัสดุก่อสร้างเริ่มมองเห็นอนาคตที่ใหญ่กว่ารออยู่ข้างหน้า  ปี 2536 ธีรวัฒน์ก่อตั้งบริษัท กรุงเทพเคหะกรุ๊ป เดินหน้ารุกธุรกิจบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ และอาคารพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ ภายใต้โครงการเสนาวิลล่า หลังจากนั้นอีก 3 ปี เริ่มดำเนินการโครงการบ้านเดี่ยวขนาดใหญ่ภายใต้ชื่อ โครงการวิลล่า รามอินทรา และเสนา แกรนด์โฮม จนกระทั่งปี

Read More

ซีพี เบอร์เกอร์ ดึง “หมาก-มาร์กี้-ต่อ” ชวนบินไกลไปเซย์ชีสถึงนิวยอร์ก

ซีพี เบอร์เกอร์ ดึง “หมาก-มาร์กี้-ต่อ” ชวนบินไกลไปเซย์ชีสถึงนิวยอร์ก เมืองเบอร์เกอร์ชื่อดัง กับแคมเปญล่าสุด “ซีพี เบอร์เกอร์ ชวน เซย์ ชีส อิน นิวยอร์ค” 2 มิ.ย. – 2 ส.ค. นี้

Read More

AMBALANGODA: เมืองหน้ากาก

 Column: AYUBOWAN สังคมทุกวันนี้ ดูจะอยู่ยากขึ้นเป็นลำดับนะคะ แม้นว่าก่อนหน้านี้จะมีถ้อยความเปรียบเทียบประหนึ่งว่าโลกนี้เป็นโรงละครโรงใหญ่ที่ทุกสรรพชีวิตต่างมีบทบาทซับซ้อนซ่อนเงื่อน แต่ในสมัยปัจจุบัน นอกจากจะยอกย้อนอย่างยิ่งแล้ว สังคมมนุษย์ยังยั่วแยง ย้อนแย้งหนักหนาขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า ยังไม่นับรวมถึงหน้ากากคุณธรรมและความดี ที่หลายท่านพยายามใส่ทับหัวโขนให้ต้องลำบากตรากตรำทั้งศีรษะและใบหน้าอย่างน่าฉงน จนบางครั้งแอบนึกสงสัยไม่ได้ว่าเมื่อส่องกระจกเห็นเงาตัวเองแล้ว แต่ละท่านจะตะลึงในภาพเบื้องหน้าเหล่านั้นบ้างไหมและอย่างไร เมื่อกล่าวถึงหน้ากาก ทำให้นึกถึงเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่งของศรีลังกา ซึ่งขึ้นชื่อเรืองนามว่าเป็นถิ่นฐานที่ผลิตหน้ากากไม้และหุ่นกระบอก หนึ่งในศิลปหัตถกรรมที่สะท้อนฐานคติและแนวความคิด ความเป็นไปของสังคมศรีลังกาในยุคที่ตกอยู่ใต้อาณัติของเจ้าอาณานิคมได้เป็นอย่างดี Ambalangoda เมืองชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกเฉียงใต้ของศรีลังกา ห่างจากโคลัมโบลงไปทางใต้ประมาณ 100 กิโลเมตร คือเมืองที่ว่านี้ ซึ่งเป็นที่ตั้งของทั้งพิพิธภัณฑ์หน้ากาก และสำนัก Maha Ambalangoda School of Kolam และ Nambimulla School of Kolam ซึ่งต่างเป็นสำนักที่ช่วยสืบทอดประเพณีการเต้นรำหน้ากากให้ยืนยาวมาจนปัจจุบัน จากพื้นฐานที่ผูกพันอยู่กับวิถีความเชื่อว่าด้วยเรื่องภูตผี เหล่ามารร้าย โรคภัยไข้เจ็บและเทพผู้พิทักษ์แล้ว หน้ากากเหล่านี้ยังแนบแน่นกับการร้องเล่นเต้นรำ ที่เป็นไปเพื่อประกอบส่วนในพิธีสำคัญของราชสำนักและมีประวัติการณ์สืบย้อนไปในอดีตได้นานกว่า 4 ศตวรรษ หลังจากที่คณะนาฏศิลป์จากอินเดียใต้เดินทางเข้ามาในศรีลังกาในช่วงที่โปรตุเกสเริ่มขยายอิทธิพลเข้ามาในดินแดนแถบนี้ และดูเหมือนว่า หน้ากากจะถูกสงวนไว้ให้กับราชสำนัก มากกว่าที่จะเป็นไปเพื่อประชาชนทั่วไป แต่เมื่อสังคมอาณานิคมซึ่งทอดยาวต่อเนื่องท่ามกลางการเปลี่ยนมือระหว่างชาติตะวันตก ทั้งโปรตุเกส ดัตช์ และอังกฤษ ควบคู่กับความเสื่อมถอยลงของราชสำนักศรีลังกา การเต้นรำหน้ากาก (mask

Read More