Home > 2015 (Page 15)

อาชีพ โอกาส และการศึกษา

 Column: AYUBOWAN ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมของศรีลังกาในช่วงที่ผ่านมา กำลังติดตามมาด้วยคำถามที่น่าสนใจมากประการหนึ่ง เป็นปัญหาพื้นฐานที่กำลังส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อโครงสร้างและการพัฒนาในอนาคตของศรีลังกาเลยทีเดียว ศรีลังกาเป็นดินแดนที่มีเกียรติประวัติด้านการศึกษามาอย่างยาวนานนับย้อนกลับไปได้ไกลกว่า 2,000 ปี ขณะที่กระบวนการพัฒนาด้านการศึกษาสมัยใหม่ก็ส่งผลให้ศรีลังกาเป็นประเทศที่มีอัตราการรู้หนังสือในหมู่ประชากร (literacy rate) สูงถึงร้อยละ 98.1 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าเกณฑ์ที่คาดหวังเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน และเป็นประเทศที่มีอัตราการรู้หนังสือสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียใต้ หรือแม้เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในเอเชียแห่งอื่นๆ ศรีลังกาก็จัดเป็นประเทศที่มีพัฒนาการอยู่ในระดับแนวหน้าประเทศหนึ่งหากประเมินในมิติที่ว่านี้ การศึกษาของศรีลังกา มีบทบาทอย่างสำคัญในชีวิตของชาวศรีลังกาและแวดล้อมมิติทางวัฒนธรรมของสังคมศรีลังกาไว้อย่างแนบแน่นนับเนื่องตั้งแต่สมัยพุทธกาล และเมื่อผนวกรวมให้เข้ากับวิทยาการสมัยใหม่ในช่วงที่อยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ ก็ยิ่งเป็นการเปิดพื้นที่กว้างให้กับนักคิดนักเขียนและนักวิชาการชาวศรีลังกาให้ได้แสวงหาองค์ความรู้ไปได้ไกลยิ่งขึ้น ภายใต้พื้นฐานการศึกษาสมัยใหม่ตามแบบของระบบจากเจ้าอาณานิคมอังกฤษ มิได้จำกัดความอยู่เฉพาะความได้เปรียบจากความสามารถในการสื่อสาร อ่านเขียนภาษาอังกฤษได้เท่านั้น หากแต่ยังหมายถึงรูปแบบการจัดระบบการศึกษาที่สามารถเข้าถึงได้สำหรับทุกคน และปกป้องให้อาชีพครูไม่ตกอยู่ภายใต้ค่าตอบแทนราคาต่ำหรือจากการบริหารที่ไม่เป็นธรรม ระบบโรงเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา หรือระดับมหาวิทยาลัย ได้รับการจัดตั้งและสถาปนาอย่างเป็นระบบระเบียบ และสามารถสร้างเสริมชื่อเสียงโดดเด่นในแวดวงวิชาการได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในฐานะที่เป็นแหล่งผลิตชนชั้นนำ เพื่อสนองตอบต่อพัฒนาการทางสังคมในเวลาต่อมา พัฒนาการด้านการศึกษาในช่วงหลังจากที่ศรีลังกาได้รับเอกราช ยังเติบโตอย่างต่อเนื่องจากผลของความตื่นตัวว่าด้วยสิทธิ และแนวทางการพัฒนาที่ระบุให้การศึกษาเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่ต้องจัดสรรให้กับประชาชนทุกคน พร้อมทั้งบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้รัฐสร้างเสริมหลักประกันในการบริหารจัดการเพื่อให้ทรัพยากรที่ว่านี้กระจายสู่หมู่ชนทุกระดับ เมื่อการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในทรัพยากรที่รัฐต้องบริหารจัดการ ความสามารถในการกระจายโอกาสจึงเป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยที่ผ่านมาศรีลังกาพยายามที่จะส่งมอบโอกาสอย่างไม่จำกัดให้กับประชาชน โดยเยาวชนในระดับประถมและมัธยมศึกษาจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐให้การศึกษาดำเนินไปอย่างไม่ต้องมีค่าใช้จ่าย ขณะที่การศึกษาในระดับที่สูงขึ้นกว่านั้น เป็นการแข่งขันที่พิสูจน์ทราบกันด้วยความสามารถในการสอบแข่งขัน ภายใต้เงื่อนไขและข้อเท็จจริงที่ว่าทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดจะได้รับการจัดสรรไปสู่บุคคลที่มีความสามารถในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการนี้ได้อย่างเต็มที่ และสามารถหนุนนำการพัฒนาให้กับสังคมในกาลอนาคต การแข่งขันเพื่อเบียดชิงทรัพยากรการศึกษาที่มีอยู่อย่างจำกัดในระดับที่สูงขึ้นนี้ ได้ส่งผลให้เกิดสถาบันกวดวิชาเพื่อหนุนส่งความสามารถในการสอบได้คะแนนดีในหลายระดับชั้น ซึ่งธุรกิจสถานกวดวิชาเหล่านี้กลายเป็นธุรกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางกระแสวิพากษ์ทางสังคมอย่างหนักว่าเป็นการทำร้ายความสดใส สุขภาพและจิตวิญญาณวัยเด็กของเยาวชน อย่างไรก็ดี การเกิดขึ้นของสถาบันกวดวิชาในด้านหนึ่งเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงของศรีลังกาที่อนุญาตให้เฉพาะมหาวิทยาลัยของรัฐเท่านั้นที่มีสิทธิเปิดการเรียนการสอนและประสาทปริญญาบัตร ขณะที่ความพยายามที่จะจัดตั้งมหาวิทยาลัยโดยเอกชนได้รับการคัดค้านด้วยเหตุผลที่ว่า การเกิดขึ้นของมหาวิทยาลัยเอกชนจะทำให้ระบบการศึกษามีสถานะไม่แตกต่างจาก สินค้าชนิดหนึ่ง ที่สามารถใช้เงินตราและความสามารถทางเศรษฐกิจซื้อหามาได้โดยง่าย ซึ่งเป็นการทำลายคุณภาพการศึกษาทั้งระบบของศรีลังกาในระยะยาว ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีอยู่ 15 แห่งสามารถรองรับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อได้เพียงร้อยละ 16-20

Read More

ฮอลล์ย้ำความเป็นผู้นำตลาด ปรับโฉมและรสชาติเอาใจผู้บริโภครุ่นใหม่

บริษัท มอนเดลีซอินเตอร์เนชันแนล (ประเทศไทย) จำกัด หนึ่งในผู้นำด้านขนมและของว่างที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตอกย้ำความเป็นผู้นำอันดับหนึ่งของตลาดลูกอม เปิดตัวแคมเปญใหม่จากฮอลล์ภายใต้คอนเซ็ปต์ “เย็นเหลือเชื่อ รสชาติลงตัว” ปรับโฉมแพ็กเกจให้ดูทันสมัย พร้อมปรับปรุงสูตรให้มีรสชาติกลมกล่อมโดยยังมอบความสดชื่นทุกลมหายใจเพื่อเพิ่มความถี่ในการบริโภคของผู้บริโภคกลุ่มเดิมและขยายฐานไปสู่คนรุ่นใหม่ คุณกรกต วุฒิหิรัญธำรง ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด กลุ่มผลิตภัณฑ์ลูกอมและหมากฝรั่ง บริษัท มอนเดลีซ อินเตอร์เนชันแนล “จากการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทยพบว่า ผู้บริโภคนิยมบริโภคลูกอมเม็ดแข็งถึงร้อยละ 72 เมื่อเทียบกับลูกอมชนิดอื่นๆ โดยมีฮอลล์เป็นผู้นำตลาด ทั้งนี้เพื่อครองความเป็นผู้นำอย่างต่อเนื่อง

Read More

โออิชิ” ปล่อยหมัดฮุค! รุกตลาด “อาหารพร้อมรับประทาน” เต็มสูบ

โออิชิ กรุ๊ป เจ้าตำรับอาหารญี่ปุ่น ทุ่มงบฯกว่า 30 ล้านบาท รุกตลาดอาหารพร้อมรับประทานเต็มสูบ จัดแคมเปญการตลาด โออิชิ “ทริปตื่นตัว ทัวร์ตื่นเต้น” พร้อมดึง 3 นักแสดงขวัญใจวัยรุ่น กัปตัน-ชลธร คงยิ่งยง, ไวท์-ณวัชร พุ่มโพธิ์งาม, และ เงิน-อนุภาษ เหลืองสดใส จาก LOVE SICK THE SERIES มัดใจผู้บริโภค คาดรายได้กลุ่มอาหารพร้อมรับประทานโตมากกว่า 100% คุณแซม-ไพศาล อ่าวสถาพร รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจอาหาร บริษัท โออิชิ กรุ๊ป

Read More

“มาม่า” พลิกกลยุทธ์ บุก “ราเมน” สู้วิกฤต

 การเปิดตัวธุรกิจร้านอาหารราเมนญี่ปุ่น “KAIRI KIYA (ไคริคิยะ)” ของ “ไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์” เป้าหมายหนึ่งเป็นการเปิดกลยุทธ์แก้พิษเศรษฐกิจและปัญหาหนี้ครัวเรือนพุ่งสูง ที่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มรากหญ้าอย่างจังจนภาพรวมตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมูลค่ากว่า 16,000 ล้านบาท เติบโตติดลบ และยอดขาย “มาม่า” เติบโตต่ำสุดในรอบ 42 ปี “มาม่า ซองละ 6 บาท ราเมน ชามละ 150 บาท เพิ่มมูลค่าตัวนี้ดีกว่า!!” เวทิต โชควัฒนา ในฐานะกรรมการรองผู้อำนวยการบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) และกรรมการบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป “มาม่า” กล่าวกับ “ผู้จัดการ360  ํ”  แน่นอนว่า หากเปรียบเทียบสถานการณ์การเติบโตทางธุรกิจ เวทิตยอมรับว่าตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหรือ “บะหมี่ซอง” ราคาซองละ 6 บาท มีลูกค้าระดับรากหญ้าเป็นกลุ่มหลักและเป็นสินค้าทั่วไปที่แมสมากๆ  แม้มาม่าพยายามใช้กลยุทธ์เพิ่มมูลค่าสินค้าหลากหลายรูปแบบ เช่น ออกสินค้ากลุ่มพรีเมียมอย่างมาม่าราเมง บะหมี่อบแห้ง “เมนดาเกะ”

Read More

ทำสมาธิ-กำราบหวัด & อัลไซเมอร์

 Column: Well – Being ผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์มากมายยืนยันว่า การทำสมาธิ (mindfulness meditation) เป็นผลดีอย่างมากต่อสุขภาพโดยรวม แม้นักวิจัยยังไม่ถึงขั้นเจาะจงว่าการทำสมาธิสามารถรักษาโรคได้ แต่มีการยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าการทำสมาธิดีต่อสุขภาพในแง่ ต่อสู้กับหวัดและไข้หวัดใหญ่   เพราะการทำสมาธิอาจช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานดีขึ้น ปี 2012 Annals of Family Medicine ระบุผลการศึกษาในผู้ใหญ่อายุ 50 ปีขึ้นไปว่า การทำสมาธิสามารถลดโอกาสการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง ซึ่งรวมถึงหวัดและไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าการออกกำลังกาย การค้นพบนี้ช่วยเสริมการศึกษามากมายก่อนหน้านี้ที่ระบุว่า การทำสมาธิสามารถต่อสู้กับโรคภัยได้ โดยลดความเครียดและช่วยเสริมสร้างการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายแข็งแรง ลดความเสี่ยงจากอัลไซเมอร์การทำสมาธิอาจช่วยให้สมองเสื่อมช้าลง เพราะภาวะสมองเสื่อมนำไปสู่โรคอัลไซเมอร์ Rebecca Erwin Wells, MD แห่ง Wake Forest  ตีพิมพ์ในรายงานปี 2013 ว่า ในการศึกษาผู้ใหญ่ที่มีปัญหาเริ่มสูญเสียความทรงจำ ปรากฏว่าสมองส่วนฮิปโปแคมปัสของกลุ่มตัวอย่างที่ฝึกการทำสมาธิ มีอาการฝ่อน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยสมองส่วนฮิปโปแคมปัสเป็นสมองส่วนที่เกิดโรคความเสื่อมของระบบประสาท (neurodegenerative diseases) เช่น อัลไซเมอร์  ผลการศึกษายังกล่าวว่า ในผู้ฝึกการทำสมาธิ สมองส่วนที่เรียกว่า default mode network มีการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทมากกว่าผู้ที่ไม่เคยฝึกทำสมาธิ

Read More

“แฟมิลี่มาร์ท” ติดปีกแฟรนไชส์ ฝ่าด่านสมรภูมิล้อมกรอบ

  สงครามคอนวีเนียนสโตร์ 3 ค่ายยักษ์ เปิดศึกช่วงชิงทำเลผุดสาขาใหม่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะเบอร์ 2 อย่าง “แฟมิลี่มาร์ท” กำลังเจอโจทย์หินล้อมกรอบ ทั้งเบอร์ 1 เซเว่น-อีเลฟเว่น ที่เร่งปูพรมสาขาถี่ยิบทุกพื้นที่ แถมเบอร์ 3 มาแรง “ลอว์สัน 108” ซึ่งทุนญี่ปุ่นประกาศรุกตลาดต่อเนื่อง อาศัยจุดขายความแปลกใหม่ฉีกตลาดร้านสะดวกซื้อและเตรียมเปิดศึกแฟรนไชส์ในเร็ววันด้วย  ยังไม่นับค่าย “เทสโก้โลตัส” หลังเปิดโมเดลคอนวีเนียนสโตร์ “ร้าน 365” ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ประเดิม 5-6 สาขาในทำเลใจกลางเมือง เช่น ประตูน้ำ ทองหล่อ ตลาดมหาสิน-บางนา ด่านสำโรง และสาขามหาวิทยาลัยศรีปทุม ขณะนี้กำลังวางทิศทางขยายธุรกิจอย่างเข้มข้น  ส่วนค่ายซีพี นอกจาก “เซเว่น-อีเลฟเว่น” ยังมี “ซีพีเฟรชมาร์ท” ที่พยายามพัฒนาและแตกไลน์ร้านสไตล์คอนวีเนียนสโตร์โฉมใหม่ ล่าสุด เปิดตัวร้านซีพีเฟรชมาร์ท คอนเซ็ปต์ Modern Home Meal Solution จับคนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบการปรุงอาหารมื้อง่ายๆ

Read More

WB Organic Farm ธุรกิจสีเขียวของ “สหพัฒน์”

  สหพัฒน์ใช้เวลากว่า 5 ปี ผ่าตัด “แพนเอเซียฟุตแวร์” ยกเครื่องธุรกิจผลิตรองเท้า ซึ่งเป็นกิจการดั้งเดิมตั้งแต่ยุคนายห้างเทียม โชควัฒนา ปรับกระบวนทัพพลิกสถานการณ์จาก “ขาดทุน” เริ่มเห็น “กำไร” และตั้งเป้าให้เป็นหัวขบวนบุกธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยประเดิมเปิดฉากรุกตลาดผลิตภัณฑ์ผักออร์แกนิก “WB Organic Farm” เป็นหัวขบวนแรก ก่อนหน้านี้ ในช่วงการปรับโครงสร้างองค์กรและคณะกรรมการบริหารบริษัทอยู่ระหว่างพิจารณาการลงทุนในธุรกิจใหม่ที่สร้างผลตอบแทนอย่างยั่งยืน มีกระแสข่าวว่า เครือสหพัฒน์มีการเสนอและศึกษาแผนการลงทุนธุรกิจใหม่ 2-3 ธุรกิจ โดยหนึ่งในนั้นน่าจะเป็นธุรกิจพลังงานทดแทน เนื่องจากมีบริษัทในเครือ คือ  บริษัท สหโคเจน (ชลบุรี) จำกัด (มหาชน) หรือ SCG เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าและไอน้ำ มีบริษัทภายใต้การบริหาร 3 แห่ง มีกำลังติดตั้งมากกว่า 200 เมกะวัตต์ ได้แก่ โรงไฟฟ้าศรีราชา โรงไฟฟ้าลำพูน และโรงไฟฟ้ากำแพงเพชร  ขณะเดียวกันมีกลุ่มทุนใหม่สนใจเข้าร่วมลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เนื่องจากสหพัฒน์มีที่ดินและพื้นฐานการดำเนินธุรกิจด้านพลังงาน รวมทั้งมีโอกาสทำรายได้และกำไรสูง  แต่อาจเป็นเพราะนโยบายด้านพลังงานของรัฐไม่นิ่งหรือสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ยังไม่พ้นจุดเสี่ยงทำให้การลงทุนโครงการขนาดใหญ่ถูกพับเก็บไว้ก่อน  สุนทรา ฐิติวร ผู้จัดการฝ่ายบริหารธุรกิจ บริษัท แพนเอเซียฟุตแวร์

Read More

จาก SARRC สู่ IDY การทูตวัฒนธรรมที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ

 Column: AYUBOWAN วันนี้ผู้เขียนต้องขออนุญาตท่านผู้อ่าน AYUBOWAN ทุกท่าน แทรกคิวและข้ามโพ้นบริบทของศรีลังกาไปสู่ภาพกว้างที่น่าสนใจติดตามและกำลังขยายให้เรื่องราวความเป็นไปของภูมิภาคเอเชียใต้ เป็นประหนึ่งศูนย์กลางของวัฒนธรรมและไลฟ์สไตล์ที่กำลังได้รับความนิยม โดยเฉพาะในมิติว่าด้วย well-being กันสักนิดนะคะ เนื่องเพราะเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ที่ผ่านมาได้รับการเฉลิมฉลองให้เป็นวันโยคะนานาชาติ หรือ International Day of Yoga: IDY เป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งการประกาศวันโยคะนานาชาติเช่นว่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างที่ใครอยากประกาศเฉลิมฉลองหรือจัดกิจกรรมยกย่องเทิดทูนผู้ใดหรือสิ่งใดก็ประกาศกันไปตามอำเภอใจนะคะ หากแต่เรื่องราวความเป็นไปของ International Day of Yoga: IDY ถือเป็นวาระที่มีสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ร่วมพิจารณาและลงมติรับรองกันเลยทีเดียวค่ะ เรื่องราวความเป็นมาและเป็นไปของ International Day of Yoga ที่ว่านี้คงเกิดขึ้นได้ยากและคงต้องยกเครดิตให้กับวิสัยทัศน์ รวมถึงความสามารถของ Narendra Modi นายกรัฐมนตรีคนที่ 15 และคนปัจจุบันของอินเดีย ที่นำพามิติทางวัฒนธรรมมาต่อยอดให้เกิดผลในระดับนานาชาติได้อย่างลงตัว ความเป็นไปของ Narendra Modi ในฐานะที่เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งอินเดียก็น่าสนใจไม่น้อยเช่นกันนะคะ เพราะเขานำพาพรรค Bharatiya Janata Party หรือ BJP ให้สามารถครองชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2014  แต่นั่นอาจไม่สำคัญเท่ากับการที่ Narendra

Read More

ใช้อาหารบำบัดโรคซึมเศร้า

 Column: well-being เป็นเวลานับพันปีมาแล้วที่การแพทย์แผนตะวันออกและนักธรรมชาติบำบัด แนะนำให้คนไข้เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เพื่อช่วยรักษาและบรรเทาอาการเจ็บป่วยทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ Eva Selhub, MD, อาจารย์ผู้บรรยายประจำคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ยอมรับว่า ปัจจุบันวงการวิทยาศาสตร์ตะวันตกได้หันมาให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน สถาบันวิจัยจำนวนมากพากันระบุว่า อาหารที่บริโภคล้วนส่งผลต่อสุขภาพสมองและสุขภาพจิตของเราทั้งสิ้น วงการจึงหันมามุ่งเน้นงานวิจัยและการบำบัดรักษาสุขภาพจิตด้วยอาหารกันขนานใหญ่ จนเกิดเป็นศาสตร์ที่เรียกว่า “nutritional psychiatry” Felice Jacka, PhD, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยดีกิน ประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า “ตลอดสิบปีที่ผ่านมา ผลการวิจัยได้เน้นย้ำให้เราตระหนักมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า สุขภาพกายและสุขภาพจิตเป็นส่วนหนึ่งของสุขภาพร่างกายโดยรวมที่ไม่อาจแยกออกจากกันได้” ลดอาหารหวาน ช่วยบำบัดโรคซึมเศร้าได้  Drew Ramsey, MD, ผู้ช่วยศาสตราจารย์คลินิกด้านสุขภาพจิตแห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐฯ และผู้เขียนร่วมหนังสือ The Happiness Diet อธิบายว่า สมองของเรานั้นเหมือนอวัยวะส่วนอื่นๆ ในร่างกายที่ถูกสร้างขึ้นจากอาหารที่เราบริโภคเป็นหลัก “อารมณ์ต่างๆ มีจุดเริ่มต้นเชิงชีววิทยาจากการที่เซลล์ประสาทสองเซลล์มากระทบกัน และเซลล์ประสาทเหล่านี้ก็สร้างขึ้นจากสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารนั่นเอง” เขาเพิ่มเติมต่อไปว่า ร่างกายไม่สามารถสร้างสารสื่อประสาท “เซโรโทนิน” ที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ได้ หากขาดธาตุเหล็กและทริปโตแฟน และไม่สามารถสร้างไขมัน myelin ที่ทำหน้าที่เป็นฉนวนหุ้มเซลล์สมองได้ ถ้าร่างกายขาดวิตามินบี 12 ที่พบมากในอาหารทะเล เนื้อวัว

Read More

ทางแพร่งแห่ง “ผังเมืองกรุงเทพฯ” อนุรักษ์สิ่งเก่าหรือพัฒนาสิ่งใหม่

  กรุงเทพมหานครกำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 234 แห่งการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ราชธานีที่ 4 ของสยามประเทศ กระนั้นมหานครแห่งสยามเมืองยิ้มก็ยังไม่หยุดพัฒนา  ทัศนียภาพในกรุงเทพฯ แม้จะไม่สวยงามเป็นระเบียบหากเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วในทวีปเอเชียด้วยกัน คงไม่แปลกเพราะสำนักผังเมืองซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการพัฒนากรุงเทพฯ ให้สวยงาม เป็นระเบียบและน่าอยู่ เริ่มงานด้านผังเมืองกรุงเทพฯ อย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2496 และมี พ.ร.บ. การผังเมืองใช้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2518 แม้จะยังคงใช้จนถึงปัจจุบันแต่ก็เต็มไปด้วยข้อบกพร่องในเรื่องของการบังคับใช้ เนื่องจากรูปแบบการปกครองในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง ความล้าสมัยของ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว ไม่เอื้อประโยชน์ต่อการจัดรูปแบบผังเมืองในบางเรื่อง และทำให้ผู้มีอำนาจหน้าที่พยายามอย่างหนักที่จะผลักดันให้มี พ.ร.บ. การผังเมืองฉบับใหม่ขึ้นมา กระทั่งล่าสุด สนช. มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติการผังเมืองในวาระแรกแล้ว  สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. การผังเมือง มีดังนี้ 1. กำหนดกรอบนโยบายแห่งชาติด้านการผังเมืองและการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีคณะกรรมการนโยบายผังเมืองและการใช้พื้นที่แห่งชาติ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายด้านการผังเมือง โดยบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ โอนกิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ และบุคลากร ฯลฯ ของกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดไปไว้กับสำนักงานคณะกรรมการผังเมืองฯ 2. จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการผังเมืองฯ สังกัดสำนักนายกฯ

Read More