“ชุมชนน่าอยู่” การสร้างแบรนด์แบบ LPN
พัฒนาการของ LPN ในช่วง10 ปีที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าแม้จะเกิดขึ้นจากผลของ “วิกฤต” แต่วันนี้จุดขายที่ว่า “ชุมชนน่าอยู่” ได้กลายเป็นประหนึ่งแบรนด์ที่มีมูลค่าของ LPN ไปแล้ว เพราะชุมชนน่าอยู่ ของ LPN สอดรับกับรูปแบบการอยู่อาศัยของคนเมืองที่จะมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น และแนวคิดนี้ยังช่วยให้บริษัทรอดพ้นจากวิกฤตการเงิน วิกฤตศรัทธา แม้กระทั่งวิกฤตแบรนด์ได้ด้วย“ในชั้นต้นพวกเราก็ไม่เข้าใจว่าชุมชนน่าอยู่คืออะไร แปลว่าอะไร เราไม่ได้คิดขึ้น เพื่อใช้เป็นกลยุทธ์การตลาด แต่กำหนดให้เป็นปรัชญาองค์กร และสิ่งที่เห็นในวันนี้ เป็นผลของปลายน้ำที่เราเริ่มทำกันมานาน” ทิฆัมพร เปล่งศรีสุข ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแอลพีเอ็นกล่าวสมัยที่แอล.พี.เอ็น. เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2532 ทิฆัมพรเองก็มีความคิดไม่ต่างจากนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายอื่น พัฒนาโครงการเพื่อขาย หมดแล้วก็ปิดโครงการ วิธีคิดของเขาเริ่มเปลี่ยนเมื่อเจอกับวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 ช่วงฟื้นฟูหลังวิกฤตครั้งนั้นทุกชุมชนที่บริษัทขายห้องชุดให้ ล้วนมีส่วนช่วยบริษัท กู้วิกฤต ด้วยการช่วยหาลูกค้าจากการชักชวนเพื่อนฝูงคนรู้จักมาซื้อโครงการที่ยังเหลือค้างจำนวนมากจนเขาและพนักงานต่างซาบซึ้ง“นั่นคือจุดที่ผมรู้สึกว่าผมได้รับจากลูกค้า เขาช่วยเรา เพราะอะไร ผมเชื่อว่าเป็นเพราะเราเทคแคร์ลูกค้า ถึงเวลาเดือดร้อนเขาก็อยากตอบแทน นี่คือสิ่งที่เราได้จากชุมชนที่ช่วยให้เราอยู่รอด ลองคิดดูว่าถ้าลูกค้าไม่แฮปปี้จะยอมเชียร์ให้คนมาซื้อไหม แต่นี่ลูกค้ามานั่งเซลส์ให้เลย เหตุการณ์นี้ทำให้เราเห็นผลของคุณค่าในตัวเรา และรู้สึกผูกพันกับชุมชน”นั่นเป็นจุดเปลี่ยนผ่านจากที่เน้นดำเนินธุรกิจแค่ขายห้องชุดจำนวนมากแบบเน้นปริมาณอย่างเดียว แอล.พี.เอ็น. ก็หันมาดำเนินงานด้านคุณภาพชีวิตชุมชนควบคู่กันไป โดยกำหนดให้เป็นทิศทางหลักในการแสดงตัวตนขององค์กร และมั่นใจว่าคุณภาพชีวิตชุมชนจะนำไปสู่ความยั่งยืนทางธุรกิจคุณภาพที่ว่านั้น ไม่ใช่แค่ตัวสินค้าอาคารชุด
Read More