Home > manager360 (Page 357)

สายการบินเร่งปรับตัว รับสมรภูมิเดือดบนฟากฟ้า

ธุรกิจการบินของไทย ดูจะเป็นธุรกิจที่มีความเคลื่อนไหวเป็นที่น่าจับตามองมากกลุ่มหนึ่งในรอบปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุเพราะการปรับเปลี่ยนและการรุกคืบของกลุ่มทุนใหม่ๆ เข้าสู่พื้นที่การแข่งขันที่มีความเข้มข้นนี้กำลังส่งผลต่อภูมิทัศน์และกรอบการดำเนินธุรกิจให้มีความวูบไหวอย่างมีนัยสำคัญ เพราะในขณะที่การบินไทย สายการบินแห่งชาติ ซึ่งดำเนินการตามแผนปฏิรูปองค์กรระยะที่ 3 ภายใต้แนวคิด “การเติบโตอย่างยั่งยืน” ยังคงบันทึกผลขาดทุนสุทธิในไตรมาสที่ 2/2560 ในระดับขาดทุนสุทธิ 5,208 ล้านบาท ขณะที่ในไตรมาส 3/2560 ยังบันทึกผลขาดทุนสุทธิอีกกว่า 1,800 ล้านบาท ความพยายามของการบินไทยในการพลิกฟื้นสถานการณ์ในช่วงที่ผ่านมาแม้จะประสบความสำเร็จพอสมควร เมื่อปรากฏว่าอัตราการใช้ประโยชน์เครื่องบินต่อวันเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 จากระดับ 11.6 ชั่วโมงต่อเครื่องต่อวัน ในไตรมาส 3 ของปี 2559 มาสู่ระดับ 12.1 ชั่วโมงต่อเครื่องต่อวัน ขณะที่ปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK: Available Seat Kilometer) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 และอัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) อยู่ในระดับเฉลี่ยที่ร้อยละ 78.2 สูงกว่าปีก่อนซึ่งอยู่ในระดับร้อยละ 73.5 โดยมีจำนวนผู้โดยสารรวมทั้งสิ้นประมาณ 5.99-6 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 แม้ว่าผลการดำเนินงานของการบินไทยและบริษัทย่อยในไตรมาส 3/2560

Read More

ปิดฉากแบรนด์ PURE ยกปั๊มให้ ESSO สวมสิทธิ์

ข่าวความเคลื่อนไหวในแวดวงพลังงานไทยรอบล่าสุดในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาคงไม่มีข่าวใดกระตุ้นความสนใจของผู้คนในแวดวงธุรกิจให้รู้สึกตื่นตาตื่นใจเท่ากับข่าวยุติการทำตลาดสถานีน้ำมันภายใต้แบรนด์ “PURE” จำนวน 49 แห่ง พร้อมกับการแปลงร่างสวมทับด้วยแบรนด์ “ESSO” เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา เหตุที่กรณีดังกล่าวได้รับความสนใจ เพราะทั้ง ESSO และ RPC ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัท เพียวพลังงานไทย จำกัด (PTEC) ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกและสถานีบริการน้ำมัน ภายใต้เครื่องหมายการค้า “PURE” ต่างเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ทำให้ข่าวที่ว่านี้กลายเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้ราคาหุ้นของทั้ง 2 บริษัทไต่ระดับขึ้นสูงในการซื้อขายช่วงที่ผ่านมา แม้จะเป็นหลักทรัพย์ขนาดเล็กที่อาจไม่มีนัยความหมายหรือสะท้อนสภาพความเป็นไปในเชิงโครงสร้างที่แท้จริงของตลาดหลักทรัพย์ไทยมากนัก แต่สำหรับนักลงทุนระยะสั้นหรือประเภทซื้อมาขายไปในวันเดียวในลักษณะ day trade ข่าวความเคลื่อนไหวเช่นว่านี้กลับกลายเป็นปัจจัยส่งเสริมที่กระตุ้นการซื้อขายและผลักดันราคาให้เห็นเป็นข่าวได้อย่างมีสีสัน ทั้งนี้ จากการแจ้งของ บมจ.อาร์พีซีจี (RPC) ที่ระบุว่า คณะกรรมการบริษัทที่อนุมัติให้บริษัท เพียวพลังงานไทย จำกัด (PTEC) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจการค้าปลีกและสถานีบริการน้ำมัน ภายใต้เครื่องหมายการค้า “เพียว” ปรับเปลี่ยนการบริหารงานเป็นสถานีบริการน้ำมันภายใต้เครื่องหมายการค้า “เอสโซ่” เพื่อเพิ่มศักยภาพและความแข็งแกร่งทางธุรกิจค้าปลีกน้ำมันและรองรับการขยายธุรกิจในอนาคต โดยได้ลงนามความร่วมมือระหว่างกันกับ บมจ.เอสโซ่ (ประเทศไทย) (ESSO) เพื่อทำสัญญาซื้อขายน้ำมันและให้ใช้สิทธิ์เครื่องหมายการค้า “เอสโซ่” ซึ่งภายหลังจากนี้ สถานีบริการน้ำมันของ PTEC จำนวน 49

Read More

รัฐไทยในเวที APEC ยั่งยืนด้วยกรอบคิดเดิม?

การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปกครั้งที่ 25 และการประชุมรัฐมนตรีเอเปกครั้งที่ 29 ระหว่างวันที่ 8-11พฤศจิกายน 2560 ณ นครดานัง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ได้ปิดฉากลงไปแล้ว ขณะที่ผลสัมฤทธิ์ของการประชุมในครั้งนี้คงได้สะท้อนผ่านออกมาจากถ้อยแถลงของกลไกรัฐ ไม่ว่าจะตรงกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏหรือไม่ก็ตาม ภายใต้กรอบการประชุมกลุ่มประเทศความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ซึ่งมีผู้นำระดับสูงของแต่ละประเทศเข้าร่วมรวม 21 เขตเศรษฐกิจ การประชุมในครั้งนี้จึงได้รับการจับตามองจากนานาประเทศว่าผลสรุปของการประชุมจะนำพาหรือบ่งบอกทิศทางเศรษฐกิจในอนาคตนับจากนี้อย่างไร ขณะเดียวกันบทบาทและภาพลักษณ์ของไทยในเวทีการประชุมแห่งนี้ จะสามารถสื่อแสดงศักยภาพของประเทศให้สามารถดึงดูดนักลงทุน หรือแม้กระทั่งเจรจาต่อรองเพื่อผลประโยชน์แห่งชาติได้มากน้อยเพียงใด กำหนดการประชุมที่ประกอบด้วยการหารือกับผู้แทนสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปก หรือ ABAC : APEC Business Advisory Council และการหารืออย่างไม่เป็นทางการ (Retreat) ในประเด็นว่าด้วยการเติบโตอย่างมีนวัตกรรม การมีส่วนร่วม และการจ้างงานอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล (Innovative Growth, Inclusion and Sustainable Employment in the Digital Age) และพลังขับเคลื่อนใหม่ทางการค้า การลงทุน และการเชื่อมโยงในภูมิภาค (New Driver for Regional Trade,

Read More

นวัตกรรมทางการเงิน กับสาขาธนาคารที่หายไป

ฉากชีวิตที่ดำเนินผ่านสาขาธนาคารพาณิชย์ไทยกำลังเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ไปด้วยอัตราเร่งอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ภายใต้ผลสืบเนื่องจากนวัตกรรมทางการเงินหลากหลายที่ได้รับการนำเสนออย่างพรั่งพรูของผู้ประกอบการธนาคารแต่ละราย ที่พยายามหยิบยื่นบริการเพื่ออำนวยความสะดวกและการมาถึงของเครื่องมือทางการเงินบนฐานของเทคโนโลยีสมัยใหม่ รายงานของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เสนอเกี่ยวกับการปิดตัวลดลงของสาขาธนาคารพาณิชย์ในช่วงที่ผ่านมา ได้สะท้อนข้อเท็จจริงที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่ามีธนาคารปิดสาขารวมทั้งสิ้น 126 แห่ง ขณะที่ในเดือนกันยายน หรืออีก 2 เดือนถัดมา ธปท. รายงานว่าสาขาของธนาคารที่ถูกปิดมีเพิ่มขึ้นเป็น 192 แห่ง หรือเพิ่มขึ้นอีก 66 แห่งภายใน 2 เดือน หากพิจารณาตามตัวเลขที่รายงานความเป็นไปของสาขาธนาคารพาณิชย์ไทยในช่วงสิ้นเดือนกรกฎาคมถึงสิ้นเดือนกันยายน อาจอนุมานได้ว่ามีสาขาธนาคารปิดตัวลงไปเฉลี่ยอย่างน้อย 1.08 แห่งในแต่ละวัน ซึ่งถือเป็นอัตราเร่งที่น่าสนใจไม่น้อย ข้อสังเกตจากปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ ในด้านหนึ่งอาจได้รับการประเมินว่าเป็นเพราะธนาคารบางแห่งต้องการปรับลดตัวเลขทางบัญชีให้เสร็จสิ้นก่อนการปิดงบทางบัญชีประจำปีงบประมาณในเดือนกันยายน หากแต่ข้อเท็จจริงที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ การปิดสาขาของธนาคารย่อมมีสถานะเป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนภาพมิติในเชิงนโยบายการบริหารเพื่อให้สอดรับกับรูปแบบการให้และรับบริการที่เปลี่ยนแปลงไป ปฏิเสธได้ยากว่าแนวโน้มของการปิดสาขาธนาคารพาณิชย์ที่เพิ่มมากขึ้น ในด้านหนึ่งเป็นผลมาจากประพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นผลจากการนำเทคโนโลยีมาให้บริการทางการเงินที่หลากหลายมากขึ้น และสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น ขณะเดียวกันธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งต่างต้องคำนึงถึงการบริหารจัดการต้นทุนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทบทวนจำนวนเครือข่ายที่ตั้งสาขา การย้ายสถานที่ การเพิ่มช่องทางการให้บริการผ่านโมบายแบงกิ้ง หรืออินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง ตลอดจนการนำเครื่องอิเล็กทรอนิกส์มาใช้เพื่อให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมได้ด้วยตนเองด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำลง และมีความสะดวกสบายโดยไม่ต้องเดินทางมาที่สาขา หากพิจารณาจำแนกตามพื้นที่ที่มีการปิดสาขาของธนาคารพาณิชย์ในช่วงที่ผ่านมาจะยิ่งพบนัยสำคัญในมิติที่ว่านี้มากขึ้น เมื่อจำนวนสาขาที่ปิดทั่วประเทศซึ่งมีรวมทั้งสิ้นจำนวน 192 แห่งนั้น เป็นสาขาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร มากถึง 81 แห่ง ขณะที่สาขาที่ปิดตัวลงในแต่ละภูมิภาค ลดหลั่นลงตามสภาพภูมิประเทศ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ภาคกลางที่มีสาขาธนาคารปิดตัวลงไป 39 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 28

Read More

เปิดประมูลโรงไฟฟ้า ภาพสะท้อนพลังงานไทย

การเปิดประมูลโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือก ตามประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในแบบ SPP hybrid firm หรือการผสมผสานเชื้อเพลิงตั้งแต่ 1 ประเภทขึ้นไป รวม 300 เมกะวัตต์ (MW) ของกระทรวงพลังงานและคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งกำลังเป็นภาพสะท้อนทิศทางธุรกิจพลังงานของไทยที่น่าสนใจไม่น้อย เนื่องเพราะภายหลังการเปิดให้ผู้สนใจยื่นเสนอขายไฟฟ้าเมื่อวันที่ 16-20 ตุลาคม 2560 ที่ผ่านมานั้น ปรากฏว่านอกจากจะมีผู้สนใจเป็นจำนวนมากแล้ว ยังถือเป็นสนามประลองกำลังของผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ที่พร้อมจะนำไปสู่การแข่งขันด้านราคาให้ต่ำกว่าราคาประกาศของ กกพ. ที่กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าแบบ Feed in Tarif (FiT) ที่ 3.66 บาทต่อหน่วย จากผลของจุดแข็งด้านวัตถุดิบป้อนโรงไฟฟ้าของผู้ประกอบการแต่ละราย และทำให้ยอดพลังงานไฟฟ้าที่ยื่นประมูลเสนอขายมียอดรวมกว่า 2,000-4,000 เมกะวัตต์ ทะลุเกินยอด 300 เมกะวัตต์ (MW) ที่ กกพ. ประกาศรับซื้อไปไกลมาก ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจจากการเปิดประมูลรับซื้อไฟฟ้าดังกล่าวอยู่ที่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมประมูลที่มีมากกว่า 150 ราย สามารถจำแนกออกได้เป็น 9 กลุ่มใหญ่ๆ ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มบริษัท บี.กริม

Read More

เศรษฐศาสตร์แห่งเทศกาล แรงกระตุ้นเศรษฐกิจไทย?

ความเป็นไปทางเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายปลายปี ดูจะดำเนินไปท่ามกลางกระแสข่าวดีที่เสริมสร้างความมั่นใจให้กับทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง จากเหตุที่ในช่วงปลายปีเช่นว่านี้ มีกิจกรรมที่ส่งเสริมและกระตุ้นการจับจ่ายอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ออกพรรษา มาสู่ฤดูกฐิน เทศกาลกินเจ และไล่เรียงไปสู่ลอยกระทง ควบคู่กับกิจกรรมส่งเสริมการขาย ไม่ว่าจะเป็นมหกรรมหนังสือระดับชาติ (Book Expo 2017) ในช่วง 18-29 ตุลาคม และมอเตอร์เอ็กซ์โป 30 พฤศจิกายน ถึง 11 ธันวาคม ซึ่งคาดว่าจะกระตุ้นสภาวะทางเศรษฐกิจได้ไม่น้อยเลย แม้ว่าบรรยากาศโดยทั่วไปของสังคมไทยจะยังอยู่ในความโศกเศร้าและโหยหาอาลัยต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใกล้กำหนดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ หากแต่ในอีกมิติหนึ่ง คลื่นมหาชนที่เปี่ยมด้วยความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ได้ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนตัวทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เป็นอานิสงส์ที่แผ่ซ่านครอบคลุมทุกแขนงธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมที่พักบริเวณโดยรอบเกาะรัตนโกสินทร์ มณฑลพิธีท้องสนามหลวงและพระบรมมหาราชวัง ที่มีอัตราการจองห้องพักล่วงหน้าเต็มตั้งแต่ช่วง 2-3 เดือนก่อนหน้านี้แล้ว ขณะเดียวกันการเดินทางของมหาชนผู้ภักดีจากทั่วทุกสารทิศที่เดินทางเข้ามาถวายสักการะอาลัย ได้หนุนนำภาคการขนส่งให้ดำเนินไปด้วยอัตราเร่งอย่างต่อเนื่องมาตลอดทั้งปี ยังไม่นับรวมผลต่อเนื่องจากกิจกรรมอื่นๆ ที่ช่วยหนุนนำการสะพัดของเงินตราทั้งโดยทางตรงและโดยอ้อมอีกนับประเมินมูลค่ามิได้ การกระจายรายรับรายได้จากกิจกรรมทางสังคมที่ดำเนินต่อเนื่องในไตรมาสสุดท้ายของปี ทำให้กลไกภาครัฐประวิงเวลาในการนำเสนอมาตรการใหม่ๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเหตุที่เชื่อมั่นว่า กลไกและสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจที่ดำเนินอย่างเป็นธรรมชาตินี้จะมีแรงส่งที่มากเพียงพอให้เศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีบรรลุสู่เป้าหมายที่กำหนดวางไว้ได้ ความมั่นใจของกลไกภาครัฐจากตัวเลขประมาณการทางเศรษฐกิจที่หลั่งไหลเข้ามาในช่วงนี้ ซึ่งต่างประเมินสถานการณ์เชิงบวกต่อเนื่องนำไปสู่ดัชนีความมั่นใจของผู้บริโภคและนักลงทุน และกลายเป็นประกายความหวังให้รัฐเชื่อมั่นในทิศทางการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดำเนินอยู่ หากแต่ภายใต้ข้อเท็จจริงที่ว่าระบบการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาทั้งในมิติของสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าและการวางยุทธศาสตร์ระยะยาว ยังเป็นประเด็นที่สั่นคลอนและท้าทายศักยภาพการบริหารของรัฐไทยมาอย่างต่อเนื่อง และอาจทำให้ตัวเลขประมาณการที่มีแนวโน้มสดใส อาจไม่ปรากฏขึ้นจริงในระยะถัดไปจากนี้ ความคาดหมายที่เชื่อว่าภาคการส่งออกจะเติบโตและเป็นจักรกลที่ช่วยหนุนนำพัฒนาการทางเศรษฐกิจในช่วงปีที่กำลังจะมาถึง ยังผูกพันอยู่กับธุรกิจอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการแปรรูปพืชผลทางการเกษตร ในขณะที่ภาวะน้ำท่วมนาแล้งกลายเป็นวัฏจักรที่ไร้ทิศทางการบริหารที่มีรูปธรรมในทางปฏิบัติ ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้สินค้าส่งออกในกลุ่มนี้ขาดเสถียรภาพในเชิงปริมาณแล้ว ยังเป็นปัจจัยหนุนเสริมให้เกิดข้อได้เปรียบเสียเปรียบในเชิงราคาสำหรับการแข่งขันกับต่างประเทศอีกด้วย การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของกลไกภาครัฐในช่วงที่ผ่านมากลายเป็นกรณีที่ก่อให้เกิดคำถามและเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความสำเร็จ-ล้มเหลวอยู่พอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

Read More

หวังส่งออกอาหาร ดันเศรษฐกิจไทยฟื้นตัว

สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2561 กำลังได้รับความคาดหวังว่าจะดำเนินไปสู่ทิศทางที่สดใสจากปัจจัยแรงส่ง ว่าด้วยการส่งออก ที่ตลอดช่วง 9 เดือนแรกของปี 2560 (มกราคม-กันยายน) มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาคการส่งออกสินค้าอาหารไทย ที่สามารถมีมูลค่าการส่งออกขยายตัวได้ในระดับร้อยละ 9.4 จนเกือบแตะระดับ 8 แสนล้านบาท และคาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกอาหารไทยรวมตลอดทั้งปีในระดับที่เกินกว่า 1 ล้านล้านบาทด้วย ก่อนหน้านี้ กระทรวงพาณิชย์รายงานตัวเลขการส่งออกเดือนสิงหาคม 2560 ว่ามีมูลค่า 21,224 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7 แสนล้านบาท ขยายตัว 13.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการส่งออกในระดับสูงสุดในรอบ 55 เดือน ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 19,134 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 6.3 แสนล้านบาท ขยายตัว 14.9% ส่งผลให้ไทยมีการค้าเกินดุล 2,090 ล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมกับคาดการณ์ว่าภาพรวมการส่งออกทั้งปี 2560 ที่ประมาณว่าจะขยายตัวร้อยละ 7 น่าจะเป็นไปได้

Read More

จากแรงส่งสู่แรงเฉื่อย รัฐหมดมุกกระตุ้นเศรษฐกิจ?

ปี 2017 กำลังเดินทางเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปี ควบคู่กับการเป็นจุดเริ่มต้นของงบประมาณก้อนใหม่ ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ที่มีมูลค่ารวม 2.9 พันล้านล้านบาท หากแต่สถานการณ์โดยรวมทางเศรษฐกิจของไทยดูจะไม่ได้ดำเนินไปตามที่กลไกภาครัฐพยายามที่จะโหมประโคมว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวขึ้นแล้วมากนัก ตลอดปี 2017 ที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐดูจะทุ่มเทความพยายามในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ การเร่งลงทุนในส่วนของรัฐวิสาหกิจ และการใช้นโยบายด้านภาษี ที่หลายฝ่ายเชื่อว่ามาตรการหลากหลายดังกล่าวได้ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่องและเกินกว่าเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ ภายใต้แรงส่งจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ดำเนินมาก่อนหน้า และทำให้ในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2017 หรือในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ไม่จำเป็นต้องนำเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใดๆ อีก ตรรกะวิธีคิดดังกล่าวในด้านหนึ่งเป็นผลจากกระบวนทัศน์ที่ฝากความหวังไว้กับการเบิกจ่ายงบลงทุนจากเงินงบประมาณประจำปีงวดใหม่ ที่เป็นงบประมาณขาดดุล ที่เชื่อว่าจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐและเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เศรษฐกิจไทยในช่วงท้ายของปีกระเตื้องขึ้นอีก ตัวเลขประมาณการภาพรวมเศรษฐกิจถูกนำมาอ้างอิงอย่างต่อเนื่องในฐานะภาพสะท้อนเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาโดยต่างระบุว่า เศรษฐกิจไทยได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากผลของการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวเกินกว่าที่ประมาณการไว้และอาจทำให้ตัวเลขการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปรับไปสู่ร้อยละ 3.8 จากเดิมที่ประเมินการขยายตัวทางเศรษฐกิจไว้ที่ระดับร้อยละ 3.4 เท่านั้น ความมั่นใจของกลไกภาครัฐจากความสำเร็จในการกระตุ้นให้เศรษฐกิจไทยขยายตัว ที่ดำเนินผ่านตัวเลขทางเศรษฐกิจในด้านหนึ่งกลับสะท้อนความตีบตันของมาตรการที่จะนำเสนอในอนาคต เพราะในขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาจะดีขึ้น แต่ในภาพที่เล็กลงไปในระดับจุลภาค ผลของเศรษฐกิจกลับมีแนวโน้มไปในทิศทางตรงกันข้าม หรือได้รับผลอย่างไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ยังเผชิญความยากลำบาก และเป็นประเด็นที่ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังต้องคำนึงและให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง มาตรการของภาครัฐที่มีรูปธรรมในทางปฏิบัติล่าสุด ในนามของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือที่เรียกขานโดยทั่วไปว่าบัตรสวัสดิการคนจน ซึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2560 ในด้านหนึ่งได้สะท้อนข้อเท็จจริงที่ว่าสังคมไทยยังมีผู้มีรายได้น้อยมาขึ้นทะเบียนเพื่อรับสวัสดิการดังกล่าวมากถึง 10-14 ล้านคน ซึ่งดูเหมือนว่าความมุ่งหมายที่จะนำพาประเทศไทยให้ “ก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง”

Read More

ทุนใหญ่รุกธุรกิจสื่อทีวี ช่องทางที่จำเป็นต้องมี?

ข่าวการรุกคืบเข้ามาในธุรกิจสื่อทีวีของกลุ่มทุนใหญ่ที่มีองค์ประกอบทางธุรกิจหลากหลายไม่ว่าจะเป็นจังหวะก้าวของกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ ที่เข้าซื้อช่องอมรินทร์ 34 และช่อง GMM25 หรือการรุกของกลุ่มปราสาททองโอสถ ที่มีช่อง PPTV อยู่ในมือ ควบคู่กับการเข้าซื้อช่อง ONE จากกลุ่ม Grammy กำลังปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ของธุรกิจสื่ออย่างมีนัยสำคัญ ท่ามกลางการล้มหายไปของผู้ประกอบการสื่อรายเดิม ที่ดูเหมือนว่านับวันจะยิ่งอยู่ในสถานการณ์ที่เรียกได้ว่า “กู่ไม่กลับ” ไปโดยปริยาย การเข้าซื้อกิจการทีวีดิจิทัลของกลุ่มทุนใหญ่ ได้รับการประเมินว่าเกิดขึ้นจากเหตุที่เป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง ด้วยจำนวนผู้ประกอบการที่มีมากขึ้น ขณะที่การหารายได้และโฆษณากลับหดตัว จนเจ้าของธุรกิจเดิมเริ่มแบกรับภาระไม่ไหว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประกอบส่วนกับรายได้ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากผลของพัฒนาการด้านเทคโนโลยีที่ทำให้แพลตฟอร์มในการสื่อสารกับผู้บริโภคมีทางเลือกหลากหลายอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ความเป็นไปของธุรกิจสื่อ ซึ่งประสบปัญหารายได้ลดลงและขาดทุนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง กลายเป็นภาพที่เห็นได้เจนตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากตัวเลขผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นในกรณีของ BEC อสมท Grammy RS รวมถึง อมรินทร์พริ้นติ้ง ซึ่งล้วนแต่มีรายได้และผลกำไรลดลง หรือจนถึงขั้นขาดทุน ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจทีวีดิจิทัลโดยเฉพาะการจ่ายค่าใบอนุญาตที่สูง ทำให้บริษัทมีปัญหาขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจอย่างไม่อาจเลี่ยง ความพยายามของผู้ประกอบการสื่อที่ครั้งหนึ่งเคยเชื่อมั่นในความคิดที่ว่า information is power หรือ content is King กำลังถูกกระแสธารของเทคโนโลยีและพลังแห่งทุนโหมกระหน่ำ จนไม่สามารถที่จะรักษาเสถียรภาพและบทบาทนำได้อย่างที่เคยเป็นเคยมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลาที่สถานการณ์เศรษฐกิจบีบคั้น จนทำให้บางรายเลือกที่จะปรับลดสัดส่วนการถือครองหุ้น หรือตัดทอนธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก

Read More

แก้วสารพัดนึกชื่อ EEC และคาถาเสื่อมมนต์ไทยแลนด์ 4.0

หากตั้งประเด็นคำถามว่ารัฐบาลภายใต้การกำกับดูแลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีนโยบายเศรษฐกิจ หรือจัดวางน้ำหนักในการพัฒนาประเทศไว้ที่เรื่องใด เชื่อว่า โครงการเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor (EEC) คงเป็นโครงการที่ผุดขึ้นในกระแสสำนึกอย่างทันที ด้วยเหตุที่สื่อประชาสัมพันธ์ภาครัฐต่างโหมประโคมโครงการที่ว่านี้ อย่างต่อเนื่องและเป็นประหนึ่งโครงการแห่งความหวังว่าจะช่วยฉุดลากเศรษฐกิจไทยในห้วงเวลานับจากนี้ให้หลุดพ้นจากหุบเหวของความตกต่ำที่ต่อเนื่องมาอย่างยาวนานเสียที แม้ว่าในความเป็นจริงโครงการที่ว่านี้ไม่ได้มีอะไรใหม่มากไปกว่าการพัฒนาพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง ซึ่งในด้านหนึ่งก็คือ การสานต่อและเติมเต็มโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด ที่ดำเนินมาเมื่อ 40 กว่าปีก่อน ให้มีความสดใหม่เพิ่มขึ้นและขยับให้ EEC เป็นประหนึ่งข้อต่อเชื่อมที่จะทำให้โครงการอีสเทิร์นซีบอร์ดเสร็จสมบูรณ์เต็มตามเป้าประสงค์ ภายใต้แผนการพัฒนา EEC รัฐบาลโดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดวางแผนงานเพื่อการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ไว้ 8 แผนงาน ประกอบด้วย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือสัตหีบและบริการลอจิสติกส์ต่อเนื่อง การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย การพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ การพัฒนาศูนย์กลางการเงิน การพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยี การพัฒนาเมืองใหม่ ฉะเชิงเทรา-พัทยา-ระยอง และที่ดูจะให้ความสำคัญมากก็คือ การประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่อันจะเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และเชื่อว่าจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศโดยรวม โดยก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 จำนวน 212

Read More