Home > manager360 (Page 354)

วัฒนธรรมการ “อ่าน” ของไทย บนหนทางตีบตันและล่มสลาย?

กระแสความนิยมของละคร “บุพเพสันนิวาส" ที่พัฒนาจากนวนิยายที่มียอดพิมพ์ซ้ำหลายครั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมานับตั้งแต่การพิมพ์ครั้งแรกในปี 2552 ขณะที่ความสนใจจากแฟนละครและนักอ่านกำลังช่วยผลักให้นวนิยายเล่มนี้มียอดพิมพ์ครั้งใหม่ๆ เพิ่มขึ้น นอกจากจะได้รับการกล่าวถึงในฐานะปรากฏการณ์บุพเพสันนิวาสของสังคมไทยแล้ว ในอีกด้านหนึ่งยังสะท้อนมิติความคิดของการอ่านในสังคมไทยได้อย่างมีนัยสำคัญ ฉากหลังของนวนิยายที่นำช่วงเวลาประวัติศาสตร์มานำเสนอและดำเนินเรื่องราวส่งผลให้ผู้ชมและผู้อ่านจำนวนไม่น้อยเพลิดเพลินไปกับบรรยากาศย้อนอดีต และมีอีกจำนวนไม่น้อยสนใจใฝ่รู้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นไปด้วยความรู้สึกสำนึกที่ต้องการจะเข้าถึงอรรถรสของบทประพันธ์ให้มากขึ้น หรือจะโดยแรงกระตุ้นที่ประสงค์จะเรียนรู้ให้ถึงรากแห่งประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่เป็นประหนึ่งเบ้าหลอมสำนึกทางสังคมในปัจจุบัน กระนั้นก็ดี ความเป็นไปในมิติที่ว่านี้ คงไม่สามารถอธิบายสำนึกทางประวัติศาสตร์ของสังคมไทยที่ดำเนินไปอย่างฉาบฉวย แม้ว่าบทประพันธ์นี้จะดำเนินไปท่ามกลางฉากหลังของอดีตกาลที่ล่วงเลยมากว่า 300 ปีก็ตาม เพราะสำหรับสังคมไทยคำว่าประวัติศาสตร์ดูจะเป็นเรื่องราวสำหรับการท่องจำและเก็บรายละเอียดปลีกย่อย ที่ห่างไกลไปจากการศึกษาทำความเข้าใจเรียนรู้ที่พร้อมจะวิพากษ์และเก็บรับเป็นบทเรียน มิพักต้องกล่าวถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยที่ดูเหมือนจะถูกทิ้งให้เลือนหายไปจากความทรงจำอย่างช้าๆ ความเป็นไปที่ดำเนินประหนึ่งโลกคู่ขนานกับปรากฏการณ์ละครบุพเพสันนิวาส ซึ่งออกอากาศตอนแรกเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ก็คือ ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ มีกิจกรรมเสวนาว่าด้วย “ทางรอดหรือทางตายแห่งอนาคตของประเทศและรัฐบาลที่ไม่มี ‘ระบบหนังสือของชาติ’” ซึ่งจัดโดย วิชาบรรณาธิการศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่ามกลางบรรยากาศแห่งวิกฤตเรื่องความรู้ประชาชาติ การจัดการระบบหนังสือ และระบบความรู้ของประเทศไทย รวมถึงการสูญหายปิดตัวลงของสื่อสิ่งพิมพ์ที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงที่ผ่านมา ข้อเสนอว่าด้วยแนวความคิดและการสร้างความเข้าใจกับภาครัฐ ในการพัฒนาสังคมเพื่อการอ่านที่ยั่งยืน ท่ามกลางกระแสธารแห่งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากพัฒนาการของเทคโนโลยีและระบบดิจิทัล แต่ดูเหมือนว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐจะตอบกลับมาด้วยความว่างเปล่า กรณีที่ว่านี้ ดูจะสอดรับกับท่วงทำนองและความเป็นไปของงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 46 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 16 ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนมีนาคมไปจนถึงสัปดาห์แรกของเดือนเมษายน (29 มีนาคม-8 เมษายน) ที่มีแนวความคิดของงานประจำปีนี้ว่า

Read More

บอร์ด ปตท. ประกาศผลสรรหา ซีอีโอ คนที่ 9

ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานกรรมการ ปตท. เปิดเผยว่า คณะกรรมการ ปตท. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและวิศวกรรม ปตท. เป็นผู้ที่เหมาะสมจะดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. คนต่อไป แทนนายเทวินทร์ วงศ์วานิช ที่จะหมดวาระในวันที่ 30 สิงหาคม 2561 โดย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. คนใหม่ ซึ่งเป็น ซีอีโอ คนที่ 9 นับตั้งแต่ก่อตั้ง ปตท.มา จะเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2561 เป็นต้นไป นายชาญศิลป์ เป็นผู้มีประสบการณ์สูงในการทำงานใน ปตท. มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ตอบสนองแผนกลยุทธ์ของ ปตท. ในเรื่อง Disruptive Technology เพื่อแสวงหาธุรกิจใหม่ของ ปตท. และสามารถขับเคลื่อนธุรกิจของ ปตท. ต่อไป

Read More

รัฐไทยพึ่งคาถา Alibaba หวังเสก “ดิจิทัลฮับ” ปลุก EEC

การเดินทางเยือนไทยของ Angel Zhao Ying ประธานกลุ่มความเป็นผู้นำด้านโลกาภิวัตน์ อาลีบาบา (Alibaba Globalization Leadership Group) เมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ดูจะได้รับความสนใจและพยายามประเมินค่าในฐานะที่เป็นประหนึ่งการปลุกประกายความหวังของรัฐบาลในการผลักดันโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคจะวันออก หรือ EEC ไม่น้อยเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพิจารณาจากถ้อยแถลงของสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี หลังจากที่คณะผู้บริหารบริษัท อาลีบาบา กรุ๊ป จำกัด เข้าเยี่ยมคารวะ ซึ่งระบุว่า อาลีบาบายืนยันจะเข้ามาลงทุนในไทย เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาค และจะตัดสินใจเลือกพื้นที่เพื่อทำเป็น Startup Digital Hub CLMVT ในเร็ววันนี้ ก่อนที่สมคิดจะระบุว่า การที่อาลีบาบาตัดสินใจจะเข้ามาลงทุนในไทยจะมีส่วนช่วยในการส่งเสริมภาพลักษณ์ของไทย และเชื่อว่าบริษัทยักษ์ใหญ่อื่นๆ ก็จะเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นอีกด้วย ถ้อยแถลงดังกล่าว หากพิจารณาอย่างผิวเผินก็คงไม่มีประเด็นใดๆ น่าเสียหาย แต่เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดและลึกลงไปในข้อเท็จจริง อาลีบาบาซึ่งเป็นเพียงผู้ประกอบการธุรกิจรายหนึ่ง กลับมีความเคลื่อนไหวหรือการตัดสินใจที่มีบทบาทอิทธิพลและสามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับรัฐไทยมากเสียยิ่งกว่าความพยายามของรัฐไทยในการสื่อสารและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาคมโลกไปเสียแล้ว ประเด็นดังกล่าว ทำให้อาลีบาบาอยู่ในสถานะประหนึ่ง change agent ที่รัฐไทยกำลังต้องพึ่งพา หลังจากที่ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมายังไม่สามารถกอบกู้ภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นจากนักลงทุนได้มากนัก แม้จะพยายามระดมมาตรการส่งเสริม และขายฝันโครงการ EEC เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลกแล้วก็ตาม มิติความคิดที่สะท้อนผ่านการให้สัมภาษณ์สื่อของสมคิด รองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล ครั้งล่าสุด ยังเป็นการตอกย้ำภาพการพัฒนาและอนาคตที่น่ากังวลของไทย เพราะบทบาทและสถานะของอาลีบาบาในอีกด้านหนึ่งก็คือการเป็นเพียงผู้ประกอบการที่มีฐานะเป็นคนกลางขนาดใหญ่ ที่ไม่เพียงแต่จะไม่มีวัตถุดิบหรือระบบการผลิตสินค้าใดๆ หากแต่สิ่งที่อาลีบาบามีและสื่อแสดงอย่างเด่นชัด ก็คือแนวความคิดที่สอดรับกับการแบ่งงานกันทำ (division

Read More

‘เซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต’ ย้ำความเป็นสุดยอดซูเปอร์รีจินัลมอลล์ แห่งเซ้าท์อีสต์เอเชีย

‘เซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต’ ย้ำความเป็นสุดยอดซูเปอร์รีจินัลมอลล์ แห่งเซ้าท์อีสต์เอเชีย ดึง ‘อิเกีย’ เป็นพันธมิตรสร้างความเจริญเติบโตย่านบางใหญ่อย่างก้าวกระโดด ขึ้นแท่นศูนย์กลางธุรกิจฝั่งกรุงเทพฯ ตะวันตก บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอ็น ผู้นำด้านธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดของไทย และผู้บริหารศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต นำโดย ดร. ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด แถลงวิสัยทัศน์ความเป็นซูเปอร์- รีจินัลมอลล์แห่งเซ้าท์อีสต์เอเชียของ "เซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต" พร้อมดึง "อิเกีย" แบรนด์เฟอร์นิเจอร์อันดับ 1 ของโลกเป็นพันธมิตร โดยอิเกียสโตร์โมเดลใหม่ใหญ่ที่สุดในไทยจะเปิดให้บริการวันที่ 15 มี.ค. 61 นี้ ขณะที่ซีพีเอ็นเตรียมทุ่มงบการตลาดกว่า 120 ล้านบาท สร้างสรรค์แคมเปญ “ขยายความสุข สนุกกับชีวิตใหญ่มาก” สอดรับความเจริญและไลฟ์สไตล์ Urbanization ย่านบางใหญ่-เวสต์เกต ที่เตรียมขึ้นแท่นทำเลทองด้วยศักยภาพศูนย์กลางความเจริญฝั่งกรุงเทพฯ ตะวันตก (West

Read More

‘One Bangkok’ โครงการอสังหาริมทรัพย์ครบวงจรแห่งแรกของประเทศไทย เริ่มดำเนินการก่อสร้าง

บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ท (ประเทศไทย) จำกัด และเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด ได้ทำพิธียกเสาเอกโครงการ ‘One Bangkok’ (วัน แบงค็อก) ซึ่งนับเป็นก้าวแรกที่สำคัญของการเริ่มดำเนินการก่อสร้าง โครงการอสังหาริมทรัพย์ครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนมากกว่า 120,000 ล้านบาท หลังจากที่โครงการได้ผ่านการอนุมัติการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยมีนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท ทีซีซี และ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ และ ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ และพันธมิตรทางธุรกิจ ร่วมเป็นเกียรติในพิธี นายปณต สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า “วันนี้ถือเป็นการเริ่มต้นในทุกมิติ เพราะนอกจากจะเป็นการเริ่มเดินหน้าการก่อสร้างโครงการ ‘One Bangkok’ (วัน แบงค็อก) แล้ว

Read More

หมดเวลาของถ่านหิน? อาเซียนเน้นพลังงานทดแทน

การแถลงผลประกอบการของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นอกจากจะมีจุดเด่นอยู่ที่ตัวเลขผลประกอบการที่มีกำไรในระดับหลายพันล้านบาทแล้ว ในอีกด้านหนึ่งยังปรากฏภาพของการกำหนดทิศทางของธุรกิจในอนาคตด้วยการลดสัดส่วนพลังงานถ่านหิน ซึ่งสะท้อนภาพภูมิทัศน์ที่ปรับเปลี่ยนไปของการใช้พลังงานในภูมิภาคอาเซียน ที่กำลังปรับเข้าหาพลังงานทดแทนมากขึ้น กรณีดังกล่าวสอดรับกับความเคลื่อนไหวของบี. กริม พาวเวอร์ ที่ร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB: Asian Development Bank) ประกาศความร่วมมือในการขยายธุรกิจพลังงานทดแทนในอาเซียน ผ่านการลงนามในสัญญาสนับสนุนเงินกู้ มูลค่า 235 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7.3 พันล้านบาท นัยความหมายของการลงนามสนับสนุนเงินกู้ระหว่างบี. กริม พาวเวอร์กับเอดีบี ครั้งนี้ นอกจากจะนับเป็นการสนับสนุนวงเงินกู้ที่มีมูลค่าสูงสุดที่เอดีบีเคยให้การสนับสนุนกับบริษัทในประเทศไทยแล้ว ในอีกมิติหนึ่งยังสะท้อนแนวทางการพัฒนาด้านพลังงานที่เอดีบีพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นและสนองตอบต่อความต้องการใช้พลังงานของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ซึ่งพลังงานได้รับการประเมินในฐานะที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม พลังงานทางเลือกที่บี. กริมจะนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อรุกเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน ภายใต้สัญญาสนับสนุนเงินกู้จากเอดีบี ประกอบด้วยการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวมวล พลังงานจากขยะ พลังงานก๊าซธรรมชาติ รวมถึงการกักเก็บพลังงาน และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง “เงินทุนของเอดีบีจะสนับสนุนการดำเนินงานของบี.กริม เพาเวอร์ ในการลงทุนโครงการผลิตไฟฟ้าตามพื้นที่ต่างๆ ในรูปแบบ Distributed Power Generation และโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่

Read More

บี.กริม เพาเวอร์ ‘BGRIM’ ชูกำไรเฉียด 3,600 ล้านบาท พุ่งกว่า 55% ตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิตปี 2561 กว่า 400 เมกะวัตต์

บี.กริม เพาเวอร์ (BGRIM) ชูความสำเร็จจากการรับรู้รายได้ของปี 2561 ทำสถิติสูงสุด 31,482 ล้านบาท หรือเติบโต 14% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เผยเป็นผลจากการเปิดดำเนินการโรงไฟฟ้าใหม่เข้าสู่ระบบ พร้อมเพิ่มอัตรากำไร EBITDA 28% และอัตรากำไรสุทธิปรับปรุง 9% นั่งแท่นเป็นหนึ่งในผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าอุตสาหกรรมรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย เชื่อมั่นศักยภาพและความพร้อมของบริษัท สามารถขยายธุรกิจสู่ภูมิภาคอาเซียนตามเป้าที่วางไว้ นางปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงภาพรวมผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในปี 2560 ว่า บริษัทฯ มีรายได้จากการขายและการให้บริการจำนวน 31,482 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการรับรู้รายได้การขายไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าอมตะ บี.กริม เพาเวอร์ 5 (ABP5) ในนิคมอุสาหกรรมอมตะนคร เต็ม 9 เดือนของปี 2560 และการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ของโรงไฟฟ้า บี.กริม

Read More

แกร็บ แต่งตั้ง ธรินทร์ ธนียวัน ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แกร็บ (ประเทศไทย) จำกัด

แกร็บ ผู้นำแพลตฟอร์มด้านการขนส่งแบบออนดีมานด์และการชำระเงินผ่านมือถือชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกาศแต่งตั้งนายธรินทร์ ธนียวัน ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แกร็บ (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป เพื่อดูแลกลยุทธ์ทางธุรกิจและการดำเนินงานทั้งหมดของแกร็บในประเทศไทย ทั้งนี้ ธรินทร์เข้ามารับตำแหน่งต่อจากนายยี วี แตง ที่ย้ายไปรับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ ของบริษัท แกร็บ ในประเทศกัมพูชา “ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับธรินทร์เข้ามาร่วมงานกับเราในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย ด้วยประสบการณ์การเป็นผู้บริหารระดับสูงและความเชี่ยวชาญด้านอีคอมเมิร์ซมายาวนาน ทำให้ธรินทร์มีศักยภาพในการขับเคลื่อนแกร็บ ประเทศไทย ให้เติบโตและประสบความสำเร็จ ควบคู่ไปกับการสร้างทีมงานและขยายเครือข่ายพันธมิตรของแกร็บ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจของเราในประเทศไทยได้ในระยะยาว” นายรัสเซล โคเฮน ประธานฝ่ายปฏิบัติการ แกร็บประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว ธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แกร็บ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับแกร็บเพื่อสานต่อพันธกิจของบริษัทฯ ในการขับเคลื่อนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปข้างหน้า รวมถึงขยายตลาดการให้บริการขนส่งแบบออนดีมานด์ (On-Demand) และการชำระเงินออนไลน์ของประเทศไทย ผมมีความตั้งใจที่จะนำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยของแกร็บ

Read More

เปิดครัวสะดวกซื้อ “แฟมิลี่มาร์ท” ปรับทัพรับเทรนด์ ชูข้าวปั้น ”โอนิกิริ” สไตล์ไทย ครั้งแรกของประเทศ

“แฟมิลี่มาร์ท” พลิกมิติใหม่ของร้านสะดวกซื้อ เปิดตัว “6 เมนู โอนิกิริ” ตามแบบต้นฉบับ Original Taste เพิ่มความต่าง สร้างความแปลกใหม่ ครั้งแรกกับข้าวปั้นญี่ปุ่นสไตล์เมนูไทย ด้วยจุดเด่นเน้นคุณภาพ ปรับสูตรใหม่ อร่อยเต็มคำจับเทรนด์อินไซด์ผู้บริโภค มั่นใจตอบโจทย์ครบทุกรสสัมผัส นางจิรนันท์ ผู้พัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัลแฟมิลี่มาร์ท จำกัด กล่าวว่า “จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ลูกค้ามีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น ความตื่นเต้น และแปลกใหม่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการสร้างความสนใจให้กับผู้บริโภค ร้านสะดวกซื้อต้องปรับตัวเพื่อรองรับเทรนด์ที่เกิดขึ้นรวมทั้งสามารถตอบสนองทุกความต้องการเหล่านั้นได้ แฟมิลี่มาร์ทจึงได้พัฒนาข้าวปั้นโอนิกิริ ต้นตำรับญี่ปุ่น ร่วมกับพันธมิตรคู่ค้าตามแบบฉบับ Original Taste โดยดึงเอาจุดแข็งของคู่ค้ามาร่วมพัฒนาสูตรเพื่อนำเสนอความหลากหลายรสชาติ รูปแบบที่แปลกใหม่ และเข้าถึงผู้บริโภคทุกกลุ่ม ใน 3 เมนูสไตล์ญี่ปุ่น ได้แก่ โอนิกิริไส้ไข่ปลาเมนไทโกะ โอนิกิริไส้ไข่หวานไข่กุ้ง โอนิกิริสลัดไข่ และครั้งแรกของเมืองไทยกับ 3 เมนูแบบร้อนข้าวปั้นสไตล์ไทยรสชาติจัดจ้าน ได้แก่ ข้าวปั้นกระเพราหมูไข่ดาว โอนิกิริข้าวผัดเบคอน และข้าวปั้นข้าวมันไก่ 2

Read More

ความมั่นคงพลังงานไทย บนทางแพร่งและทางเลือก

ความเป็นไปของโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ ทั้งที่จังหวัดกระบี่ ด้วยกำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ และที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา กำลังการผลิตรวม 2,000 เมกะวัตต์ กำลังสะท้อนภาพมิติความคิดของทั้งระบบการบริหารจัดการ และยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านพลังงานของไทยได้อย่างน่าสนใจ เนื่องเพราะภายใต้ “แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าประเทศไทย พ.ศ. 2558-2579” (Thailand Power Development Plan: PDP ฉบับปี 2015) หรือ PDP2015 ซึ่งเป็นแผนแม่บทในการจัดหาพลังงานไฟฟ้าในระยะยาวในกรอบเวลา 20 ปี ระบุถึงความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าทั้งสองแห่งไว้ ในฐานะที่เป็นการตอบสนองต่อความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นและเป็นการสร้างหลักประกันความมั่นคงทางพลังงานในภาคใต้ ภายใต้แผนดังกล่าวระบุว่าความต้องการพลังงานในภาคใต้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ทำให้ในช่วงระยะเวลาระหว่างปี 2562-2567 ต้องมีการพัฒนาโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 3 โรง จำแนกเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ในปี 2562 โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา เครื่องที่ 1 ในปี 2564 และเครื่องที่ 2 ในปี 2567 แม้ว่าความเคลื่อนไหวล่าสุด รัฐมนตรีพลังงานจะลงนามในข้อตกลงร่วมกับ “เครือข่ายปกป้องสองฝั่งทะเลกระบี่-เทพา ยุติโรงไฟฟ้าถ่านหิน” เพื่อให้เริ่มกระบวนการ

Read More