Home > Cover Story (Page 40)

เศรษฐกิจไทยสัญญาณบวก ภาคอสังหาฯ ปีกระต่ายตื่นตูม

สถานการณ์ของเศรษฐกิจไทยมีทิศทางเป็นไปอย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ นับตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี 2565 และต่อเนื่องมายังไตรมาส 4 โดยปัจจัยบวกหลักมาจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้าไทยเพิ่มมากขึ้น และดีกว่าที่คาดไว้ ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเปิดเผยตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้าไทยเมื่อปีที่ผ่านมาพบว่ามีจำนวนประมาณ 11.8 ล้านคน อันดับหนึ่งคือนักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย 1.95 ล้านคน 2. อินเดีย 9.65 แสนคน 3. สปป.ลาว 8.44 แสนคน 4. กัมพูชา 5.91 แสนคน และ 5. สิงคโปร์ 5.89 แสนคน คาดว่าจะมีรายได้รวมกว่า 1.5 ล้านล้านบาท และยังตั้งเป้าหมายรายได้การท่องเที่ยวรวมไว้ที่ 2.38 ล้านล้านบาท โดยเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติที่น่าจะเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 25 ล้านคน ทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยส่งผลต่อความมั่นใจของผู้บริโภคในหลายแง่มุม มิติหนึ่งสะท้อนไปยังภาคอสังหาริมทรัพย์ของไทยที่เคยซบเซานับตั้งแต่ช่วงก่อนโควิด อันมาจากหลายเหตุปัจจัย ทั้งจำนวนหน่วยที่อยู่อาศัยที่ล้นตลาด มาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่อของภาครัฐ และการชะลอการใช้จ่ายของภาคประชาชน แต่ปัจจุบันเริ่มเห็นสัญญาณบวกในตลาดที่อยู่อาศัยมากขึ้น ทั้งการทยอยเปิดตัวโครงการใหม่ แม้จะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปก็ตาม ล่าสุด ดร. ประศาสน์

Read More

สบู่มาดามหลุยส์ อีกหนึ่งธุรกิจของ “หลุยส์ เตชะอุบล”

“เตชะอุบล” เป็นอีกหนึ่งตระกูลใหญ่ที่เป็นที่รู้จักกันดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงนักธุรกิจและนักลงทุนของประเทศไทย คีย์แมนคนสำคัญของตระกูลคือ “สดาวุธ เตชะอุบล” นักธุรกิจเจ้าของอาณาจักร “คันทรี่ กรุ๊ป” โฮลดิ้ง คอมปานี ที่ลงทุนในธุรกิจหลากหลายประเภท รวมถึงธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มูลค่านับหมื่นล้าน คันทรี่ กรุ๊ป โฮลดิ้ง มีบริษัทในเครืออย่างบริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน) บริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ครบวงจรชั้นนำของประเทศไทย, บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC บริษัทจัดการกองทุนแห่งแรกของประเทศไทย, บริษัท คริปโตมายด์ กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ดำเนินธุรกิจชุมชนสินทรัพย์ดิจิทัลและบริษัทจัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลแห่งแรกภายใต้บริษัทลูก “Elkrem Capital” รวมไปถึงบริษัท เบาด์ แอนด์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) ที่รีแบรนด์มาจากบริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ PDI เน้นลงทุนในธุรกิจโรงแรมและบริการ โดยโฟกัสที่โรงแรมระดับ upscale

Read More

ธุรกิจโกดังญี่ปุ่นมือสองขยายตัว และโอกาสทำเงินของนักชอป

ย้อนหลังไปเกือบ 10 ปีก่อน ธุรกิจนำเข้าสินค้ามือสองจากญี่ปุ่นเริ่มทำตลาดในไทย ด้วยความนิยมสินค้า Made in Japan ของคนไทยที่มีอยู่เป็นทุนเดิม ทำให้ผู้ประกอบการนำเข้าสินค้ามือสองญี่ปุ่นค่อยๆ เพิ่มจำนวนขึ้น และนั่นอาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่เกิดกระแสดราม่าว่า ไทยเป็นจุดหมายปลายทางของขยะกองมหึมาจากต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสินค้ามือสองเหล่านี้ว่า แท้จริงแล้วเจ้าของคนเก่าเป็นบุคคลที่เสียชีวิตไปแล้วหรือไม่ หลายคนอาจสงสัยว่าสินค้ามือสองญี่ปุ่นที่ไทยนั้นมีที่มาจากไหน เป็นของที่เจ้าของเดิมบริจาคมา หรืออย่างไร แท้จริงแล้วสินค้ามือสองญี่ปุ่นที่เดินทางมาถึงไทยส่วนใหญ่จะถูกรวบรวมโดยบริษัทที่มีหน้าที่ “เคลียร์ของ” ที่เจ้าของบ้าน เจ้าของสถานที่ อาจจ้างมาทำความสะอาด และช่วยกำจัดข้าวของเครื่องใช้เหล่านี้ออกไป  อย่างที่ทราบกันดีว่า ประเทศญี่ปุ่นจะมีข้อกำหนดเข้มงวดเรื่องการทิ้งขยะ โดยจะกำหนดวันทิ้งขยะไว้อย่างชัดเจน วันไหนทิ้งขยะรีไซเคิล วันไหนทิ้งขยะทั่วไป หรือวันไหนทิ้งขยะอันตราย หรือขยะชิ้นใหญ่ ซึ่งขยะบางประเภทจำเป็นจะต้องมีการชำระเงินเพื่อกำจัดหรือทำลาย ทั้งนี้หากมีของใช้ที่ต้องการเคลียร์ในปริมาณมาก และใช้เวลานาน คนญี่ปุ่นจะเลือกใช้บริการจากบริษัทเคลียร์ของเพื่อความสะดวก แม้จะมีค่าใช้จ่ายอยู่บ้าง  จากนั้นของใช้พวกนี้จะถูกขายในราคาส่งให้แก่พ่อค้าแม่ค้าชาวญี่ปุ่น ซึ่งจะถูกนำไปขายต่ออีกทอดยังตลาดนัดมือสองในประเทศญี่ปุ่นเอง ดังเช่นที่เคยเห็นภาพจากสื่อออนไลน์ และส่วนที่เหลือจะถูกรวบรวมและส่งต่อมายังประเทศปลายทาง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มักจะซื้อสินค้ามือสองญี่ปุ่นเหล่านี้มาขายทำกำไรต่ออีกทอดหนึ่ง สินค้ามือสองจากญี่ปุ่นที่เราเห็นส่วนใหญ่จะเป็นเสื้อผ้า ของเล่น ตุ๊กตา ของสะสม เครื่องใช้ไฟฟ้า จักรยาน หรือแม้แต่เฟอร์นิเจอร์  ธนาคารกรุงเทพเคยอธิบายสถานการณ์ตลาดสินค้ามือสองทั่วโลกและในไทยไว้อย่างน่าสนใจเมื่อช่วงปี 2020 ว่า

Read More

ศุภาณัท จรูญพรภักดี ตัวแม่แบรนด์เนมมือสอง

ศุภาณัท จรูญพรภักดี “คุณปู” นายกสมาคมแบรนด์เนมมือสอง (Secondhand Brandname Association: S-BA) อยู่ในวงการมานานกว่า 20 ปี เธอหลงเสน่ห์แบรนด์เนมตั้งแต่วัยรุ่นนักเรียน เริ่มจากสินค้าชิ้นเล็กๆ กระเป๋า เข็มขัด กระทั่งวันหนึ่งลองซื้อขายกันในกลุ่มและค้นพบว่า แบรนด์เนมไม่ใช่แค่หิ้วหรูๆ แต่สามารถทำกำไรได้ และเป็นสินค้าน่าลงทุน “ปูชอบสินค้าแบรนด์เนมมาก่อนตั้งแต่ตอนที่ยังไม่รู้ว่าลงทุนได้ ตั้งแต่สมัยเป็นนักเรียน นักศึกษาอายุ 22-23 ปี แล้วลองซื้อขายกันเล่นๆ ชอปปิงไปเรื่อย ยังไม่จริงจัง เรียนรู้เก็บประสบการณ์มากขึ้นเรื่อยๆ และมาจับร้านจริงๆ ประมาณอายุ 30 ทั้งเปิดเว็บไซต์ขายออนไลน์ตั้งแต่ยุค 1G ไม่มีเฟซบุ๊ก ไม่มีไอจี มีแค่บีบี” เธอเปิดร้านแรกแถวสยามสแควร์ ก่อนย้ายหน้าร้านใหม่ ชื่อ REAL2 BRAND มาปักหลักแถวย่านอุดมสุข และขยายเพิ่มอีกสาขาในศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ ให้บริการซื้อขายสินค้าแบรนด์เนมไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง บริการซ่อมสปา รับฝากขาย รับตรวจสอบแบรนด์เนมแท้ปลอม รับซื้อกระเป๋า นาฬิกา กำไล ผ้าพันคอ และอื่นๆ

Read More

ตีทะเบียน รื้อภาษี ล้างภาพก๊อบปี้ ก๊อบปี้

สมาคมแบรนด์เนมมือสอง (Secondhand Brandname Association: S-BA) พยายามเรียกร้องภาครัฐยกเครื่องภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย กลุ่มแบรนด์เนมมือสอง เพราะถูกมองเป็นของลอกเลียนแบบ ของลักลอบ ต้องถูกจับมาเสียภาษีเพิ่มขึ้น ทั้งที่แบรนด์เนมมือสองเหล่านี้มาจากการซื้อขายมือหนึ่ง สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนมูลค่ามหาศาล ขณะเดียวกันตลาดแบรนด์เนมมือสองที่เติบโตก้าวกระโดด มีลูกค้า ทั้งกลุ่มแม่ค้า กลุ่มลูกค้าซื้อใช้เองและกลุ่มลูกค้าซื้อลงทุน มีส่วนให้จำนวนสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์หรือของก๊อบปี้ลดน้อยลงต่อเนื่อง เพราะตลาด Secondhand Brandname มีสินค้าให้เลือกหลากหลายมากมาย รูปโฉมสวยแทบไม่ต่างกับสินค้าใหม่ ลูกค้าเบื่อสามารถเปลี่ยนมือหาชิ้นใหม่ได้ไม่ยาก และเป็นแบรนด์เนมแท้ 100% แม้กระทั่งแบรนด์เนมลักลอบหิ้วเข้ามาจากต่างประเทศมีสัดส่วนลดลงเช่นกัน เนื่องจากแม่ค้าเสี่ยงโดนจับและต้องเสียภาษีอัตราสูงมาก  ส่วนนักชอปไทยหรือนักท่องเที่ยวต่างชาติหันมาซื้อมือหนึ่งกับช็อปแบรนด์ต่างๆ ในประเทศไทยมากขึ้น หลังบริษัทแม่ของค่ายต่างๆ เข้ามาเปิดแฟล็กชิปสโตร์ในฐานะเมืองท่องเที่ยวอันดับต้นๆ ของโลก  ดูจากสถิติการนำเข้าล่าสุด ช่วง 8 เดือนแรกของปี 2565 ของกรมศุลกากร ปรากฏว่า มูลค่าสินค้านำเข้ารวม 6.54 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น  32% โดยสินค้า 5 อันดับแรก ได้แก่ รถยนต์ 8,581 ล้านบาท สัดส่วนลดลงเมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน 16% รองลงมาเป็นส่วนประกอบยานยนต์

Read More

แบรนด์เนมมือสองโตพรวดๆ ลุ้น Hub Center ตามรอยญี่ปุ่น

ว่ากันว่า เคยมีการคาดการณ์ตลาดสินค้าแบรนด์เนมมือสอง (Pre-owned luxury) ในตลาดโลก มีมูลค่ามากกว่า 19,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 6.7 แสนล้านบาท เฉพาะกลุ่มสินค้าเครื่องหนังและเสื้อผ้ามือสองมีมูลค่ามากกว่า 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.4 แสนล้านบาท ยิ่งเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่และอาจเจอวิกฤตอีกหลายรอบ ยอดขายสินค้าแบรนด์เนมชื่อดังระดับโลกหลายค่ายไม่ได้พุ่งกระฉูดเหมือนก่อน แม้มีความพยายามเจาะตลาดประเทศใหม่ๆ มากขึ้น ทั้งการเปิดชอปและการส่งสินค้าจำหน่ายผ่านเอาต์เล็ตระดับโลก เนื่องจากมีกลุ่มลูกค้าหันไปซื้อสินค้าแบรนด์เนมมือสองมากขึ้น อัตราเติบโตแบบก้าวกระโดดทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ เพราะไม่ใช่แค่ประหยัดเงินชอปปิ้ง ได้ใช้สินค้าแบรนด์เนมหรูๆ ง่ายขึ้น หลากหลายขึ้น เบื่อก็ซื้อชิ้นใหม่ได้ และยังเป็นช่องทางการลงทุน นำกลับมาขายต่อได้ หรือลงทุนซื้อมือหนึ่งเก็บไว้ เพื่อรอปล่อยขายเมื่อบริษัทเจ้าของแบรนด์เนมลดราคาทุกต้นปีและทุกกลางปี อย่างน้อย 2 ครั้ง ชนิดที่ว่า เก็บแพ็กไว้ไม่เกิน 6 เดือน ฟันกำไรได้ไม่ต่ำกว่า 15% โดยเฉพาะกระเป๋าถือแบรนด์ดังสัญชาติฝรั่งเศสอย่างแอร์เมส (Hermes) ถือเป็นสินค้ายอดฮิตมากที่สุด สำหรับประเทศไทยเคยมีการคาดกันว่า ตลาดรวมผลิตภัณฑ์ลักชัวรีแบรนด์มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาท และตลาดสินค้าแบรนด์หรูมือสองมีการซื้อขายสินค้าผ่านช็อป (Official Shop) ถึง

Read More

ตลาดน้ำมันพืช โอกาสและความผันผวน

ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา สถานการณ์ราคาน้ำมันพืชทั้งไทยและทั่วโลกมีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันสืบเนื่องมาจากปัญหาอุปทานตึงตัวจากความตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับยูเครน การระงับการส่งออกน้ำมันปาล์มของผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ของโลกอย่างอินโดนีเซีย และอุปสงค์ในตลาดโลกที่ยังอยู่ในระดับสูง ปลายเดือนเมษายน 2565 ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด (Joko Widodo) ผู้นําอินโดนีเซีย ประกาศระงับการส่งออกน้ำมันปาล์ม เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำมันเพื่อการบริโภคในประเทศและควบคุมราคาน้ำมันประกอบอาหารไม่ให้สูงเกินไปจนส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของชาวอินโดนีเซีย โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 28 เมษายน 2565 คำสั่งดังกล่าวถูกคัดค้านอย่างหนักจากเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันเพราะทำให้รายได้ของเกษตรกรลดลง เพราะเกษตรกรเสียโอกาสจากการทำกำไรตามกลไกของตลาดในช่วงเวลานั้นที่ราคาน้ำมันปาล์มกำลังปรับตัวสูงขึ้น จนในที่สุดรัฐบาลอินโดนีเซียต้องออกมายกเลิกคำสั่งห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป แต่ถึงกระนั้นคำสั่งห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มของอินโดนีเซียได้สร้างความกังวลต่อประเทศผู้นำเข้าและสร้างความปั่นป่วนต่อตลาดน้ำมันพืชทั่วโลกอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง เนื่องจากน้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันพืชที่มีการบริโภคมากที่สุด โดยมีสัดส่วนคิดเป็น 1 ใน 3 ของตลาดน้ำมันพืชทั่วโลก อีกทั้งอินโดนีเซียยังเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดของโลกถึง 60% รองลงมาคือมาเลเซียที่ตามมาเป็นอันดับที่สอง ด้านวิจัยกรุงศรีระบุว่า ปี 2564 การผลิตและการบริโภคน้ำมันปาล์มทั่วโลกมีปริมาณ 72.9 ล้านตัน และ 73.5 ล้านตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 36.3% และ 36.5% ของปริมาณการผลิตและการบริโภคน้ำมันจากพืชทุกชนิดตามลำดับ แหล่งผลิตน้ำมันปาล์มที่สำคัญอยู่ในภูมิภาคอาเซียน โดยประเทศผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ คือ อินโดนีเซียและมาเลเซีย มีผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ

Read More

เจนฯ ใหม่ “เตมียเวส” กับการรุกตลาดน้ำมันพืช

“เอกภัท เตมียเวส” เป็นเพียงไม่กี่คนในตระกูลเตมียเวส ที่เลือกออกมาทำธุรกิจส่วนตัวแทนการอยู่ในแวดวงราชการหรือการเมืองเหมือนคนในครอบครัว แต่ที่น่าสนใจมากไปกว่านั้นคือการเลือกเข้าสู่ “ธุรกิจน้ำมันพืช” อีกหนึ่งธุรกิจที่มีการแข่งขันที่เข้มข้น และยังมีผู้เล่นรายใหญ่จับจองตลาดอยู่ก่อนแล้ว แต่ก่อนที่จะเข้าสู่ธุรกิจน้ำมันพืชนั้น เส้นทางบนถนนสายธุรกิจของ “เอกภัท” เจเนอเรชันใหม่แห่งเตมียเวสก็มีจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เอกภัท เตมียเวส ในวัย 37 ปี เล่าถึงจุดเริ่มต้นในการทำธุรกิจกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ฟังว่า “ด้วยความที่ผมชอบการทำธุรกิจและการค้าขายมาตั้งแต่เด็กๆ พอมีโอกาสก็อยากทำธุรกิจของตัวเอง เลยเปิดบริษัทชื่อเตมียเวสกรุ๊ปทำอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าอย่างพวกอพาร์ตเมนต์ต่างๆ ทำธุรกิจเม็ดพลาสติก รวมถึงรับจ้างผลิตพวกขนมขบเคี้ยวแล้วส่งออกไปขายยังจีน สิงคโปร์ ฮ่องกง เพราะส่วนตัวชอบรับประทานขนมอยู่แล้ว” แต่นอกเหนือจากอสังหาริมทรัพย์เพื่อการให้เช่า ผลิตเม็ดพลาสติก รับทำและจัดจำหน่ายสินค้าในกลุ่ม FMCG (Fast Moving Consumer Goods) แล้ว เตมียเวสกรุ๊ปยังเป็นผู้จัดจำหน่ายน้ำมันพืชยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งนี่เองคือจุดเริ่มต้นของการก้าวเข้าสู่ธุรกิจน้ำมันพืชของเอกภัท “เราเป็นผู้จัดจำหน่ายน้ำมันพืชยี่ห้อหนึ่ง แต่สุดท้ายทางแบรนด์เขาก็เอามาขายด้วย มันก็ทับไลน์กัน เลยมานั่งคิดว่าถ้าเป็นอย่างนี้ทำไมเราไม่ผลิตน้ำมันพืชเป็นแบรนด์ของตัวเองไปเลย เพราะมูลค่าตลาดมันใหญ่มีโอกาสเติบโตสูง ณ ช่วงเวลาที่เราตัดสินใจลุยธุรกิจน้ำมันพืช ตอนนั้นเฉพาะในเมืองไทยตลาดน้ำมันพืชมีมูลค่าตลาดราวๆ 20,000 ล้านบาท และที่สำคัญเรามีพื้นฐานด้านช่องทางการจัดจำหน่ายจากธุรกิจต่างๆ ที่ได้ทำมา” นั่นคือจุดเริ่มต้นในการเข้าสู่ธุรกิจน้ำมันพืชของเอกภัท แต่อีกหนึ่งเหตุผลคือเขามองว่าอาหารคือหนึ่งในปัจจัย

Read More

เทรนด์การลงทุนปี 2566 กับโอกาสรับไชน่ารีโอเพ่น

แม้ภาพรวมของเศรษฐกิจและการลงทุนของปี 2565 อาจดูไม่สดใสนัก เพราะต้องเผชิญกับความผันผวนมาตลอดทั้งปี ทั้งสถานการณ์เศรษฐกิจโลก สภาวะเงินเฟ้อ ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมถึงความผันผวนของสินทรัพย์ดิจิทัลที่ล้วนสร้างผลกระทบต่อบรรยากาศในการลงทุน ซึ่งความผันผวนดังกล่าวจะต่อเนื่องไปถึงปี 2566 แต่นักลงทุนต่างคาดการณ์ว่าภายใต้ความผันผวนที่จะลากยาวไปถึงปีหน้า ยังคงมีโอกาสทางการลงทุนที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย และเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ในช่วงเวลานี้ของปี บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและการลงทุนต่างออกมาคาดการณ์เศรษฐกิจและแนวโน้มการลงทุนของปีที่กำลังจะมาถึง “ประกิต สิริวัฒนเกตุ” หรือ อาจารย์ปิง นักลงทุนมืออาชีพและวิทยากรด้านการลงทุนของไทย เปิดเผยถึงความท้าทายและโอกาสของการลงทุนในปี 2566 ว่า “ความท้าทายของเศรษฐกิจและการลงทุนในปี 2566 คือสภาพคล่องทางเศรษฐกิจจะหายไปมากกว่า 2 ปีที่ผ่านมา แต่โอกาสในการลงทุนยังมีอยู่แต่ก็จะยากกว่าสองปีที่ผ่านอย่างแน่นอน” โดยประกิตกล่าวเพิ่มเติมว่า สภาพคล่องทางเศรษฐกิจในปี 2566 ที่จะลดลงนั้น สาเหตุมาจาก 2 ปัจจัยหลักคือ 1. ต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น ดอกเบี้ยมีการปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งนั่นส่งผลต่อกิจกรรมทางการเงินต่างๆ อย่างการกู้ยืม การขอสินเชื่อจะยากมากขึ้น 2. บรรดาธนาคารกลางของแต่ละประเทศจะดูดเงินกลับพร้อมกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จากที่เคยปล่อยออกมาเพื่อเสริมสภาพคล่องทางเศรษฐกิจในช่วง 2 ปีของการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่เพิ่งดึงเงินกลับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพียงเดือนพฤศจิกายนเดือนเดียวดึงเงินกลับไปถึง 1.1 แสนล้านดอลลาร์ และน่าจะเป็นอย่างนี้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ซึ่งคาดว่าปีหน้าทั้งปีธนาคารกลางสหรัฐฯ จะดึงเงินกลับไปราวๆ

Read More

ดิไอคอน กรุ๊ป ปั้นยอดขาย 4 พันล้านใน 4 ปี พอล วรัตน์พล วรัทย์วรกุล ผู้ปฏิวัติค้าออนไลน์

อย่างที่ทราบกันดีว่าตลาดอีคอมเมิร์ซมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เป็นอีกหนึ่งตัวกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น ข้อมูลจาก WebsiteBuilderExpert พบว่า ยอดการใช้จ่ายอีคอมเมิร์ซทั่วโลกในปี 2021 รวมกว่า 4.921 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยปี 2565 มีมูลค่า 900,900 ล้านบาท เติบโต 30% จากปี 2564 ที่มีมูลค่า 693,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 75% จากปี 2563 และหนึ่งในการเติบโตของตลาดนี้คือ บริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด (THE iCON Group) ที่เปิดบริษัทมาเพียงไม่กี่ปี แต่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด และเรียกตัวเองว่าเป็น “ผู้ปฏิวัติการขายออนไลน์” ด้วยการสร้างยอดขายมากกว่า 4 พันล้านภายใน 4 ปี แม้ว่า ดิไอคอน กรุ๊ป จะไม่เป็นที่รู้จักในคนหมู่มาก หากแต่จะเอ่ยถึงภาพนักแสดงหนุ่ม 5 คน

Read More