Home > Cover Story (Page 38)

สวนลุมไนท์บาซาร์ จุดเริ่มตลาดนัดยามค่ำคืน

สวนลุมไนท์บาซาร์ ถือเป็นตลาดนัดยามค่ำคืนแห่งแรกในกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บริเวณหัวมุมสี่แยกวิทยุ-ถนนพระราม 4 แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร และเป็นที่ตั้งของโรงเรียนเตรียมทหารเดิม มีบริษัท พี.คอน. ดีเวล็อปเมนท์ (ไทย) จำกัด เป็นผู้พัฒนาโครงการและเปิดเมื่อปี 2544 ภายในมีร้านค้า ส่วนใหญ่ขายสินค้าพวกของขวัญ เสื้อผ้า อัญมณี ผลไม้ ผ้าทอและศิลปกรรม เช่น ภาพวาด และประติมากรรม รวมทั้งมีลานเบียร์ขนาดใหญ่ มีบางกอกฮอลล์ หรือ บีอีซี-เทโร ฮอลล์ ตามชื่อเจ้าของในขณะนั้น เป็นศูนย์ประชุมขนาด 6,000 ที่นั่ง และโรงละครโจหลุยส์ของคณะนาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก คณะละครหุ่นกระบอกแบบไทยเดิม ซึ่งทำการแสดงละครเวทีเรื่องรามเกียรติ์ วรรณคดีแห่งชาติของประเทศไทย ต้นปี 2544 สวนลุมไนท์บาซาร์ปิดตัว เนื่องจากหมดสัญญาเช่ากับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยย้ายไปสร้างสวนลุมไนท์บาซาร์แห่งใหม่บริเวณสี่แยกรัชดา-ลาดพร้าว ส่วนโรงละครโจหลุยส์ได้ย้ายมาอยู่ที่ เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ จนถึงปัจจุบัน ปี 2547 สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ได้เปิดประมูลที่ดินบริเวณสวนลุมไนท์บาซาร์เดิม โดยเปิดให้บริษัทเอกชนเสนอแผนการพัฒนาโครงการ

Read More

JODD FAIRS เต็มคาราเบล จีแลนด์ขยายโซนจุกๆ 400 ร้าน

ปี 2566 ถือเป็นปีทองของเจ้าพ่อตลาดนัด Night Market “ไพโรจน์ ร้อยแก้ว” หนุ่มร่างใหญ่ที่ใช้เวลาทั้งชีวิตค้นหาสูตรธุรกิจจนประสบความสำเร็จ มีบริษัทยักษ์ใหญ่จับมือสร้างสมรภูมิที่ใหญ่กว่าเดิมอีกหลายเท่า ล่าสุด เพจเฟซบุ๊ก JODD FAIRS ประกาศเปิดจองล็อกโซนใหม่หลังศูนย์การค้าเซ็นทรัล พระราม 9 ติดกับพื้นที่เดิม จำนวนมากกว่า 400 ล็อก พร้อมดีเดย์เปิดให้บริการลูกค้าตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนยาวไปจนถึงสิ้นปี 2566 ขณะเดียวกัน แม้ทำเลตลาดจ๊อดแฟร์ พระราม 9 มีสัญญาเช่ากับบริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ “จีแลนด์” เจ้าของที่ดิน เพียง 2 ปีเศษๆ เริ่มตั้งแต่ปลายปี 2564 และจะจบในสิ้นเดือนธันวาคม 2566 เนื่องจากบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้ถือหุ้นใหญ่ จีแลนด์ มีแผนสร้างตึกสำนักงานเชื่อมกับศูนย์การค้า เซ็นทรัล

Read More

“กล้วยน้ำไท” งัดคอนวีเนียนคลินิก ผุดพรึบ เจาะบัตรทอง-ประกัน

โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท ยุค “ศรัณยู ชเนศร์” เจเนอเรชันที่ 2 เร่งขับเคลื่อนตามแผนยุทธศาสตร์ Health Care 4.0 หลัง พูลชัย ชเนศร์ ผู้เป็นพ่อส่งมอบอาณาจักรธุรกิจมากกว่าสิบบริษัท โดยเฉพาะเกมรุกขยายคลินิกโครงข่ายกระจายทั่วกรุงเทพฯ ภายใต้นิยาม Convenience Health Care Clinic เพื่อยึดฐานตลาดคนเมืองให้อยู่หมัด ล่าสุด โครงข่ายคลินิกกล้วยน้ำไทเปิดให้บริการแล้ว 29 สาขาในเขตกรุงเทพฯ ใช้ 3 แบรนด์หลัก คือ คลินิกเวชกรรมกล้วยน้ำไท เคคลินิกเวชกรรม และเคสหคลินิก โดยเน้น 3 กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ กลุ่มใช้สิทธิ์บัตรทอง สิทธิ์ประกันสังคม และสิทธิ์ประกันสุขภาพ จุดขายสำคัญ คือบริการครบวงจรเหมือนโรงพยาบาล ตั้งแต่การตรวจรักษาโรคทั่วไป ตรวจสุขภาพประจำปี หรือตรวจก่อนเข้าทำงาน ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ (Health Counseling Service) ให้คำปรึกษาด้านการใช้ยา ห้องทำหัตถการ (Treatment room)

Read More

สงครามไนต์มาร์เกต PF ดึง “จ๊อดแฟร์” ชน “เดอะสตรีท”

ไนต์มาร์เกตเส้นรัชดาภิเษกร้อนฉ่าขึ้นทันควัน เมื่อกลุ่ม “พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค” ระเบิดเกมมิกซ์ยูส มูลค่า 7,000 ล้านบาท บนพื้นที่ 13 ไร่ ติด MRT ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยจับมือกับมาเฟีย ออฟ ไอเดียส์ “ไพโรจน์ ร้อยแก้ว” ผู้สร้างสรรค์ตลาดนัดที่กำลังอินเทรนด์สุดๆ “จ๊อดแฟร์” เขย่าแนวรบที่มีทั้ง “เดอะ สตรีท” ของทีซีซีกรุ๊ป และเดอะ บาซาร์ รัชดาภิเษก ที่ย้ายมาจากสวนลุมไนท์บาซาร์ ขณะเดียวกัน งานนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เพราะ ศานิต อรรถญาณสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) หรือ PF ต้องการปลุกปั้นธุรกิจค้าปลีก เพื่อสร้างรายได้ก้อนใหญ่ ตั้งแต่เปิดบริษัท วีรีเทล จำกัด (มหาชน) เมื่อปี 2554 และประเดิมโครงการแรก

Read More

“ธงชัย บุศราพันธ์” การกลับมาอีกครั้งในบ้านหลังเดิม

“ธงชัย บุศราพันธ์” คือหนึ่งในกำลังสำคัญของ “กิตติ ธนากิจอำนวย” ในการปลุกปั้นบริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเมื่อ 32 ปีก่อน จนสามารถนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ในปี พ.ศ. 2540 และกลายเป็นแบรนด์อสังหาริมทรัพย์ที่มีเอกลักษณ์และน่าจับตามอง ถ้าย้อนกลับไปในปี 2534 “ธงชัย บุศราพันธ์” คือนิสิตจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เริ่มเข้ามาทำงานในโนเบิล บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้เป็นน้าอย่าง “กิตติ ธนากิจอำนวย” เป็นผู้ก่อตั้ง และเข้ามาทำอย่างเต็มตัวทันทีที่เรียนจบพร้อมกลุ่มเพื่อนที่ชักชวนกันมา คุณธงชัยถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการปลุกปั้นโนเบิล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ามาช่วยคิดและพัฒนาโครงการต่างๆ ของโนเบิลจนกลายเป็นแบรนด์อสังหาริมทรัพย์ที่แตกต่างและโดดเด่น นับตั้งแต่โครงการแรกอย่าง “โนเบิล พาร์ค” (Noble Park) คอนโดมิเนียมแนวราบที่เป็นโครงการสร้างชื่อให้กับโนเบิลและตัวของเขาเอง ในฐานะผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายแรกที่สร้างคอนโดมิเนียมแนวราบออกสู่ตลาดและได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี ปี 2540 คุณธงชัยสร้างการเติบโตให้กับโนเบิลไปอีกขั้น ด้วยการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้เป็นผลสำเร็จ แม้ว่าต้องเผชิญกับวิกฤตต้มยำกุ้งที่เกิดขึ้นไม่นานหลังจากนั้น จนทำให้บริษัทฯ เสียศูนย์ไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ในที่สุดเขาก็สามารถนำพาโนเบิลก้าวข้ามวิกฤตครั้งนั้นไปได้ด้วยวิธีคิดที่ต้องเรียกได้ว่านอกกรอบ เพราะเลือกที่จะไปลงทุนในหนี้สินด้อยค่าเพื่อสร้างโอกาสในการหาแหล่งเงิน หลังร่วมงานกับโนเบิลมายาวนานถึง 20 ปี คุณธงชัยกลับสร้างความแปลกใจให้กับสังคมด้วยการประกาศลาออกจากโนเบิล องค์กรที่เขาปลุกปั้นมากับมือ

Read More

32 ปี กับ “โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์” แบรนด์อสังหาฯ ที่เชื่อในความต่าง

“โนเบิล เดินทางมา 32 ปีแล้ว ผ่านช่วงวิกฤตครั้งแล้วครั้งเล่า จนกระทั่งครั้งล่าสุดคือวิกฤตโควิด-19 ประมาณ 3 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ไม่มีใครลืม และที่ผ่านมาโนเบิลสามารถผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ ไปได้ค่อนข้างดี ณ วันนี้เรามั่นใจแล้วว่าโนเบิลแข็งแรง และพร้อมเดินต่อไปข้างหน้า ภายใต้ดีเอ็นเอ Be different, Be noble อย่างที่เราทำมาตลอด” คำกล่าวของ “ธงชัย บุศราพันธ์” รองประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ Noble ที่กล่าวไว้ในงานแถลงทิศทางธุรกิจสำหรับปี 2566 ของโนเบิล แบรนด์อสังหาริมทรัพย์ที่เดินทางผ่านร้อนผ่านหนาวมาแล้ว 3 ทศวรรษ บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ Noble ก่อตั้งขึ้นในปี 2534 ด้วยกลุ่มนักธุรกิจไทย ภายใต้การนำของ “กิตติ ธนากิจอำนวย” โดยมีหลานชายอย่าง

Read More

จีนเปิดประเทศเอื้อธุรกิจอีเวนต์ไทย ในมุมมองของ ศุภแมน มรรคา

การเปิดประเทศของจีนเอื้อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยในหลายมิติ ทั้งในแง่การท่องเที่ยวที่เริ่มเห็นสัญญาณชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่อุตสาหกรรมอื่นๆ ของไทยก็ได้รับอานิสงส์ไม่ต่างกัน โดยเฉพาะภาคธุรกิจ การค้าการลงทุน ศูนย์วิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจจากสถาบันต่างๆ ล้วนประเมินและคาดการณ์เป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า การที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเปิดประเทศของจีน ช่วยสร้างรายได้ให้แก่ภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชน แม้ว่าภาคการส่งออกปีที่ผ่านมาจะชะลอตัวลงไปบ้าง ขณะที่ตัวเลขการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ประจำปี 2565 ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเปิดเผยออกมา น่าจะเป็นสิ่งสะท้อนแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยได้เป็นอย่างดี ข้อมูลระบุว่า มีผู้ประกอบการธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัทจัดตั้งใหม่ ทั่วประเทศ 76,488 ราย เพิ่มขึ้น 3,530 ราย หรือเพิ่มขึ้น 5 เปอร์เซ็นต์ อีกหนึ่งข้อมูลที่น่าสนใจ ที่จะเป็นการชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัดคือ มูลค่าทุนธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั้งสิ้น 429,828 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2 แสนล้านบาท หรือ 87.04 เปอร์เซ็นต์ โดยประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 7,061 ราย รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 4,833 ราย และธุรกิจภัตตาคาร

Read More

BonChon เรือธงของไมเนอร์เปิดเกมรุก MINT พร้อมกวาดแบรนด์ใหม่เข้าพอร์ต

เมื่อเอ่ยถึง “ไก่ทอดพันล้าน” ชื่อแบรนด์ “BonChon” คงอยู่ในอันดับแรกที่หลายคนจะนึกถึง นับตั้งแต่การเข้ามาเปิดกิจการในไทยเมื่อปี 2553 โดย บริษัท มาชิสโสะ จำกัด ก่อตั้งโดย ธัญญา ศรีพัฒนาสกุล และ พรพิมล วงศ์ศิริกุล และเปิดสาขาแรกบนพื้นที่ทองหล่อในปี 2554 ต่อมาในปี 2561 บริษัท มาชิสโสะ จำกัด เลิกกิจการ บริษัท ชิกเก้น ไทม์ จำกัด จึงเป็นเจ้าของ BonChon รายต่อมา กระทั่งปี 2562 บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT) ได้จัดตั้งบริษัท ไมเนอร์ ฟู้ด โฮลดิ้ง จำกัด และเข้าซื้อกิจการ BonChon ในสัดส่วน 100% มูลค่าลงทุนสูงถึง 2,000 ล้านบาท นับว่าเป็นการ “มองขาด”

Read More

มหากาพย์ “ศรีสวัสดิ์” ระเบิดสินเชื่อรถแลกเงิน

ธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตรา 2 ค่าย แต่ใช้ชื่อเดียวกันอย่าง “Superrich (ซุปเปอร์ริช)” แม้เป็นคู่แข่งที่ต่างฝ่ายไม่เคยยอมกัน แต่ไม่ได้เปิดศึกช่วงชิงแบรนด์ดุเดือดเหมือนมหากาพย์ “ศรีสวัสดิ์ เงินติดล้อ” ซึ่งใช้เวลาต่อสู้ยาวนานมากกว่าทศวรรษ และในกลุ่มสินเชื่อ “รถแลกเงิน” ต้องถือว่า “ศรีสวัสดิ์” เป็นผู้บุกเบิกปลุกตลาดใหม่ให้สถาบันการเงินแห่เข้ามาเจาะช่องว่างสร้างรายได้จำนวนมหาศาล จุดเริ่มต้นของ “ศรีสวัสดิ์” เกิดจากแนวคิดของเสี่ยเจ้าของธุรกิจอู่ซ่อมรถในจังหวัดเพชรบูรณ์ ฉัตรชัย แก้วบุตตา ซึ่งมีเครือข่ายลูกค้าที่นำรถยนต์มาใช้บริการในอู่อยู่เป็นประจำ และส่วนใหญ่มักเจอปัญหาการติดต่อขอกู้เงินจากธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเอกสารรายได้ทางการเงิน การตรวจสอบเครดิต รวมถึงการเดินทางไปยังสาขาต่างๆ ของธนาคาร ปี 2522 ฉัตรชัยตัดสินใจเปิดธุรกิจปล่อยเงินกู้ด้วยวิธีจำนำทะเบียนรถเป็นหลักประกัน โดยใช้ชื่อมารดา “ศรีสวัสดิ์ แก้วบุตตา” ตั้งชื่อกิจการว่า “บริษัท ศรีสวัสดิ์ เพชรบูรณ์” เริ่มต้นธุรกิจให้บริการสินเชื่อในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ใช้วิธีเดินสายไปยังพื้นที่ชุมชนต่างๆ จนเป็นที่รู้จักและถือเป็นเจ้าตลาดในจังหวัด ดำเนินธุรกิจเกือบ 20 ปี บริษัท ศรีสวัสดิ์ เพชรบูรณ์ ขยายสาขาไปยังจังหวัดต่างๆ มากกว่า 130 สาขาทั่วประเทศ และถือเป็น “เบอร์ 1”

Read More

สิตามนินท์ สุสมาวัตนะกุล ลุยงานใหญ่ ปลุกแบรนด์ OH! Rich

สิตามนินท์ สุสมาวัตนะกุล หรือคุณแพม เข้ามาบริหารงานบริษัท ซุปเปอร์ริช (ไทยแลนด์) จำกัด ในฐานะเจน 2 นานกว่า 8 ปี งัดกลยุทธ์ พร้อมๆ กับการปรับโครงสร้างผสมผสานแนวคิดระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่จนเป็นที่ยอมรับ และล่าสุดประกาศเปิดตัวบริษัท เอส อาร์ ที ฟอเร๊กซ์ (SRT Forex) ตั้งเป้าปลุกปั้นแบรนด์ OH! Rich แจ้งเกิดในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราที่มีมูลค่าหลายแสนล้าน ด้านหนึ่งเป็นการสร้าง DNA ใหม่ รองรับการขยายฐานตลาด อีกด้านหนึ่งเปิดเกมสร้างความแตกต่างของแบรนด์ซุปเปอร์ริชที่ยังซ้ำซ้อนกัน เพียงแต่ใช้สีต่างกัน ซุปเปอร์ริชของตระกูล “สุสมาวัตนะกุล” ใช้สีเขียว ขณะที่อีกค่าย “ซุปเปอร์ริช 1965” ใช้สีส้ม จะว่าไปแล้ว ซุปเปอร์ริชในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศล้วนมีต้นกำเนิดจากครอบครัวเดียวกัน โดย วิบูลย์ ตันติเวชยานนท์ เริ่มทำธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินเมื่อปี 2508 ใช้ชื่อว่าร้านจิตรพาณิชย์ แต่กิจการช่วงแรกประสบปัญหาและถูกโจรปล้นซ้ำอีก วิบูลย์และภรรยาจึงตัดสินใจเปลี่ยนชื่อเป็น Superrich และใช้สีส้มเป็นสีหลักของกิจการ เพราะเป็นสีมงคล แถมส้มถือเป็นผลไม้มงคล เพื่อเอาฤกษ์เอาชัย

Read More