Home > Cover Story (Page 189)

Towards Mega Portal Digital Contents

 การเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นที่ “ผู้จัดการ” ดูเหมือน ว่าได้กลายเป็น talk of the town ที่ดำเนินผ่านการคาดการณ์ และขยายผลไปอย่างรวดเร็ว ประกอบส่วนด้วยข้อเท็จจริงมาก บ้างน้อยบ้างไปในทิศทางต่างๆ ตามแต่ความสามารถในการรับรู้และเป้าประสงค์ของผู้สื่อสารหากแต่สำหรับในทัศนะของผู้นำองค์กรที่ชื่อ “จิตตนาถ ลิ้มทองกุล” การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ย่อมไม่ใช่เหตุบังเอิญหรือดำเนินไปอย่างสุ่มเสี่ยงปราศจากทิศทาง เพราะบริบทใหม่ที่ “ผู้จัดการ” กำลังมุ่งมั่นให้ก้าวหน้าไปนี้เป็นผลลัพธ์ของตรรกวิธีและแนวความคิดที่ผ่านกระบวนการสังเคราะห์และรวบรวมข้อมูลมาแล้วอย่างรอบด้าน“สำหรับ ‘ผู้จัดการ’ ทุกๆ จังหวะก้าวดำเนินไปภายใต้ แนวความคิดที่ชัดเจน ควบคู่ไปพร้อมกับการประเมินจุดเด่นจุดด้อยเพื่อหาทางเลือกที่ดีและเหมาะสมที่สุด แต่ที่สำคัญมากก็คือการบริหารความเสี่ยงที่ต้องชัดเจนว่าทางเลือกของ ‘ผู้จัดการ’ มีความเสี่ยงเป็นศูนย์” จิตตนาถ ลิ้มทองกุล อธิบาย ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นด้วยท่วงทำนองที่แจ่มชัดในเป้าหมายจังหวะก้าวของ “ผู้จัดการ” เกิดขึ้นภายใต้ยุทธศาสตร์ที่มุ่งแสวงหาโอกาสจากพัฒนาการของเทคโนโลยีและวิถีชีวิตของผู้คนในการรับรู้และบริโภคข่าวสารที่นอกจากจะต้องการ ความฉับไวในการนำเสนอแล้ว ยังต้องมีความหลากหลายของ เนื้อหาที่พร้อมจะเติมเต็มความใคร่รู้ ทั้งในมิติที่เป็นไปเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในเชิงธุรกิจ หรือแม้กระทั่งในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมสันทนาการก็ตามข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากประการหนึ่งก็คือ ภายใต้การเติบโตและพัฒนาขึ้นของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้ส่งให้จำนวนผู้อ่านข่าวสารผ่านช่องทางของเว็บไซต์หรือแม้กระทั่งอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องและหลากหลายมีเพิ่มมากขึ้น จนกล่าวได้ว่าล้ำหน้าแซงจำนวนยอดพิมพ์ของสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีอยู่ในปัจจุบันไปนานแล้วการปรับเปลี่ยนในเชิงพฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นประเด็นที่ “ผู้จัดการ” ให้ความสนใจติดตามและศึกษาผ่านกระบวนการที่เป็นวิทยาศาสตร์และมีฐานข้อมูลในเชิงสถิติชี้วัดอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของเว็บไซต์ www.manager.co.th ที่มีผู้เข้าชมในแต่ละวันเฉลี่ยมากถึงกว่า 2 ล้านคน ซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ที่สะท้อนพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างชัดเจนและย่อมส่งแรงกระเพื่อมเป็นผลกระทบมหาศาลต่อวงการสื่ออย่างไม่อาจเลี่ยงปรากฏการณ์ของพัฒนาการด้านเทคโนโลยีในปัจจุบัน อาจเย้ายวนให้ผู้ประกอบการสื่อจำนวนมากประสงค์ที่จะกระโจนเข้ามาร่วมแบ่งสรรและขอมีส่วนแบ่งจากโอกาสใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากพัฒนาการเหล่านี้หากแต่ในความเป็นจริง “โอกาส” ที่วางอยู่เบื้องหน้าอาจแปลงสภาพกลายเป็นเพียง “หลุมพราง” เพราะ “ความเข้าใจและความพร้อม” ต่างหากที่จะเป็นปัจจัยสู่ความสำเร็จในโลกของข้อมูลข่าวสารที่ไร้พรมแดนนี้“พัฒนาการของเทคโนโลยีที่ปรากฏตัวอยู่เบื้องหน้าเราในขณะนี้ เป็นสิ่งที่ ‘ผู้จัดการ’ ให้ความสำคัญและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับสิ่งเหล่านี้มาโดยตลอด ควบคู่กับการให้ความสำคัญกับการพัฒนาปรับปรุงเนื้อหาสาระ (contents) ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของทั้งผู้อ่านและพันธมิตรธุรกิจ”ประเด็นที่สำคัญมากประการหนึ่งที่หนุนนำให้ “ผู้จัดการ” ประกาศหมุดหมายครั้งใหม่ว่าด้วยการตั้งเข็มมุ่งสู่การเป็น Mega Portal Digital Contents อยู่ที่ความเชื่อและตระหนักอยู่เสมอว่า จุดแตกต่างระหว่าง “ผู้จัดการ” กับสื่อสารมวลชนของไทยรายอื่นๆ นอกเหนือจากความหลากหลายก็คือ ความเข้มข้นและน่าเชื่อถือของเนื้อหาสาระ (contents) ที่ “ผู้จัดการ” นำเสนอรากฐานของแนวความคิดว่าด้วย contents นี้เองที่เป็นประหนึ่ง “ปัจจัยพื้นฐานของโอกาส” ที่ทำให้ “ผู้จัดการ” สามารถเติมเต็มและเติบโตไปพร้อมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้อย่างลงตัว เพราะภายใต้การบริหารธุรกิจในเครือ “ผู้จัดการ” ซึ่งประกอบส่วนด้วยสื่อหลากหลายช่องทางทั้งสิ่งพิมพ์ ออนไลน์ ทีวี วิทยุ รวมถึง application ทำให้ “ผู้จัดการ” สามารถบูรณาการเนื้อหาผ่านสื่อได้ อย่างมีประสิทธิภาพศักยภาพที่เกิดขึ้นจากความแข็งแกร่งของการเป็นเว็บไซต์ข่าวอันดับหนึ่งที่มีคนอ่านมากที่สุดในเมืองไทยรวมถึงโครงข่ายของสื่อที่ครบถ้วนถือเป็นจุดแข็งของ “ผู้จัดการ” ในการต่อยอดธุรกิจภายใต้บริบทใหม่นี้ เพราะเมื่อผนวกเข้ากับ contents ที่มีคุณค่าของพันธมิตรทางธุรกิจ

Read More

บริษัท ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด

เป็นผู้ผลิตและส่งออกปลาทูน่าบรรจุกระป๋องและอาหารแมวบรรจุกระป๋อง โดยใช้วัตถุดิบในประเทศ คือปลาโอดำ (Tonggol) และปลาโอลาย (Bonito) ผลิตประมาณ 6 ตันต่อวัน หรือ 3 ล้านกระป๋อง อย่างไรก็ดี บริษัทมีบทบาทในการผลิต 2 ส่วน คือรับจ้างผลิต (โออีเอ็ม) และผลิตให้กับสินค้าในเครือ แบรนด์ Chicken of the sea ในสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนการผลิตอย่างละครึ่ง 50:50 ผลิตภัณฑ์ 98% จะส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศเป็นหลัก ส่งออกไปทุกทวีปทั่วโลก สหรัฐอเมริกา แคนาดา ยุโรป ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง อเมริกาใต้ และตลาดเอเชีย ส่วนในประเทศขายเพียง 2% ได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋องตราซีเล็คในน้ำมัน น้ำเกลือ และปลาทูน่าพร้อมปรุงตามสูตรอาหารไทย เช่น แกงเขียวหวานทูน่า ทูน่าผัดพริก

Read More

แรงงาน ความเสี่ยงอนาคต

บริษัท ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด บริษัทในเครือของ บมจ.ทียูเอฟมีแรงงานพม่า เขมร จำนวน 30 เปอร์เซ็นต์ จากพนักงานทั้งหมด ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในอนาคต อาจกลายเป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ บริษัท ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด (TUM) ก่อตั้งเมื่อปี 2520 ในจังหวัดสมุทรสาคร ผู้ผลิตและส่งออกปลาทูน่าบรรจุกระป๋องและอาหารแมวบรรจุกระป๋อง เป็นบริษัทในเครือของ บมจ.ทียูเอฟ ทำหน้าที่ส่งออกสินค้า 98 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 2 เปอร์เซ็นต์จำหน่ายในประเทศ จากจุดเริ่มต้นของการผลิตบริษัทมีพนักงานเพียง 120 คน แต่ปัจจุบันบริษัทมีพนักงานทั้งหมด 8,000 คน ซึ่งเติบโตไปตามการขยายธุรกิจของกลุ่มทียูเอฟที่มีรายได้และกำไรเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะรายได้เติบโตปีละ 40 เปอร์เซ็นต์ หากมองในมุมการเจริญเติบโตของธุรกิจจะเห็นว่าค่อนข้าง ดี แต่มิได้หมายความว่าจะไม่มีความเสี่ยงในการทำธุรกิจ เพราะสิ่งที่กลุ่มทียูเอฟกำลังเผชิญหน้าอยู่ขณะนี้คือค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และแรงงานต่างชาติ ค่าแรงขั้นต่ำกำลังส่งผลกระทบให้ต้นทุนการบริหารงานขยับตัวสูงขึ้น ในขณะที่แรงงานต่างชาติที่ทำงานอยู่ในโรงงานส่วนใหญ่จะมาจากประเทศพม่าและกัมพูชา อย่างเช่นบริษัท ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม

Read More

ไกรสร จันศิริ วัย 77 ปี ยังสนุกกับการทำงาน

แม้ว่าวัยของไกรสร จันศิริ จะ 77 ปีแล้วก็ตาม แต่เขาก็ยังสนุกกับการทำงานร่วมกับธีรพงศ์ ผู้บริหารรุ่น 2 ทำให้ทุกวันนี้ เขายังทำงานอยู่ ไกรสร จันศิริ ประธานกรรมการ บมจ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ หรือทียูเอฟ แม้วัยจะล่วงเลย 77 ปี แต่ความจำและสุขภาพของเขายังแข็งแรง ทำให้เขายังร่วมทำงานกับธีรพงศ์ จันศิริ วัย 47 ปี ทายาทคนโต และมีความสุขกับการได้เห็นความ สำเร็จขององค์กรที่สามารถไปยืนอยู่ในตลาดโลกได้อย่างภาคภูมิ จนทำให้เขาได้รับรางวัลบุคคลแห่งปี 2554 จากมูลนิธิสัมมาชีพ ชีวิตของไกรสรผู้ก่อตั้งทียูเอฟผ่านความยากลำบาก มีทั้งหยาดเหงื่อและน้ำตา เริ่มจากเป็นเด็กชงน้ำชา หุงข้าว ส่งหนังสือ พิมพ์ และพนักงานขายผ้าในสำเพ็ง แต่ด้วยความขยันขันแข็งทำให้เขาสามารถสร้างเนื้อสร้างตัวเริ่มมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ก่อตั้งบริษัท มีโรงงานรับจ้างผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง ธุรกิจเริ่มต้นจากพนักงาน 150 คน ปัจจุบันมี 30,000 คน รายได้จาก 1

Read More

วิถีโกลบอลแบรนด์

บมจ.ทียูเอฟต้องใช้เวลากว่า 20 ปี เพื่อสร้างแบรนด์ของตัวเอง หลังจากอยู่เบื้องหลังรับจ้างผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง ไม่เพียงเท่านั้นยังมีเป้าหมายปั้นแบรนด์องค์กร TUF ให้ติดตลาดโลก ความใฝ่ฝันของ บมจ.ทียูเอฟที่จะมีแบรนด์เป็นของตนเอง ของไกรสร จันศิริ ประธานกรรมการ มีมานานเท่ากับช่วงเวลา ทำงานของเขา แม้ว่าปีนี้จะมีอายุ 77 ปีแล้วก็ตาม อาหารทะเลแช่แข็งกว่า 90 เปอร์เซ็นต์เป็นสินค้าส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ โดยบริษัทรับจ้างผลิต (โออีเอ็ม) ให้กับผู้ประกอบการต่างๆ เป็นสิ่งที่ไกรสรคาใจมานาน และพยายาม แสวงหาหนทางเพื่อสร้างแบรนด์ของตัวเองในตลาดโลก แม้ว่า บมจ.ทียูเอฟจะมีแบรนด์จำหน่ายสินค้าในประเทศบ้างแล้วก็ตาม เช่น ฟิชโช่ (fisho) ซีเล็ค (sealect) และอาหารสัตว์ เช่น อาหารกุ้งยี่ห้อนานามิ หรือดี-โกรว์ (d-grow) หรือ Aquafeed แต่ก็จำหน่ายอยู่ในประเทศ ในขณะที่ตลาดโลกต้องมีแบรนด์ใหม่ที่ต่างออกไป ทว่าหากจะเริ่มสร้างแบรนด์ใหม่โดยไม่มีใครรู้จักอาจเป็นหนทางที่ต้องใช้เวลาไม่น้อย ดังนั้นการเข้าซื้อกิจการบริษัทในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จอยู่ในตลาด ย่อมเป็นทางลัด จึงทำให้ทียูเอฟซื้อกิจการบริษัท Van Camp Sea-foods

Read More

TUF กระหายเติบโต

บมจ.ทียูเอฟ เป็นองค์กรเริ่มต้นจากธุรกิจเอสเอ็มอีเล็กๆ ขยายไปเป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่สามารถไปยึดพื้นที่ในตลาดโลกได้สำเร็จ จนทำให้บริษัทหาญกล้าวางเป้าหมายว่าในอีก 8 ปีข้างหน้า จะต้องมีรายได้ทะลุกว่า 2 แสนล้านบาท กว่า 35 ปี บมจ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ (TUF) โลดแล่นอยู่ในธุรกิจผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารทะเลที่มีรายได้หลักกว่า 90 เปอร์เซ็นต์มาจากต่างประเทศ ทำให้วันนี้บริษัทอยู่ในระดับ TOP 5 ที่มีส่วนแบ่งการตลาด 20-25 เปอร์เซ็นต์ และเป็นผู้ผลิตปลาทูน่ารายใหญ่ที่สุดในโลก การขึ้นไปอยู่ใน TOP 5 ตลาดโลกอาจเกินความคาดหมาย หากย้อนเวลาไปสู่รุ่นก่อตั้ง ไกรสร จันศิริ วัย 77 ปี ประธานกรรมการ บมจ.ทียูเอฟ เพราะธุรกิจในช่วงเริ่มต้นเริ่มจากธุรกิจเล็กๆ เป็นผู้ผลิตกุ้งสดแช่แข็งส่งออกไปฮ่องกงและมีลูกค้าต่างประเทศ รายหนึ่งกล่าวว่า “จากนี้ไปธุรกิจอาหารจะมีความสำคัญ” หลังจากนั้นธุรกิจของบริษัทเริ่มขยายรับจ้างผลิตอาหารทะเลแช่แข็งทุกชนิด กุ้ง ปลา หอย ปลาหมึก ในขณะนั้นมีโรงงานผลิตอยู่ 2 แห่ง

Read More

พลิกวิถี หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน

ว่ากันว่า คน “แปดริ้ว” หรือชาวจังหวัดฉะเชิงเทรานั้นเป็นนักประดิษฐ์ เพราะไม่ว่าจะเป็น “ควายเหล็ก” หรือเครื่องยนต์ “เรือหางยาว” ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชาวไทยในอดีต ล้วนมีจุดกำเนิดมาจากที่นี่ กลุ่มเกษตรพัฒนา ผู้คิดค้นนวัตกรรม “รถเกี่ยวนวดข้าว” ก็มีจุดเริ่มต้นอยู่ที่แปดริ้วเช่นกัน รถเกี่ยวนวดข้าวได้เข้ามาพลิกวิถีชาวนาไทย จากวลีดั้งเดิมที่ว่าต้อง “หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน” เวลาลงแขกช่วยกันเกี่ยวข้าว มาสู่ธุรกิจรับจ้างเกี่ยวข้าวโดยเครื่อง จักร ชาวนาสามารถลดกระบวนการทำนาให้ใช้ระยะเวลาสั้นลง ในทางตรงกันข้าม สามารถเพิ่มผลผลิตได้ในปริมาณมากขึ้น “20 ปีที่ผ่านมา ถ้าประเทศไทยไม่ได้รถเกี่ยวข้าวจะไม่สามารถยืนเป็นอันดับ 1 ของผู้ส่งออกข้าวของโลกได้ เพราะเราไม่มีแรงงาน ไม่มีปัญญาที่จะทำให้ออกมาอย่างนี้ได้ เพราะรถเกี่ยวข้าวนี่แหละเป็นตัวหลักที่ทำให้ประเทศไทยสามารถยืนเป็น ผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ได้ ขณะที่พม่าหรือเวียดนาม ก่อนหน้านี้ที่เขาไม่มีเครื่องมือยัง ใช้แรงคนอยู่ เขาจึงไม่สามารถเพิ่มผลผลิต ได้” สมชัย หยกอุบล กรรมการผู้จัดการ บริษัทเครื่องจักรกลเกษตรไทย ในกลุ่มเกษตรพัฒนา ให้ภาพกับ ผู้จัดการ 360 ํ จุดกำเนิดของกลุ่มเกษตรพัฒนา

Read More

เราเคยทำอะไรบ้างเพื่อรักษาแชมป์

สมชัย หยกอุบล กรรมการผู้จัดการ บริษัทเครื่องจักรกลเกษตรไทย ในเครือเกษตรอุตสาหกรรม ถ้าเราจะรักษาแชมป์ด้านการส่งออกข้าวนี่ ลำบากแน่นอน ต้องถามย้อนกลับว่า ที่ผ่านมา เราได้ทำอะไรเกี่ยวกับการรักษาแชมป์บ้าง การที่เราจะรักษาแชมป์ด้านการส่งออกนี่ เราก็ต้องดูแลเรื่องกระบวนการเพาะปลูกข้าวทั้งระบบ เรียกว่า... เราเคยไปดูไหมว่าชาวบ้านเขาปลูกข้าวกันอย่างไร เราเคยไปดูเรื่องกระบวนการจัดการเรื่องน้ำไหม เราเคยไปดูเรื่องเกี่ยวกับโรคพืชไหม เราเคยดูเรื่องของผลผลิตต่อไร่ไหม เคยมีใครเป็นเจ้าภาพในเรื่องต่างๆ เหล่านี้บ้าง แม้แต่คนที่ทำพันธุ์ข้าว ทุกวันนี้ข้าวพันธุ์ถังละ 25 บาท เกวียนละ 2.5 หมื่นบาท ทำข้าวพันธุ์ตอนนี้ลำบาก ต้นทุนสูง ทำเรียบร้อยแล้วเงินไม่มี ต้องถือไว้ 45 วัน ถึงจะไปปลูกต่อได้ พอเงินไม่มี ก็ต้องยอมขาย ไร่ละ 8 พัน ยังไม่หักต้นทุนวัตถุดิบ เราจะเป็นแชมป์ เราเคยศึกษากระบวนการที่เราจะดูแลทั้งกระบวนการนี้อย่างไร แล้วเรามาบอกเราจะเป็นแชมป์ ที่ผ่านมาเราเป็นแชมป์ได้เพราะอะไร เพราะโชคช่วย แล้วเราก็ไม่เคยคิดจะรักษาแชมป์ นักมวยยังต้องฟิตซ้อม ต้องมีตารางฝึก ต้องอดอาหาร ต้องฝึก ต้องวิ่งวันละกี่กิโล

Read More

ทัศนะของคนค้าขายกับพม่า

“ในเรื่องการเกษตร หลายปีมานี้ผมนั่งถามตัวเอง แล้วก็ถามเพื่อนๆ ว่า พม่าเขาพัฒนาไปอย่างนี้ แม้ว่ายังต้องใช้เวลาแต่เขาก็พัฒนาไปเรื่อยๆ มีผลกับเรา เพราะว่าในตลาดข้าว มีซัปพลายเออร์อยู่แค่นี้ เราเป็นผู้หนึ่งที่ขายข้าวเข้ามาในตลาด แล้วตลาดก็อยู่แค่นี้ ค่อยๆ โต ไม่ได้โตมากหรอก วันนี้ในโลกนี้มีคนประมาณ 6 พันกว่าล้าน เกือบ 7 พันล้านคนที่ต้องกินข้าว ตอนนี้กลายเป็นว่าแต่ละประเทศที่เคยปลูกได้น้อยก็ปลูกได้มากขึ้น พอปลูกได้มากแล้วก็ขายเข้ามา ผมถามว่าเราจะเป็นที่ 1 ต่อไปนานที่สุดได้อย่างไร ในเมื่อไม่ได้มีเราเล่นอยู่เพียงคนเดียว คนอื่นเขาเข้ามาเล่นด้วย ในอุตสาหกรรมข้าวนี่นะ ในส่วนของโรงสีข้าวโดยหลักๆ แล้ว เราใช้เครื่องจักรของญี่ปุ่น ใช้ของซาตาเก้ แต่ตอนนี้หลายอย่างของเวียดนามดีกว่า หลายอย่างจีนดีกว่า เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีเปลี่ยนเร็ว พัฒนาเร็ว วันนี้พอคุณคุยกันเสร็จ เขาก็บินไปถึงต้นทางแล้ว ฉันใดฉันนั้น พม่าก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้นในกรณีของเกษตรพัฒนา การส่งรถเกี่ยวนวดข้าวเข้าไปขายให้พม่าเท่ากับเป็นการช่วยคู่แข่งไหม ผมว่าไม่ เพราะถ้าเขาไม่ขาย คนอื่นก็ขาย ข้อเท็จจริงเป็นอย่างนั้น วันนี้ต้องยอมรับว่าจีนเขามาแรงกว่าเรา ผมเลยดูว่า เมื่อทุกประเทศเขายกระดับพัฒนาขึ้นมาเรื่อย แต่ของเรานี่

Read More

เมื่อแชมป์เก่า มุ่งมั่นขอทวงตำแหน่งคืน

พม่ากำลังดำเนินการอย่างเข้มข้นในการยกระดับ “อุตสาหกรรมข้าว” ของตนเอง โดยมีเป้าหมายในการกลับคืนสู่ตำแหน่งประเทศผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลก และดูเหมือนปัจจัยหลายด้านก็กำลังเอื้อต่อย่างกาวของพม่าในเรื่องนี้ จอว์ จอว์ ทุนกำลังขะมักเขม้นศึกษาโครงสร้างรถเกี่ยวนวดข้าวล็อตใหม่ที่ญาติของเขา ดร.จอว์ จอว์ อ่อง (Kyaw Kyaw Aung) เพิ่งสั่งนำเข้ามาจากประเทศไทย เขาต้องเร่งทำความเข้าใจกลไกการทำงานของรถคันนี้ทั้งหมด เพื่อจะควบคุมและสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้หากมีปัญหาเกิดขึ้นกับเจ้ารถคันนี้ จอว์ จอว์ ทุนจำเป็นต้องรู้จักรถเกี่ยวนวดข้าวคันนี้อย่างดี ก่อนถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวรอบใหม่ที่จะถึงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เมื่อตอนต้นปีระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ถึง 21 เมษายน ที่ผ่านมา จอว์ จอว์ ทุนพร้อมกับทีมงานอีก 3 คน ประกอบด้วย จอว์ ซัวร์ วิน หรือจอซัว มินทเว หรือโกเป๊าะ และโซ ลวย อู หรือโซ ลวย ได้เดินทางมาฝึกงานที่โรงงานของบริษัทเกษตรพัฒนาอุตสาหกรรมในเครือเกษตรพัฒนาที่จังหวัดพิษณุโลก เกษตรพัฒนาคือกลุ่มบริษัทผู้ผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร และเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายรถเกี่ยวนวดข้าวรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย

Read More