Home > Cover Story (Page 13)

เปิดเส้นทาง “ณุศาศิริ” ปรับโหมดธุรกิจ จากอสังหาฯ ก้าวสู่โลก Wellness เต็มรูปแบบ

“ณุศาศิริ” ถือเป็นอีกหนึ่งบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่โลดแล่นอยู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของเมืองไทยมานาน แม้ในช่วงปีที่ผ่านมาต้องเผชิญกับความขัดแย้งภายในตามข่าวคราวที่ปรากฏให้เห็นในหน้าสื่ออยู่บ่อยครั้ง แต่ถึงกระนั้นณุศาศิริก็ไม่หยุดนิ่ง เดินหน้าลุยธุรกิจต่อเนื่อง ล่าสุดประกาศปรับโหมดธุรกิจจากอสังหาริมทรัพย์ ก้าวสู่โลก Wellness อย่างเต็มรูปแบบ ถ้าย้อนเส้นทางของบริษัท ณุศาศิริ จำกัด (มหาชน) นั้นจะพบว่า ชื่อเดิมของณุศาศิริ คือ บริษัท อั่งเปา แอสเสท จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยเกรียงกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2503 เพื่อดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสิ่งทอ โดยเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2535 บริษัทฯ ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนในปี 2537 แต่จากการเปิดการค้าเสรีและการยกเลิกระบบจัดสรรโควตาสิ่งทอในต้นปี 2548 ทำให้การแข่งขันในตลาดทั้งในและต่างประเทศเป็นไปอย่างดุเดือด ส่งผลให้ราคาขายของสินค้าสิ่งทอลดลง และทำให้บริษัทฯ ต้องประสบกับสภาวะขาดทุนและขาดสภาพคล่องทางการเงิน กระทั่งในปี 2549 บริษัทฯ จึงยุติการประกอบธุรกิจด้านสิ่งทอ ก่อนที่ภายหลังบริษัทฯ จะเข้าสู่ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

Read More

4 ทศวรรษ ชุมชนเภสัชกรรม บนความมุ่งมั่นของ สุรชัย เรืองสุขศิลป์

ยาเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มีความสำคัญต่อชีวิต และทุกชีวิตยากที่จะหลีกเลี่ยงการใช้ยา นั่นทำให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ขาด “ยา” ไม่ได้ นี่อาจเป็นเหตุผลสำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมยา โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยาที่มีมูลค่าสูงหลายแสนล้านบาท ด้วยขนาดของตลาดยาในไทยทำให้ผู้เล่นส่วนใหญ่เป็นบริษัทต่างชาติ มีบริษัทผู้ผลิตยาไทยเพียงไม่กี่ราย และหนึ่งในนั้นคือ บริษัท ชุมชนเภสัชกรรม จำกัด ที่อยู่ในธุรกิจยามานานกว่า 4 ทศวรรษ “กว่า 4 ทศวรรษ ที่บริษัท ชุมชนเภสัชกรรม จำกัด ดำเนินกิจการภายใต้ปณิธานและความตั้งใจอันแรงกล้าที่จะผลิตยาที่ดี มีคุณภาพ เพื่อให้คนไทยมีโอกาสได้ใช้ยาคุณภาพในราคาที่เหมาะสมยุติธรรม ลดการสูญเสียดุลการค้าจากการนำเข้ายาจากต่างประเทศ ในขณะเดียวกันก็เป็นการพัฒนาทักษะความสามารถของเภสัชกรไทยให้มีศักยภาพมากขึ้นทั้งคุณภาพ และการบริการที่เหนือกว่า ด้วยราคายุติธรรม” ภก. สุรชัย เรืองสุขศิลป์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชุมชนเภสัชกรรม จำกัด (มหาชน) กล่าว นอกจากปณิธานที่เป็นสิ่งขับเคลื่อนสำคัญของชุมชนเภสัชกรรมแล้ว การวางเป้าหมายด้านรายได้เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ ภก. สุรชัย ตั้งเป้าไว้สูงถึง 1,000 ล้านบาท “เราตั้งเป้ารายได้ไว้ที่ 1,000 ล้านบาท ภายในปี 2668 โดยมีอัตราการเติบโตปีละ 15 เปอร์เซ็นต์

Read More

อุตสาหกรรม PPE เติบโตสูง โอกาสของไทยเป็นผู้นำในภูมิภาค

ภาคอุตสาหกรรมในไทยในช่วงเวลาต่อจากนี้มีแนวโน้มขยายตัวขึ้น อาจเกิดจากปัจจัยบวกของนโยบายรัฐบาลที่จะสนับสนุนการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมภายในประเทศ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และการส่งเสริมการลงทุนของธุรกิจอย่างยั่งยืนภายใต้แนวคิด BCG และอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตคือ อุตสาหกรรม PPE หรือ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ที่นายกสมาคมวิศวกรรมความปลอดภัย ดร. วิฑูรย์ สิมะโชคดี บอกว่า “ตลาด PPE ไทยกำลังมีอนาคต” “อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล หรือ PPE (Personal Protective Equipment) เป็นอุปกรณ์สำหรับสวมใส่เพื่อป้องกันการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจากสถานที่ทำงาน ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายและสุขอนามัย (Safety & Health) ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 8 ชนิด คือ อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ อุปกรณ์ป้องกันหู แว่นนิรภัย ถุงมือนิรภัย รองเท้านิรภัย เข็มขัดนิรภัย หน้ากากกรองฝุ่นละออง เสื้อสะท้อนแสง ปัจจุบันเป็นตลาดที่น่าจับตามาก โดยในปี 2566 ที่ผ่านมามีมูลค่าสูงถึง 83.91 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และปีนี้มูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 87.69 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ยังมีการคาดการณ์ว่าตลาดจะขยายตัวเพิ่มสูงถึง

Read More

1 ปี ดันดิจิทัลวอลเล็ต 50 ล้านคน 5 แสนล้าน

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2566 ไม่ใช่แค่ความตื่นเต้นเมื่อพรรคเพื่อไทยเปิดเวที  ‘คิดใหญ่ ทำเป็น เพื่อไทยทุกคน ตอน ONE TEAM FOR ALL THAIS : หนึ่งทีม เพื่อไทยทุกคน’ เผยโฉม 3 แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ได้แก่ นายเศรษฐา ทวีสิน นางสาวแพทองธาร ชินวัตร และ นายชัยเกษม นิติสิริ แต่ไฮไลต์ที่สร้างแรงสั่นสะเทือนในสมรภูมิเลือกตั้งปี 2566 คือ การประกาศนโยบายเร้าใจชาวบ้าน แผนเติมเงินในกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท ให้คนไทยใช้ซื้อของในชีวิตประจำวันจากร้านค้าในชุมชน เพื่อหมุนเวียนเม็ดเงินตั้งแต่ระดับครัวเรือนไปจนถึงระดับประเทศ ขณะที่รัฐบาลจะได้รายได้กลับคืนมาในรูปแบบของภาษี เวลานั้นพรรคเพื่อไทยตั้งเป้าหมายให้คนไทยทุกคนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป มีกระเป๋าเงินดิจิทัล (Digital  Wallet) ซึ่งมีอายุการใช้งาน 6 เดือน เพื่อจับจ่ายใช้สอยสินค้าจำเป็นในการดำรงชีวิต ยกเว้นสินค้าอบายมุขและไม่สามารถซื้อของบนแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ แต่ใช้จ่ายได้เฉพาะกับร้านค้าชุมชนและบริการในรัศมี 4

Read More

ลุ้นผลลัพธ์ดิจิทัลวอลเล็ต เอกชนเร่ง “ยิ่งเร็ว ยิ่งดี”

10 เมษายน 2567 หลายฝ่ายคาดหวังทันทีที่เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต (Digital Wallet) บอร์ดชุดใหญ่ ประกาศสิ้นสุดการรอคอย โดยวางไทม์ไลน์เม็ดเงิน 5 แสนล้านบาท จะส่งตรงถึงประชาชน 50 ล้านคนภายในไตรมาส 4 แน่นอน นายกฯ เศรษฐายังยืนยันผลบวกการอัดฉีดเม็ดเงินใส่ระบบเศรษฐกิจอย่างทั่วถึงและกระจายทุกพื้นที่ จะเกิดการจับจ่ายใช้สอย ยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างโอกาสการประกอบอาชีพของประชาชน ภาคธุรกิจจะขยายการลงทุน ขยายกิจการ เกิดการผลิตสินค้ามากขึ้น นำไปสู่การจ้างงานสร้างอาชีพและเกิดการหมุนเวียนของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ขณะที่รัฐบาลจะได้รับผลตอบแทนคืนมาในรูปแบบของภาษี เป็นการวางหลักฐานเศรษฐกิจดิจิทัลให้ประเทศเตรียมความพร้อมเข้าสู่เศรษฐกิจสมัยใหม่ แน่นอนว่า ทั้งหมดคือโจทย์ที่รอผลลัพธ์ จะเกิดขึ้นจริงตามเป้าหรือไม่ ทั้งนี้ ก่อนโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท เคยมีโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจมาก่อนแล้วหลายโครงการในยุคสมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เช่น โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (ปี 2560 - 2561) ชิมช้อปใช้ (ปี 2562) เราไม่ทิ้งกัน (ปี 2563)

Read More

เซ็นกรุ๊ป รีแบรนด์ “อากะ” ดันเรือธงยึดบุฟเฟต์ญี่ปุ่น

23 เมษายนนี้ เซ็นกรุ๊ป (ZEN) ได้ฤกษ์เปิดตัวแฟลกชิปสโตร์ “อากะ (AKA)” ที่ยกเครื่องปรับลุคใหม่ทั้งหมด ตั้งแต่ตัวโลโก้ บรรยากาศร้านไปจนถึงรายละเอียดเมนู โดยตั้งเป้าลุยสงครามบุฟเฟต์อาหารญี่ปุ่นระดับพรีเมียมและผลักดันรายได้ครั้งใหญ่ แน่นอนว่า ภายใต้กลยุทธ์ตลาด การหมายมั่นปั้นแบรนด์อากะให้เป็นเรือธงในปี 2567 มยุรี จิตรกร รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มการตลาด บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ในฐานะแม่ทัพ Marketing รุ่นใหม่ คาดหวังคะแนนเต็มสิบ ตอกย้ำความเป็น No.1 Yakiniku หลังลุยเสริมจุดขายเด็ดๆ ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา โจทย์ข้อใหญ่ คือ การขยายฐานลูกค้ากลุ่มวัยรุ่น คนรุ่นใหม่ ไม่ใช่แค่กลุ่ม Family โดยเพิ่มความทันสมัยให้แบรนด์และอัด Activity ต่อเนื่อง เช่น ก่อนหน้านี้งัดแคมเปญบ้าพลัง AKA Champion ปิ้งจุกสุขทั่วไทย เดินสายท้าเซียนบุฟเฟต์ทั่วไทย มาร่วมชิงเงินรางวัล 100,000 บาท

Read More

ศึกสตรีทราเมน “เอบิสึ” ลุยเป้าหมาย 200 สาขา

3 ปีก่อน ชินวุฒิ จุลไกวัลสุจริต ตัดสินใจปรับทิศทางกิจการร้านอาหารชาบู TOTOSAMA  หลังเจอสถานการณ์โควิดแพร่ระบาด โดยปลุกปั้นแบรนด์ Ebisu Ramen ฉีกคอนเซ็ปต์ในสไตล์ Street Ramen ลุยสตรีทฟูดต้นตำรับญี่ปุ่นแบบ Yatai มีเอกลักษณ์ คือ ร้านกลางแจ้ง ขนาด 15-20 ที่นั่ง ราคาไม่แพง เจาะทำเลย่านธุรกิจ ที่พักอาศัยและหมู่บ้านขนาดใหญ่ ล่าสุด เอบิสึราเมน ผุดสาขาไปทั่วประเทศกว่า 70 แห่ง และตั้งเป้าหมายจะปูพรมบุกทุกจังหวัด 200 สาขาภายใน 3 ปี โดยพยายามชูจุดขายความเป็นพรีเมียมจนกลายเป็นการประกาศสงครามการแข่งขันอย่างดุเดือด ทั้งในตลาดร้านราเมนหลักสิบและไล่ชิงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ จากบิ๊กแบรนด์ของไทยอย่าง “ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว” ด้วย จุลพงษ์ ถวัลย์เถลิงฤทธิ์ Business Development แฟรนไชส์ เอบิสึ ราเมน กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ว่า เอบิสึอยากทำธุรกิจอาหารที่กินง่าย

Read More

“นิดา วงศ์พันเลิศ” ปั้นแบรนด์ 137 Pillars บูติกลักชัวรีโฮเทลจากเชียงใหม่สู่กรุงเทพฯ

ตลาดโรงแรมลักชัวรีเป็นอีกหนึ่งตลาดที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดทั้งก่อนสถานการณ์โควิด-19 และหลังสถานการณ์คลี่คลายที่การเดินทางท่องเที่ยวเริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง และเป็นการแข่งขันที่มีทั้งผู้เล่นแบรนด์ใหญ่ระดับสากล ไปจนถึงแบรนด์จากผู้ประกอบการชาวไทยที่พัฒนาขึ้นมาได้อย่างไม่น้อยหน้า ซึ่งหนึ่งในนั้นต้องยกให้ “137 Pillars” (137 พิลลาร์) บูติกลักชัวรีโฮเทลของคนไทยที่สร้างชื่อจากเชียงใหม่เมื่อ 14 ปีที่แล้ว ก่อนจะสยายปีกมาสร้างสีสันให้กับตลาดโรงแรมลักชัวรีในกรุงเทพฯ โดยมี “นิดา วงศ์พันเลิศ” ผู้จัดการทั่วไปและผู้บริหารเครือโรงแรม 137 พิลลาร์ โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท เป็นกำลังสำคัญในการปั้นแบรนด์ 137 พิลลาร์ จนประสบความสำเร็จ โดยนิดาได้ย้อนที่มาของ 137 พิลลาร์ ให้ “ผู้จัดการ 360 องศา” ฟังว่า 137 พิลลาร์ เป็นธุรกิจโรงแรมของครอบครัววงศ์พันเลิศที่มีจุดเริ่มต้นมาจากผู้เป็นพ่อที่สนใจทางด้านอสังหาริมทรัพย์ และเห็นโอกาสในธุรกิจโรงแรมระดับลักชัวรี “จริงๆ ธุรกิจหลักของครอบครัวคือธุรกิจเท็กซ์ไทล์ที่ราชบุรี ชื่อกังวาลเท็กซ์ไทล์ แต่คุณพ่อมีความสนใจเรื่องธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เมื่อ 15 ปีที่แล้วจึงเริ่มไปสำรวจดูโรงแรมหลายๆ ที่ในแถบเอเชีย ประจวบกับได้มาเจอที่ดินที่เชียงใหม่ที่ร่มรื่นและถูกจริต ซึ่งเขาขายพร้อมบ้านไม้สักเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 หรือที่รู้จักกันในชื่อบ้านบอร์เนียวที่มีเสามากถึง 137 ต้น

Read More

VERTIER เฟอร์นิเจอร์สัญชาติไทย ที่เกิดจากความหลงใหลในการออกแบบ

เรียกว่าน่าสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เลยทีเดียว สำหรับแบรนด์เฟอร์นิเจอร์สัญชาติไทย ที่โดดเด่นด้วยคุณภาพและดีไซน์ที่เรียบหรูมีเอกลักษณ์ไม่แพ้แบรนด์ชั้นนำจากต่างประเทศ อย่าง “VERTIER” (เวอร์เทียร์) แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ที่เกิดจากความหลงใหลในงานออกแบบของ “วรวุฒิ จันทวี” ที่เพิ่งเปิดแฟล็กชิพ แกลอรี บนทำเลทองอย่างถนนราชดำริ ด้วยพื้นที่โชว์รูมที่มากถึง 800 ตารางเมตร ไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา วรวุฒิ จันทวี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วี เดคคอร์ จำกัด (Vie Décor) และผู้ก่อตั้งแบรนด์  VERTIER เล่าถึงที่มาของแบรนด์เฟอร์นิเจอร์สัญชาติไทยว่า จุดเริ่มต้นของ VERTIER มาจากความหลงใหลในงานออกแบบที่ผนวกกับความรู้เรื่องเฟอร์นิเจอร์เป็นทุนเดิม “ผมมีโอกาสได้ไปเรียนและทำงานที่สหรัฐอเมริกา พบรุ่นพี่คนหนึ่งเขาทำงานตกแต่งร้านอาหารที่นิวยอร์ก เป็นการนำเอาความชอบมาทำเป็นอาชีพ พอกลับมาเมืองไทยก็เลยลองทำ โดยใช้ความชอบในเรื่องการออกแบบและชอบทำงานประดิดประดอยมาใช้ พอดีมีเพื่อนทำร้านเสื้อผ้า เราก็อาสาทำเป็นชั้นวางเครื่องประดับ ราวแขวนเสื้อผ้าให้เขา เป็นงานดิสเพลย์สินค้า เริ่มจากงานเล็กๆ ในร้านเสื้อผ้าเล็กๆ” ชิ้นงานดิสเพลย์สินค้าของวรวุฒิได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากทั้งร้านเสื้อผ้าและร้านอาหาร ขนาดที่ว่าต้องเข้าห้างสรรพสินค้าเกือบทุกคืนเพื่อนำผลงานไปวาง ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก แต่จากงานดิสเพลย์สินค้าชิ้นเล็กๆ ปรากฏว่าทำไปทำมา ผลงานของวรวุฒิได้ไปเข้าตาดีไซเนอร์จากร้านเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง และนั่นทำให้งานออกแบบของเขาขยายสเกลจากร้านเล็กๆ ไปสู่ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ “เวลาดีไซเนอร์เขามาสั่งงานเรา เขาไม่ได้บอกว่าจะเอาไปตั้งที่ร้านไหน

Read More

อสังหาฯ EEC โตไม่หยุด แกรนด์แอสเสท ผุดเมกะโปรเจกต์

ทำเลในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ที่ครอบคลุม 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง ถือเป็นทำเลอสังหาฯ ที่ฆ่าไม่ตาย เพราะผู้ประกอบการอสังหาฯ โดยเฉพาะรายใหญ่มักจะเลือกไปปักหมุดและสร้างอาณาจักรเมื่อมองเห็นทิศทางการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งแตกต่างจากทำเลอสังหาฯ ที่ขายไม่ดี และมีโอกาสที่จะไปต่อได้ยาก เช่น สายไหม, ติวานนท์-นวลฉวี, บางนา-ตราด กม.10-30, แบริ่ง วัดด่าน, รัตนาธิเบศร์-ท่าอิฐ และพหลโยธิน-วังน้อย เป็นต้น โดยเหตุผลส่วนใหญ่ของทำเลที่ขายไม่ดี มีทั้งเป็นโครงการที่เก่าแล้ว ไม่ใช่พื้นที่ในยุคสมัย และโอกาสกู้เงินจากสถาบันการเงินมีจำกัด ปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อพื้นที่ EEC คือการเป็นหมุดหมายสำคัญของภาครัฐในการพัฒนาให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ สำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แน่นอนว่าสิ่งที่ตามมา คือโอกาสในธุรกิจท่องเที่ยว การขยายตัวทางเศรษฐกิจในพื้นที่ ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ระบุว่า หากผู้ประกอบการอสังหาฯ ศึกษาเรื่องราวโครงการในพื้นที่ EEC เป็นอย่างดี จะมองเห็นโอกาสในการลงทุนอสังหาฯ ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น การลงทุนซื้อคอนโดเพื่อปล่อยเช่า การลงทุนซื้อบ้านหรือสร้างบ้านเพื่อขายทำกำไร การลงทุน ออฟฟิศ สำนักงานสำหรับขายหรือให้เช่า

Read More