วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
Home > Green > Green Enterprise > TIPMSE ร่วมมือหน่วยงานรัฐ และสถาบันการศึกษา จัดการขยะแบบยั่งยืน

TIPMSE ร่วมมือหน่วยงานรัฐ และสถาบันการศึกษา จัดการขยะแบบยั่งยืน

สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) สภาอุตสาหกรรม
แห่งประเทศไทย จับมือหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษาชั้นนำ ลงนามข้อตกลงร่วมศึกษา
การจัดการขยะแบบยั่งยืนในไทยโครงการศึกษาการพัฒนาระบบจัดการขยะรีไซเคิลอย่างยั่งยืน
ที่เหมาะสมกับประเทศไทย (ระยะที่ 1)-

TIPMSE สภาอุตฯประกาศลงนามร่วมศึกษาแนวทางการจัดการขยะในเมืองไทยอย่างยั่งยืน
ร่วมกับ 9 องค์กร ครอบคลุมทุกภาคส่วนทั้งภาคอุตสาหกรรม การศึกษา การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
และการปกครองท้องถิ่น ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร กรมโรงงานอุตสาหกรรม, กรมควบคุมมลพิษ, กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, สมาคมองค์การบริหารส่วน จังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบล แห่งประเทศไทย โดยการศึกษาวิจัยดังกล่าวใช้เวลา 1 ปี
คาดสรุปผลได้ 30 ก.ย. ศกนี้

สมพงษ์ ตันเจริญผล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ปัญหาขยะ
มูลฝอย เป็นปัญหาที่ทวีความสำคัญมากขึ้น ทั้งนี้จำเป็นที่จะต้องให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันในการจัดการ
แก้ไข สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในฐานะของภาคส่วนหนึ่งของสังคมได้ให้ความสำคัญกับ
การจัดการปัญหาขยะมูลฝอย โดยมีสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่ง
เป็นสถาบันฯ หนึ่งของสภาอุตฯ ที่คอยดูแลและจัดการปัญหานี้อย่างจริงจัง การลงนามข้อตกลงใน
วันนี้แสดงให้เห็นว่าทุกภาคส่วนหันมาร่วมมือกันทั้งภาครัฐ ก็คือ กรมและสมาคมต่างๆ ภาคเอกชน
คือสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม
และภาคการศึกษา คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อดำเนินโครงการศึกษาการพัฒนาระบบการ
จัดการขยะรีไซเคิลอย่างยั่งยืนที่เหมาะสมกับประเทศไทย (ระยะที่ 1) ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศไทย
มีข้อมูลขยะและวัสดุรีไซเคิลที่จะเป็นประโยชน์กับทุกภาคส่วน และยังสามารถนำไปใช้ในการวางแผน
การจัดการขยะของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป สมพงษ์ ตันเจริญผล กล่าว

ยุทธพงษ์ วัฒนะลาภา ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม
กล่าวถึงโครงการการศึกษารวมกันในครั้งนี้ว่า ปัญหาขยะมูลฝอย เป็นปัญหาที่มีความสำคัญระดับ
ประเทศ เนื่องจากปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี และบางส่วนยังไม่สามารถรวบรวมเข้าสู่ระบบ
การจัดการอย่างถูกต้องได้ ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง ในความเป็นจริงแล้ว
เราทิ้งทรัพยากรที่มีค่าไปเป็นจำนวนมาก เนื่องจากขยะมูลฝอยเหล่านี้ กลับมาใช้ใหม่ได้
ทั้งในส่วนของขยะอินทรีย์และขยะรีไซเคิล โดยสาเหตุหลักเนื่องจากประชาชน ไม่มีการคัด
แยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง รวมถึงการขาดระบบการจัดการ ขยะ มูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ

ปัจจุบันปัญหาของการจัดการขยะมูลฝอยเกิดจากการเลือกแนวทางแก้ไขปัญหาขยะมูล
ฝอยที่ไม่เหมาะสม ส่วนใหญ่เป็นการจัดการที่ปลายทาง เช่น เทคโนโลยีระดับสูงจากต่างประเทศ
หรือมาตรการทางกฎหมายตามแบบในประเทศยุโรป ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว แนวทางเหล่านี้อาจไม่
เหมาะสมกับประเทศไทย นอกจากนั้น ยังขาดการ บูรณาการแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการขาดข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอยที่จะช่วยในการวางแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น เพื่อให้การจัดการขยะมูลฝอยโดยเฉพาะขยะรีไซเคิลของประเทศไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
จึงจำเป็นที่จะต้องดำเนินการศึกษาข้อมูลสำหรับนำมาใช้ในการพัฒนาระบบการจัดการขยะ
รีไซเคิลอย่างยั่งยืนและเหมาะสมกับประเทศไทย

การศึกษาเพื่อพัฒนาระบบการจัดการขยะรีไซเคิลอย่างยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องศึกษาถึงปริมาณ
ขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมดในประเทศไทย และอัตราการรีไซเคิลจำแนกตามประเภทของวัสดุรีไซเคิล
อาทิ แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ/อโลหะ กล่องเครื่องดื่ม โดยมีสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC) เป็นผู้ดำเนินงานวิจัย และ รองศาสตราจารย์ ดร.กำพล รุจิวิชชญ์
รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เป็นผู้จัดการโครงการวิจัยฯ และได้รับ
ความร่วมมือจากหน่วยงานร่วมสนับสนุนข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานทั้งสิ้น 6 หน่วยงาน ได้แก่
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมส่งเสริม การปกครอง
ท้องถิ่น สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย และสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย

ผลงานวิจัยจะทำให้เราทราบถึงองค์ประกอบของขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น ทั้งขยะชุมชน
และขยะอุตสาหกรรมตลอดจนการพยากรณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงปริมาณของขยะในประเทศไทย
ในอนาคต ทราบอัตราการรีไซเคิลจำแนกตามประเภทของ วัสดุรีไซเคิลของประเทศไทยและบทบาท
ของผู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการรีไซเคิลขยะ รวมถึงสามารถนำเสนอรูปแบบ ของระบบการจัดการขยะรีไซเคิลกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืนที่เหมาะสมกับประเทศไทย
และเป็นข้อมูลกลางสำหรับทุกภาคส่วนได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป โดยการงานวิจัยมีกำหนด
ระยะเวลาในการดำเนินงานทั้งสิ้น 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 30 กันยายน 2556

ทั้งนี้ผู้สนใจร่วมเปิดร้าน 0 บาท และร้าน 0 บาทเคลื่อนที่ สามารถสอบถามรายละเอียด
เพิ่มเติมได้ที่ สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) โทร 02-272-1552
ต่อ 19 หรือ http://www.facebook.com/0bahtshop