Home > HUAWEI (Page 2)

หัวเว่ยชี้โครงข่ายใยแก้วนำแสงเต็มรูปแบบเป็นปัจจัยหลักช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล

ภายในงานประชุม 2021 Asia-Pacific Target Network Conference เมื่อเร็วๆ นี้ นายริชาร์ด จิน ประธานสายผลิตภัณฑ์ใยแก้วนำแสงของหัวเว่ย กล่าวว่า การส่งสัญญาณผ่านใยแก้วนำแสงเป็นเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงานมากขึ้น โดยหัวเว่ยมีความมุ่งมั่นสร้างโครงข่ายใยแก้วนำแสงเต็มรูปแบบที่มีความอัจฉริยะ เปี่ยมประสิทธิภาพ และมีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ความต้องการใช้งานเครือข่ายที่มากขึ้น ส่งผลให้เกิดความต้องการใช้งานแบนด์วิดท์โครงข่ายที่สูงขึ้น การติดตั้งโครงข่าย 5G ในวงกว้างส่งผลให้การใช้งานเครือข่ายสัญญาณแบบไร้สายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดว่าภายในปี พ.ศ. 2568 อัตราการใช้งานอินเทอร์เน็ตต่อเดือนโดยเฉลี่ยต่อผู้ใช้หนึ่งรายจะอยู่ที่ 28 GB ความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากนี้ทำให้ต้องมีโครงข่ายใยแก้วนำแสงอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อส่งมอบแบนด์วิดท์ที่สูงยิ่งขึ้นด้วย ท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดนี้ ผู้คนเลือกที่จะเรียนออนไลน์หรือทำงานทางไกลมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น ทั่วโลกจึงมีการเร่งขยายการเดินสายใยแก้วนำแสงตรงไปยังที่พักอาศัย หรือ FTTH (Fiber to the Home) เพื่อมอบการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงระดับกิกะบิต และตอบสนองความต้องการแบนด์วิดท์ที่สูงขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน ทั้งนี้ สำหรับธุรกิจองค์กร 85% ของบริการในภาคธุรกิจดังกล่าวจะปรับย้ายไปอยู่บนเทคโนโลยีคลาวด์แทน ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการเชื่อมต่อคุณภาพสูงเพื่อเชื่อมระหว่างบริการนั้น ๆ กับเทคโนโลยีคลาวด์ ยิ่งไปกว่านั้น เทคโนโลยีในการรวมระบบเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใช้ตามบ้านหรือสำนักงานเป็นหนึ่งเดียว (Fixed–mobile convergence

Read More

หัวเว่ย ทุ่มงบกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เสริมแกร่งอีโคซิสเต็มสตาร์ทอัพในเอเชีย-แปซิฟิก

หัวเว่ยประกาศแผนการลงทุนมูลค่ากว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพในงาน Spark Founders Summit ซึ่งจัดขึ้นพร้อม ๆ กันทั้งในสิงคโปร์และฮ่องกง โดยระบุว่าเม็ดเงินลงทุนดังกล่าวจะถูกนำไปใช้กับโครงการ Spark ของบริษัทฯ ที่มุ่งสร้างอีโคซิสเต็มสตาร์ทอัพในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกให้มีความยั่งยืน โดยเป็นงบการลงทุนสำหรับระยะเวลาสามปี หัวเว่ยได้มีส่วนช่วยสนับสนุนสิงคโปร์ในการสร้างศูนย์กลางด้านสตาร์ทอัพแห่งแรกของเอเชีย-แปซิฟิกมาตั้งแต่ปี 2563 และได้ขยายโครงการไปยังฮ่องกง ไทย มาเลเซีย ตลอดปีที่ผ่านมา โดยภายในงาน Spark Founders Summit หัวเว่ยยังประกาศอีกว่าโครงการดังกล่าวจะเน้นความสำคัญไปที่การพัฒนาศูนย์กลางด้านสตาร์ทอัพเพิ่มเติมอีกสี่แห่งในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา และเวียดนาม มีเป้าหมายในการรวบรวมสตาร์ทอัพกว่า 1,000 ราย โดยสตาร์ทอัพ 100 รายจากในจำนวนนี้จะได้รับการต่อยอดสู่โครงการ Spark Accelerator หัวเว่ย ประเทศไทย โดยความร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และพันธมิตรที่มีชื่อเสียงอีกหลายราย ได้เปิดตัวการแข่งขัน “Spark Ignite 2021 – Thailand Startup Competition”

Read More

ก้าวใหม่การศึกษาไทย มหาวิทยาลัยปรับใช้โซลูชันอัจฉริยะ รับ New Normal

ท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบัน ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยต่างจำเป็นต้องรีบปรับกระบวนการประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตอบรับกับเทรนด์ยุค “นิวนอร์มัล” ที่เน้นให้บุคลากรสามารถประสานงานกันได้ผ่านเทคโนโลยีติดต่อสื่อสารทางไกล ลดความจำเป็นของการพบปะโดยตรง ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการศึกษาไทยก็เป็นหนึ่งในภาคส่วนที่เปลี่ยนมาใช้การเรียนการสอนแบบออนไลน์ในปัจจุบันเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนหนังสือผ่านกล้องอาจมีประสิทธิภาพไม่เต็มที่สำหรับการสอนในวิชาชีพเชิงปฏิบัติ เมื่อเทียบเท่าการเรียนการสอนแบบปกติ จึงเป็นสาเหตุให้สถานศึกษาบางแห่งเริ่มหันมาประยุกต์ใช้โซลูชันอัจฉริยะประกอบกับหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อเสริมประสิทธิภาพการเรียนทางไกลให้สมบูรณ์แบบ ดังเช่นที่ทางมหาวิทยาลัยเกริกได้ร่วมกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด นำโซลูชันกระดานอัจฉริยะ Huawei IdeaHub มาเสริมศักยภาพให้แก่หลักสูตรการเรียนทางไกล เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงมายาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ มหาวิทยาลัยเกริก ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2495 โดย ดร. เกริก มังคละพฤกษ์ และถือว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของประเทศไทย ด้วยเป้าหมายที่จะสนับสนุนการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริงเพื่อเตรียมให้นักศึกษามีความพร้อมเมื่อเข้าสู่โลกของการทำงาน คณะและหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเกริกจึงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นคณะบริหารธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง รวมไปถึงวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมสากลจีน ด้วยเป้าหมายที่จะเสริมทักษะเพื่อให้รับมือกับความต้องการของตลาดแรงงานสมัยใหม่ได้ มหาวิทยาลัยเกริกได้ร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ในการสร้างเครือข่ายแบ่งปันองค์ความรู้ที่แข็งแกร่ง เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อทั้งนักศึกษาและภาคสังคม ทางมหาวิทยาลัยมีพันธกิจระยะยาวในการที่จะนำหน้าความต้องการของตลาดอยู่เสมอ ด้วยการนำเสนอหลักสูตรที่ออกแบบมาอย่างดีและสามารถนำไปใช้ในโลกที่กำลังก้าวไปข้างหน้าได้จริง ลดช่องว่างทางการศึกษาด้วยประสบการณ์การเรียนรู้ทางไกลแบบอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยเกริกตั้งเป้าที่จะออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์ที่ยังคงรักษามาตรฐานคุณภาพเอาไว้ ผ่านโครงการ Smart Campus โดยมีการนำเสนอหลักสูตรออนไลน์ที่หลากหลายทั้งสำหรับนักศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโท ผ่านแพลตฟอร์ม

Read More

“สามารถเทลคอม” จับมือ “หัวเว่ย” ขยายความแข็งแกร่งทางธุรกิจ

“สามารถเทลคอม” ผู้ให้บริการเทคโนโลยีโทรคมนาคมรายใหญ่ของไทยจับมือหัวเว่ย ขยายความแข็งแกร่งทางธุรกิจ พร้อมฉลอง 35 ปีแห่งความมุ่งมั่นเพื่อความเป็นเลิศด้านดิจิทัล บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2529 เป็นบริษัทในเครือสามารถคอร์ปอเรชั่น ผู้นำด้านโซลูชัน ICT และผู้ให้บริการรวมทั้งผู้จัดหาผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยี มุ่งเน้นการให้บริการระบบโครงข่ายที่ทันสมัยอย่างครอบคลุมและรอบด้านให้กับลูกค้า โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนบริษัทและองค์กรต่าง ๆ ในการประยุกต์ใช้โซลูชันดิจิทัลที่เหมาะสมเพื่อเสริมศักยภาพการเติบโตทางธุรกิจและขยายบริการในยุคดิจิทัล ในฐานะหนึ่งในผู้บุกเบิกด้าน ICT ของประเทศไทย สามารถเทลคอมได้ช่วยเสริมศักยภาพการปฏิบัติงานให้กับหน่วยงานของรัฐหลากหลายแห่ง ผ่านผลิตภัณฑ์ด้านโทรคมนาคมที่มีนวัตกรรมและเชื่อถือได้จากผู้ผลิตอุปกรณ์ด้านโทรคมนาคมชั้นนำระดับโลก เพื่อมุ่งหวังตอบโจทย์ความคาดหวังที่สูงของลูกค้าและสร้างความร่วมมือแบบต่างได้ประโยชน์ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อประชาชนไทยทั้งประเทศ โดยมองว่าความสำเร็จในการประมูลโครงการใหญ่ นั้น ไม่เคยเป็นเพราะโชคช่วย แต่มาจากความทุ่มเท การทำงานหนัก และวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน ด้วยการดำเนินธุรกิจอย่างยาวนานเกือบสี่ทศวรรษ สามารถเทลคอมยังคงมุ่งพัฒนาและแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ อยู่เสมอ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์และข้อมูลที่มีอยู่อย่างกว้างขวางและครอบคลุมตลาดที่มีการแข่งขันสูงอย่างประเทศไทย นอกจากนี้ สามารถเทลคอมยังมุ่งสานต่อการเติบโตของบริษัทในอุตสาหกรรมดิจิทัลที่ยังคงขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว จึงเล็งเห็นความสำคัญของการมีพันธมิตรที่น่าเชื่อถือ รวมทั้งมีเป้าหมายและความมุ่งมั่นในด้านการพัฒนาและให้ความสำคัญกับความเป็นเลิศไปในทิศทางเดียวกัน ความร่วมมือที่ใช่ก่อให้เกิดโอกาสธุรกิจใหม่ ๆ ความร่วมมือระหว่างสามารถเทลคอม และหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2561 โดยขณะนั้น สามารถเทลคอมกำลังมองหาหุ้นส่วนกลยุทธ์ระยะยาวที่ไม่เพียงแต่ช่วยเสริมตำแหน่งความเป็นผู้นำของบริษัท แต่ยังช่วยให้เกิดการขยายธุรกิจได้อีกด้วย โดยสามารถเทลคอมมองว่าหัวเว่ยเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด

Read More

กระทรวงดิจิทัลฯ จับมือหัวเว่ย เสริมแกร่งโรงพยาบาลสนาม ด้วยนวัตกรรมการติดต่อสื่อสาร ช่วยบุคลากรทางการแพทย์รับมือโควิด-19

กระทรวงดิจิทัลฯ จับมือหัวเว่ย เสริมแกร่งโรงพยาบาลสนาม ด้วยนวัตกรรมการติดต่อสื่อสาร ช่วยบุคลากรทางการแพทย์รับมือโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เสริมกำลังภาคสาธารณสุขประเทศไทย โดยเฉพาะโรงพยาบาลสนามที่ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น พร้อมเพิ่มความปลอดภัยในแก่บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานด่านหน้า ด้วยการสนับสนุนเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ให้แก่โรงพยาบาลสนามบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ประกอบด้วย นวัตกรรมการสื่อสารทางไกล 5G เพื่อการแพทย์ (5G Telemedicine) ระบบบริหารจัดการผู้ป่วยอัจฉริยะ (Inpatient area Intelligent Management) และระบบโครงข่ายวิทยุสื่อสารไร้สายบรอดแบนด์ eLTE (eLTE broadband trunking) โดยใช้ Idea Hub เป็นศูนย์กลางการดำเนินการโซลูชันทั้งหมด คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 6 ล้านบาท โดยนวัตกรรมเหล่านี้จะเพิ่มศักยภาพในการจัดการโครงข่ายการสื่อสารของบุคลากรในพื้นที่ให้เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว ยกระดับประสิทธิภาพในการรับมือกับโรคระบาดอย่างเต็มที่ ตอกย้ำหนึ่งในพันธกิจของหัวเว่ยในการมีส่วนร่วมสร้างคุณค่าให้แก่สังคมไทยอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์ที่ยังคงมีจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องทำงานกันอย่างเต็มที่ รวมไปถึงระบบสาธารณสุขขั้นพื้นฐานซึ่งรวมถึงสถานพยาบาลในประเทศไทยที่ต้องถูกนำมาใช้งานเพื่อรักษาผู้ป่วยในขณะนี้จนใกล้ถึงขีดจำกัด ทางภาครัฐและภาคสาธารณสุขจึงร่วมมือกันจัดตั้งโรงพยาบาลสนามอย่างเร่งด่วนเพื่อรับมือสถานการณ์โควิด-19 ทั่วประเทศไทย รวมถึงโรงพยาบาลสนามบางขุนเทียน

Read More

หัวเว่ยแต่งตั้งผู้บริหารไทยนั่งกรรมการผู้จัดการ ร่วมเดินหน้าเสริมแกร่งตลาดไทย

หัวเว่ยแต่งตั้งผู้บริหารไทยนั่งกรรมการผู้จัดการ ร่วมเดินหน้าเสริมแกร่งตลาดไทย ผลักดันดิจิทัลไทยแลนด์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เสริมแกร่งธุรกิจในประเทศไทยที่มีอย่างยาวนาน พร้อมสนับสนุนทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2021 ด้วยการเปิดตัว ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้บริหารชาวไทยมากประสบการณ์ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและเทคโนโลยีดิจิทัล เข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการคนใหม่และเป็นคนไทยคนแรก ภายใต้การนำธุรกิจของอาเบล อาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “หัวเว่ยมีเป้าหมายที่จะเสริมการเติบโตทางธุรกิจของเราในปี 2021 นี้ด้วยการเสริมทัพทีมผู้บริหารที่มีความเชี่ยวชาญ พร้อมการแต่งตั้ง ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ ซึ่งมีภาวะผู้นำและมีภูมิหลังในอุตสาหกรรมไอซีทีทั้งในระดับโลกและระดับประเทศอย่างมากมาย ซึ่งผมเชื่อมั่นว่า ดร.ชวพล จะสามารถใช้ประสบการณ์ที่แข็งแกร่งในอุตสาหกรรม มาเสริมศักยภาพเพื่อการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน ของหัวเว่ย ประเทศไทย” ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เผยถึงบทบาทใหม่ในครั้งนี้ว่า “หัวเว่ย ประเทศไทย ถือเป็นบริษัทด้านไอซีทีชั้นนำระดับโลกที่มีความแข็งแกร่งในด้านเทคโนโลยีและบริการที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ ตำแหน่งใหม่ที่

Read More

หัวเว่ยชี้ แม้โควิด-19 ปิดกั้นโอกาส แต่นวัตกรรมจะเปิดช่องทางแห่งความหวัง

หัวเว่ยชี้ แม้โควิด-19 ปิดกั้นโอกาส แต่นวัตกรรมจะเปิดช่องทางแห่งความหวัง ความก้าวหน้าทางนวัตกรรมจะยกระดับคุณภาพชีวิต พัฒนาธุรกิจให้ชาญฉลาด และสร้างความเท่าเทียมแก่ผู้คนทั่วโลกให้มากยิ่งขึ้น ในพิธีเปิดงาน Mobile World Congress Shanghai 2021 นายเคน หู (Ken Hu) รองประธานหัวเว่ย กล่าวถึงประเด็นของโควิด-19ที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อประเทศ องค์กร และผู้คนทั่วโลก รวมถึงบทบาทของเทคโนโลยีในการต่อสู้กับโรคระบาด “นวัตกรรมไม่ใช่แค่เรื่องของการแก้ปัญหาที่เราเผชิญอยู่ในวันนี้” นายเคน หู กล่าว “แต่เป็นเรื่องของการมองหาหนทางให้กับวันพรุ่งนี้ เมื่อเราสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้แล้ว เราต้องตระหนักว่าเราจะสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างไรให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาธุรกิจให้ชาญฉลาดยิ่งขึ้น และสร้างโลกที่ทุกคนได้มีส่วนร่วมด้วยกันมากยิ่งขึ้น” เขาอธิบายว่า ขณะที่ความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลและความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลทำให้ช่องว่างทางดิจิทัลขยายตัวกว้างขึ้น โรคระบาดยิ่งทำให้สถานการณ์ดังกล่าวแย่ลงไปอย่างเห็นได้ชัด เราจึงต้องมุ่งเน้นให้นวัตกรรมเป็นสะพานเชื่อมต่อช่องว่างระหว่างคนที่มีและคนที่ไม่มี รวมทั้งเป็นเครื่องมือผลักดันการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเท่าเทียมกัน (digital inclusion) โควิด-19 ได้ทำให้เกิดเงื่อนไขใหม่ ๆ มากมายด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล ทั้งนี้ หัวเว่ยได้ร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ให้บริการโครงข่ายจำนวนมากตลอดปีที่ผ่านมา เพื่อทำให้เครือข่ายสัญญาณกว่า 300 เครือข่ายใน 170 ประเทศมีเสถียรภาพ ในอินโดนีเซีย หัวเว่ยได้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลรูปแบบใหม่กับการขนส่งติดตั้งสถานีฐานกว่า 5,000 แห่งได้อย่างรวดเร็ว

Read More

นับถอยหลัง! โค้งสุดท้ายกับการประกวดภาพยนตร์สั้นกับ HUAWEI Film Awards 2020 ชิงรางวัลกว่า 300,000 บาท

เหลือเพียงเดือนเดียวเท่านั้นกับโอกาสครั้งยิ่งใหญ่ของครีเอเตอร์ทั่วเอเชียแปซิฟิก ในการก้าวกระโดดสู่เวทีระดับภูมิภาคกับ “HUAWEI Film Awards 2020” แคมเปญประกวดภาพยนตร์ขนาดสั้นที่ถ่ายทำด้วยสมาร์ทโฟนหัวเว่ย ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถส่งผลงานเข้าชิงรางวัลได้จนถึงวันที่ 18 มีนาคม 2564 และลุ้นรับของรางวัลเป็นสมาร์ทโฟนเรือธง HUAWEI Mate 40 Pro 5G พร้อมเงินรางวัลมูลค่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 300,000 บาท หลังเปิดตัวอย่างงดงามในปี 2019 เวที HUAWEI Film Awards ได้ปั้นครีเอเตอร์รุ่นใหม่มากความสามารถจนเป็นที่รู้จักทั่วเอเชีย พร้อมเป็นสื่อกลางเผยแพร่ผลงานสุดสร้างสรรค์ออกสู่สายตาคนนับล้าน ผ่านคอมมูนิตี้ผู้ใช้สมาร์ทโฟนหัวเว่ยทั่วโลก โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเชี่ยวชาญระดับโลก ด้วยประสบการณ์ที่คร่ำหวอดทั้งในแวดวงการถ่ายภาพและการสร้างสรรค์คอนเทนต์ ไม่ว่าจะเป็น Laci Kobulsky ช่างภาพกีฬาเอ็กซ์ตรีมชาวสโลวาเกีย ซึ่งเป็นแชมป์ด้านเทคนิคการถ่ายภาพสร้างสรรค์ และเคยร่วมงานกับนักกีฬาชื่อดังจำนวนมาก Emir Shafri ครีเอทีฟผู้คว้ารางวัลระดับโลกอย่าง Cannes Lions, New York Festivals, London International Awards,

Read More

ตัวอยู่ไกลใจใกล้กันกับมื้ออาหารสุดพิเศษ หัวเว่ยและไหตี่เลา ร่วมส่งต่อประสบการณ์บนโต๊ะอาหารทางไกลผ่านระบบคลาวด์

ในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ผ่านมา หลายคนเลี่ยงการเดินทางกลับบ้านเกิดในช่วงวันหยุด ในขณะที่ภัตตาคารหลายแห่งได้จำกัดจำนวนลูกค้าที่สามารถรับประทานอาหารภายในร้าน เพราะความกังวลต่อสภาวะโรคระบาดที่ยังไม่จางหายไปไหน สาเหตุดังกล่าว ส่งผลให้เกิดความร่วมมือระหว่างหัวเว่ย ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก และไหตี่เลา แบรนด์ร้านอาหารหม้อไฟชื่อดังจากประเทศจีน ในการปฏิวัติประสบการณ์การรับประทานอาหารขึ้นอีกขั้นผ่านเทคโนโลยีคลาวด์ เชื่อมต่อผู้คนที่ต้องอยู่ห่างไกลให้ได้ใกล้ชิดคนที่รัก และเพลิดเพลินไปกับมื้ออาหารพร้อม ๆ กับคนสำคัญในอีกฟากโลกอย่างไม่มีสะดุด ผ่านหน้าจอขนาดใหญ่ด้วยความคมชัดระดับ 4K นับเป็นการผสมผสานเทคโนโลยีแห่งอนาคตเข้ากับกิจกรรมในชีวิตประจำวันของผู้คนได้อย่างลงตัวและไม่ซ้ำใคร บริการการรับประทานอาหารทางไกลผ่านระบบคลาวด์บนหน้าจออัจฉริยะจากหัวเว่ยและไหตี่เลา เริ่มเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกไปเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับเทศกาลตรุษจีน โดยได้ให้บริการ ณ ร้านสาขาต่าง ๆ ใน 57 เมือง ไม่ว่าจะเป็นเซินเจิ้น เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง และสาขาอื่น ๆ ของไหตี่เลา ทั้งในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย รวมถึงในประเทศไทยด้วย จึงทำให้ผู้คนสามารถเฉลิมฉลองการเริ่มต้นปีใหม่จีนกับครอบครัวและคนที่รักในต่างประเทศได้อย่างไร้อุปสรรค บริการมื้ออาหารทางไกลผ่านระบบคลาวด์ให้ผู้ใช้บริการได้สัมผัสกับหน้าจออัจฉริยะที่มีชื่อว่า “HUAWEI IdeaHub” ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำงานร่วมกับ HUAWEI CLOUD Meeting รองรับการใช้งาน Cloud Video Conferencing ของแพลตฟอร์มอื่น ๆ ซึ่งมาพร้อมฟีเจอร์การใช้งานแบบหลายหน้าจอร่วมกัน (Multi-screen

Read More

ซีอีโอหัวเว่ยเผย พร้อมแบ่งปันองค์ความรู้ 5G ขับเคลื่อนสู่นวัตกรรมระดับโลก

ซีอีโอหัวเว่ยเผย พร้อมแบ่งปันองค์ความรู้ 5G ขับเคลื่อนสู่นวัตกรรมระดับโลก ชี้ตลาดเสรีและความร่วมมือจำเป็นต่อการเติบโตไปพร้อมกัน นายเหริน เจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้งหัวเว่ย ได้กล่าวในพิธีเปิดห้องปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการทำเหมืองอัจฉริยะในเมืองไท่หยวนถึงวิสัยทัศน์ต่อความร่วมมือทางการค้าที่จะเกิดขึ้นจากนโยบายเสรี โดยย้ำว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้จากนโยบายการค้าเสรี และตอกย้ำความมุ่งมั่นของหัวเว่ยที่จะถ่ายโอนองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี 5G ให้แก่ส่วนรวมเพื่อการพัฒนาอีโคซิสเต็มด้านไอซีทีอย่างเท่าเทียมทั่วโลก นายเหริน เจิ้งเฟย กล่าวถึงความสำคัญของการเปิดนโยบายการค้าเสรีไว้ว่า “ทั้งสหรัฐอเมริกาและจีนต่างต้องการที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของตนเองเพื่อผลประโยชน์ทางด้านสังคมและการเงิน ทุกคนทั่วโลกก็เช่นกัน ในเวลาที่มนุษยชาติกำลังก้าวต่อไปข้างหน้า ไม่มีบริษัทหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมระดับโลกได้ด้วยตัวคนเดียว เนื่องจากการพัฒนาในระดับโลกจำเป็นต้องมีการระดมความร่วมมือกันจากทั่วทุกมุมโลก” นอกจากนี้ เหริน เจิ้งเฟย ยังแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบจากเทคโนโลยี 5G ในระดับโลกไว้ว่า “เราพร้อมที่จะแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G ในทุกด้าน ไม่เพียงแค่ลิขสิทธิ์ในการผลิตแต่ยังรวมไปถึงซอร์สโปรแกรม ซอร์สโค้ด ด้านการออกแบบฮาร์ดแวร์ ไปจนถึงความรู้ความชำนาญและการออกแบบชิปเซ็ต” ในยุคสมัยใหม่ของภาคอุตสาหกรรมที่มีความอิสระ ทั้งสายการผลิตและการร่วมมือกันอย่างเปิดกว้างระหว่างองค์กรจากหลายประเทศทั่วโลกเป็นสิ่งที่จำเป็น หัวเว่ยในฐานะผู้นำการให้บริการโซลูชันด้านไอซีทีระดับโลกจะยังคงมุ่งมั่นให้บริการแพลตฟอร์มแก่ภาคอุตสาหกรรมหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการทำเหมืองแร่ การท่าเรือ อุตสาหกรรมเหล็ก และอุตสาหกรรมถ่านหิน ที่ต้องการนำโซลูชันด้านไอซีทีมาประยุกต์ใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ และระบบการประมวลผลคอมพิวเตอร์สำหรับนำไปใช้พัฒนาและต่อยอดในภาคอุตสาหกรรม เพื่อดำเนินการตามความมุ่งมั่นในด้านการนำเสนอผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า หัวเว่ยจึงเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมให้รุดหน้ามากกว่าการจำกัดอยู่แค่ด้านโทรคมนาคม ด้วยการก่อตั้งศูนย์การวิจัยและห้องปฏิบัติการร่วมกว่า 100 แห่งทั่วโลก ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในหลากหลายด้าน เช่น คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี

Read More