Home > herb

เรื่องเล่าจากเมนูสมุนไพร หอมรัญจวนใจ ได้ประโยชน์

ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด สมุนไพรไทยตัวละครเอกที่มักจะปรากฏอยู่ในเมนูอาหารไทยแทบจะทุกเมนู และบางบ้านแทบไม่ต้องหาซื้อพืชสมุนไพรจากตลาดเลย เชื่อว่าในสมัยเด็กๆ หลายคนอาจถูกไหว้วาน เรียกใช้จากแม่ครัวเอกประจำบ้าน ให้ไปขุด ตัด สมุนไพรที่ปลูกอยู่ในสวนหลังบ้านกันแทบทั้งนั้น แต่จะตัดหรือขุดออกมาได้ถูกใจแม่ครัวหรือไม่ก็ขึ้นกับความชำนาญ คำสอนถูกบอกกล่าวจากผู้สูงวัย เริ่มตั้งแต่วิธีการเลือกสมุนไพร ล้าง หั่น ซอย ถูกถ่ายทอดอย่างค่อยเป็นค่อยไป คนเฒ่า คนแก่จะใช้วิธีค่อยๆ สอนลูกหลานไปทีละนิดจนเกิดกระบวนการเรียนรู้และจดจำในที่สุด หลายครั้งเราแทบไม่เคยตั้งคำถามเลยว่า ทำไมต้องทำเช่นนั้น ทำไมต้องหั่นแบบนี้ เราเพียงแต่จดจำว่า ผู้ใหญ่ถ่ายทอดและส่งต่อกันมา ซึ่งไม่ใช่เรื่องเสียหายที่จะปฏิบัติตาม เพราะสุดท้ายแล้ว ผลลัพธ์ก็ทำให้อิ่มท้องได้ทุกมื้อ ณ ปัจจุบันขณะโลกเรากำลังต่อสู้และพยายามที่จะเอาชนะเชื้อไวรัสโควิด-19 แม้จะมีนักวิจัยที่วิจัยและพัฒนาวัคซีนประสบความสำเร็จแล้ว แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และปริมาณวัคซีนที่ผลิตได้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ทำให้หลายคนเริ่มมองหาวิธีที่จะต่อสู้และรับมือกับไวรัสทางอ้อม หรืออย่างไทยๆ เรา คือการใช้สมุนไพรโดยมุ่งหวังที่จะบรรเทาอาการก่อนเชื้อลงปอด หรือเพื่อป้องกันไว้ก่อน ความธรรมดาสามัญประจำครัวถูกทำให้เป็นเรื่องพิเศษขึ้นในเวลาไม่นาน แม้สมุนไพรจะอยู่คู่ครัว คู่บ้านเรามาตลอดเวลา แต่เรากลับมองเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งของอาหารเท่านั้น แม้จะรู้ว่าสมุนไพรเหล่านี้ให้ประโยชน์ทางยา แต่เรากลับรู้สึกตื่นเต้นและตื่นตัวมากกว่าแต่ก่อน แม้จะยังไม่มีงานวิจัยที่ชี้ชัดลงไปว่าสมุนไพรเหล่านี้มีฤทธิ์หรือกลไกใดที่ต่อต้านเชื้อโควิด-19 ได้ แต่ความเชื่อที่ถูกส่งต่อกันมาทั้งรูปแบบออนไลน์ หรือบอกเล่ากันปากต่อปาก ทำให้หลายบ้านเริ่มเพิ่มเมนูที่มีองค์ประกอบของสมุนไพรลงไปในสำรับเกือบทุกมื้อ ผัดกะเพรา เมนูที่หลายคนให้คำนิยามว่า “เมนูสิ้นคิด” ที่มักจะสั่งทุกครั้งเมื่อสร้างสรรค์เมนูแปลกใหม่ไม่ออก ด้วยรสชาติเผ็ดร้อนจากพริก

Read More

ไม่เติมน้ำตาลในอาหาร ใช้เครื่องเทศและสมุนไพรแทน

Column: Well – Being ต้องทำความเข้าใจกันใหม่อย่างหนึ่ง คือ น้ำตาลไม่ใช่หนทางเดียวในการช่วยเพิ่มรสชาติอาหาร สมุนไพรและเครื่องเทศล้วนช่วยเสริมโลกของรสชาติและเป็นประโยชน์ต่อร่างกายในเวลาเดียวกัน ที่สำคัญทั้งสมุนไพรและเครื่องเทศมีราคาถูกและง่ายต่อการใช้งาน หนังสือ Prevention Guide ยืนยันว่า เพียงสัปดาห์เดียวเท่านั้น คุณสามารถฝึกต่อมรับรสให้เลิกอยากอาหารที่เติมน้ำตาลปริมาณมากได้ “เมื่ออาหารเริ่มขาดรสชาติและน่าเบื่อ คุณมีแนวโน้มต้องมองหากระปุกน้ำตาล” เว็นดี้ บราซิเลียน นักกำหนดอาหารและกรรมการที่ปรึกษาของ Prevention อธิบาย หนึ่งในวิธีง่ายๆ ในการหลีกเลี่ยงชะตากรรมดังกล่าว คือใช้สมุนไพรและเครื่องเทศแทนการใช้สารให้ความหวานหรือน้ำตาล เพื่อทำให้อาหารของคุณมีรสชาติดีขึ้น ต่อไปนี้เป็นสมุนไพรและเครื่องเทศยอดนิยมที่นำมาใช้ปรุงอาหาร อบเชย ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในเครื่องเทศยอดนิยมและปลอดภัยสูงสุดที่ใช้แทนน้ำตาล ผลการศึกษาระบุว่า อบเชยช่วยระงับการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อคุณบริโภคอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตปริมาณสูง ข้อมูลนี้ถือเป็นข่าวดีเพราะเมื่อน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น จะไปเพิ่มระดับฮอร์โมนอินซูลินด้วย ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และมะเร็งบางชนิด เมื่อนำไปปรุงอาหารและได้รับความร้อน อบเชยทั้งแท่งจะค่อย ๆ ปล่อยรสชาติและน้ำหอมในตัวออกมา ขณะที่อบเชยป่นทำให้อาหารมีกลิ่นหอมหวานขึ้นทันที สะระแหน่ ถ้าคุณเคยชินกับนิสัยต้องบริโภคของหวานหลังอาหาร สะระแหน่เป็นตัวทดแทนของหวานชั้นเยี่ยม สมุนไพรตัวนี้ยังช่วยย่อยอาหารและลดความเสี่ยงจากภาวะท้องอืดหลังอาหารสะระแหน่มีมากกว่า 600 สายพันธุ์ แต่ที่นำมาใช้บ่อยครั้งที่สุดในการปรุงอาหารคือสเปียร์มินต์และเปปเปอร์มินต์ ซึ่งมีคุณสมบัติทำให้รู้สึกสดชื่นเพิ่มเติมจากอาหารจานเผ็ดและหวาน กระวาน เป็นสมุนไพรตระกูลขิงที่ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ และถูกเชื่อมโยงเข้ากับคุณสมบัติการลดความดันโลหิตอย่างมีนัยสำคัญ กระวานเขียวนิยมนำมาปรุงอาหารมากที่สุด ฝักและเมล็ดกระวานใช้บริโภคได้ สามารถใช้ได้ทั้งในรูปที่เป็นฝักและชนิดป่น ยี่หร่า เครื่องเทศที่ให้รสชาติหอม เผ็ดร้อน และมีกลิ่นหอมของพืชตระกูลส้มนี้ สามารถกระตุ้นเอนไซม์ที่จำเป็นต่อการย่อยอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนนำไปใช้ให้นำไปคั่วในกระทะด้วยไฟอ่อน จากนั้นใช้ครกตำ

Read More

ใช้สมุนไพรใกล้ตัวรักษาโรค

 ใช้สมุนไพรใกล้ตัวรักษาโรคต่อไปนี้เป็นสมุนไพร 10 ชนิด ที่มีสรรพคุณเด่นๆ ในการช่วยรักษาโรคได้อย่างน่าทึ่ง และเป็นเหตุผลที่สมควรอย่างยิ่งในการนำมาปรุงอาหาร  โรสแมรี–ทำให้เนื้อปลอดภัยจากสารก่อมะเร็งระหว่างปรุงอาหาร หากผสมโรสแมรีลงในอาหารจานเนื้อ จะช่วยป้องกันการเกิด heterocyclic amines (HCAs) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่เกิดขึ้นเมื่อเนื้อได้รับความร้อนสูงมากๆ โดยเฉพาะส่วนของเนื้อแดง (red meat) ได้ชื่อว่ามีความเสี่ยงสูงสุด ผลการวิจัยระบุว่า โรสแมรีป้องกันการเกิดสาร HCA ได้ราวร้อยละ 79 โดยเหตุที่โรสแมรีเป็นสมุนไพรชนิดแข็ง ไม่ใช่อ่อนนุ่ม จึงแนะนำให้เก็บด้วยการนำทั้งกิ่งใส่ในถุงพลาสติกที่มีซิปล็อกสำหรับเก็บในช่องแช่แข็ง และนำไปแช่แข็งก่อน แล้วจึงเด็ดใบมาใช้ตามต้องการ จากนั้นเก็บส่วนที่เหลือในถุงแล้วนำไปแช่แข็งต่อไป ออริกาโน–ลดโคเลสเตอรอลผลการศึกษาหลายชิ้นบ่งชี้ว่า สารสกัดของออริกาโนซึ่งรวมถึง carvacrol ที่เป็นฟีนอลธรรมชาติในออริกาโน มีสรรพคุณในการลดระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ได้อย่างชะงัด ผลการศึกษาของสหรัฐฯ กล่าวว่า สารต้านอนุมูลอิสระของออริกาโนมีประสิทธิภาพสูงกว่าสมุนไพรอื่นๆ อีก 27 ชนิดถึง 20 เท่า ถ้าคุณหาออริกาโนสดไม่ได้ ให้ใช้ marjoram สด ซึ่งเป็นพืชตระกูลเดียวกันแทนได้ ใบกระวาน–ต่อสู้โรคเบาหวานผลการวิจัยยืนยันว่า ใบกระวานมีบทบาทในการช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด รวมทั้งป้องกันปัจจัยต่างๆ เช่น ภาวะโคเลสเตอรอลสูง ที่ทำให้คุณเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานประเภทที่สองสูงขึ้น นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า สาเหตุเป็นเพราะสารโพลีฟีนอลในใบกระวาน เป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติต่อสารต้านอนุมูลอิสระ ใบกระวานสดให้รสชาติฉุนกว่าใบกระวานแห้ง แต่ก่อนใช้ต้องนำมาถูหรือขยี้เพื่อให้น้ำมันหอมระเหยออกมา เมื่อแห้งแล้วใบกระวานจะหมดความหอมหลังจาก 12

Read More