Home > CTH

“วิชัย ทองแตง” ถึงเวลา turn around CTH ผลงานสร้างชื่อ (เสีย)

  ฉากแห่งความเศร้าและปิติจากมหกรรมฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปหรือ EURO 2016 ได้สิ้นสุดลงไปแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยโปรตุเกสสามารถคว้าชัยชนะขึ้นครองความเป็นจ้าวแห่งยุโรปได้เป็นสมัยแรก ขณะที่สำหรับแวดวงคนรักกีฬา ระยะเวลานับจากนี้อีกไม่ถึงหนึ่งเดือนเต็ม ฉากของการแข่งขันฟุตบอลที่ได้ชื่อว่ามีผู้ติดตามชมมากที่สุดในประเทศไทยในนาม พรีเมียร์ลีกจากประเทศอังกฤษ อาจไม่ได้มีความน่าสนใจเฉพาะในมิติของเกมการแข่งขันในสังเวียนการฟาดแข้งเท่านั้น หากแต่ยังมีมิติและเรื่องราวในเชิงธุรกิจให้ได้พิจารณาไม่น้อยเลย การแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2016-2017 ในด้านหนึ่งต้องถือเป็นประหนึ่งบทพิสูจน์ธาตุแท้ของทีมฟุตบอลที่ได้ชื่อว่ามีนักธุรกิจไทยเป็นเจ้าของอย่างเลสเตอร์ ซิตี้ ว่าจะสามารถไปได้ไกลสมมาตรฐานแชมป์เก่าในฤดูกาลก่อนหรือไม่ ความสำเร็จของเลสเตอร์ในด้านหนึ่งคงต้องยกเครดิตให้กับวิสัยทัศน์และความสามารถของวิชัย ศรีวัฒนประภา ที่คอยกำกับเป็นหัวเรือใหญ่ หลังจากที่เข้าซื้อกิจการของสโมสรฟุตบอลขนาดเล็กๆ นี้ ตั้งแต่ปี 2010  แม้ว่าในขณะนั้นเลสเตอร์ ซิตี้ จะเป็นเพียงทีมกลางตารางใน Championship League ลีกระดับรองให้ขึ้นมาผงาดบนตำแหน่งแชมป์ Premier League และกำลังจะเดินหน้าเข้าสู่สังเวียนการแข่งขันระดับภูมิภาคยุโรปในในสังเวียน UEFA Champion League ในฤดูกาลนี้ด้วย ความสำเร็จของวิชัย ศรีวัฒนประภา ในช่วงปีที่ผ่านมา ทำให้หลายคนหวนคำนึงคิดถึงจังหวะก้าวของวิชัย ทองแตง ในฐานะนายใหญ่ของ CTH ซึ่งเคยสร้างปรากฏการณ์และความตื่นตาตื่นใจไว้ให้กับสังคมด้วยการทุ่มเงินนับหมื่นล้านในการประมูลสิทธิ์การถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีกของอังกฤษยาวนาน 3 ฤดูกาล (2013-2016) ด้วยหวังจะเป็นแม่เหล็กและเป็นสปริงบอร์ดในการนำพา CTH เข้าสู่การแข่งขันระดับสากล “CTH ในนิยามของผมก็คือ เคเบิลทีวีบ้านนอก ที่พร้อมจะเดินหน้าเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง ผมขอให้นิยามสั้นๆ แค่นี้” วิชัย

Read More

วิชัย ทองแตง พลิกกลยุทธ์ ปรับฐาน

 ช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์ วิชัย ทองแตง พลิกกลยุทธ์ปรับฐานการลงทุนครั้งใหญ่ เป็นก้าวจังหวะที่รวดเร็วฉับไว แต่ทุกเกมล้วนอยู่บนพื้นฐานการคิดคำนวณปัจจัยต่างๆ ซึ่งหวังผลทั้งระยะสั้นและการยึดกุมธุรกิจในระยะยาว ดีลแรก วิชัย ทองแตง ในฐานะประธานกรรมการบริษัท ซีทีเอช จำกัด (มหาชน) ผนึกเป็นพันธมิตรกับ ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เพื่อเปิดแนวรบธุรกิจเพย์ทีวี โดยลงนามสัญญาข้อตกลงการรวมบริษัท ซีทีเอช แอล ซี โอ จำกัด กับบริษัท จีเอ็มเอ็ม บี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ที่ดำเนินธุรกิจเพย์ทีวีในปัจจุบัน  ทั้งนี้ บริษัท ซีทีเอช แอล ซี โอ จำกัด จะเข้าถือหุ้น 100% ในบริษัท จีเอ็มเอ็ม บี

Read More

ซีทีเอช-แกรมมี่ เกมรุก “ผูกขาด-กินยาว”

 หลังจากดีเดย์ประกาศสงครามเพย์ทีวีพร้อมกัน 3 ค่ายเมื่อ 3 ปีก่อน ไม่ว่าจะเป็นกล่องดาวเทียม GMM Z ของค่ายจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, กล่อง Sun Box จากค่ายอาร์เอส หรือการปรับกระบวนทัพครั้งใหญ่ของ “เคเบิลไทยโฮลดิ้ง” ดึงขาใหญ่อย่าง “วิชัย ทองแตง” และ “ยิ่งลักษณ์ วัชรพล” เข้ามาเสริมทัพความแข็งแกร่งแปลงร่างเป็น “ซีทีเอช” แต่สุดท้ายได้รับบาดเจ็บถ้วนหน้า จนต้องพลิกสถานการณ์เพื่ออยู่รอดและคืนชีพอีกครั้ง การประกาศความร่วมมือระหว่างบริษัท ซีทีเอช จำกัด (มหาชน) และบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) โดยรวมบริษัท ซีทีเอช แอล ซี โอ จำกัด กับบริษัท จีเอ็มเอ็ม บี จำกัด บริษัทลูกของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ที่ดำเนินธุรกิจเพย์ทีวีในปัจจุบันผ่านวิธีแลกหุ้นระหว่างกัน คือ ซีทีเอช แอล

Read More

มหากาพย์ “เพย์ทีวี” วังวนของมิตรและศัตรู

 เส้นทางมากกว่า 20 ปี เปลี่ยนผ่านจากยุคธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกสู่สงครามกล่องเต็มรูปแบบ แท้จริงแล้วมีผู้เล่น “ขาใหญ่” และ “หน้าเดิม” อยู่ไม่กี่ราย เริ่มตั้งแต่ปี 2532 เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จับมือกับ วิลเลียม ไลล์มอนซัน นักธุรกิจชาวอเมริกัน ผู้บริหารบริษัท เคลียร์วิว ไวร์เลส จำกัด ก่อตั้งบริษัท อินเตอร์เนชันแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชันส์ จำกัด หรือ “ไอบีซี” ไอบีซีคว้าสัมปทานธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก จากองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) โดยให้บริการผ่านคลื่น, บริการกระจายสัญญาณแบบหลายจุดหลายช่อง (เอ็มเอ็มดีเอส) ผ่านระบบไมโครเวฟ และจานรับสัญญาณดาวเทียม เครือข่ายเคยู-แบนด์ ทั้งระบบอนาล็อกและดิจิตอล เริ่มตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2532 เป็นเวลา 20 ปี จนถึงวันที่ 16 เม.ย. 2552 และมีการขยายระยะเวลาสัมปทานอีก

Read More

เส้นทางสานฝัน ‘อากู๋’ กับย่างก้าวของแกรมมี่

 “ชีวิตของเราที่ผ่านมาแขวนไว้กับความพึงพอใจและไม่พึงพอใจ ในการต่อสัญญากับเจ้าของสื่อแบบปีต่อปีมาตลอด” ความในใจของ ‘ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม’ สะท้อนความฝันในการเป็นเจ้าของช่องฟรีทีวีที่มีมานานของเขา  ไม่เพียงเพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกถอดหรือถูกคืนเวลาของเจ้าของสถานีฟรีทีวีเดิม ความฝันของ ‘อากู๋’ ยังจะนำไปสู่การสร้างรายได้มหาศาลจากการมีช่องทางของตัวเอง ซึ่งความฝันนี้เพิ่งสำเร็จลงเมื่อปลายปีที่ผ่านมา โดยแกรมมี่ทุ่มเงินกว่า 5 พันล้านบาท จนคว้าช่องทีวีดิจิตอล 2 ช่อง ได้แก่ ช่อง 25 (ช่อง SD) และช่อง 31 (ช่อง HD)   หลังประกาศผลการประมูลทีวีดิจิตอลทั้ง 24 ช่อง ตลอดเกือบ 2 เดือน ผู้ชนะการประมูลหลายรายออกมาบอกถึงความพร้อมและการเตรียมตัวออกอากาศช่องดิจิตอลฟรีทีวีของตน ซึ่งถูกกำหนดให้เริ่มออกอากาศในเดือนเมษายนนี้  แต่แกรมมี่กลับเลือกที่จะแถลงข่าวการผนึกกำลังระหว่าง GMM Z กับบริษัท ซีทีเอช จำกัด (มหาชน) (CTH) ซึ่งเป็นสองใน 3 ยักษ์ใหญ่แห่งธุรกิจเพย์ทีวีไทย ในการออกแพ็กเกจใหม่เอาใจผู้ชมที่มีกำลังซื้อ โดยเฉพาะกลุ่ม ‘คอบอล’ แพ็กเกจ CTHZ Premier League+ HD

Read More

วิชัย ทองแตง บริหารความเสี่ยงด้วยวิสัยทัศน์

“CTH ในนิยามของผมก็คือ เคเบิลทีวีบ้านนอก ที่พร้อมจะเดินหน้าเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง”ชื่อของ วิชัย ทองแตง กลับมาสู่สปอตไลต์ของสังคมธุรกิจการเมืองอีกครั้ง หลังจากที่ CTH (Cable Thai Holding) คว้าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดฟุตบอลพรีเมียร์ลีก พร้อมๆ กับการประกาศแผนธุรกิจที่สั่นคลอนสถานภาพของผู้ประกอบการรายเดิมอย่างหนักหน่วงและกว้างขวางก้าวย่างของวิชัย ทองแตง อาจได้รับการกล่าวถึงควบคู่กับข้อเท็จจริงที่ว่า วิชัย ทองแตง เคยเป็นอดีตทนายความที่นำพาทักษิณ ชินวัตร รอดพ้นจากข้อกล่าวหาในกรณีซุกหุ้น ก่อนที่วิชัย ทองแตง จะผันตัวเองเป็นนักลงทุนที่เข้าซื้อกิจการโรงพยาบาลศิครินทร์ โรงพยาบาลเปาโล และการเข้าซื้อหุ้นโรงพยาบาลพญาไท ซึ่งการซื้อหุ้นและกิจการโรงพยาบาลในครั้งนั้น เป็นภาพที่สอดรับกับนโยบายว่าด้วย 30 บาทรักษาทุกโรค และการหนุนให้ไทยเป็น Medical Hub ยิ่งทำให้ภาพลักษณ์ของวิชัย ทองแตง ผูกพันอยู่ในฐานะตัวแทนของกลุ่มทุนการเมืองเรื่อยมา “ผมไม่ปฏิเสธว่าผมรู้จักผู้คนมากมาย แต่การทำธุรกิจจะมีเพียงเครือข่ายสายสัมพันธ์หรือ connection อย่างเดียวไม่ได้หรอก ปัจจัยสำคัญที่ยิ่งไปกว่านั้นคือ วิสัยทัศน์ ที่ต้องประเมินให้ได้ว่าธุรกิจใดมีศักยภาพ และธุรกิจใดที่มีความเสี่ยง ซึ่งทั้งหมดนี้ ได้มาด้วยกาลเวลา ได้มาจากการสั่งสมประสบการณ์และความรู้จากการทำงาน” ตลอดเวลาที่วิชัย ทองแตง โลดแล่นอยู่ในสังคมธุรกิจ เขาได้รับการกล่าวขานถึงในฐานะพ่อมดตลาดหุ้น

Read More