Home > Airlines

สายการบินเร่งปรับตัว รับสมรภูมิเดือดบนฟากฟ้า

ธุรกิจการบินของไทย ดูจะเป็นธุรกิจที่มีความเคลื่อนไหวเป็นที่น่าจับตามองมากกลุ่มหนึ่งในรอบปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุเพราะการปรับเปลี่ยนและการรุกคืบของกลุ่มทุนใหม่ๆ เข้าสู่พื้นที่การแข่งขันที่มีความเข้มข้นนี้กำลังส่งผลต่อภูมิทัศน์และกรอบการดำเนินธุรกิจให้มีความวูบไหวอย่างมีนัยสำคัญ เพราะในขณะที่การบินไทย สายการบินแห่งชาติ ซึ่งดำเนินการตามแผนปฏิรูปองค์กรระยะที่ 3 ภายใต้แนวคิด “การเติบโตอย่างยั่งยืน” ยังคงบันทึกผลขาดทุนสุทธิในไตรมาสที่ 2/2560 ในระดับขาดทุนสุทธิ 5,208 ล้านบาท ขณะที่ในไตรมาส 3/2560 ยังบันทึกผลขาดทุนสุทธิอีกกว่า 1,800 ล้านบาท ความพยายามของการบินไทยในการพลิกฟื้นสถานการณ์ในช่วงที่ผ่านมาแม้จะประสบความสำเร็จพอสมควร เมื่อปรากฏว่าอัตราการใช้ประโยชน์เครื่องบินต่อวันเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 จากระดับ 11.6 ชั่วโมงต่อเครื่องต่อวัน ในไตรมาส 3 ของปี 2559 มาสู่ระดับ 12.1 ชั่วโมงต่อเครื่องต่อวัน ขณะที่ปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK: Available Seat Kilometer) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 และอัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) อยู่ในระดับเฉลี่ยที่ร้อยละ 78.2 สูงกว่าปีก่อนซึ่งอยู่ในระดับร้อยละ 73.5 โดยมีจำนวนผู้โดยสารรวมทั้งสิ้นประมาณ 5.99-6 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 แม้ว่าผลการดำเนินงานของการบินไทยและบริษัทย่อยในไตรมาส 3/2560

Read More

Sri Lankan Airlines: นกยูงแห่งเอเชียใต้

Column: AYUBOWAN ได้ยินได้ฟังเรื่องราวความเป็นไปของการบินไทย สายการบินแห่งชาติ ซึ่งมีประวัติความเป็นมาครบรอบ 55 ปี ในปี 2015 เมื่อช่วงเดือนเศษที่ผ่านมาแล้ว ก็ให้รู้สึกเห็นใจผู้คนที่อยู่แวดล้อมองค์กรแห่งนี้ ทั้งในส่วนพนักงานที่ยังไม่สามารถกำหนดอนาคตได้แน่ชัด หรือผู้โดยสารที่รอให้กำลังใจด้วยการใช้บริการ และที่สำคัญคือประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของเงินภาษีที่รัฐอาจต้องนำเงินไปอุดหนุนวิสาหกิจแห่งนี้อีกครั้ง แต่กรณีของการบินไทยก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อย่างใดนะคะ เพราะอย่างที่เราท่านคงทราบดีว่า “When State Owns, Nobody Owns. When Nobody Owns, Nobody Cares.” ซึ่งดูเหมือนความเป็นไปของสายการบินแห่งชาติหลายแห่งก็จะดำเนินไปในพิกัดระนาบเช่นที่ว่านี้ จนต้องล้มหมอนนอนเสื่อป่วยไข้ไปด้วยพิษการบริหารที่ล้มเหลวจนถึงกับต้องล้มละลายจากหายไปในที่สุด เรื่องราวของ Sri Lankan Airlines เมื่อครั้งอดีตที่ผ่านมา ก็คงไม่ได้อยู่ในบริบทที่จะได้รับการยกเว้นจากกรณีที่ว่านี้เช่นกันนะคะ เพราะกว่าที่จะมาเป็น Sri Lankan Airlines สายการบินแห่งชาติของศรีลังกาในวันนี้ ต้องเผชิญกับมรสุมและกระแสลมแปรปรวนอยู่หนักหน่วงเช่นกัน จุดเริ่มต้นของสายการบินแห่งชาติศรีลังกา เริ่มขึ้นจากการจัดตั้ง Air Ceylon ในปี 1947 หรือก่อนที่ศรีลังกาจะได้รับเอกราชจากอังกฤษเจ้าอาณานิคม ในปี 1948 เสียอีก โดย Air Ceylon มีสถานะเป็นวิสาหกิจของรัฐ

Read More

แผนฟื้นฟูการบินไทย เพื่ออนาคตระยะยาวหรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้า?

 กว่าครึ่งทศวรรษที่สายการบินแห่งชาติอย่างการบินไทย ให้บริการขนส่งบนน่านฟ้าด้วยความสุภาพและยิ้มสยามเป็นอัตลักษณ์ หากจะเปรียบการบินไทยเป็นคนคนหนึ่ง คงไม่ยากหากจะจินตภาพถึงคนทำงานที่เกือบปลดระวางเพราะกรำงานมาอย่างหนัก แน่นอนว่าช่วงชีวิตของคนทำงานย่อมเจอกับหลายเหตุการณ์ การบินไทยเองก็เช่นกัน กว่า 50 ปีที่ดำเนินกิจการมามีช่วงเวลาที่สร้างรอยยิ้มให้ทั้งผู้บริหารและผู้ถือหุ้น กระทั่งปี พ.ศ. 2551 ปีแรกที่นับได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ เมื่อการบินไทยประสบสภาวะขาดทุนกว่า 2 หมื่นล้านบาท  กระทั่งการมาถึงของสายการบิน Low Cost ทำให้ธุรกิจการบินมีการแข่งขันที่สูงขึ้น ผู้บริโภคมีทางเลือกเพิ่มขึ้น แน่นอนว่าเป็นการดีต่อผู้บริโภคเมื่อมีสินค้าหรือบริการที่มีความหลากหลาย ไม่เป็นการผูกขาดทางการค้า หากแต่การยืนหยัดที่จะตรึงราคาเดิม ภายใต้เงื่อนไขด้านบริการที่สูงกว่า ส่งผลให้ต้นทุนต่อเที่ยวบินต่อที่นั่งสูงกว่าสายการบินอื่นๆ ที่บินในเส้นทางเดียวกัน ผลสรุปจึงกลายเป็นการติดลบทางบัญชีอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2556 ขาดทุน 12,047 ล้านบาท และ ปี 2557 ขาดทุน 15,573 ล้านบาท กระทั่งผลประกอบการครึ่งปีแรก พ.ศ. 2558 ขาดทุน 8 พันล้านบาท โดยไตรมาสแรกของปี 2558 (มกราคม – มีนาคม) ผลการดำเนินงานของการบินไทย มีกำไรอยู่ที่ 4.4

Read More

ประเมินศักยภาพการบินอาเซียน ฤา สายการบินแห่งชาติพ่าย low cost?

 ข่าวความเป็นไปของสายการบินแห่งชาตินามการบินไทย ที่กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างและฟื้นฟูธุรกิจจากที่ประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่องและสะสมยาวนาน ไม่เพียงแต่สั่นคลอนองค์กรธุรกิจแห่งนี้โดยลำพังเท่านั้น หากแต่ยังก่อให้เกิดคำถามถึงศักยภาพการแข่งขันของประเทศในห้วงยามที่กำลังจะเดินหน้าเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนไปโดยปริยายด้วย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือในบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศต่างมีสายการบินแห่งชาติหรือ flag carrier ซึ่งเป็นประหนึ่งธงนำในการสื่อแสดงสัญลักษณ์และความจำเริญก้าวหน้าของแต่ละประเทศไปสู่สาธารณชนในระดับนานาชาติ และต่างมีภูมิหลังที่มาในฐานะวิสาหกิจของรัฐที่ได้รับการคุ้มครองและสนับสนุนมาอย่างยาวนาน แต่ภูมิทัศน์ของอุตสาหกรรมการบินได้ปรับเปลี่ยนไปอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการบินในระดับนานาชาติถูกบีบอัดด้วยข้อจำกัดและส่วนต่างของผลกำไรที่ลดลงอย่างมากในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา และเป็นผลให้สายการบินแต่ละแห่งต้องเร่งปรับปรุงการบริหารจัดการทั้งในมิติของการลดต้นทุนการดำเนินการและการเร่งสร้างความเติบโตทางรายได้ควบคู่ไปด้วย ประเด็นที่น่าสนใจติดตามก็คือ อุตสาหกรรมการบินถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากมิติของรายได้ ซึ่ง International Air Transport Association (IATA) ระบุว่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการบินมีรายได้เพิ่มจาก 3.69 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2004 มาสู่ระดับ 7.46 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2014 หรือเพิ่มขึ้นเท่าตัวเลยทีเดียว แม้แนวโน้มของอุตสาหกรรมการบิน จะยังปรากฏแสงเรืองรอง นั่นก็มิได้หมายความว่าผู้ประกอบการสายการบินจะสามารถคาดหมายและบันทึกตัวเลขผลกำไรอย่างเป็นกอบเป็นกำและสม่ำเสมอลงในรายงานผลประกอบการเช่นในอดีต ซึ่งคงเป็นสิ่งที่หาได้ยากในสถานการณ์ปัจจุบัน ปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้อุตสาหกรรมการบินในระดับนานาชาติยังเติบโตต่อเนื่องอยู่ที่การเกิดขึ้นและขับเคลื่อนของสายการบินประเภท Low-Cost Carriers (LCCs) ซึ่งครอบครองส่วนแบ่งตลาดการบินอยู่ในสัดส่วนที่มากถึงร้อยละ 25 และยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องในตลาดเกิดใหม่และกำลังพัฒนา ขณะเดียวกันสายการบิน low-cost เหล่านี้ก็สามารถเบียดแทรกเข้าไปทำตลาดและเติมเต็มช่องว่างในตลาดที่พัฒนาแล้วได้อีกด้วย กล่าวเฉพาะสำหรับตลาดการบินในอาเซียนซึ่งถือเป็นตลาดการบินที่มีการเติบโตและแข่งขันสูงที่สุดภูมิภาคหนึ่งของโลก พบว่ากว่าร้อยละ 60

Read More