Home > Trincomalee

TRINCOMALEE: Profiles of the FUTURE?

 Column: AYUBOWAN หาก Arthur C.Clarke ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสามผู้ยิ่งใหญ่ แห่งโลกวรรณกรรมวิทยาศาสตร์ (science fiction) ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ภาพและแผนของโครงการลงทุนและพัฒนาที่ Trincomalee อาจบันดาลใจหรือกระตุ้นให้เกิดนิยายวิทยาศาสตร์เรื่องใหม่ที่น่าติดตามไม่น้อยเลย เพราะพลันที่รัฐบาลของ Mahinda Rajapaksa ใช้กำลังเข้าปราบปรามกลุ่มติดอาวุธพยัคฆ์ทมิฬอีแลม (Liberation Tigers of Tamil Eelam: LTTE) อย่างรุนแรง จนได้ชัยชนะอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดพร้อมกับประกาศสิ้นสุดสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อมานานกว่า 3 ทศวรรษ โครงการลงทุนขนาดใหญ่ก็พร้อมจะหลั่งไหลเข้าสู่ Trincomalee ยิ่งกว่ากระแสคลื่นลมเหนือเวิ้งอ่าวแห่งนี้เสียอีก ด้วยความได้เปรียบในทำเลที่ตั้งซึ่งทำให้ Trincomalee เป็นหนึ่งในท่าเรือที่มีความสำคัญมาตั้งแต่อดีต แต่ด้วยผลของสงครามและความขัดแย้งที่ทำให้แม้ท่าเรือ Trincomalee จะไม่ได้ถูกทิ้งร้าง แต่ก็ไม่ได้พัฒนาและใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่มานานกว่า 4 ทศวรรษ ภายใต้เหตุผลทางการเมืองและความมั่นคงภายใน ความพยายามที่จะพัฒนาหรือขยายฐานทัพเรือและฐานทัพอากาศซึ่งเป็นมรดกจากยุคสงครามโลกครั้งที่สองที่อังกฤษได้ส่งผ่านมาให้ และกระทรวงกลาโหมของศรีลังกายังคงใช้เป็นฐานทัพเรือหลักและฐานทัพอากาศอยู่ในปัจจุบัน เพื่อปรับปรุงให้เป็นท่าอากาศยานนานาชาติและท่าเรือน้ำลึกสำหรับการขนส่งสินค้าเพื่อมุ่งหน้าสู่อินเดีย และประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียใต้กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะจากอินเดีย ที่กำลังรักษาบทบาทและสถานะการนำในภูมิภาค ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากประการหนึ่งก็คือท่าเรือที่ Trincomalee มีขนาดและอาณาบริเวณกว้างใหญ่ถึงกว่า 2,000 เฮกตาร์ ในขณะที่ท่าเรือ Colombo มีขนาดประมาณ 200

Read More

TRINCOMALEE: จากฉากหลังแห่งสงครามสู่อนาคตเบื้องหน้า

 Column: AYUBOWAN ท่านผู้อ่านและผู้ที่สนใจติดตามความเป็นไปของศรีลังกา คงพอจะได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับ โคลัมโบ แคนดี้ รัตนปุระ รวมถึงอนุราธปุระ ในฐานะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของศรีลังกามาไม่น้อย ขณะที่เมืองทางชายฝั่งตะวันออกของประเทศ อย่าง Trincomalee อาจให้ภาพที่แตกต่างออกไปพอสมควร ในด้านหนึ่งอาจเนื่องเพราะ Trincomalee เป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางของชาวทมิฬ ซึ่งในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาถูกผลักให้จ่อมจมอยู่ท่ามกลางฉากหลังของสงครามกลางเมืองว่าด้วยชาติพันธุ์ และทำให้พัฒนาการของเมืองที่มีอดีตและศักยภาพในการเติบโตครั้งเก่าถูกฉุดให้ต้องหยุดชะงักไปโดยปริยาย ประวัติการณ์ของ Trincomalee สืบย้อนกลับไปได้ไกลตั้งแต่ก่อนสมัยพุทธกาล และถือเป็นเขตบ้านย่านเมืองที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชียอีกด้วย โดยเฉพาะความจำเริญในฐานะที่เป็นเมืองท่าและเขตการค้าสำคัญที่เชื่อมโยงศรีลังกาเข้ากับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือประชาชาติอาเซียนในปัจจุบัน คณะธรรมทูตจากกรุงศรีอยุธยา เพื่อนำพุทธศาสนากลับไปประดิษฐานในศรีลังกาอีกครั้ง ซึ่งนำโดยพระอุบาลีมหาเถระเมื่อปี 2295 ก็ได้อาศัยฝั่งฟากของเมืองท่า Trincomalee เป็นที่ขึ้นฝั่งแผ่นดินศรีลังกา ก่อนจะเดินเท้าข้ามผ่านระยะทางไกลเข้าสู่แคนดี้ เมืองหลวงของอาณาจักรศรีลังกาในขณะนั้นด้วย หากแต่ความสำคัญและเก่าแก่ของ Trincomalee ซึ่งเป็นชุมชนชาวทมิฬและผูกพันกับศาสนาฮินดูทำให้ Trincomalee ได้รับการกล่าวถึงในฐานะที่เป็น “เขาไกรลาสแห่งดินแดนตอนใต้” ในขณะที่เจ้าอาณานิคมแต่ละรายที่ผลัดเปลี่ยนอิทธิพลกันเข้ามาต่างระบุถึง Trincomalee ว่าเป็นเขตอาณาที่ทรงคุณค่าที่สุดแห่งหนึ่ง เนื่องเพราะเมืองท่าแห่งนี้มีเวิ้งอ่าวธรรมชาติที่กว้างใหญ่ และสามารถรองรับเรือเดินทะเลได้ทุกรูปแบบและในทุกสภาพอากาศ ประจักษ์พยานแห่งความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ของ Trincomalee ที่ว่านี้ ทำให้เมืองท่าที่อุดมด้วยศักยภาพต้องตกอยู่ในสภาพที่เป็นสมรภูมิการรบพุ่งระหว่างเจ้าอาณานิคมแต่ละรายอยู่ตลอดเวลา ด้วยต่างหวังจะช่วงชิงพื้นที่ที่ได้รับการระบุว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในการครอบครองความเป็นจ้าว เหนือน่านน้ำในมหาสมุทรอินเดีย และเชื่อมโยงไปสู่พื้นที่อื่นด้วย เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างโปรเตสแตนต์และคาทอลิกซึ่งนำไปสู่สงคราม 30 ปีในยุโรป (The Thirty Years’

Read More