Home > Tourism (Page 5)

เมียนมาเร่งพัฒนาฝีมือแรงงาน รองรับงานการบริการ-ท่องเที่ยวบูม

สถานการณ์การท่องเที่ยวเมียนมาตั้งแต่ปี 2012-2015 ที่จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้น น่าจะเป็นอานิสงส์จากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในและการเปิดประเทศ ที่เคยซ่อนเร้นความงดงามของวิถีชีวิต วัฒนธรรม และความสมบูรณ์ของทรัพยากรทางธรรมชาติเอาไว้จากสายตาคนภายนอก จากสถิตินักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศเมียนมาในปี 2012 จำนวน 1,058,995 คน และเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในปี 2013 ที่จำนวน 2,044,307 คน ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2014 และ 2015 ที่จำนวน 3,081,412 คน และ 4,681,020 คนตามลำดับ ทั้งนี้ภาคการท่องเที่ยวเมียนมาดูจะมีภาษีดีสุด เมื่อจำนวนอาคันตุกะที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี และยังสร้างรายได้ให้ประเทศ โดยปี 2011 เมียนมามีรายได้จากการท่องเที่ยวจำนวน 319 ล้านดอลลาร์ ปี 2012 มีรายได้ 534 ล้านดอลลาร์ ปี 2013 มีรายได้ 926 ล้านดอลลาร์ ปี 2014 มีรายได้ 1,789 ล้านดอลลาร์ และปี 2015

Read More

พะเยา: ฝันใหญ่ของเมืองเล็ก ตั้งเป้าท่องเที่ยว-ค้าชายแดนโต

หากจะเอ่ยถึงจังหวัดทางภาคเหนือของไทยที่มักถูกนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ให้ความสนใจและเลือกเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับการท่องเที่ยว คงจะหนีไม่พ้นจังหวัดใหญ่ๆ อย่าง แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย หรือน่าน พะเยา จังหวัดที่น้อยคนนักจะเลือกเดินทางเข้าไปสัมผัสเพื่อเพิ่มประสบการณ์ใหม่ แม้ว่าจะมีสภาพภูมิอากาศที่ค่อนข้างเย็นสบาย ความร่มรื่นที่มีผลมาจากความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติที่นับได้ว่า ยังคงความเขียวขจีอยู่มากกว่าบางจังหวัด ประกอบกับความเงียบสงบของเมืองซึ่งเหมาะแก่การหลบร้อนและพักผ่อน อาจเป็นเพราะด้วยความที่จังหวัดพะเยาถูกขนาบข้างด้วยเชียงรายและน่าน ที่ดูจะมีภาษีเหนือกว่าในเรื่องของสถานที่ท่องเที่ยว ที่เมื่อได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวจนทำให้เกิดกระแส ผู้คนแห่แหนกันไปเพื่อเช็กอิน เก็บเกี่ยวประสบการณ์และแชร์การมาเยี่ยมเยือนลงบนโลกโซเชียล นั่นทำให้พะเยาเป็นเพียงทางผ่านในหลายๆ ครั้ง กระทั่งเมื่อมีการเปิดเผยแผนพัฒนาด่านบ้านฮวก อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา ให้เปิดด่านถาวร จึงเป็นเสมือนการเปิดสวิตช์เครื่องจักร ทำให้หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเร่งพัฒนาและปลุกศักยภาพของจังหวัดให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการค้าชายแดน เมื่อด่านบ้านฮวกมีเขตที่สามารถเชื่อมต่อกับแขวงไซยะบุรี ของ สปป.ลาว ได้ นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศเวียดนามและจีนตอนใต้ ซึ่งหากด่านบ้านฮวกถูกอนุมัติให้เป็นด่านถาวร อ. ภูซาง จ.พะเยา จะกลายเป็นอีกหนึ่งประตูและเส้นทางการค้าของภูมิภาคนี้ ซึ่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ปานทอง สระคูพันธ์ เปิดเผยว่า “จังหวัดได้งบประมาณจากรัฐบาลมา 500 ล้านบาท โดยจะนำงบประมาณดังกล่าวมาพัฒนากว๊านพะเยา เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ และแหล่งท่องเที่ยว เมื่อถนนที่เชื่อมไทย-ลาว แล้วเสร็จจะสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นต่อประชาชนในพื้นที่ทั้งสองฝั่ง” ทั้งนี้ด่านบ้านฮวกจะเป็นด่านชายแดนถาวรได้ภายในปีนี้ ซึ่งหากเป็นไปตามการคาดการณ์ของปานทอง สระคูพันธ์ นั่นหมายความว่า จังหวัดพะเยาคงต้องเร่งดำเนินการพัฒนาทั้งระบบเพื่อให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะมาถึง เส้นทางโลจิสติกส์ที่น่าจะเป็นตัวเชื่อมสำคัญสำหรับการค้าการลงทุนระหว่าง

Read More

50 ปี ASEAN กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการท่องเที่ยว

ปี 2560 ดูจะเป็นปีที่มีความสำคัญไม่น้อยสำหรับสมาคมประชาชาติอาเซียน (ASEAN) เพราะนอกจากจะเป็นปีแห่งการครบรอบการสถาปนา ASEAN ครบ 50 ปีแล้ว การดำรงอยู่ของอาเซียนในบริบทของเศรษฐกิจการเมืองสังคมโลกในปัจจุบัน ยังอยู่ในภาวะที่ท้าทายจังหวะก้าวในอนาคตไม่น้อยเลย ภายใต้แนวความคิดการรวมกลุ่มประเทศในภูมิภาค หรือ Regional Integration ที่กำลังถูกท้าทายจากกรณีการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร ในนาม BREXIT ที่ส่งแรงกระเทือนไปสู่การรวมกลุ่มความร่วมมือในภูมิภาคอื่นๆ ASEAN ที่พยายามชู “ความหลากหลายที่หลอมรวม” ก็อยู่ในสภาพที่ถูกตั้งคำถามให้ได้พิจารณาเช่นกัน แม้ ASEAN จะเกิดมีขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาระหว่างประเทศอันเนื่องมาจากความแตกต่างในยุคสมัยแห่งสงครามเย็น หากแต่ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ASEAN ได้ปรับและขยับขึ้นมาเป็นแกนกลางของภูมิภาคในการดึงชาติมหาอำนาจ ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน หรือผู้แทนระดับสูงของ EU เข้ามาร่วมเป็นคู่สนทนา และทวีบทบาทสำคัญในการพัฒนาให้เป็นประชาคมที่พร้อมจะตอบรับกับบริบททางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อย่างมีนัยสำคัญ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากประการหนึ่งของ ASEAN ก็คือภายใต้ฐานทางเศรษฐกิจและสังคม ของประชาคมอาเซียน ที่มีประชากร 640 ล้านคนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ที่กำลังขยับไปสู่ระบบอุตสาหกรรม ทำให้ทุนขยายและกระจายไปอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ หากแต่ในยุคสมัยแห่งโลกดิจิทัลหรือที่ยุคแห่งการผลิตแบบ

Read More

น้ำตกตาดเยือง ปราสาทวัดพู มนต์เสน่ห์แห่งลาวใต้

ความพยายามที่จะเป็น Battery of Asean ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ด้วยปัจจัยหลักของความสมบูรณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และความต้องการที่จะผลักดันประเทศให้หลุดพ้นจากการเป็นประเทศยากจนและด้อยพัฒนา ภายในปี 2563 จึงไม่น่าแปลกใจที่ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราจะได้เห็นและรับรู้ข่าวสารจากฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน เกี่ยวกับนโยบายการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง เพราะนั่นเป็นเป้าหมายสำคัญที่ สปป.ลาว วางเอาไว้ว่าจะผลิตพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นให้ได้ถึง 12,500 เมกะวัตต์ นอกจากความพรั่งพร้อมด้านทรัพยากรทางธรรมชาติที่เป็นตัวแปรสำคัญของการผลิตพลังงานไฟฟ้าแล้ว ความงดงามที่ธรรมชาติรังสรรค์ขึ้น รวมไปถึงสถานที่สำคัญที่เต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์น่าจะเป็นแม่เหล็กชั้นดีที่จะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้เข้ามาสัมผัสมนต์เสน่ห์ของ สปป.ลาวได้ไม่ยาก อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของ สปป.ลาว ดูเหมือนจะกลายเป็นฟันเฟืองตัวสำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าได้ แม้ว่าการเคลื่อนไปข้างหน้าของระบบเศรษฐกิจจะดำเนินไปอย่างล่าช้าไปสักหน่อยเมื่อเทียบกับประเทศไทย แต่ผลสรุปดูจะเป็นที่น่าพอใจอยู่ไม่น้อย และหากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของ สปป.ลาว ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในการที่จะปลุกเร้าศักยภาพที่มีอยู่ให้มีความพร้อมทั้งด้านการบริการและระบบการจัดการที่ดี เชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จะหนุนนำและส่งเสริมให้ฟันเฟืองชิ้นนี้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น น้ำตกตาดเยือง จุดท่องเที่ยวธรรมชาติที่สำคัญของเมืองปากซอง แขวงจำปาสัก อีกหนึ่งสถานที่ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาสัมผัสความงาม จำนวนนักท่องเที่ยวที่เริ่มหนาตาประหนึ่งว่าเสียงขับขานแห่งสายธารกำลังเรียกร้องเชิญชวน สายน้ำทิ้งตัวตามความสูงชันของหน้าผา ไหลลงมาตามแรงโน้มถ่วงของโลก มวลน้ำรวมตัวกับความเร็วของกระแสแห่งธารก่อให้เกิดฟองน้ำสีขาวสะอาดตา สายลมที่พัดผ่านมาตามช่องเขานำพาเอาละอองน้ำปลิวมากระทบสรรพสิ่งที่อยู่ใกล้เคียง ไม่เว้นแม้แต่นักท่องเที่ยวที่เดินทางฝ่าด่านทดสอบของธรรมชาติลงไปสัมผัสกับความเย็นฉ่ำที่งดงามของน้ำตกสายนี้ ยามเมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนตัวสูงขึ้น และทอแสงส่องลงมาทำมุมกับละอองน้ำที่กระจายตัวอยู่ในอากาศ องศาของแสงที่ตกกระทบลงบนความพอดีที่ลงตัวปรากฏสายรุ้งขนาดเล็กชวนให้ผู้พบเห็นตื่นตาตื่นใจเสพความสวยงามตรงหน้าจนอิ่มเข้าไปถึงใจ เบื้องหลังกระแสธารแม้จะเป็นผาหินที่แข็งแกร่ง หากแต่พืชพรรณสีเขียวที่อาศัยความชื้นขึ้นปกคลุมโขดหินที่ตั้งตระหง่านอย่างมั่นคง เหมือนมีใครสักคนนำผ้าแพรสีเขียวมาห่อหุ้ม ช่วยให้บรรยากาศโดยรอบชวนมองมากขึ้น จึงไม่แปลกใจที่นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกสารทิศต่างเดินทางมาเพื่อที่จะสัมผัสพร้อมทั้งเก็บเกี่ยวบรรยากาศที่มากไปด้วยอรรถรส และเสพสุนทรีที่รังสรรค์ขึ้นจากธรรมชาติ แม้การเดินทางมายังน้ำตกตาดเยืองจะไม่ยากลำบาก หากแต่การเดินไต่ระดับลงไปเพื่อสัมผัสกับน้ำตกเบื้องล่าง นักท่องเที่ยวต้องเดินด้วยความระมัดระวังเมื่อบันไดที่ทอดตัวลงไปด้านล่างนั้นมีทั้งบันไดที่เป็นไม้ และโขดหินที่มีตะไคร่ขึ้นประปราย ขณะที่แหล่งท่องเที่ยวของเมืองไทยเองก็มีน้ำตกที่งดงามหลายแห่ง และยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันเลื่องชื่อ แต่ที่น่าสังเกตคือ พื้นที่บริเวณโดยรอบของน้ำตกตาดเยือง แม้จะมีร้านรวงที่ตั้งขึ้นเพื่อขายสินค้าที่ระลึก

Read More

จากบทเรียนภูทับเบิก สู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศบนเขาค้อ

  ลมหนาวที่พัดผ่านในยามรุ่งอรุณ มวลอากาศเย็นที่เข้าปกคลุมประเทศไทย อาทิตย์กำลังฉายแสงและเคลื่อนตัวขึ้นสู่ท้องฟ้า แสงที่สาดส่องมานอกจากจะเป็นสัญญาณการเริ่มต้นของเช้าวันใหม่แล้วยังฉายให้เห็นสายหมอกอ่อนๆ ที่ลอยอวลอ้อยอิ่งอยู่ตามทิวเขา ฤดูหนาวของไทยกำลังมาเยือน แม้ว่าช่วงฤดูหนาวจะเป็นช่วงเวลาที่การท่องเที่ยวของไทยมีสีสันมากกว่าทุกช่วงเวลา หากแต่คงไม่ใช่เวลานี้ ในยามที่คนไทยอยู่ในห้วงอารมณ์แห่งความเศร้าโศกจากการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ม่านหมอกของความอาดูรยังไม่จางลง หลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทำให้หลายฝ่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป ตื่นรู้และตระหนักถึงพระราชกรณียกิจที่ผ่านมาของพระองค์ท่าน อีกทั้งยังประกาศความตั้งมั่นที่จะเดินรอยตามพระปณิธานของพระองค์ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ความพอเพียง” และ “เกษตรทฤษฎีใหม่”  ชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยหลายสิบปี และได้รับการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรจากในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่สนับสนุนให้ปลูกพืชเมืองหนาวทดแทนการปลูกฝิ่น จนกลายเป็นอาชีพหลักหาเลี้ยงครอบครัว  จังหวัดเพชรบูรณ์นับเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่ชาวเขาอพยพมาอาศัยอยู่ บางส่วนมีอาชีพเกษตรกร เพาะปลูกพืชเมืองหนาว เช่น กะหล่ำปลี ผักสลัด เบบี้แครอท ซึ่งบางส่วนอาศัยอยู่บริเวณภูทับเบิก นอกจากนี้ยังมีชาวเขาอีกส่วนที่อาศัยพื้นที่ทำกินบริเวณเขาค้อ เพื่อปลูกสตรอว์เบอร์รี่ทดแทนการปลูกฝิ่น และแม้ว่าเพชรบูรณ์อากาศจะไม่หนาวเย็นเหมือนจังหวัดทางภาคเหนือตอนบน อย่าง เชียงราย เชียงใหม่ หรือแม่ฮ่องสอน หากแต่ด้วยทัศนียภาพและสภาพอากาศที่ใกล้เคียง ประกอบกับระยะทางการเดินทางที่ใช้เวลาไม่นานมาก ทำให้เพชรบูรณ์เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเลือกเป็นสถานที่พักผ่อน ซึ่งนำรายได้เข้าสู่จังหวัดเพชรบูรณ์จำนวนมาก ภูทับเบิกนับเป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจนเกิดเป็นกระแสสังคม และแน่นอนว่าเมื่อจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีเพิ่มมากขึ้นทุกปี ส่งผลให้เกิดความต้องการที่จะตอบสนองแรงบริโภคของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะในเรื่องที่พักอาศัย รีสอร์ต เกสต์เฮาส์ ที่เริ่มทอดตัวอยู่ตามแนวไหล่เขาจนบดบังทัศนียภาพอันสวยงามของธรรมชาติอย่างที่ควรจะเป็น กระทั่งเกิดการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนของภูทับเบิก หรือการดำเนินการบนที่ดินโดยปราศจากเอกสารสิทธิ์  ในระยะเวลาอันสั้นที่ทำให้พื้นที่ทำกินของเกษตรกรบนภูทับเบิกถูกเปลี่ยนมือ และแม้ว่าปัจจุบันภูทับเบิกจะยังคงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมอยู่ กระนั้นความนิยมเหล่านั้นก็ตามมาด้วยปัญหา

Read More

จากทัวร์ศูนย์เหรียญถึง อีสติน ตัน ความเป็นไปของการท่องเที่ยวไทย

  ความเคลื่อนไหวในสังคมไทยนอกเหนือจากความวูบไหวของตลาดหุ้นไทยจากเหตุปัจจัยความไม่มั่นคงและไม่มั่นใจจากเงื่อนไขภายในหลากหลายประการที่รุมเร้าแล้ว ปรากฏการณ์ว่าด้วยการสกัดการท่องเที่ยวแบบทัวร์ศูนย์บาทหรือทัวร์ศูนย์เหรียญของนักท่องเที่ยวจีน รวมถึงข่าวการบุกเข้าตรวจสอบโรงแรมอีสติน ตัน เชียงใหม่ (Eastin Tan Hotel Chiang Mai) ของ ตัน ภาสกรนที นักธุรกิจชื่อดัง ซึ่งตั้งอยู่บริเวณถนนห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้เหตุผลว่าด้วยอาคารดังกล่าวไม่มีใบอนุญาตประกอบการโรงแรมที่พัก ดูจะเป็นกรณีที่สั่นสะเทือนธุรกิจท่องเที่ยวไม่น้อยเลย เพราะในขณะที่รัฐบาลพยายามหนุนนำกลไกทางเศรษฐกิจด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างเอิกเกริก แต่การปราบปรามทัวร์ศูนย์บาทกลับกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการยกเลิกการท่องเที่ยวของคณะทัวร์จีน และส่งผลกระทบต่อผู้คนในแวดวงการท่องเที่ยวอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งของมาตรการการสกัดทัวร์ศูนย์เหรียญดังกล่าวอยู่ที่ความพยายามปรับยกสถานะและภาพลักษณ์ของการเป็นจุดหมายปลายทางราคาถูก หรือ cheap destination มาสู่การเป็นจุดหมายปลายทางที่มีคุณภาพ (quality destination) ที่เป็นประหนึ่งเป้าประสงค์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย แต่ในอีกมิติหนึ่ง การผนึกประสานความพยายามของหน่วยงานรัฐทั้งตำรวจท่องเที่ยว กองบัญชาการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และหน่วยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวนี้ กลับสั่นคลอนความเป็นไปของธุรกิจท่องเที่ยวไทยอย่างไม่อาจเลี่ยง โดยเฉพาะเมื่อประเมินจากรายงานและสถิติของทางราชการที่ระบุว่านักท่องเที่ยวชาวจีนมีสัดส่วนมากที่สุดเมื่อเทียบกับนักท่องเที่ยวจากทุกชาติ โดยในปี 2558 มีนักท่องเที่ยวจีนในเมืองไทยเกือบ 8 ล้านคน สร้างรายได้ให้คนไทยราว 371,000 ล้านบาท และคาดว่าในปี 2566 รายได้ส่วนนี้จะเพิ่มสูงถึงประมาณ 830,000 ล้านบาทเลยทีเดียว มาตรวัดว่าด้วยการเป็นจุดหมายปลายทางราคาถูก และการเป็นจุดหมายปลายทางที่มีคุณภาพ บนฐานของข้อมูลเช่นว่านี้ในด้านหนึ่งจึงดูจะเป็นทางเลือกที่ท้าทายต่อการกำหนดนโยบายของภาครัฐและพัฒนาการของผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทยที่น่าสนใจติดตามไม่น้อยว่าจะดำเนินไปในทิศทางและในรูปแบบใดนับจากนี้ ขณะที่กรณีการปรากฏข่าวหน่วยงานราชการไทยปราบปรามจับทัวร์จีนในเมืองไทย ได้สร้างความสับสนให้เกิดขึ้นในหมู่นักท่องเที่ยวชาวจีนอย่างมาก

Read More

จากชุมชนสู่การท่องเที่ยว วิถีคนลุ่มน้ำและเมืองชายแดนไทย-มาเลย์

  เพราะการท่องเที่ยวเป็นกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งกระตุ้นการใช้จ่ายภายในและดูดเม็ดเงินจากต่างประเทศ การให้ความสำคัญในการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพและสร้างความแข็งแกร่งให้กับการท่องเที่ยวจึงเป็นสิ่งที่ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างให้ความสำคัญ ทรัพยากรธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิต คือทรัพยากรสำคัญที่มีผลต่อการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการท่องเที่ยว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงได้ดำเนินการผ่านสำนักประสานงานโครงการวิจัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ ให้การสนับสนุนทุนวิจัยในโครงการ “การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวภายใต้อัตลักษณ์และวิถีท้องถิ่นลุ่มน้ำทะเลสาบ” และ “การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) และ 4 รัฐ ของประเทศมาเลเซีย (กลันตัน เปรัค เคดาห์ เปอร์ลิส) ภายใต้มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่อาเซียน” เพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพและเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวระหว่างพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเชื่อมต่อไปยังเมืองชายแดนไทย-มาเลเซีย พร้อมผลักดันผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม จากการวิจัยพบว่าพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่ครอบคลุมจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา มีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ทั้งธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “วิถีโหนด-นา-เล” วิถีชีวิตดั้งเดิมของคนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่ผูกพันกับการทำตาลโตนด การทำนา และการประมง ซึ่งถือเป็น 3 อาชีพหลักของคนในพื้นที่  ต.ท่าหิน อ.สทิงพระ จ.สงขลา นับเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกตาลโตนดมากที่สุดในประเทศไทย

Read More

ท่องเที่ยว 4.0 ชูอัตลักษณ์ท้องถิ่น สร้างดุลยภาพทางเศรษฐกิจ

  ฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันยังคงเป็นเรื่องของการท่องเที่ยว ซึ่งต้องยอมรับว่ารายได้ของประเทศส่วนใหญ่มาจากส่วนนี้ เมื่อสถานการณ์การส่งออกของไทยยังคงโคลงเคลงที่ยังต้องการจุดจับยึดเพื่อสร้างความมั่นคงมากกว่าที่เป็น  ส่วนหนึ่งของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกคือเรื่องของสภาวะเศรษฐกิจโลกยังคงปรวนแปร ทั้งสถานการณ์ Brexit ที่ส่งผลกระทบเป็นระลอกคลื่น นับตั้งแต่ประเทศโซนยุโรป กระทั่งประเทศโซนเอเชีย และการที่ไทยยังไม่สามารถแก้ปัญหาในกรณีการค้ามนุษย์ได้ แม้ว่าปัจจุบันไทยจะถูกจัดอันดับขึ้นมาอยู่เทียร์ 2 ซึ่งถือว่ายังต้องเฝ้าระวัง  นอกเหนือจากปัจจัยแวดล้อมข้างต้นที่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องแก้ไข ยังมีปัญหาที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และกระทรวงการท่องเที่ยว ต้องหาทางออกเพื่อหยุดผลกระทบที่กำลังจะลุกลาม ซึ่งอาจจะส่งผลถึงรายได้การท่องเที่ยวจำนวนมหาศาลที่จะสูญไป  นั่นคือกรณีของผู้ประกอบการเชียงใหม่บางกลุ่มที่ไม่ต้องการนักท่องเที่ยวจีน จากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบางประการ และการเผยแพร่เรื่องราวบนสื่อโซเชียล ในเชิงดูถูก จนเกิดกระแสการต่อต้านในวงกว้าง  นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ทางการไทยออกมาตรการควบคุมรถนักท่องเที่ยวจากจีนที่เดินทางบนเส้นทาง R3a เข้าสู่ไทยทางภาคเหนือ กระทั่งในวันนี้ที่สื่อจีนชวนคนจีนบอยคอตงดเที่ยวเชียงใหม่ นับเป็นการตอบโต้คนเชียงใหม่ที่ส่งผลต่อผู้ประกอบการโรงแรม รีสอร์ต ผู้ให้บริการรถเช่า ร้านอาหาร แหล่งท่องเที่ยว และที่สำคัญคือภาพรวมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย เพราะเมื่อดูจากตัวเลขสถิติจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยในช่วงเดือนมกราคม ถึง เดือนมิถุนายน 2559 จำนวนนักท่องเที่ยวจีนลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเดือนมกราคมยอดนักท่องเที่ยวจีนอยู่ที่ 814,593 คน เดือนกุมภาพันธ์ 958,204 คน เดือนมีนาคม 856,676 คน เดือนเมษายน 816,028 คน เดือนพฤษภาคม 738,570 คน และเดือนมิถุนายน 715,413

Read More

ท่องเที่ยวหลวงพระบาง กับทิศทางแห่งการพัฒนา

  ข่าวการมาเยือนไทยครั้งแรกของ ดร.ทองลุน สีสุลิด นายกรัฐมนตรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังเข้ารับตำแหน่ง ได้รับความสนใจอย่างมาก ซึ่งนอกจากจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยและ สปป.ลาว แล้ว ยังมีการหารือทวิภาคีของผู้นำทั้งสองประเทศ ในโอกาสที่จะสานต่อความร่วมมือระหว่างกันที่มีอยู่เดิม และความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงนาม MOU ในเรื่องแรงงาน ซึ่งทางการไทยเน้นย้ำชัดเจนในเรื่องการดูแลแรงงานจากทุกประเทศเพราะแรงงานเหล่านี้ล้วนเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย  นอกจากนี้ ดร.ทองลุนยังได้กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “สปป.ลาว สู่อนาคตการพัฒนา” ซึ่งจัดโดยวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น และการปาฐกถาครั้งนี้มีนัยสำคัญที่น่าสนใจมากมาย เสมือนเป็นการประกาศแนวทางนโยบายในการบริหารประเทศให้สาธารณชนได้รับรู้และเข้าใจ  “ลาวและไทยมีความสัมพันธ์อันดีอย่างยาวนาน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผ่านขบวนการต่อสู้โดยสันติวิธี กระทั่งปัจจุบันมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ 7 เพื่อขยายการผลิตและส่งออกประคับประคองเศรษฐกิจให้ฟื้นขึ้นมา แต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับดังกล่าวกลับได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจมหภาคที่ถูกคุกคามจึงไม่ประสบผลสำเร็จ ปัจจุบันกำลังสร้างแผนเศรษฐกิจที่ 8 โดยมีเป้าหมายให้ลาวก้าวออกจากประเทศด้อยพัฒนาเป็นประเทศกำลังพัฒนา ให้แล้วเสร็จในปีคริสต์ศักราช 2020 ภายใต้วิสัยทัศน์ในการทำให้ชีวิตประชาชนลาวดีขึ้น โดยรายได้มวลรวมประชาชน หรือ GDP (Gross National Income) และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ จะต้องสอดคล้องหรือไม่ส่งผลกระทบแง่ลบต่อดัชนีความสงบสุขของคนในประเทศ (Global Peace Index, GPI) นั่นหมายความว่า ลาวจะพยายามพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเหมาะสมภายใต้ความสุขของประชาชน” เมื่อพิจารณาจากนโยบายที่ ดร.ทองลุน

Read More

เคทีซีผนึกเวิลด์ เอ็กซ์พลอเรอร์ ร่วมขับเคลื่อนธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศ เปิดโครงการประวัติศาสตร์ “7 โบราณสถาน กับ 5 ตำนานสุวรรณภูมิ (เรื่องเล่าหลายชาติบนแผ่นดินแหลมทอง)”

 เคทีซีจับมือเวิลด์ เอ็กซ์พลอเรอร์ สานต่อนโยบายประชารัฐด้านการท่องเที่ยว เพื่อกระจายรายได้และมุ่งสร้างความยั่งยืน เปิดโครงการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในมุมมองใหม่ “7 โบราณสถาน กับ 5 ตำนานสุวรรณภูมิ (เรื่องเล่าหลายชาติบนแผ่นดินแหลมทอง)”  เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ประวัติศาสตร์ไทย ภายใต้แนวคิดเรื่องโบราณสถานต่างๆ ที่เคยรุ่งเรือง 7 แห่ง ผ่านการเดินทางไปตามแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ และ 5 ประเทศใน AEC กับเหล่านักประวัติศาสตร์โบราณคดีตัวจริง ที่จะมาร่วมเปิดมุมมองใหม่จากตำนานที่เล่าขาน กับ 12 ทริปต่อเนื่องจนถึงต้นปี 2561  ประเดิมทริปแรกด้วยการเดินทางสู่เมืองละโว้ “ศิลาแลงเล่าเรื่อง เมืองลิงสร้าง” จังหวัดลพบุรี ระหว่างวันที่ 27-28 สิงหาคม 2559 พิทยา วรปัญญาสกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “จากข้อมูลการใช้จ่ายผ่านบัตรที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางของสมาชิกเคทีซี พบว่ามีอัตราเติบโตสูงขึ้นทุกปี โดยในปี 2558 เติบโตประมาณ

Read More