Home > Tourism (Page 4)

สมาคมการตลาดท่องเที่ยวไทยผนึกพันธมิตรหนุนบูม Traveltech

สมาคมการตลาดท่องเที่ยวไทยผนึกทำเอ็มโอยู 5 สมาคมท่องเที่ยว พร้อมผนึกกำลังสมาคมไทยไอโอที และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และ Traveltech Startup 20 บริษัท เดินหน้านวัตกรรมดิจิตอลทั้งด้านการบริหาร การบริการและการตลาด และช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการ Traveltech ของไทยให้มีให้มีศักยภาพในระดับโลกและปั้น Unicorn ตัวแรกของไทยให้เกิดขึ้น นายกิตติ พรศิวะกิจ นายกสมาคมการตลาดท่องเที่ยวไทยหรือ ATTM เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2561 ได้มีการเซ็น MOU ของสมาคมการตลาดท่องเที่ยวไทยกับภาคีเครือข่ายสมาคมท่องเที่ยว 4 สมาคม คือ สมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวไทย (สนท.) สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (สทอ.) สมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย (สธทท.) ตลอดจนการเชิญนายกสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย สมาคมไทยไอโอที (TIOT) รวมถึงสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) และผู้บริหารของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) รวมถึงซีอีโอจาก Traveltech Startup 20

Read More

9 หน่วยงานขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ 3 ชายแดนภาคใต้

9 หน่วยงานสานพลังขานรับนโยบายบูรณาการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการยกระดับคุณภาพชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความอยู่ดีมีสุข ความสามัคคีปรองดอง และความสงบสุขของชุมชน พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาคใต้และภาคใต้ชายแดน (อ.ก.บ.ภาคใต้และภาคใต้ชายแดน) เป็นประธานและมอบนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา พร้อมมอบนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนฯ และชมนิทรรศการ ในโอกาสนี้รองนายกรัฐมนตรีได้ให้เกียรติเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนต้นแบบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) ระหว่าง 6 หน่วยงาน และ 3 จังหวัด ประกอบด้วย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ศูนย์อำนวยการบริหารส่วนจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้

Read More

ท่องเที่ยวบูม-ทัวร์จีนมา สังคมไทยหรือใครได้ประโยชน์??

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าสังคมไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลไกภาครัฐ จะพยายามเน้นย้ำความสำเร็จในการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยในฐานะที่เป็นจักรกลในการเสริมสร้างรายได้และหนุนนำภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ให้สามารถหลุดพ้นจากภาวะซบเซาที่ดำเนินต่อเนื่องยาวนานได้ ตัวเลขสถิติทั้งในมิติของจำนวนนักท่องเที่ยวและปริมาณรายได้ที่หน่วยงานภาครัฐนำเสนอออกสู่สาธารณะในฐานะที่เป็นปัจจัยบ่งชี้ความสำเร็จและผลสัมฤทธิ์ในเชิงนโยบาย หลั่งไหลออกมาเป็นระยะควบคู่กับมาตรการส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยว ด้วยหวังจะโหมประโคมให้การท่องเที่ยวเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมหลักในการฉุดกระชากซากเน่าทางเศรษฐกิจที่จมอยู่ในปลักแห่งความถดถอยมาเกือบทศวรรษ ทั้งจากวิกฤตความขัดแย้งและความไม่แน่นอนทางการเมือง ต่อเนื่องมาสู่ความด้อยปัญญาและประสิทธิภาพในการบริหาร และยุคเปลี่ยนผ่านในสมัยแห่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในปัจจุบัน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการนำเสนอแผนประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในช่วงที่ผ่านมา ดูจะภาคภูมิใจต่อความเติบโตของธุรกิจการท่องเที่ยวไทยเป็นอย่างมาก และนำเสนอตัวเลขที่เชื่อว่าเป็นดัชนีบ่งชี้ความสำเร็จในรูปของประมาณการรายได้ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการท่องเที่ยวที่ขยายตัวขึ้นนี้ กรณีดังกล่าวได้รับการขับเน้นจากการแถลงแผนการท่องเที่ยวปี 2562 เมื่อช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยททท. เชื่อว่าการท่องเที่ยวไทยยังจะเติบโตต่อไปอีกในอัตราร้อยละ 12 ซึ่งจะสร้างให้เกิดรายได้จากการท่องเที่ยวมูลค่ารวมกว่า 3.46 ล้านล้านบาท แม้ว่าในห้วงเวลาแห่งการแถลงแผนท่องเที่ยวของ ททท. สังคมไทยกำลังถูกตั้งคำถามว่าด้วยมาตรฐานความปลอดภัย ควบคู่กับประเด็นว่าด้วยข้อเท็จจริงและรายละเอียดของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่มีอยู่ในสังคมไทยก็ตาม ข้อมูลที่น่าสนใจสำหรับการเติบโตขึ้นของธุรกิจท่องเที่ยวไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ก็คือการหลั่งไหลเข้ามาของนักท่องเที่ยวชาวจีน ดูจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่หนุนเสริมให้การท่องเที่ยวไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงมกราคมถึงพฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยรวมมากถึงกว่า 5 ล้านคน เป็นการเพิ่มขึ้นด้วยอัตราเร่งเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ที่อยู่ในระดับ 4 ล้านคนโดยกองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬาประเมินว่านักท่องเที่ยวชาวจีนเหล่านี้นำพาให้เกิดรายได้เข้าประเทศไทยมากถึง 2.7 แสนล้านบาท การเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ดำเนินต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2559 แม้จะส่งผลเชิงบวกต่อตัวเลขภาพรวมของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย และได้รับการประเมินว่าเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่ที่สร้างเสริมรายได้ให้กับภาคธุรกิจการท่องเที่ยวของไทย หากแต่การเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจีนในอีกด้านหนึ่งกลับกลายเป็นช่องทางหลักที่กลุ่มทุนจีนเห็นโอกาสในการลงทุนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแบบครบวงจร ชนิดที่เรียกได้ว่าเป็นกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำกระทั่งสิ้นสุดที่ปลายน้ำ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจากชาติเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจโรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร ร้านขายสินค้าที่ระลึก บริษัทนำเที่ยว ศูนย์รวมความบันเทิง ซึ่งสามารถรองรับความต้องการของตลาดท่องเที่ยวจีน ตั้งแต่ระดับกลางถึงระดับล่างเลยทีเดียว กิจกรรมและกิจการของนักธุรกิจจากจีนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ในลักษณะผูกขาดและกินรวบดังกล่าว นอกจากจะติดตามมาด้วยเรื่องมาตรฐานการให้บริการ ซึ่ง ททท.

Read More

Unseen-Unsafe Thailand มาตรฐานความปลอดภัยที่ต้องปรับปรุง

แม้ว่าภารกิจช่วยเหลือทีมหมูป่าติดถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ที่ดำเนินต่อเนื่องมากว่า 2 สัปดาห์จะลุล่วงและประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี พร้อมกับกระแสที่สร้างความตื่นตัวขจรขจายกลายเป็นข่าวดังไปทั่วทุกมุมโลก และส่งผ่านความน่ายินดีมาสู่ปฏิบัติการกู้ชีพกู้ภัยที่อาจเรียกได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญในสังคมไทยในรอบหลายปี หากแต่ท่ามกลางปฏิบัติการกู้ชีพกู้ภัยนำพาชีวิตทีมหมูป่าออกจากถ้ำ เพื่อมาสู่แสงสว่างแห่งชีวิตอีกครั้ง ในอีกด้านหนึ่งของสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจท่องเที่ยวไทยกลับต้องประสบเหตุโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ เมื่อเรือท่องเที่ยวซึ่งมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจำนวนเกือบร้อยชีวิตไม่สามารถฝ่าคลื่นลมจนต้องประสบภัยจมดิ่งสู่ก้นทะเล พร้อมกับคร่าชีวิตผู้คนไปมากถึง 43 ราย และยังมีผู้สูญหายอีก 2 ราย ภาพที่ตัดกันของนักท่องเที่ยวเด็กในนาม ทีมหมูป่า ที่ติดอยู่ในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย ซึ่งกลายเป็นจุดศูนย์กลางของความสนใจของผู้คนทั่วทุกมุมโลก กับภาพของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เผชิญเหตุประสบภัยกลางทะเลอันดามัน จังหวัดภูเก็ต นอกจากจะสะท้อนการนำเสนอข่าวสารของสื่อสารมวลชนในยุคที่โลกโซเชียลออนไลน์มีส่วนสำคัญ ในการนำพาอารมณ์ความรู้สึกของผู้คนในสังคมแล้ว กรณีดังกล่าวยังนำไปสู่การตั้งคำถามหลากหลายในการบริหารจัดการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยอีกด้วย แต่จุดเชื่อมของคำถามที่เหลื่อมซ้อนกันจากเหตุดังกล่าวก็คือ การท่องเที่ยวของไทยมีมาตรการด้านความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด และประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความปลอดภัยในระดับใดกันแน่ ภาพสะท้อนกรณีดังกล่าว ถูกนำเสนออย่างเด่นชัดเมื่อสื่อมวลชนระดับนำของญี่ปุ่น “นิกเคอิ เอเชียน รีวิว” ตีพิมพ์รายงานเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ด้วยการตั้งคำถามแหลมคมต่อสังคมไทย ซึ่งบางส่วนกำลังอยู่ในอารมณ์คลายกังวลและชื่นชมที่ปฏิบัติการช่วยเหลือทีมหมูป่าออกจากถ้ำและรักษาชีวิตของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ไว้ได้สำเร็จ ว่าการท่องเที่ยวไทยมีความปลอดภัยเพียงใด เป็นคำถามที่เกิดขึ้นหลังจากที่อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบุว่ากรมอุทยานฯ ได้สั่งปิดการท่องเที่ยวถ้ำจำนวน 169 แห่ง จนกว่าจะมีการประเมินความปลอดภัยช่วงฤดูฝน นอกจากนี้ ยังระบุว่าต่อไปจะต้องมีการลงทะเบียนผู้เข้า-ออกถ้ำในเขตอุทยานฯ และวนอุทยานฯ ด้วย ก่อนหน้านี้

Read More

สิมิลัน: เหยื่อการท่องเที่ยวที่ไร้การจัดการ?

ในขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวกำลังดำเนินความพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการโหมประโคมส่งเสริมการท่องเที่ยว ภายใต้คำขวัญที่หวังสร้างกระแสทั้ง “ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างลึกซึ้ง” และ “ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน” หากแต่ข่าวความเป็นไปของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันในช่วงเวลา 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ดูจะสร้างมิติที่แตกต่างออกไปจากอย่างสิ้นเชิง ปรากฏการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปยังหมู่เกาะสิมิลันอย่างหนาแน่น จนเกิดภาวะนักท่องเที่ยวล้นเกาะ ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้การดูแลและอำนวยความสะดวกของเจ้าหน้าที่เป็นไปอย่างไม่ทั่วถึงแล้ว ประเด็นที่น่าสนใจยิ่งไปกว่านั้นก็คือสภาพแวดล้อมและทรัพยากรทางธรรมชาติของหมู่เกาะสิมิลัน จะมีความเสี่ยงต่อการถูกทำลายให้เสียหายมากน้อยเพียงใด จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น ในด้านหนึ่งอาจจะทำให้หน่วยงานด้านการท่องเที่ยวระบุถึงผลความสำเร็จในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ที่ทำให้สิมิลันกลายเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยม โดยเฉพาะในกลุ่มนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวจากจีนที่มีสัดส่วนมากถึงกว่าร้อยละ 90 ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด ขณะที่ในปีที่ผ่านมา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จังหวัดพังงา กลายเป็นสถานที่ที่สามารถจัดเก็บรายได้จากค่าธรรมเนียมนักท่องเที่ยวได้มากถึง 201 ล้านบาท จากการเปิดฤดูท่องเที่ยวประจำปี 2560 (1 พฤศจิกายน 2559-30 เมษายน 2560) รายได้ที่เพิ่มมากขึ้นเป็นประวัติการณ์เมื่อปีที่ผ่านมา ได้รับการบันทึกว่าเป็นสถิติใหม่ในการจัดเก็บรายได้สูงสุดในรอบ 35 ปีนับตั้งแต่มีการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เมื่อปี 2525 และนับเป็นสถานที่ที่จัดเก็บรายได้จากนักท่องเที่ยวได้มากเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย กระนั้นก็ดี ตัวเลขของรายได้และจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น ย่อมไม่สามารถเป็นดัชนีชี้วัดความสำเร็จของการบริหารจัดการกิจกรรมท่องเที่ยว ที่มุ่งหมายทั้งในมิติของความลึกซึ้งและยั่งยืน ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามนำเสนอได้ ในทางตรงข้ามกลับสะท้อนภาพความบกพร่องในการบริหารจัดการและการเตรียมการที่จะรองรับผลสืบเนื่องที่สามารถคาดการณ์ได้จากปรากฏการณ์ในช่วงปีที่ผ่านมา ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือ ในช่วงเดือนมกราคม 2560 เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันรายงานว่าสามารถจัดเก็บรายได้ค่าธรรมเนียมนักท่องเที่ยวได้มากถึง 57 ล้านบาท

Read More

ททท. เร่งเครื่องสร้างแรงบันดาลใจ ท่องเที่ยววิถีไทย 2561

เพิ่งจบไปหมาดๆ กับงาน “เทศกาลเที่ยวเมืองไทย 2561” ครั้งที่ 38 ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยแทบจะยกจุดเด่นของแต่ละภูมิภาคมานำเสนอไว้ที่สวนลุมพินี เพื่อให้คนกรุง รวมไปถึงนักท่องเที่ยวได้สัมผัสบรรยากาศและทำความรู้จักกับประเพณี วัฒนธรรม อาหารพื้นบ้านของไทยในเบื้องต้น ซึ่งผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ยุทธศักดิ์ สุภสร คาดหวังว่างานนี้จะเป็นเสมือนจุดเริ่มต้นและสร้างแรงบันดาลใจให้กับเหล่านักเดินทางทั้งไทยและต่างชาติ ให้ได้ออกเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวจริง เบื้องต้นที่มีการคาดการณ์ว่าจะมีผู้เข้าร่วมชมงานไม่ต่ำกว่า 6 แสนคน หากการทำงานของ ททท.ในครั้งนี้ประสบผลสำเร็จ และเป็นไปตามเป้าหมาย ผู้เข้ามาร่วมชมงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทย ครั้งที่ 38 จำนวนไม่น้อยกว่า 61 เปอร์เซ็นต์ ออกเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ นั่นอาจจะหมายถึงตัวเลขรายได้ที่จะได้รับประมาณ 1 ล้านล้านบาท ภายใต้ยุทธศาสตร์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาคนใหม่ ผสมผสานกับกรอบโครงของนโยบายรัฐบาลที่ต้องการจะลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม รวมไปถึงความต้องการที่จะปลุกฟื้นเศรษฐกิจในระดับฐานราก การเติมน้ำมันเพื่อเร่งเครื่อง ฟันเฟืองสำคัญอย่างการท่องเที่ยวในห้วงยามนี้ ดูจะเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายที่สุด แน่นอนว่า ความคาดหวังของภาครัฐในเรื่องที่ต้องการให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวเมืองไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนาซัปพลายที่จะนำเสนอให้กับเหล่านักท่องเที่ยว ที่ไม่เพียงแต่เฉพาะเจาะจงว่าจะต้องพร้อมสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเท่านั้น หากแต่ยังต้องคำนึงถึงนักท่องเที่ยวไทยที่นิยมเดินทางภายในประเทศอีกด้วย และงาน “เทศกาลเที่ยวเมืองไทย” ที่ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 38 เป็นส่วนหนึ่งในแผนการที่แม้จะมองว่าไม่ใช่แผนการที่แยบยลอะไรมากนัก หากแต่เป็นการเดินเกมแบบง่ายๆ แต่น่าจะเห็นผลได้ชัดเจน ด้วยรูปแบบของงานที่ยกเอาของดีจากหลายภูมิภาคมาไว้ในใจกลางกรุงเทพฯ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เริ่มทำความรู้จัก สร้างจุดสนใจ และในที่สุดคือ ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจจนเกิดการเดินทางเข้าไปยังพื้นที่จริง แน่นอนว่ากว่าจะวัดผลของงานครั้งนี้ได้ก็ต่อเมื่อขึ้นศักราชใหม่แล้ว

Read More

ททท. ชูเมืองรองแคมเปญใหม่ หวังสร้างรายได้สู่เศรษฐกิจฐานราก

ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีรายได้จากหลากหลายอุตสาหกรรม ทั้งอุตสาหกรรมการส่งออก การลงทุนจากภาคเอกชน และที่สำคัญคือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่ดูเหมือนจะเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจไทย ในหลายยุคหลายสมัย เมื่อประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่เกื้อหนุนต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี จึงไม่น่าแปลกใจที่รายได้จากการท่องเที่ยวไทยคิดเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ของประเทศ โดยเฉพาะเมื่อศักราชที่ผ่านมา ประเทศไทยมียอดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาเที่ยวไทยมากกว่า 35 ล้านคน จากตัวเลขดังกล่าวทำให้ไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวรวมกว่า 2.754 ล้านล้านบาท รายได้รวมขยายตัวขึ้นถึง 9.47 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อน ซึ่งเมื่อพิจารณาจากภาพรวมที่ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ได้อธิบายให้เห็นภาพชัดขึ้นว่า สถานการณ์การท่องเที่ยวของชาวต่างชาติในปี 2560 ไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวจำนวนทั้งสิ้น 35,381,210 คน จำนวนดังกล่าวจะเห็นได้ว่ามีการขยายตัว 8.77 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติคือ 1,824,042.35 ล้านบาท ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศปี 2560 มีจำนวน 152 ล้านคน-ครั้ง เป็นตัวเลขที่ขยายตัวถึง 4.39 เปอร์เซ็นต์จากปีที่ผ่านมา และรายได้จากการท่องเที่ยวของคนไทยเองประมาณ 930,000 ล้านบาท แม้ว่าตัวเลขทั้งในด้านของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ จะเพิ่มสูงขึ้นจนเป็นปรากฏการณ์

Read More

หอการค้าเปิดแผนหนุนภาครัฐ ท่องเที่ยวคือกุญแจสำคัญ

ดูเหมือนว่า “ไตรมาสสุดท้ายของปี” จะเป็นตัวเร่งเร้าสำคัญที่ทำให้หลายฝ่ายต้องระดมสรรพสมองเพื่อขบคิดและสรรหานโยบายรังสรรค์แผนการสำหรับการพัฒนา โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และ “การท่องเที่ยว” กลายเป็นเครื่องจักรตัวสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อมีการคาดการณ์รายได้รวมจากการท่องเที่ยวปี 2560 อยู่ที่ 2.7 ล้านล้านบาท โดยประมาณ ตัวเลขรายได้ของการท่องเที่ยว ที่แม้จะเป็นเพียงประมาณการรายได้ทั้งปี หากแต่ด้วยตัวเลขที่สูงเช่นนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่หลายภาคส่วนยังมุ่งเน้นที่จะสร้างสรรค์แคมเปญที่มีความเกี่ยวโยงกับการท่องเที่ยวอยู่เนืองๆ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่ประเดิมแคมเปญใหม่ในช่วงสิ้นปีภายใต้กรอบโครงความคิดที่ไม่แตกต่างไปจากเดิมมากนัก เมื่อการมุ่งเน้นที่จะขายวัฒนธรรมท้องถิ่นดูจะเป็นจุดขายหลักที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยว ด้วยการเปิดปีท่องเที่ยววิถีไทยอย่างเป็นทางการในชื่องาน “ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน” หรือ Amazing Thailand Tourism Year 2018 ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 ถึง 1 มกราคม 2562 นอกจากนี้ฟากฝั่งของหอการค้าไทยเอง ที่มีการประชุมสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศในช่วงวันที่ 17-19 พฤศจิกายน 2560 นั้น ประเด็นสำคัญของการสัมมนาในครั้งนี้ดูจะมุ่งเน้นไปให้ถึงผลลัพธ์ของการเติบโตของตัวเลขจีดีพีโดยรวมของประเทศ ภายใต้หัวข้อ “Executing Trade & Service 4.0: เติบโตทั่วถึง แบบไทยเท่”

Read More

วัฒนธรรมท้องถิ่น จุดขายท่องเที่ยวยุคดิจิทัล

“Thailand 4.0” นโยบายหลักของรัฐบาลไทยกลายเป็นวาทกรรมหลักที่แทบทุกหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของฝ่ายบริหาร ต้องนำไปปฏิบัติและใช้ห้อยท้ายในทุกแคมเปญเพื่อเป็นการยืนยันความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้งนี้นโยบายดังกล่าวมีเป้าหมายหลักที่สำคัญคือ ความต้องการที่จะให้ไทยหลุดพ้นจากกับดักการเป็นประเทศรายได้ปานกลาง สู่การเป็นประเทศรายได้สูง หัวใจสำคัญของเป้าหมายนี้ทำให้ทุกฟันเฟืองที่อยู่ในระบบขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยต้องปรับตัว บุคลากรจากหลายภาคส่วนต้องระดมสรรพกำลัง ระดมสมองรังสรรค์แผนการ เพื่อให้เกิดแรงขับเคลื่อนทั้งองคาพยพ แน่นอนว่าไม่เว้นแม้แต่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่ต้องสร้างสรรค์แคมเปญหลากหลายในแต่ละปี ซึ่งแต่ละกิจกรรมที่สร้างขึ้นล้วนแล้วแต่มีกิมมิกที่โดดเด่นแตกต่างกันไป แม้ว่าฟันเฟืองตัวนี้จะเป็นเสมือนเครื่องจักรสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับประเทศไปแล้วก็ตาม โดยสถานการณ์ภาพรวมการท่องเที่ยวในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 มีรายได้กว่า 8 แสนล้านบาท เท่ากับว่ารายได้ครึ่งปีแรกขยายตัว 6.05 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งยังมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 17.32 ล้านคน เพิ่มขึ้น 4.4 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ตัวเลขนักท่องเที่ยวที่มาไทยเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุมาจากการขยายตัวของการท่องเที่ยวโลก หากแต่เมื่อมองที่จำนวนนักท่องเที่ยวสหรัฐฯ ประเทศเดียว จากข้อมูลสถิติของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พบว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2560 จำนวนนักท่องเที่ยวสหรัฐฯ เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยมีจำนวน 6.88 แสนคน เติบโตร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่นักท่องเที่ยวจากสหรัฐฯ มีการใช้จ่ายระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวในไทยมูลค่า 50,953.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับช่วงที่เหลือของปี 2560 กำลังจะก้าวเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจากสหรัฐฯ อีกครั้ง

Read More

YAKEI แคมเปญชวนหลงใหล ญี่ปุ่นพร้อมรับนักท่องเที่ยวตลอดปี

ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตของผู้คน รวมไปถึงความสวยงามของธรรมชาติที่ถักทอและหล่อหลอมจนทำให้ประเทศญี่ปุ่นกลายเป็นอีกหนึ่งจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวหลายๆ คน ที่อย่างน้อยสักครั้งในชีวิตต้องเดินทางไปสัมผัสและเก็บเกี่ยวประสบการณ์ชีวิต ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเมื่อในแต่ละปีประเทศญี่ปุ่นจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากสถิติของ Japan National Tourism Organization (JNTO) เปิดเผยว่า ปี 2558 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นจำนวน 19.73 ล้านคน เพิ่มจำนวนขึ้นจากปี 2557 ร้อยละ 47.1 เปอร์เซ็นต์ โดยรัฐบาลญี่ปุ่นตั้งเป้าหมายเรื่องจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเอาไว้ที่ 20 ล้านคน ภายในปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่ญี่ปุ่นจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก หากพิจารณาจากสถิติที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าญี่ปุ่นบรรลุเป้าหมายเรื่องการท่องเที่ยวเร็วกว่ากำหนด และประเด็นที่น่าสนใจคือ นับเป็นครั้งแรกในรอบ 45 ปี ที่จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างชาติเข้ามาญี่ปุ่นมีจำนวนมากกว่านักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นที่เดินทางออกนอกประเทศ และเมื่อตัวเลขสถิตินักท่องเที่ยวออกมาเช่นนี้ ทำให้นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น นายชินโซ อาเบะ ตัดสินใจเพิ่มจำนวนเป้าหมายนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็น 30 ล้านคน เพียงแต่ไม่ได้ระบุปีเอาไว้ กระนั้นปัจจัยที่ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในญี่ปุ่นเพิ่มจำนวนขึ้นมานั้น น่าจะมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน โดยเฉพาะในปี 2558 ที่มีจำนวนมากถึง 4,993,800 คน นั่นทำให้จีนกลายเป็นนักท่องเที่ยวอันดับ

Read More