Home > Restaurant (Page 3)

คอมมูนิตี้มอลล์พลิกโฉม “ลอนดอนสตรีท” งัดสูตรใหม่

 สงครามคอมมูนิตี้มอลล์ยังแข่งขันกันอย่างดุเดือดและกลายเป็นไลฟ์สไตล์มอลล์ที่ถูกดัดแปลงสารพัดรูปแบบ ไม่ใช่มีเพียงซูเปอร์มาร์เก็ตเป็นแม็กเน็ตหลัก และไม่ได้จำกัดคู่แข่งเฉพาะกลุ่มทุนอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะ ล่าสุด การแตกไลน์ธุรกิจคอมมูนิตี้ฟู้ดมอลล์ของกลุ่มเอ็มเค กรุ๊ป ภายใต้โครงการ “ลอนดอนสตรีท” กลายเป็นสูตรธุรกิจใหม่ การพลิกเกมกำหนดทำเลและสร้างช่องทางขายของตัวเองแบบเบ็ดเสร็จ 360 องศา  เปลี่ยนรูปแบบจากการเปิดร้านอาหารและต้องช่วงชิงลูกค้ากับร้านอาหารคู่แข่งในคอมมูนิตี้มอลล์ 1 แห่ง แต่ “ลอนดอนสตรีท คอมมูนิตี้ฟู้ดมอลล์” คือ ยุทธศาสตร์ศูนย์รวมแบรนด์ร้านอาหารในเครือ โดยเอ็มเค กรุ๊ป ตั้งเป้าสร้างยอดขายต่อหัวจากลูกค้ามากกว่า 3 รอบต่อวัน เริ่มตั้งแต่มื้อเช้า มื้อกลางวัน มื้อเย็น และอาจมีมื้ออาหารทานเล่นช่วงพลบค่ำตบท้ายอีกรอบ  ฤทธิ์ ธีระโกเมน ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โครงการลอนดอนสตรีทเป็นก้าวย่างครั้งใหม่ของเอ็มเค กรุ๊ป นอกเหนือจากแผนการขยายสาขาของร้านอาหารในประเทศไทย เพื่อตอกย้ำถึงวิสัยทัศน์การเป็นผู้นำธุรกิจด้านร้านอาหาร (Restaurant Food Chain Expert) แต่ต้องการสร้างลอนดอนสตรีทเป็นคอมมูนิตี้ฟู้ดมอลล์ ต้นแบบแห่งแรกภายใต้คอนเซ็ปต์การออกแบบสไตล์ลอนดอนชิค และเป็นไอคอนแห่งใหม่บนย่านถนนพัฒนาการ โดยสร้างบรรยากาศที่ไม่เคยมีมาก่อนและตอบโจทย์กระแสความนิยมการรับประทานอาหารสำหรับคนรุ่นใหม่ สำหรับ “ลอนดอนสตรีท”

Read More

“เอ็มเค กรุ๊ป” ปรับทัพ ส่งต่อเจเนเรชั่น 3

 การทุ่มทุนเปิดตัวโครงการคอมมูนิตี้ฟู้ดมอลล์ “ลอนดอนสตรีท” นอกจากปลุกสีสันการตลาด ตอกย้ำภาพลักษณ์อาณาจักร “เอ็มเค กรุ๊ป” ในฐานะผู้นำธุรกิจด้านร้านอาหาร และสร้างโมเดลการขยายสาขาในรูปแบบใหม่ โดยผนึกแบรนด์ร้านอาหารในเครือ เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าทุกระดับ ทุกวัย ทุกสไตล์ และทุกเซกเมนต์ เป้าหมายมากกว่านั้น ยังเป็นสนามทดสอบครั้งสำคัญก่อนส่งต่อธุรกิจหมื่นล้านให้ผู้บริหารเจเนเรชั่นใหม่ เปลี่ยนยุคจาก 3 หัวเรือใหญ่ คือ ฤทธิ์ ธีระโกเมน ยุพิน ธีระโกเมน และสมชาย หาญจิตต์เกษม สู่ทายาทรุ่นที่ 3 โดยวางไทม์ไลน์ไว้หลังจากนี้ไม่เกิน 5 ปี “คนรุ่นผม อีก 5 ปี ควรอยู่อย่างสงบ ทำบุญ ช่วยเหลือสังคม วันนี้เป็นยุคของคนรุ่นใหม่ เอ็มเค กรุ๊ป เปิดตัวลอนดอนสตรีทและเปิดตัวผู้บริหารรุ่นใหม่ จากเดิมที่พวกเขาไม่เคยมีตัวตน วันนี้พวกเขามีตัวตน ทุกคนรู้จัก แต่ยังต้องใช้เวลาเรียนรู้สร้างประสบการณ์อีกระยะหนึ่ง เจเนเรชั่นใหม่ทั้งฝั่งผมและฝั่งคุณสมชาย ทุกคนจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้น ส่วนผมเป็นที่ปรึกษา” ฤทธิ์ ธีระโกเมน ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท

Read More

ธุรกิจร้านอาหาร

 คอลัมน์ From Paris ไปถนนไหนก็เห็นแต่ร้านอาหาร Chez Clément สัญลักษณ์ของร้านอยู่ที่หม้อไหกระทะทองแดงที่แขวนแต่งหน้าร้าน ขณะมองหาร้านอาหาร ชี้ชวนเพื่อนว่าไปร้าน Chez Clément ละกัน มีอาหารประจำวันที่น่าสนใจด้วย เพื่อนผู้มีรสนิยมวิไลบอกว่า เป็นเชนร้านอาหาร ไม่น่าจะอร่อย ทว่าเคยไปกินกับเพื่อนอีกกลุ่มหนึ่ง ไม่พบว่า Chez Clément กินไม่ได้ Hippopotamus เป็นอีกร้านหนึ่งที่เห็นบ่อยๆ ก็เป็นเชนร้านอาหารเช่นกัน ถนัดเรื่องเนื้อปิ้งๆ ย่างๆ ได้กินครั้งแรกที่สนามบินชาร์ลส์-เดอ-โกล-ร็วสซี (Charles-de-Gaulle-Roissy) ระหว่างรอเวลาขึ้นเครื่อง ทว่าไม่ถูกใจนัก เพราะมีแต่เนื้อนั่นแหละ สั่งได้แต่สลัดผักเพราะเดี๋ยวก็ได้กินอาหารบนเครื่องแล้ว ได้กิน Hippopotamus อย่างเป็นเรื่องราวเมื่อไปเที่ยวต่างจังหวัด และแวะรับประทานอาหารระหว่างทาง  Groupe Flo เป็นกลุ่มธุรกิจร้านอาหาร มีเชนร้านอาหารในครอบครองหลายยี่ห้อ นอกจาก Hippopotamus แล้ว ยังมี Bistro Romain, Tablapizza, Brasseries Flo, Taverne de Maître Kanter

Read More

ไฟน์ ฟู้ด แนวรบใหม่ของสิงห์

 ธุรกิจอาหารเป็นอีกหนึ่งในธุรกิจที่สันติ ภิรมย์ภักดี บอสใหญ่ของสิงห์กำหนดเป็นนโยบายไว้ ซึ่งที่ผ่านมา กลุ่มสิงห์เริ่มก้าวเข้าสู่ธุรกิจอาหาร โดยประเดิมเปิดร้าน EST 33 เมื่อหลายปีก่อน และประสบผลสำเร็จ จนมีถึง 3 สาขาในปัจจุบัน การรุกคืบของสิงห์ในสมรภูมิธุรกิจอาหารครั้งใหม่เริ่มขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่ สิงห์เปิดตัวบริษัท ไฟน์ ฟู้ด แคปปิตอล จำกัด ในฐานะที่เป็นบริษัทในเครือบุญรอด บริวเวอร์รี่ เมื่อตุลาคม 2555 หรือเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา โดยเป็นบริษัทที่มุ่งเน้นธุรกิจอาหารทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้การบริหารของธีระ วงศ์พัฒนาสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไฟน์ ฟู้ด แคปปิตอล จำกัด ภายใต้ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท โครงสร้างของกลุ่มธุรกิจอาหาร ได้เริ่มเดินเครื่องเสริมทัพเป็นจักรกลให้กับบริษัท ด้วยการประเดิมเปิดร้านอาหาร ชื่อ “ร้าน พาคาต้า” จำนวนสองสาขา โดยสาขาแรกในไทยที่ถนนข้าวสาร เมื่อเดือนธันวาคม 2555 ด้วยคอนเซ็ปต์ร้านที่นำเสนอเป็นแบบ Fast Fusion

Read More

Japanese Restaurant: วัฒนธรรมที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ

 ในบรรดาธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องด้วยมิติทางวัฒนธรรมนั้น ธุรกิจอาหารดูจะเป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่ดำเนินไปอย่างมีพลวัตและการจำเริญเติบโตอย่างต่อเนื่องมากที่สุดแขนงหนึ่ง และดูเหมือนว่าธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นที่กำลังเบ่งบานอยู่ในสังคมไทยด้วยมูลค่ารวมกว่า 2 สองหมื่นล้านบาทจะเป็นตัวอย่างที่ดีในมิติที่ว่านี้ ขณะเดียวกัน การเกิดขึ้นของร้านอาหารญี่ปุ่นที่กระจายตัวและครอบคลุมพื้นที่ในประเทศไทยอย่างกว้างขวางในขณะปัจจุบัน ก็เป็นประหนึ่งการรุกคืบทางวัฒนธรรมครั้งใหม่ที่กำลังแปลงสภาพเป็นมูลค่าทางธุรกิจที่ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในบริบทของธุรกิจร้านอาหารแต่โดยลำพังเท่านั้น หากยังหมายรวมถึงธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ที่ย่อมมีมูลค่ารวมนับได้หลายหมื่นล้านบาทอีกด้วย ปัจจัยที่ทำให้ร้านอาหารญี่ปุ่นกลับมามีสภาพคึกคักยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม หลังจากที่ครอบครองความนิยมในหมู่ผู้บริโภคชาวไทยมาอย่างยาวนาน ในด้านหนึ่งได้รับการประเมินว่าเป็นผลมาจากกระแสความตื่นตัวในเรื่องสุขภาวะจากการบริโภคและวิถีในการปรุงอาหาร ในขณะเดียวกันต้องยอมรับว่ากรอบโครงทางนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในแบบ Abenomics ก็มีส่วนไม่น้อยในการกระตุ้นให้วัฒนธรรมทางอาหารของญี่ปุ่น ได้รับการส่งเสริมให้เป็นกลไกในการกระตุ้นจักรกลทางเศรษฐกิจของประเทศในห้วงเวลานี้ คำประกาศกร้าวอย่างมั่นใจของ Shinzo Abe นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นต่อหน้านักลงทุนและผู้บริหารกองทุนน้อยใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (New York Stock Exchange) เมื่อช่วงปลายปี 2013 ที่ผ่านมาว่า “ญี่ปุ่นกลับมาแล้ว” สะท้อนมิติมุมมองและทัศนะของภาครัฐที่พร้อมจะสนับสนุนการรุกคืบครั้งใหม่ของภาคเอกชนญี่ปุ่น โดยเฉพาะเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงที่ว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเริ่มกลับมาฟื้นตัวและมีความเชื่อมั่นมากขึ้นอย่างช้าๆ แต่มั่นคง ความพยายามของ Shinzo Abe ในการนำพาญี่ปุ่นออกจากวัฏจักรที่เสื่อมถอยด้วย Abenomics ซึ่งเน้นไปที่ภาคธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดำเนินควบคู่กับวาทกรรม Beautiful Japan ที่เป็นการสื่อสารกับสาธารณชนวงกว้าง โดยตลอดเวลาที่ผ่านมา Shizo Abe ได้ใช้วาทกรรมว่าด้วย Beautiful Japan ขึ้นมาหนุนนำและสร้างเสริมคะแนนนิยม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่ากรอบโครงความคิดและเบื้องหลังวาทกรรมที่ว่านี้จะยังไม่ปรากฏเป็นรูปธรรมที่สามารถให้อรรถาธิบายให้จับต้องและเห็นจริงได้ก็ตาม สิ่งที่ญี่ปุ่นเผชิญก็คือ แรงงานญี่ปุ่นซึ่งถูกฝังอยู่ในกระบวนการผลิตที่ล้าสมัยและไม่สามารถดำรงความสามารถในการแข่งขันถูกผลักให้ต้องออกจากงาน ไปสู่งานในอุตสาหกรรมภาคบริการ และกว่าร้อยละ 40 ของแรงงานญี่ปุ่นในปัจจุบันอยู่ภายใต้สถานะการจ้างแบบ

Read More

“Asian Brand” เป้าหมายก้าวกระโดดของ MK

“สุขอยู่ที่ใดใด ...สุขอยู่นี่ไง ค้นพบความสุขที่ MK” เมื่อเพลงดังขึ้น พนักงาน MK ที่ตั้งแถวรออยู่ก็เต้นอย่างพร้อมเพรียง แต่ครั้งนี้พวกเขาไม่ได้เต้นอยู่ในร้าน MK หากแต่เป็น ณ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีลูกค้าวีไอพีกิตติมศักดิ์ซึ่งทาน MK มาตลอด 28 ปี อย่าง ท่านอานันท์ ปันยารชุน มาร่วมรับชมการแสดงนี้มีชื่อว่า “MK Step Forward” เป็นส่วนหนึ่งในพิธีเปิดการซื้อขายหุ้นวันแรกของ บมจ. เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ที่ผ่านมา โดยเข้าทำการซื้อขายในตลาดฯ ในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ใช้ชื่อย่อว่า “M” เนื่องจากในตลาดฯ มีผู้ใช้ “MK” ไปก่อนแล้ว คือ “มั่นคงเคหะการ” ซึ่งทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก่อนหน้านี้ MK ได้ขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (ไอพีโอ) ในราคาหุ้นละ 49

Read More

ล่องนทีความคิดผ่านวิถีอาหารไทย กับนักธุรกิจที่ชื่อ Walter Lee

เพราะสีสันของสถาปัตยกรรมเลียบริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาของกรุงเทพฯ ในยามค่ำคืนนั้นนับได้ว่ามีเสน่ห์ ไม่เฉพาะในสายตาของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ แม้แต่คนไทยเองก็ยังหลงใหลและใฝ่ฝันที่จะได้ล่องเรือชื่นชมบรรยากาศแสนโรแมนติก พร้อมดินเนอร์เหนือสายน้ำเจ้าพระยาดูสักครั้งปัจจุบันธุรกิจเรือภัตตาคารล่องแม่น้ำเจ้าพระยาเติบโตและคึกคัก เรียกได้ว่า ตั้งแต่ 19.00-21.00 น. ของทุกค่ำคืน ตลอด 2 ชั่วโมงแห่งมื้อค่ำสุดโรแมนติกจะมีเรือภัตตาคารล่องผ่านวัดอรุณฯ แทบจะทุกๆ 10-15 นาทีไม่ว่าจะเป็น เรือภัตตาคารยักษ์เหล็กอย่าง “เจ้าพระยาปริ๊นเซส”, “ไวท์ ออร์คิด”, “แกรนด์เพิร์ล”, “เจ้าพระยาครุยส์”, “ริเวอร์ สตาร์ ปริ๊นเซส”, “ริเวอร์ไซด์” และ “เจ้าพระยาปริ๊นเซส” หรือจะเป็นเรือภัตตาคารสร้างจากไม้สักดัดแปลงจากเรือบรรทุกข้าวในอดีตอย่าง “แว่นฟ้า”, “ยกยอ” และ “มโนราห์” ที่ทำให้สายน้ำเจ้าพระยาคึกคักทั้งค่ำคืนล่าสุด นับแต่เดือนมีนาคม ที่เพิ่งผ่านมา สายน้ำเจ้าพระยาเพิ่งได้รับสมาชิกใหม่เป็นเรือไม้สักทองอายุ 50 ปี ลำใหญ่สุดของแม่น้ำแห่งนี้ ชื่อว่า “ณ เบญจรงค์” เรือภัตตาคารขนาดย่อมรับนักท่องเที่ยว 40 คน เพิ่มขึ้นอีกรายขณะที่เรือภัตตาคารส่วนใหญ่เสิร์ฟอาหารบุฟเฟต์ ราคาตั้งแต่ 900-1,400 บาท

Read More