Home > Myanmar (Page 2)

ทวาย: ความเคลื่อนไหวในสายลมแล้ง กลางสนามประลองของมหาอำนาจ

 ข่าวความคืบหน้าเกี่ยวกับโครงการลงทุนเพื่อพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย กลับมาอยู่ในความสนใจและเป็นประเด็นให้ผู้ที่ติดตามใฝ่ถามหาข้อมูลกันอย่างคึกคัก หลังจากที่ตลอดเวลาที่ผ่านมาโครงการดังกล่าวดูจะอุดมไปด้วยความคลุมเครือและไม่ปรากฏท่วงทำนองในทิศทางที่แจ่มชัด ควบคู่กับความล่าช้าที่ทำให้หลายฝ่ายกังวลและสงสัยว่าโครงการนี้จะเดินหน้าต่อหรือไม่ ย้อนหลังกลับไปอภิมหาโครงการแห่งนี้ ได้รับการประเมินจากหลายฝ่ายว่าเป็นความทะเยอทะยาน และกำลังจะเป็นการวางรากฐานการรุกคืบในเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนาครั้งสำคัญของสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประกอบส่วนกับข้อเท็จจริงที่ว่าโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายมิได้มีนัยความหมายจำกัดอยู่เฉพาะบริบทความเป็นไปในเมียนมาร์ หรือแม้แต่ประโยชน์ของเอกชนรายใดรายหนึ่งแต่เพียงลำพัง หากแต่โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายกำลังปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ทั้งด้านการค้าการลงทุน อุตสาหกรรมและการคมนาคมทั้งในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอาจขยายไปสู่บริบทที่กว้างขวางกว่านั้นด้วย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ด้วยระยะทาง 160 กิโลเมตรของเส้นทางที่เชื่อมโยงระหว่างท่าเรือน้ำลึกทวายกับด่านพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี จะมีสถานะเป็น land bridge เชื่อมโยงการค้าระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิกที่สั้นที่สุด ยังไม่นับรวมเส้นทางที่จะเชื่อมท่าเรือทวาย-กาญจนบุรี-แหลมฉบัง ในลักษณะที่จะเป็นอภิมหาโครงการที่เชื่อมโยงตะวันตก-ตะวันออกของไทย รวมถึงการต่อเชื่อมเข้ากับ Southern Corridor ที่จะมีท่าเรือน้ำลึกปากบาราที่อยู่ในแผนพัฒนาเข้ามารองรับโครงการนี้ กระนั้นก็ดี ด้วยพื้นฐานและความสืบเนื่องของโครงการที่เกิดขึ้นจากรากและผลของการที่บริษัทเอกชนไทย ได้รับสัมปทานในการพัฒนาพื้นที่ ก่อสร้าง และหาแหล่งทุน ที่มีลำดับขั้นและพัฒนาการมาตั้งแต่เมื่อช่วงกลางปี 2551 ก่อนที่จะมีการลงนามในข้อตกลงเรื่องสิทธิในการพัฒนาและดำเนินการบริหารโครงการทวายตามระยะเวลาการเช่าที่ดิน เป็นเวลามากกว่า 75 ปี ในช่วงปลายปี 2553  ทำให้ความเป็นไปของโครงการที่ว่านี้ ได้รับการประเมินในมิติที่โครงการดังกล่าวเป็นเพียงเรื่องราวระหว่างเอกชนไทยรายหนึ่ง ที่ได้เข้าไปเป็นคู่สัญญากับรัฐบาลแห่งเมียนมาร์ โดยที่เอกชนรายที่ว่าก็คงอยู่ในตำแหน่งและบทบาทไม่แตกต่างจาก “นายหน้าที่วิ่งเร่ขายโครงการ” ให้กับผู้ร่วมทุนหรือผู้ประกอบการรายอื่นๆ การดำเนินการของรัฐบาลไทย เพื่อผลักดันโครงการดังกล่าวในช่วงก่อนหน้านี้ จึงถูกประเมินอย่างเคลือบแคลงว่าเป็นไปเพื่อการโอบอุ้มผลประโยชน์ของกลุ่มธุรกิจในเครือข่ายอำนาจหรือไม่ หรือเป็นการเข้าร่วมโครงการอย่างมีวิสัยทัศน์ในเชิงยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะการกำหนดบทบาทและการพัฒนาในระดับภูมิภาค ซึ่งต้องยอมรับว่ากระบวนการสารนิเทศเกี่ยวกับโครงการทวายนี้มีความด้อยประสิทธิภาพและไม่สามารถสื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชน หรือแม้แต่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้อย่างชัดเจนว่า รัฐบาลมีแนวทางและกำหนดบทบาทในเชิงยุทธศาสตร์ในเรื่องนี้ไว้อย่างไร และเมื่อ คสช. เข้ายึดอำนาจรัฐอย่างเบ็ดเสร็จ ก็ดูเหมือนว่าโครงการทวายจะเป็นโครงการลำดับต้นๆ ที่

Read More

พม่าย้อนรอยไทย เปิดมหากาพย์เพย์ทีวี

 การเซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรระหว่างบริษัท ชเวตันลวิน มีเดีย จำกัด (Shwe Than Lwin Media) ผู้บริหารธุรกิจสื่อโทรทัศน์รายใหญ่ในพม่ากับบริษัท ตี๋ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด มุมหนึ่งเป็นการช่วงชิงโอกาสรุกตลาดของนักธุรกิจไทยในอุตสาหกรรมสื่อพม่าที่กำลังก้าวผ่านจากยุคปิดกั้นข่าวสาร แต่อีกมุมหนึ่งสะท้อนภาพการแข่งขันอย่างดุเดือดในสมรภูมิธุรกิจในพม่า ทั้งทีวีดิจิตอล ทีวีดาวเทียม ทั้งระบบฟรีทูแอร์ (Free-to-Air) และเพย์ทีวี (Pay TV) ผู้สันทัดกรณีที่เข้ามาฝังรากในตลาดทีวีของประเทศพม่าสะท้อนสถานการณ์การแข่งขันไม่ต่างอะไรกับตลาดเพย์ทีวีของไทยเมื่อ 20 ปีก่อนและมีคู่แข่งรายใหญ่ห้ำหั่นกันเพียง 2 ค่าย โดยมีประชากร 50 กว่าล้านคน เป็นกลุ่มเป้าหมายผู้บริโภคข่าวสารอย่างหิวกระหาย หลังจากทางการควบคุมข่าวสารมานานหลายสิบปี  ปัจจุบัน ช่องโทรทัศน์ในพม่ามี 4 สถานีหลัก เป็นของทางการ 2 ค่ายและเอกชน 2 ค่าย โดยการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางโทรทัศน์เริ่มครั้งแรกเมื่อประมาณ 30 กว่าปีก่อน  ช่องแรกเป็นช่องของรัฐบาลพม่า “MRTV” ออกอากาศครั้งแรกในเดือนเมษายน 2523 เน้นข่าวสารของรัฐบาล ทั้งภาษาพม่าและภาษาอังกฤษ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงย่างกุ้ง เมืองหลวงเก่าของพม่า ก่อนที่จะย้ายสถานีหลักไปยังกรุงเนปิดอว์ในปี 2550

Read More

น่านฟ้าเปิดที่เมียนมาร์ สายการบินรุมยึดหัวหาด

หลังจากที่เมียนมาร์เดินเครื่องปฏิรูปและเปิดประเทศ บรรดานักลงทุนและนักท่องเที่ยวจำนวนมากต่างพุ่งความสนใจไปยังอัญมณีแห่งอาเซียนแห่งนี้ รวมถึงบรรดาสายการบินต่างๆ ที่เตรียมขยับปีกเร่งเพิ่มจำนวนเที่ยวบินและเปิดเส้นทางการบินใหม่ๆ เพื่อยึดหัวหาดตามเมืองหลักๆ ของเมียนมาร์ เตรียมพร้อมรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจที่กำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวของธุรกิจการบินที่น่าติดตามเป็นเวลาหลายสิบปีที่เมียนมาร์ปิดประเทศด้วยเหตุผลความไม่สงบทางการเมืองภายในประเทศ ตัดขาดความสัมพันธ์กับโลกภายนอกมาเป็นเวลานาน จนในที่สุดรัฐบาลทหารของเมียนมาร์ยอมถอนอำนาจ เปิดให้พลเรือนเข้ามาบริหารประเทศ เกิดการปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมครั้งใหญ่ของเมียนมาร์แน่นอนว่าประเทศที่ปิดตัวเองมานาน แต่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติและรุ่มรวยทางวัฒนธรรม เมื่อถึงคราวเปิดประเทศต้อนรับการมาเยือนจากต่างชาติ จึงเปรียบเสมือนเพชรเม็ดงามและเป็นขุมทรัพย์ที่นักลงทุนทั่วโลกต่างหมายตา ซึ่งรวมถึงบรรดาสายการบินต่างๆ ของไทย ที่เร่งเปิดเส้นทางการบินใหม่ๆ และเพิ่มจำนวนเที่ยวบินเพื่อเตรียมพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจที่จะเพิ่มมากขึ้นปัจจุบันสายการบินของไทย 3 แห่งคือ การบินไทย บางกอกแอร์เวย์สและไทยแอร์เอเชีย ได้ให้บริการบินเข้าเมียนมาร์เป็นประจำอยู่แล้ว โดยเที่ยวบินส่วนใหญ่จะมีจุดหมายปลายทางที่เมืองย่างกุ้ง อดีตเมืองหลวงและเมืองศูนย์กลางธุรกิจของเมียนมาร์ แต่นับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2555 ที่ผ่านมา บรรดาสายการบินต่างๆ ได้ขยับขยายเพิ่มจำนวนเที่ยวบินและจุดหมายปลายทางไปยังเมืองอื่นๆ ของเมียนมาร์เพิ่มขึ้น เพื่อหวังช่วงชิงจำนวนผู้โดยสารที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเดือนตุลาคม 2555 สายการบินไทยแอร์เอเชียโลว์คอสต์ยอดนิยม ประเดิมเปิดเที่ยวบิน บินตรง กรุงเทพฯ–มัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของเมียนมาร์ และเพิ่มความถี่ของเที่ยวบิน กรุงเทพฯ–ย่างกุ้ง ต่อวันให้มากขึ้น โดยเจาะกลุ่มคนวัยเกษียณที่ต้องการไปทำบุญนายทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินไทยแอร์เอเชีย เปิดเผยว่า ได้เปิดเส้นทางบินใหม่ กรุงเทพฯ-มัณฑะเลย์ โดยทำการบินเป็นประจำทุกวัน รวมทั้งเพิ่มเที่ยวบินกรุงเทพฯ-ย่างกุ้ง

Read More

เมียนมาร์ ปูพรมเปิด 3 ด่านหลัก รับ AEC-ท่องเที่ยว-การค้า

 เงื่อนกำหนดของเวลาว่าด้วยการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ที่กำลังขยับใกล้เข้ามาในปี 2015 กลายเป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่ทำให้แต่ละประเทศต่างเร่งปรับปรุงและปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ ซึ่งรวมถึงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายการเชื่อมโยง Connectivity ที่อาเซียนตั้งไว้ความเคลื่อนไหวที่เห็นชัดที่สุดในมิติที่ว่านี้ ปรากฏขึ้นในกรณีของเมียนมาร์ ซึ่งกำลังเร่งเปิดประตูการค้าหลังจากที่เปิดประเทศทั้งในมิติของเศรษฐกิจและการเมือง ไปก่อนหน้านี้ โดยความคลี่คลายดังกล่าวในเมียนมาร์ได้หนุนนำให้เมียนมาร์กลับมาเป็นที่สนใจของประชาคมนานาชาติอย่างกว้างขวางในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาก้าวย่างของรัฐบาลเมียนมาร์คืบหน้าไปสู่การประกาศที่จะเปิดด่านการค้าถาวร 3 จุดหลักกับประเทศไทยทั้งที่ด่านแม่สาย จ.เชียงราย ด่านแม่สอด จ.ตาก และที่เกาะสอง จ. ระนอง ซึ่งหากพิจารณาในมิติทางภูมิศาสตร์ ต้องยอมรับว่านี่คือการเปิดด่านที่นำไปสู่การเชื่อมโยงเมียนมาร์เข้ากับโลกภายนอกโดยผ่านประเทศไทยที่ทรงพลังอย่างยิ่งแม้ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) เชื่อมทะเลจีนใต้ หรือทะเลตะวันออก ผ่านเวียดนาม-สปป.ลาว-ไทย กับอันดามัน เชื่อมต่อมหาสมุทรอินเดีย ผ่านทางสาธารณรัฐสหภาพเมียนมาร์ (The Republic of Union of Myanmar) จะถูกพูดถึงกันมานานแต่พื้นที่ปลายทางฝั่งตะวันตกของ EWEC ที่อยู่ในเมียนมาร์ ตั้งแต่เมียวดี กอกาเร็ก หรือกรุกกริก พะอัน รัฐกะเหรี่ยง-เมาะละแหม่ง รัฐมอญ

Read More

ค่ายรถมะกันเหยียบคันเร่ง รุกขยายตลาดในเมียนมาร์

 ตลาดรถยนต์ในเมียนมาร์กำลังกลายเป็นสมรภูมิการแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้น เมื่อผู้ประกอบการค่ายรถยนต์จากซีกโลกตะวันตกต่างโหมสรรพกำลังเข้ารุกทำตลาดหลังจากรัฐบาลตะวันตกคลายมาตรการคว่ำบาตรและกดดันเมียนมาร์มายาวนานการขยับตัวของค่ายรถยนต์จากอเมริกาดูจะเป็นไปอย่างคึกคักและต่อเนื่องมากเป็นพิเศษ เมื่อฟอร์ดร่วมกับ “แคปิตัล ออโตโมทีฟ” บริษัทในเครือแคปิตัล ไดมอนด์ สตาร์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจระดับแถวหน้าของพม่า เปิดตัวโชว์รูมผู้แทนจำหน่าย ฟอร์ด อย่างเป็นทางการในย่างกุ้ง เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมากลยุทธ์การตลาดของฟอร์ดในเมียนมาร์ นอกจากจะอยู่ที่การสร้างความหลากหลายและการจับกลุ่มลูกค้าระดับบนที่มีกำลังซื้อสูงแล้ว เป้าหมายของฟอร์ดยังอยู่ที่การเบียดชิงพื้นที่การตลาดในกลุ่มรถกระบะที่คาดการณ์ว่าจะเป็นกลุ่มที่มีการเติบโตสูง ควบคู่กับความจำเริญทางเศรษฐกิจภายหลังการเปิดประเทศ“รถยนต์ฟอร์ดที่จะจำหน่ายในเมียนมาร์จะนำเข้าจากทั้งโรงงานในอเมริกาเหนือ และประเทศไทย โดยรถกระบะรุ่น เอฟ-ซีรี่ส์ และฟอร์ด เรนเจอร์ ใหม่ จะเป็นหนึ่งในรถรุ่นแรกๆ ที่ฟอร์ดจะเปิดตัวในเมียนมาร์” เดวิด เวสเตอร์แมน ผู้จัดการระดับภูมิภาค ตลาดเอ็กซ์ปอร์ต แอนด์ โกร๊ธ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ระบุแม้ว่าฟอร์ดจะเพิ่งเริ่มเข้าไปทำตลาดในย่างกุ้ง แต่แผนของฟอร์ดย่อมไม่ได้จำกัดอยู่เท่านั้น หากแต่เตรียมพร้อมที่จะขยายไปสู่หัวเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจอื่นๆ ของเมียนมาร์ด้วยการขยายเครือข่ายของผู้แทนจำหน่ายในอนาคตเป้าหมายของฟอร์ดย่อมไม่ใช่สิ่งเกินความคาดหวัง โดยเฉพาะจากข้อเท็จจริงที่ว่า พันธมิตรของฟอร์ดในเมียนมาร์ ที่ชื่อ แคปิตัล ออโตโมทีฟ เป็นบริษัทในเครือแคปิตัล ไดมอนด์ สตาร์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญและประสบผลสำเร็จในฐานะผู้กระจายสินค้าจากโลกตะวันตกอย่าง “เป๊ปซี่

Read More

“Kitchen of Myanmar” และนโยบาย 3 ประโยชน์ของซีพี

 ประเทศเมียนมาร์กำลังเป็นที่สนใจของนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ ในด้านหนึ่งเป็นเพราะเมียนมาร์มีทั้งความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ พลังงาน ก๊าซธรรมชาติ และแร่ธาตุต่างๆ ขณะเดียวกัน ถ้ามองในเชิงภูมิศาสตร์ ที่ตั้งของเมียนมาร์ก็มีความสำคัญอย่างมาก ด้วยว่ามีพรมแดนที่เชื่อมต่อถึง 5 ประเทศ ซึ่ง 2 ใน 5 ประเทศนั้น เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ติดอันดับโลก ทั้งจีนและอินเดีย นอกจากนี้ เมียนมาร์ยังมีทางออกสู่ทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล จึงทำให้สามารถเชื่อมโยงการขนส่งทางทะเลกับต่างประเทศได้สะดวก ดังนั้น หากมองในมิตินี้เมียนมาร์ก็จะสามารถเป็นฐานการผลิตและส่งออกที่ไม่แพ้ใครในอาเซียน และทำให้มีความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันไม่ใช่น้อย มิติมุมมองว่าด้วยเมียนมาร์นี้ ยังประกอบส่วนด้วยความเป็นประเทศที่มีอัตราค่าจ้างแรงงานที่อยู่ในระดับต่ำ จึงเป็นฐานกำลังของอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานได้ดี ขณะเดียวกันก็เป็นประเทศที่มีกำลังซื้อ เนื่องด้วยมีจำนวนประชากรมากถึง 58 ล้านคน ถือได้ว่าเป็นตลาดที่ขนาดใหญ่ทีเดียว ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้เมียนมาร์เป็นแม่เหล็กดึงดูดความสนใจของนักลงทุนเป็นอย่างดี ประเด็นดังกล่าวทำให้พลันที่รัฐบาลเมียนมาร์ส่งสัญญาณเปิดประเทศและปฏิรูปประชาธิปไตย นักลงทุนจำนวนมากที่เล็งเห็นโอกาสนี้ก็เดินทางเข้าไปดูลู่ทาง และเริ่มหาพันธมิตรปักหลักทำธุรกิจกันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามสัจธรรมที่ผู้คนในเครือข่ายของซีพี มักพูดกันเสมอๆ ว่า “ที่ใดมีหนอนเยอะที่นั่นก็ย่อมมีนกเยอะ” สำหรับเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี เข้าไปลงทุนในเมียนมาร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 จากการที่มองเห็นศักยภาพตลาดที่มีขนาดใหญ่ และมีความเพียบพร้อมของวัตถุดิบ ขณะที่ซีพีมีทั้งองค์ความรู้ และมีเทคโนโลยีในเกษตรอุตสาหกรรม พันธกิจของซีพีในเมียนมาร์กำหนดไว้ชัดเจนว่าจะมีเป้าหมายสู่การเป็น “Kitchen of Myanmar” และตลอดเวลาที่ผ่านมา

Read More

ทวาย: นัยความหมายทางยุทธศาสตร์

การเดินทางเยือนเมียนมาร์ ของนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ภายใต้ภารกิจสำคัญว่าด้วยการเยี่ยมชมความคืบหน้าของโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย กลายเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงและตั้งข้อสังเกตอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประพฤติกรรมที่ทำให้หลายฝ่ายเคลือบแคลงสงสัยเกี่ยวกับความเหมาะสมและประเด็นว่าด้วยผลประโยชน์ทับซ้อนที่พร้อมจะเป็นไปเพื่อสร้างความมั่งคั่งเฟื่องฟูให้กับเครือข่าย สิ่งหนึ่งที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ควรจะต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์ และควรตระหนักจากปรากฏการณ์ดังกล่าว ในด้านหนึ่งอยู่ที่ความด้อยประสิทธิภาพในงานสารนิเทศ ที่ไม่สามารถสื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชน หรือแม้แต่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้อย่างชัดเจนว่า รัฐบาลมีแนวทางและกำหนดบทบาทในเชิงยุทธศาสตร์ในเรื่องนี้ไว้อย่างไร โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายอาจเป็นโครงการที่มีความสืบเนื่องมาจากฐานรากที่บริษัทเอกชนไทย ได้รับสัมปทานในการพัฒนาพื้นที่ ก่อสร้าง และหาแหล่งทุน ที่มีลำดับขั้นและพัฒนาการมาตั้งแต่เมื่อช่วงกลางปี 2551 ก่อนที่จะมีการลงนามในข้อตกลงเรื่องสิทธิในการพัฒนาและดำเนินการบริหารโครงการทวายตามระยะเวลาการเช่าที่ดิน เป็นเวลามากกว่า 75 ปี ในช่วงปลายปี 2553 หากประเมินในมิติที่ว่านี้ โครงการดังกล่าวย่อมเป็นเพียงเรื่องราวความเป็นไประหว่างเอกชนไทยรายหนึ่ง ที่ได้เข้าไปเป็นคู่สัญญากับรัฐบาลแห่งเมียนมาร์ โดยที่เอกชนรายที่ว่าก็คงอยู่ในตำแหน่งและบทบาท ไม่แตกต่างจาก “นายหน้าที่วิ่งเร่ขายโครงการ” ให้กับผู้ร่วมทุนหรือผู้ประกอบการรายอื่นๆ ประเด็นที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ในห้วงที่พรรคประชาธิปัตย์ยังเรืองอำนาจในฐานะรัฐบาล ก็เคยวาดหวังจะให้โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายเป็นจักรกลในการผลิตสร้างเมกะโปรเจกต์ โดยอลงกรณ์ พลบุตร ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เคยประกาศบนเวทีปาฐกถาเรื่อง “GMS ในทศวรรษใหม่” ที่ จ. เชียงราย เมื่อต้นปี 2553 ว่า จะผลักดันท่าเรือน้ำลึกทวาย เป็นส่วนหนึ่งในอภิมหาโครงการเชื่อมตะวันออก-ตะวันตกที่สำคัญและใหญ่ที่สุดในอาเซียน ภายใต้ความร่วมมือไทย-เมียนมาร์ แต่ความเป็นไปและคืบหน้าของโครงการพัฒนาดังกล่าวกลับขึ้นสู่กระแสสูงในช่วงกลางปี 2555

Read More