Home > Museum (Page 2)

อุปถัมป์ นิสิตสุขเจริญ นักย่อยสาร จากยากเป็นง่าย

 ผู้จัดการ 360  ํ นัดหมายกับผู้บริหาร Right Man บริเวณชั้น 2 ของนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ซึ่งเป็นห้องสมุดที่ทำให้เห็นถึงการจัดสรรพื้นที่อย่างชวนให้นั่งอ่านหนังสือได้นานๆ โดยไม่รู้สึกเบื่อ ผลงานชิ้นเอกของไร้ท์แมน ก่อนเริ่มพูดคุยกัน MD ไร้ท์แมนทำให้เราแปลกใจเมื่อผู้บริหารระดับสูงมายืนปรับมุมของแสงไฟที่ติดเพดาน เพื่อเพิ่มความสว่างให้บริเวณที่ใช้พูดคุย อุปถัมป์ นิสิตสุขเจริญ กรรมการผู้จัดการ บ.ไร้ท์แมน จำกัด ผู้บริหารรุ่นใหม่ที่ทำให้ไร้ท์แมนกลายเป็นผู้บุกเบิกการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสร้างพิพิธภัณฑ์ จนกลายเป็นรูปแบบการพัฒนาพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ที่เรียกว่า พิพิธภัณฑ์มีชีวิต “Trend ใหม่ของกระแสโลก การเรียนรู้ของคนในยุคสมัยใหม่ ทุกคนสามารถหาข้อมูลได้ง่ายทั้งจากคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต เราจะนำเสนอแต่ตัวหนังสืออย่างเดียวคงจะไม่ได้แล้ว” ผู้บริหารไร้ท์แมนอธิบายถึงแนวความคิดด้านเทคโนโลยี ทั้งการนำเสนอข้อมูลในเชิงลึก และรูปแบบการนำเสนอจะต้องมีความน่าสนใจ สร้างจุดขาย เพิ่มแรงดึงดูดที่จะทำให้เกิดเป็นศูนย์การเรียนรู้  ศูนย์การเรียนรู้ในระดับโลกที่พัฒนานำหน้าประเทศไทยไปค่อนข้างเยอะ ทำให้ผู้นำไร้ท์แมน ต้องหยิบเอาเทคโนโลยีที่ชื่อว่า Interactive รวมทั้งมัลติมีเดียอื่นๆ มาสอดแทรกทำให้เนื้อหาเชิงวิชาการไม่เป็นเรื่องที่น่าเบื่อ  “เราดูแลตั้งแต่ต้นน้ำกระทั่งปลายน้ำ ลูกค้าที่เข้ามาหาเราจะมีแค่ Conceptual หรือ Contents” อุปถัมป์ อธิบายเหตุผลที่ต้องดูแลโปรเจกต์พิพิธภัณฑ์หรือศูนย์การเรียนรู้แม้จะส่งงานด้านโครงสร้างไปแล้ว บรรดาศูนย์การเรียนรู้หรือมิวเซียมจะได้รับความนิยมในช่วงแรกๆ หลังจากเปิดไปไม่นาน ภายใน 6 เดือน

Read More

พิพิธภัณฑ์ปิแอร์ ซูลาจส์

 ในปี 2009 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติจอร์จส์ ปงปิดู (Centre national d’art et de culture Georges Pompidou) จัดนิทรรศการผลงานของปิแอร์ ซุลาจส์ (Pierre Soulages) จิตรกรร่วมสมัยชาวฝรั่งเศส เป็นนิทรรศการใหญ่ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งนี้เคยจัดให้อาร์ติสต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ปิแอร์ ซูลาจส์ เกิดที่เมืองโรเดซ (Rodez) ในปี 1919 พ่อเสียชีวิตขณะเขาอายุ 5 ขวบ เขาจึงเติบโตมาภายใต้การดูแลของแม่และพี่สาว มีพรสวรรค์ด้านเขียนรูปโดยไม่รู้ตัว เมื่ออายุ 10 ขวบ เขาใช้หมึกดำเขียนบนกระดาษขาว เพื่อนของพี่สาวถามว่าทำอะไรอยู่ เขาตอบว่ากำลังวาดหิมะ เด็กคนนั้นทำหน้าประหลาดใจ ปิแอร์ ซูลาจส์กล่าวว่าเขาไม่ได้ต้องการท้าทายหรืออะไรทั้งสิ้น เพียงแต่กำลังแสวง “ประกายแสง” ความขาวของกระดาษเปรียบเสมือนสีหิมะ ตัดกับหมึกดำที่เขาวาดลงไป เขาได้รู้จักนักโบราณคดีผู้หนึ่ง และไปช่วยเขาทำงาน ทำให้เขาสนใจ “ของเก่าๆ” ครั้งหนึ่งครูพาไปทัศนศึกษาที่วัด Abbatiale Sainte-Foy de Conques เขาชื่นชอบศิลปะแบบโรมัน

Read More

พิพิธบางลำพู ประวัติศาสตร์รื่นรมย์ของชุมชน

 บางลำพู ชุมชนที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์เรื่องราวทางวัฒนธรรม ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ก่อให้เกิดความแตกต่างในวิถีชีวิตของผู้คนในย่านบางลำพู มนต์เสน่ห์ที่แอบแฝงอยู่ตามตรอกซอกซอย หรือร้านรวงริมถนนในรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ที่นับวันจะค่อยๆ ทยอยเลือนหายไปตามกาลเวลา หรือไม่ก็ปรับเปลี่ยนจากรุ่นสู่รุ่น ทว่าการย้อนรอยแห่งอดีตที่หาดูได้ยาก กลับถูกรวบรวมและจัดแสดงไว้ในที่แห่งนี้ พิพิธบางลำพู การปรับใช้สถานที่เก่าซึ่งเคยถูกทิ้งร้างนานกว่าสิบปี กรมธนารักษ์จับเอาอาคารเก่าที่เคยเป็นโรงพิมพ์คุรุสภา ซึ่งก่อนหน้านั้นเคยเป็นที่ตั้งของโรงเรียนช่างพิมพ์วัดสังเวช มาปัดฝุ่นและแต่งแต้มให้เป็นสถานที่ที่ใช้บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมา ตั้งแต่ภารกิจหลักทั้ง 5 ด้านของกรมธนารักษ์ และเรื่องราวที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตผู้คนที่อาศัยอยู่ในย่านบางลำพู “กรมธนารักษ์ดำเนินการบูรณะซ่อมแซมอาคารโรงพิมพ์คุรุสภา ซึ่งเป็นโรงพิมพ์คุรุสภาและเป็นสถานที่ฝึกสอนช่างพิมพ์แห่งแรกของประเทศไทย มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 และได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานอาคารจากกรมศิลปากรเมื่อปี พ.ศ. 2543 เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ และศูนย์การเรียนรู้เชิงการศึกษาวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งถือเป็นภารกิจหนึ่งของกรมธนารักษ์” นายนริศ ชัยสูตร อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าว “กรุณาถอดรองเท้าก่อนเข้าชม” พื้นไม้ขัดมันจนขึ้นเงาของพิพิธบางลำพู ให้ความรู้สึกเหมือนเราไปเยี่ยมชมห้องสมุดโรงเรียนสมัยยังเป็นเด็กน้อยก็ไม่ปาน  อาคารแบบบาวเฮาส์ หรือ International Style รูปทรงตัว L ที่ตั้งอยู่ริมถนนพระสุเมรุ แบ่งเป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนบริเวณชั้น 1 ซึ่งมีเนื้อหาสอดคล้องตามประวัติศาสตร์ อาทิ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ 82 พรรษามหาราชินี  เจ้าหน้าที่พิพิธบางลำพูในชุดราชปะแตน ชุดที่ถือกำเนิดในสยามประเทศในปี

Read More