Home > Law (Page 2)

การต่อต้านการทำแท้งอย่างเสรีในไอร์แลนด์

ผู้คนในประเทศยุโรปส่วนใหญ่ล้วนนับถือศาสนาคริสต์นิกายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ หรือที่บ้านเราเรียกกันว่าคริสเตียน และแองกลิคัน ในศาสนาคริสต์มีกฎบัญญัติข้อห้ามที่สำคัญอยู่ 10 ประการ และหนึ่งในข้อสำคัญในบัญญัติ 10 ประการนี้ก็คือการฆ่าคน ดังนั้นตามหลักศาสนาคริสต์แล้วจึงไม่อนุญาตให้คนในศาสนาทำแท้งได้ แต่ในสหภาพยุโรปนั้น รัฐธรรมนูญในประเทศส่วนใหญ่ได้ประกาศให้ตัวอ่อนที่อยู่ในครรภ์มารดานั้นไม่ได้ถูกรับรองสิทธิของการเป็นมนุษย์  และศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปก็ไม่ได้ระบุว่า สิทธิการมีชีวิตเริ่มต้นเมื่อไร ดังนั้นประเทศส่วนใหญ่จึงยึดตามหลักรัฐธรรมนูญที่ว่า ทารกที่ยังอยู่ในครรภ์มารดาไม่ถือว่าได้รับสิทธิในการเป็นมนุษย์ ดังนั้นการทำแท้งจึงไม่ถือว่าเป็นการฆ่าคนและไม่ผิดกฎศาสนาดังนั้นเมื่อมองดูกฎหมายการทำแท้งอย่างเสรีในสหภาพยุโรปแล้ว จึงไม่เป็นที่แปลกใจที่จะเห็นว่าประเทศส่วนใหญ่ต่างก็ประกาศให้มีการใช้กฎหมายการทำแท้งอย่างเสรี เพียงแต่ระยะเวลาที่สามารถทำแท้งได้จะแตกต่างกันออกไป ซึ่งมีระยะเวลาตั้งแต่ 10–24 สัปดาห์ แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 12 สัปดาห์ ถ้าหากว่าพ้นระยะเวลาเหล่านี้ไปแล้วจะไม่สามารถทำแท้งได้ ยกเว้นแต่การตั้งครรภ์จะเป็นอันตรายต่อมารดาจนถึงแก่ชีวิตได้จึงจะสามารถทำแท้งได้ประเทศในสหภาพยุโรปที่อนุญาตให้มีการทำแท้งได้อย่างเสรี ได้แก่  สโลวาเนียและอิตาลี ที่สามารถทำแท้งอย่างเสรีได้ภายในระยะเวลา 10 สัปดาห์ ส่วนฝรั่งเศส เยอรมนี ฮังการี สาธารณรัฐเชก ลิทัวเนีย แลตเวีย สโลวะเกีย เบลเยียม ออสเตรีย กรีซ ฟินแลนด์ เดนมาร์ก และลักเซมเบิร์ก ที่ระยะเวลา 12 สัปดาห์ ในขณะที่ฮอลแลนด์

Read More

Pro Bono กับการเปลี่ยนกฎหมายในน่านน้ำนิวซีแลนด์

เมื่อกลางปีที่ผ่านมา รัฐบาลนิวซีแลนด์ได้มีการเปลี่ยนกฎหมายจ้างงานในน่านน้ำนิวซีแลนด์ โดยกำหนดว่าเรือประมงทุกลำที่เข้ามาจับปลาในน่านน้ำนิวซีแลนด์จะต้องใช้กฎหมายจ้างงานของนิวซีแลนด์กับลูกเรือทุกคนในขณะที่อยู่ในน่านน้ำนิวซีแลนด์และที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือ นี่ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่เกิดจากผลของคดีความในศาล แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงกฎหมายจากการที่กลุ่มทนายความอาสา ได้มีการประชุมเจรจากับรัฐบาลนิวซีแลนด์ให้เปลี่ยนกฎหมาย เนื่องจากลูกความในคราวนี้ไม่มีเงินที่จะไปจ้างทนายในประเทศนี้ให้มาว่าความให้พวกเขา และจ่ายค่าดำเนินการในการพิจารณาคดีในศาลให้ทางการอย่างแน่นอน และถึงมี ผมว่าโอกาสที่จะชนะคดีก็คงจะยากมาก เพราะลูกความเหล่านี้เป็นพวกลูกเรือที่ทำงานอยู่ในเรือประมง ชื่อ ‘โอยาง 75’ (Oyang 75) ซึ่งเป็นเรือประมงของประเทศเกาหลีใต้ซึ่งเจ้าของเรือโอยาง 75 สามารถเอาเปรียบลูกเรือสารพัดได้ เพราะตามกฎหมายน่านน้ำ (Maritime Law) ของนิวซีแลนด์ถือว่าน่านน้ำเป็นเขตแดนสากล ที่เรือทั่วไปสามารถเดินทางไปมาได้ ฉะนั้นการจะกำหนดให้เรือลำไหนๆ ใช้กฎหมายของประเทศที่เขาอยู่ในน่านน้ำนั้นๆ จึงเป็นเรื่องยาก ฉะนั้นกฎหมายก็คือ ถ้าเรือลำนั้นชักธงประเทศไหนก็ให้ใช้กฎหมายประเทศนั้น ฉะนั้นถ้าเรือเดินสมุทรลำไหนจดทะเบียนที่เกาหลีใต้ ชักธงเกาหลีใต้ ก็ใช้กฎหมายเกาหลีใต้ในเรือลำนั้นแน่นอนว่าการทำแบบนี้ก็ทำให้มีช่องโหว่ทางกฎหมายเกิดขึ้น ให้นายทุนหัวใสคิดวิธีที่จะลดต้นทุนได้ โดยเฉพาะกับธุรกิจประมง เนื่องจากนิวซีแลนด์ เป็นประเทศที่ค่าแรงสูงมาก แถมลูกจ้างมีสิทธิต่างๆ ตามกฎหมายมากมาย ที่นายจ้างจะละเมิดไม่ได้ ฉะนั้นบริษัทประมงบางบริษัทในนิวซีแลนด์จึงใช้ช่องว่างของกฎหมายน่านน้ำของนิวซีแลนด์ให้เป็นประโยชน์ที่จะลดค่าใช้จ่าย โดยก่อนอื่นก็ขอสัมปทานจับสัตว์น้ำจากทางการนิวซีแลนด์ซะก่อน พอได้สัมปทานเรียบร้อยแล้ว คราวนี้ก็ไปซื้อเรือประมงที่ต่างประเทศจดทะเบียนว่าเป็นของประเทศไหนก็ได้ที่กฎหมายแรงงานกำหนดค่าแรงไว้ถูกๆ แล้วก็จ้างลูกเรือจากประเทศนั้นให้ลงเรือแล่นมาที่น่านน้ำของนิวซีแลนด์ โดยชักธงของประเทศนั้นๆ ขึ้นซะ แค่นั้นเจ้าของธุรกิจก็ไม่ต้องกลัวจะถูกกฎหมายแรงงานของนิวซีแลนด์มาเล่นงานเขาได้แล้ว แถมยังได้กำไรเพิ่มขึ้นอีกด้วย เพราะว่าต้นทุนเรื่องค่าแรงถูกลงเยอะ แล้วพอจับปลาได้เต็มเรือ

Read More