Home > France (Page 4)

แซนด์วิชแฮม

 Column: From Paris กินแซนด์วิชครั้งแรกในฝรั่งเศสต้องย้อนยุคไปถึงสมัยเป็นนักเรียนที่เมืองนีซ (Nice) จำได้ว่าไปเดินเล่นกับเพื่อน เมื่อถึงเวลาอาหารกลางวัน ซื้อแซนด์วิชคนละอันพร้อมกับน้ำดื่ม ครั้งนั้นไม่อร่อยกับแซนด์วิชฝรั่งเศสเลย ขนมปังบาแกต (baguette) แข็งและเหนียว จึงเข็ดตั้งแต่วันนั้น ทว่าเมื่อเดินทางทางรถไฟที่คาบเกี่ยวกับเวลาอาหารกลางวัน จำต้องซื้อแซนด์วิช แล้วต้องแปลกใจที่พบว่าแซนด์วิชฝรั่งเศสในวันนี้อร่อย บาแกตยังกรอบ ไส้แซนด์วิชมีหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นไก่ ซาลามี (salami) ปลาทูน่า เนยแข็งหรือแฮม ครั้งหนึ่งเห็นแป้งขนมปังสีขาว เข้าใจว่าเป็น panini น่าจะนิ่ม ปรากฏว่าแข็งกระด้าง นับแต่นั้นซื้อแต่แซนด์วิชบาแกต  ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มาปารีสกับนักหนังสือพิมพ์ พักที่โรงแรมแถวเลส์ อาลส์ (Les Halles) ตกเย็นไปซื้ออาหารจากข้างโรงแรม ซึ่งเป็นการขายที่เรียกว่า take home หรือ vente à emporter ในภาษาฝรั่งเศส ซื้อกลับบ้าน ร้านอาหารประเภทนี้จะเรียกว่า traiteur ซึ่งจะเขียนว่า vente à emporter ไว้ด้วย

Read More

เทศกาลขนมปัง

 Column: From Paris ชาวฝรั่งเศสบริโภคขนมปังเป็นว่าเล่น ขนมปังอร่อยคือ บาแกต (baguette) ขนมปังแท่งยาว กรอบนอกนุ่มใน บาแกตเสร็จใหม่กลิ่นหอมยวนใจ ซื้อแล้วเดินบิเข้าปาก พอถึงบ้าน บาแกตหายไปหนึ่งในสาม เป็นกันเช่นนี้หลายบ้าน หากมือไม่ว่าง หนีบบาแกตไว้ใต้รักแร้ ไม่ทราบได้กลิ่นอื่นมาด้วยหรือไม่ ทุกปีเทศบาลกรุงปารีสจะจัดเทศกาลขนมปัง (fête du pain) ที่ลานหน้าวิหารโนเทรอะ-ดาม เดอ ปารีส์ (Notre-dame de Paris) มีการสาธิตการทำขนมปังรูปแบบต่างๆ รวมทั้งครัวซองต์ (croissant) แถมเปิดโอกาสให้เด็กๆ เข้าร่วมกิจกรรมทำขนมปัง มีร้านค้าขายขนมปังและน้ำตาล แถมขายแซนด์วิช และขนมทาหน้าต่างๆ สนุกทั้งชาวฝรั่งเศสและชาวต่างประเทศ ในโอกาสนี้มีการประกวดทำบาแกตด้วย ผู้ได้รางวัลชนะเลิศมีหน้าที่ทำบาแกตให้ทำเนียบประธานาธิบดีตลอดปี จึงเชื่อได้ว่าท่านประธานาธิบดีและเจ้าหน้าที่ระดับสูงในทำเนียบเอลีเซ (Palais de l’Elysée) ได้กินขนมปังอร่อยเสมอ Guide Pudlowski Paris 2015 เป็นหนังสือแนะนำอาหารการกินในปารีส เลือกสเตฟาน วานเดอร์มีร์ช (Stéphane Vandermeersch) เป็น boulanger de

Read More

ธุรกิจสินค้าหรูมีปัญหา

 Kering เป็นกลุ่มธุรกิจสินค้าหรูของฝรั่งเศส รวบรวมแบรนด์เนมหลายยี่ห้อคือ บาลองเซียกา (Balenciaga) อีฟส์ แซงต์-โลรองต์ (Yves Saint-Laurent) บอตเตกา เวเนตา (Bottega Veneta) กุชชี (Gucci) เป็นต้น ชื่อเดิมของ Kering คือ PPR ย่อมาจาก Pinault-Printemps-La Redoute ก่อตั้งโดยฟรองซัวส์ ปิโนลต์ (François Pinault) ก่อนที่จะยกให้ลูกชายคือ ฟรองซัวส์-อองรี ปิโนลต์ (François-Henri Pinault) เป็นผู้บริหาร  PPR ประสบความสำเร็จมากจากการปลุกให้ยี่ห้อที่กำลังหลับอยู่อย่างกุชชี (Gucci) ให้กลับมาโดดเด่นบนเวทีแฟชั่น โดยมีทอม ฟอร์ด (Tom Ford) เป็นผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ ทำงานร่วมกันนับสิบปี จนทอม ฟอร์ดคิดว่าตนมีอำนาจต่อรอง ทว่าผิดคาด PPR หรือ Kering ไม่เล่นด้วย ผลก็คือทอม

Read More

คริสติออง ลาครัวซ์กับพิพิธภัณฑ์กอนญัก-เจย์

 Column: From Paris แม้ในวันนี้จะไม่มีห้างสรรพสินค้าลา ซามาริแตน (La Samaritaine) แล้วก็ตาม แต่ชาวปารีเซียงก็ยังพันผูกกับชื่อนี้ พร้อมกับหวังว่าสักวันหนึ่งห้างนี้จะคืนกลับ ทว่าจนทุกวันนี้โครงการของกลู่ม LVMH ในการปรับปรุงอาคารหลายหลังของห้างดังในอดีตแห่งนี้ยังไม่อาจสรุปลงตัวได้ ผู้ให้กำเนิดลา ซามาริแตนหรือเรียกกันสั้นๆ ว่าซามาริแตน คือ แอร์เนสต์ กอนญัค (Ernest Cognacq) ซึ่งเป็นพ่อค้าหาบเร่ที่ลา โรแชล (La Rochelle) และมาแสวงโชคที่ปารีส เริ่มจากการทำงานตามห้าง แล้วตั้งแผงขายของ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงออกไปทำงานต่างจังหวัดก่อนที่จะกลับมาปารีส คราวนี้ตั้งแผงตรงปั๊มน้ำชื่อลา ซามาริแตนแถวปงต์ เนิฟ (Pont Neuf) ต่อมาเช่าร้านกาแฟเพื่อขายของตรงมุมถนน rue du Pont-Neuf และ rue de la Monnaie ได้ลูกค้าจากย่านเลส์ อาลส์ (Les Halles) และจากห้าง A la Belle Jardinière

Read More

120 ปีภาพยนตร์ฝรั่งเศส

 Column: From Paris Lumière! Le cinéma inventé เป็นชื่อนิทรรศการที่จัดขึ้นที่กรองด์ ปาเลส์ (Grand Palais) ในฤดูใบไม้ผลิ 2015 ที่จัดขึ้นในโอกาสที่การภาพยนตร์ฝรั่งเศสเวียนมาครบ 120 ปี มิใช่นิทรรศการเกี่ยวกับ “แสง” อันเป็นคำแปลของ lumière แต่เป็นเรื่องราวของพี่น้องตระกูลลูมีแอร์ (Lumière) ผู้ให้กำเนิดการภาพยนตร์ของฝรั่งเศส เคยคิดว่าพี่น้องลูมีแอร์เป็นผู้คิดค้นการถ่ายทำภาพยนตร์เป็นคนแรกของโลก แต่เป็นความเข้าใจผิดทั้งเพ เพราะผู้ให้กำเนิดจริงๆ คือ โธมัส เอดิสัน (Thomas Edison) ชาวอเมริกันในฝรั่งเศส พี่น้องตระกูลลูมีแอร์ ซึ่งเรียกว่า Frères Lumière อันมีโอกุสต์ (Auguste) และหลุยส์ ลูมีแอร์ (Louis Lumière) เป็นผู้ริเริ่ม ภาพยนตร์เรื่องแรกของฝรั่งเศสถ่ายทำเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 1895 และนำมาฉายที่ปารีสอีกสามวันต่อมา ต่อเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 1895 จึงนำไปฉายในห้อง Salon indien

Read More

นิทรรศการเอมีล แบร์นารด์

 Column: From Paris ญาติมิตรมาเที่ยวปารีส จะแนะนำให้ไปที่พิพิธภัณฑ์ออรองเจอรี (Musée de l’Orangerie) ซึ่งอยู่ในบริเวณสวนตุยเลอรีส์ (Jardin des Tuileries) การเดินทางไปที่ง่ายที่สุดคือนั่งรถใต้ดินสาย 1 ไปขึ้นสถานี Concorde เดินออกทางป้ายที่บ่งว่า Musée de l’Orangerie โผล่ขึ้นจะเป็นปลาซ เดอ ลา กงกอร์ด (Place de la Concorde) ที่มีแท่งหินโอเบลิสค์ (Obélisque) ของอียิปต์ กำแพงที่เห็นเป็นกำแพงสวนตุยเลอรีส์ Musée de l’Orangerie จะอยู่ทางขวามือ ต้องเดินเข้าสักนิด แล้วจะเห็นทางเดินขึ้นสูงไป หน้าพิพิธภัณฑ์ตั้งรูปปั้น Le baiser ของโอกุสต์ โรแดง (Auguste Rodin) ไป Musée de l’Orangerie ครั้งสุดท้ายเมื่อเพื่อนมาเยือน ชมภาพสวนบัวขนาดใหญ่ที่โคล้ด โมเนต์

Read More

เมื่อนโปเลองที่ 3 ไม่ใช่หลานของนโปเลองที่ 1

 คอลัมน์ From Paris ทหารหนุ่มจากกอร์ส (Corse) หรืออีกนัยหนึ่งเกาะคอร์สิกา (Corsica) ในภาษาอังกฤษ เติบใหญ่ได้เป็นแม่ทัพในการสงคราม จนขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศฝรั่งเศส และตั้งตนเป็นจักรพรรดิด้วยการประกอบพิธีปราบดาภิเษกที่วิหารโนเทรอะ-ดาม เดอ ปารีส (Notre-Dame de Paris) ถือเป็นยุคจักรวรรดิที่ 1 (Premier Empire)  ช่วงที่นโปเลองเรืองอำนาจอยู่ระหว่างปี 1804-1814 หลังจากล่าถอยจากรัสเซีย อันหมายถึงความพ่ายแพ้หลังจากที่ชนะสงครามมาตลอด นโปเลองต้องสละบัลลังก์และถูกเนรเทศไปยังเกาะเอลบา (Elba) แล้วหลบหนีกลับมาฝรั่งเศส นำทัพไปรบอีกในปี 1815 แล้วประสบความพ่ายแพ้ในสมรภูมิวอเตอร์ลู (Waterloo) หลังจากนั้นถูกเนรเทศไปยังเกาะเซนต์-เฮเลนา และถึงแก่กรรมหลังจากนั้น 6 ปีด้วยมะเร็งกระเพาะอาหาร บ้างก็ว่าเพราะถูกวางยาพิษ หลุยส์ โบนาปาร์ต (Louis Bonaparte) น้องชายของนโปเลองมีลูกชื่อหลุยส์ นโปเลอง โบนาปาร์ต (Louis Napoléon Bonaparte) ซึ่งภายหลังได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนแรกในยุคสาธารณรัฐที่สอง (Seconde République) ภายหลังตั้งตนเป็นจักรพรรดินโปเลองที่ 3 (Napolélon

Read More

ฟัว กราส์ มีปัญหา

 Column: From Paris อาหารจานอร่อยของฝรั่งเศสมีหลายอย่าง อร่อยจนลืมโรคภัยที่อาจถามหา อาหารจานอร่อยบางจานเป็นอาหารท้องถิ่นของภาคต่างๆ ด้วยเหตุนี้ยามไปอัลซาส (Alsace) จะขอชิม choucroute หรือที่รู้จักกันในภาษาเยอรมันว่า sauerkraut อีกทั้ง baeckeofe ต้มเนื้อสามชนิดอันมีเนื้อวัว เนื้อแกะ และเนื้อหมูต้มกับมันฝรั่ง อาจใส่หอมใหญ่และแครอตได้ด้วย ทว่าต้องเลือกร้านที่ไม่ใส่เนื้อวัวเพราะไม่กินเนื้อวัวมานานแล้ว ไหนจะ tarte flambée แผ่นแป้งบางที่มีหน้าแฮมและหอมใหญ่ใส่เนยแข็งแล้วอบ และไม่ลืมดื่มเบียร์ด้วย เพราะชาวอัลซาสนิยมดื่มเบียร์ ไปเที่ยวชายทะเลของนอร์มองดี (Normandie) ถามหาอาหารทะเลที่มาเป็นถาดและซุปปลา–soupe de poisson ไปทางใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองมาร์เซย (Marseille) ไม่ลืม bouillabaisse ซุปปลาหลายชนิดที่ใส่หอยแมลงภู่ด้วย ถ้าไปเที่ยวถิ่นภูเขาแถบซาวัว (Savoie) ก็ต้องชิม tartiflette เนยแข็ง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนยแข็ง reblochon) ผัดกับมันฝรั่ง หอมใหญ่และหมูสามชั้นหมักเกลือที่เรียกว่า lardon และไส้กรอก อาหารจานเด่นของภาคตะวันตกเฉียงใต้คือเป็ดต้มเค็ม–confit de canard และที่ขาดไม่ได้คือฟัว กราส์ foie gras  อันที่จริง

Read More

นิทรรศการโจเซฟีน

 คอลัมน์ From Paris นโปเลอง (Napoléon) เป็นตัวละครในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสที่มีคนพูดถึงมากคนหนึ่งก็ว่าได้ จากนายทหารเล็กๆ จนได้รับการแต่งตั้งเป็นแม่ทัพในการสงคราม แล้วเป็นผู้นำโดยเรียกว่า Premier Consul ต่อมาได้ปราบดาภิเษกเป็นจักรพรรดิ (Empereur) เริ่มต้นยุคจักรวรรดิที่ 1 (Premier Empire) ของฝรั่งเศส เรื่องราวของนโปเลองขาดสีสันหากไม่มีผู้หญิงเข้ามาเกี่ยวข้อง และผู้หญิงที่เต็มไปด้วยสีสันคนนั้นคือโจเซฟีน (Joséphine) โจเซฟีนเป็นสาวชาวเกาะมาร์ตินิค (Martinique) เกิดในปี 1763 ครอบครัวร่ำรวย มีไร่อ้อยและข้าทาสมากมาย เคยมีหมอดูทำนายว่าเธอจะแต่งงานสองครั้ง ครั้งแรกกับชายที่จะนำเธอไปฝรั่งเศสและจะตายอย่างน่าเวทนา เขาและเธอจะมีลูกสองคน ครั้งที่สองจะแต่งงานกับคนที่ไม่เป็นที่รู้จักและยากจน แต่ในภายหลังจะประสบความรุ่งเรือง โลกจะมาสวามิภักดิ์ เขาจะนำพาเธอไปสู่ตำแหน่งสูงสุดที่ยิ่งใหญ่กว่าตำแหน่งราชินี  อเล็กซองดร์ เดอ โบอาร์เนส์ (Alexandre de Beauharnais) จะต้องแต่งงานกับสาวหนึ่ง แต่เธอเสียชีวิตเสียก่อน จึงมาจับคู่กับมารี โจแซฟ โรส ตาเชร์ เดอ ลา ปาเจอรี (Marie Josèphe Tascher de la

Read More

ธุรกิจร้านอาหาร

 คอลัมน์ From Paris ไปถนนไหนก็เห็นแต่ร้านอาหาร Chez Clément สัญลักษณ์ของร้านอยู่ที่หม้อไหกระทะทองแดงที่แขวนแต่งหน้าร้าน ขณะมองหาร้านอาหาร ชี้ชวนเพื่อนว่าไปร้าน Chez Clément ละกัน มีอาหารประจำวันที่น่าสนใจด้วย เพื่อนผู้มีรสนิยมวิไลบอกว่า เป็นเชนร้านอาหาร ไม่น่าจะอร่อย ทว่าเคยไปกินกับเพื่อนอีกกลุ่มหนึ่ง ไม่พบว่า Chez Clément กินไม่ได้ Hippopotamus เป็นอีกร้านหนึ่งที่เห็นบ่อยๆ ก็เป็นเชนร้านอาหารเช่นกัน ถนัดเรื่องเนื้อปิ้งๆ ย่างๆ ได้กินครั้งแรกที่สนามบินชาร์ลส์-เดอ-โกล-ร็วสซี (Charles-de-Gaulle-Roissy) ระหว่างรอเวลาขึ้นเครื่อง ทว่าไม่ถูกใจนัก เพราะมีแต่เนื้อนั่นแหละ สั่งได้แต่สลัดผักเพราะเดี๋ยวก็ได้กินอาหารบนเครื่องแล้ว ได้กิน Hippopotamus อย่างเป็นเรื่องราวเมื่อไปเที่ยวต่างจังหวัด และแวะรับประทานอาหารระหว่างทาง  Groupe Flo เป็นกลุ่มธุรกิจร้านอาหาร มีเชนร้านอาหารในครอบครองหลายยี่ห้อ นอกจาก Hippopotamus แล้ว ยังมี Bistro Romain, Tablapizza, Brasseries Flo, Taverne de Maître Kanter

Read More