Home > France (Page 3)

ฌอง ก็อกโต อาร์ทิสต์หลากแขนง

Column: From Paris ชอบแหวนของการ์ทีเอร์ (Cartier) รุ่นหนึ่ง เป็นทองสามสีไขว้กัน วงหนึ่งเป็นทองขาว อีกวงหนึ่งเป็นทองคำสีเหลืองและวงสุดท้ายเป็นทองสีชมพู เป็นรุ่นชื่อ Trinity รู้สึกว่าเท่ดี ร้านเพชรที่เคยคุ้นในอดีตทำเป็นแหวนก้อยให้ น่ารักมาก จำไม่ได้ว่ายกให้สาวคนไหนแล้ว Trinity เป็นผลงานการออกแบบของฌอง ก็อกโต (Jean Cocteau) แล้วให้ห้างการ์ทีเอร์ทำให้ บางกระแสก็บอกว่าการ์ทีเอร์ทำออกมา บังเอิญให้ฌอง ก็อกโตไปเห็นเข้า เขาชอบใจจึงสั่งทำหลายวง สำหรับสวมเองและมอบเป็นของขวัญใครบางคน ฌอง ก็อกโตเป็นอาร์ทิสต์หลากแขนง เขาเริ่มจากการเขียนบทกวี หนังสือบทกวีเล่มแรกของเขาคือ La lampe d’Aladin เอดูอารด์ เดอ มักซ์ (Edouard de Max) ชอบใจบทกวีของเขา จึงจัดให้มีการอ่านบทกวีที่โรงละครเฟมีนา (Fémina) ผู้ชมชอบใจ ฌอง ก็อกโตในฐานะกวีจึงดังนับแต่นั้น เขาชอบเข้าสังคมคนดัง และกลายเป็นหนุ่มสำอางชื่อดังในยุคนั้น ฌอง ก็อกโตชอบใจผลงานของแซร์จ เดอ ดีอากีเลฟ (Serge de Diaghilev)

Read More

ราวกับหนัง

Column: From Paris คนหนึ่งขาว คนหนึ่งดำ ขาวเดินเข้าไปในห้างเพชร เขาแต่งตัวดีให้สมกับคนที่จะมาซื้อเครื่องเพชร สวมแว่นตาดำและเสื้อโค้ตตัวใหญ่ ขาวแจ้งความจำนงแก่พนักงานขายว่าต้องการซื้อแหวนให้ภรรยาเพื่อเป็นการขอโทษ แล้วดำก็เดินเข้ามาในร้านหลังจากนั้นไม่นาน เขาแต่งกายทะมัดทะแมง สวมแว่นตา หมวกแก๊ป หิ้วกระเป๋าใบใหญ่ พนักงานขายสะดุดตากับรูปลักษณ์ของขาว เพราะวิกผมไม่เข้าที่เข้าทาง จึงส่งสัญญาณให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ซึ่งโทรศัพท์แจ้งตำรวจทันที ขาวควักปืนออกมา พร้อมกับกล่าวว่า นี่คือการปล้น ดำก็ควักปืนกลออกมาจากกระเป๋าเช่นกัน พร้อมกับสั่งให้ทุกคนนอนคว่ำหน้ากับพื้น และมัดแขนไขว้ไปข้างหลัง ขาวสั่งให้ผู้จัดการร้านเปิดตู้ และรวบรวมเครื่องเพชรได้กว่า 200 ชิ้น มูลค่ากว่า 800 ล้านยูโร และแล้วเสียงไซเรนของรถตำรวจใกล้เข้ามา ขาวสั่งดำให้ใส่กระสุนปืนกล และถามหาทางออกฉุกเฉิน พร้อมกับจับตัวสตรีซึ่งเป็นผู้จัดการร้าน ถือระเบิดมือจ่อที่คอของเธอ ตำรวจเห็นเหตุการณ์ทุกอย่าง ดำถือปืนกลดูแลข้างหลัง ทั้งสองออกมาถึงรถมอเตอร์ไซค์ และปล่อยตัวประกันไป ทั้งสองหนีเข้าไปในร้านทำผมสตรีที่ห่างจากที่เกิดเหตุไป 3 กิโลเมตร การล้อมจับดำเนินไปครู่ใหญ่ มีการยิงโต้ตอบประปราย ในที่สุดเมื่อไม่มีทางรอดไปได้ ขาวและดำก็ยอมจำนน ผู้เป็นฮีโรในเหตุการณ์ครั้งนี้คือช่างทำผม ซึ่งเป็นชายผมขาว เขาถูกข่มขู่จากขาวและดำ ดำนั้นถูกยิงที่แขน ช่างทำผมจึงบอกว่าเคยเป็นทหารเรือมาก่อน รู้จักวิธีหยุดเลือด เขาจึงทำการปฐมพยาบาลให้ดำ ความตึงเครียดจึงลดลง และหาเครื่องดื่มให้ดำเพราะเสียเลือดมาก

Read More

วัยรุ่นสีผิวเป็นปัญหา

Column: From Paris เดินเที่ยวในปารีสหรือในรถไฟใต้ดินเห็นชาวฝรั่งเศสแท้ๆ น้อยมาก มีแต่ “ชาวต่างชาติ” หลากสีผิว ผิวดำมะเมื่อมจากกาฬทวีป ดำน้อยหน่อยก็มี ออกสีน้ำตาลเป็นชาวเกาะจากจังหวัดหรือดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศส หรือออก “แขก” จากแอฟริกาเหนือ ที่เรียกว่า มาเกรบ (Maghreb) อันประกอบด้วยแอลจีเรีย โมร็อกโก และตูนิเซีย มีบ้างจากอียิปต์ พ่อค้าผลไม้ชาวอียิปต์รูปร่างสูงใหญ่ออกจะดูแคลนชาวมาเกรแบง (Maghrébin) ชาวเอเชียก็มีเยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวอินโดจีน อันมีเขมร เวียดนาม และลาว ที่อพยพหนีภัยคอมมิวนิสต์หลังจากเขมรแตกในปี 1975 ในฐานะเจ้าอาณานิคมเก่า ฝรั่งเศสจึงเอื้อเฟื้อรับชาวอินโดจีนมาตั้งถิ่นฐาน ที่ปารีส มาชุมนุมในเขต 13 (13ème arrondissement) เรียกกันว่าย่านคนจีน อันที่จริงย่านคนจีนเก่าแก่อยู่ที่แบลวิล (Belleville) เป็นชาวจีนจากเวนโจวที่หนีภัยคอมมิวนิสต์เช่นกัน เมื่อเมาเซตุงเริ่มรุกคืบจนครอบครองประเทศจีนในที่สุด ในขณะที่ชาวแต้จิ๋วอยู่ที่เขต 13 ปัจจุบันมีชาวจีนแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยในฝรั่งเศสเยอะมาก เข้ามาได้อย่างไรก็ไม่ทราบ ทางการฝรั่งเศสไม่ค่อยรังเกียจชาวจีน เพราะขยันทำมาหากิน ไม่สร้างปัญหา ร้านค้าแถวบ้านที่มี “แขก” เป็นเจ้าของ

Read More

ฟรองซัวส์ โอลลองด์ รัฐบุรุษของโลกประจำปี 2016

Column: From Paris The Appeal of Conscience Foundation เป็นมูลนิธิที่แรบไบ อาร์เธอร์ ชไนเออร์ (Arthur Schneier) เป็นผู้ก่อตั้งในปี 1965 เป็นมูลนิธิที่เน้นเสรีภาพทางศาสนาและสิทธิมนุษยชนทั่วโลก เป็นมูลนิธิที่รวมผู้นำทางศาสนาและนักธุรกิจที่ต้องการเห็นสันติภาพ ความมีขันติธรรม และการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างชนชาติ อาร์เธอร์ ชไนเออร์เห็นว่าอาชญากรรมที่ก่อในนามของศาสนาเป็นอาชญากรรมที่ก่อความเสียหายแก่ศาสนา นับตั้งแต่เกิดการก่อการร้ายถล่มตึกเวิล์ดเทรดที่นิวยอร์กเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 The Appeal of Conscience Foundation เรียกร้องให้ผู้นำทางศาสนาทั่วโลกลุกขึ้นต่อต้านการก่อการร้าย และใช้อิทธิพลที่ตนมีหยุดยั้งความรุนแรงและโปรโมตความมีขันติธรรม The Appeal of Conscience Foundation มีผลงานในหลายประเทศ อาทิ จีน อินเดีย อังกฤษ แอลเบเนีย อาร์เจนตินา เยอรมนี วาติกัน สาธารณรัฐเชค เป็นต้น อาร์เธอร์ ชไนเออร์เกิดที่เวียนนา แล้วเดินทางไปสหรัฐอเมริกาในปี 1974เป็นแรบไบคนแรกที่ได้รับเหรียญ Presidential Citizen

Read More

อาแญส ซอเรล

  Column: From Paris อองแวรส์ (Anvers) หรือแอนต์เวิร์พ (Antwerp) ในภาษาอังกฤษ เมืองค้าเพชรของเบลเยียมมีพิพิธภัณฑ์ Musée des beaux-arts จึงขอไปชม แล้วติดใจภาพเขียนหนึ่ง La vierge à l’enfant entourée des anges ของฌอง ฟูเกต์ (Jean Fouquet) ภาพพระแม่มารีกับพระเยซูน้อย เป็นภาพพระแม่มารีที่แหวกแนว ด้วยว่าเปิดถันข้างหนึ่ง อันที่จริงภาพนี้คือภาพอาแญส ซอเรล (Agnès Sorel) ที่เลื่องลือเรื่องความงามนั่นเอง อาแญส ซอเรล เกิดในปี 1422 ในครอบครัวขุนนางเก่าของแคว้นปิการ์ดี (Picardie) ได้รับการศึกษาอบรมเพื่อเป็นข้าหลวงในราชินีอิซาแบลแห่งลอแรน (Isabelle de Lorraine) มเหสีของเรอเน ดองจู (René d’Anjou) ภายหลังได้เป็นสนมเอกของกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 7 (Charles VII) ของฝรั่งเศส ดุ๊กแห่งบูร์โกญ

Read More

“นักคิด” ของโอกุสต์ โรแดง

 Column: From Paris  ในบรรดาประติมากรฝรั่งเศส ที่ดังที่สุดเห็นจะเป็นโอกุสต์ โรแดง (Auguste Rodin) เห็นครั้งแรกในพิพิธภัณฑ์แห่งออร์เซย์ (Musée d’Orsay) ลักษณะบึกบึนบ้าง อ่อนช้อยบ้าง มีหลายขนาดด้วยกัน หากที่ได้ชมจนอิ่มตาอิ่มใจก็ที่พิพิธภัณฑ์โรแดง (Musée Rodin) ซึ่งนอกจากคอลเลกชั่นถาวรแล้ว ยังมีนิทรรศการจรอีกด้วย ในสวนสวยตั้งผลงานของโอกุสต์ โรแดง เป็นระยะๆ รูปปั้นในสวนโดดเด่นไม่แพ้ที่แสดงในอาคาร อาจจะสวยกว่าเสียอีก เพราะเป็นผลงานเด่นๆ ของประติมากรผู้นี้ เพียงเข้าไปในบริเวณ ชายผู้หนึ่งนั่งอยู่บนแท่นสูง เท้าศอกขวาบนตัก และมือยันคางไว้ มีลักษณะครุ่นคิด ชายผู้นี้เต็มไปด้วยมัดกล้าม ทำด้วยบรอนซ์ แรกทีเดียวมีชื่อว่า กวี–Le poète โอกุสต์ โรแดง ปั้นให้อยู่ในท่ากำลังคิดถึงบทกวี หากในภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น นักคิด–Le penseur แล้วแต่จะจินตนาการว่ากำลังคิดถึงอะไร Le penseur เป็นประติมากรรมที่พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ (Louvre) สั่งทำเพื่อตั้งไว้หน้าประตูของพิพิธภัณฑ์อารต์เดโก (Musée des arts décoratifs) และประตูพิพิธภัณฑ์ใหม่แห่งนี้ก็สั่งให้โอกุสต์

Read More

Maison Plisson ร้านอาหารในร้านชำ

 Column: From Paris Lafayette Gourmet เป็นแผนกซูเปอร์ของห้างสรรพสินค้ากาเลอรีส์ ลาฟาแยต (Galeries Lafayette) ขายอาหารสดอย่างเนื้อสัตว์และปลา ผักผลไม้ แถมเครื่องกระป๋องนิดหน่อย เครื่องปรุงและอาหารจากต่างประเทศอย่างอังกฤษ อเมริกา อิตาลีและเอเชีย อาหารจากอัลซาส (Alsace)  ที่พิเศษคือมีแผงขายอาหารสำเร็จ เช่น อาหารกรีกของร้าน Mavrommatis อาหารจีน ที่ซื้อกลับบ้านได้สำหรับวันที่ขี้เกียจทำอาหาร ปลาแซลมอนรมควันและไข่ปลาคาเวียร์ของร้าน Pétrossian อันลือชื่อ ฟัวกราส์ (foie gras) แฮมจากอิตาลี อาหารกรีกมีโต๊ะตั้งสำหรับเสิร์ฟอาหารด้วย ไข่ปลาคาเวียร์ก็เช่นกัน แฮมอิตาลีทำแซนด์วิชขาย และสามารถลิ้มแฮมที่เคาน์เตอร์ได้ด้วย แผงปลาขายหอยนางรมพร้อมเสิร์ฟ โดยมีไวน์ขาวแกล้ม แล้ว Lafayette Gourmet ก็ปิดไป ไปเปิดใหม่ฝั่งตรงข้ามในอาคารที่ขายของใช้ในบ้านของกาเลอรีส์ ลาฟาแยต เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Gourmet & Maison แผนกอาหารใหญ่ขึ้น ตั้งโต๊ะเสิร์ฟอาหารเป็นเรื่องเป็นราว ที่ดูน่ากินน่าจะเป็นแฮมจากอิตาลี ที่มีแฮมสารพัดชนิด เสิร์ฟพร้อมไวน์ ผู้คนนั่งกินกันอย่างเพลิดเพลิน แผงอาหารจีนมีเคาน์เตอร์เสิร์ฟบะหมี่น้ำและติ่มซำ

Read More

L’Aquarium ของอแลง ดูกาส

 Column: From Paris ผู้มีรสนิยมวิไลด้านอาหารไม่มีใครไม่รู้จักอแลง ดูกาส (Alain Ducasse) เชฟติดดาวสามดวงของมิชแลง (Michelin) ผู้ไม่เคยอยู่นิ่ง อแลง ดูกาสเริ่มจากการฝึกงานเมื่ออายุ 16 ปี ในร้าน Pavillon Landais แล้วไปเรียนการโรงแรมที่เมืองตาลองซ์ (Talence) ผ่านการทำงานกับเชฟใหญ่ๆ อย่างมิเชล เกรารด์ (Michel Guérard) เชฟสามดาวของมิชแลง แล้วไปทำงานกับกาสตง เลอโนเทรอะ (Gaston Lenôtre) เริ่มทำอาหารโปรวองซาล (provençal) กับโรเจร์ แวร์เจ (Roger Vergé) ที่ร้าน Moulin de Mougins หลังจากนั้นไปเป็นเชฟใหญ่ของร้าน L’Amandier ของโรเจร์ แวร์เจที่มูแจงส์ (Mougins) ในปี 1980 ย้ายไปร้าน La Terrasse ของโรงแรม Hôtel Juana

Read More

เรื่องของกาแฟ

 Column: From Paris กินกาแฟไม่เป็นจนถึงวัยทำงาน ไม่ทราบว่าทำไมรังเกียจกาแฟได้ถึงขนาดนั้น แม้ช่วงที่เรียนหนังสือที่เมืองนีซ (Nice) ก็ยังดื่มแต่ชา มีคนมาขอกินกาแฟที่ห้องพัก บอกว่าไม่มีกาแฟ มีแต่ชา เพื่อนจึงต้องดื่มชาแทน ในสถานที่ทำงาน กาแฟเป็นเครื่องดื่มประจำ แรกๆ ก็ไม่ได้สนใจ จนในภายหลังกลิ่นกาแฟชวนให้ลอง จึงเริ่มดื่มกาแฟนับแต่นั้น สมัยทำงานอาหารเช้าคือข้าวต้มกับที่แม่เตรียมให้ ต่อมาได้แม่บ้านเตรียมให้ พอถึงที่ทำงาน ต้มน้ำร้อนชงกาแฟทันที และกลายเป็นความเคยชินว่าต้องมีกาแฟในตอนเช้า เมื่อกลับไปเที่ยวปารีส พักที่บ้านเพื่อน เพื่อนเสิร์ฟกาแฟเป็นชาม ชาวฝรั่งเศสดื่มกาแฟเป็นชามเป็นอาหารเช้า แกล้มขนมปังบาแกต (baguette) ทาเนยและแยม หรือจะมีครัวซองต์ (croissant) หรือขนมปังลูกเกด (pain aux raisins) หรือขนมปังช็อกโกแลต (pain au chocolat) มีน้ำผลไม้และโยเกิร์ต และผลไม้ถ้าจะให้ครบหมู่อาหาร หลังจากชามกาแฟตอนเช้า ชาวฝรั่งเศสกลับดื่มกาแฟถ้วยเล็ก เป็นกาแฟเอสเพรสโซ (espresso) ไปจนถึงกลางคืน ทำให้นึกได้ว่าฝรั่งเศสดื่มกาแฟถ้วยเล็กเพื่อ “ล้างปาก” คนไทยไม่ชินกับกาแฟถ้วยเล็ก กินแล้วไม่สะใจ ไม่สะใจจริงๆ จิบได้เพียงสองจิบก็หมดถ้วยเสียแล้ว จึงเป็นเหตุหนึ่งที่หันไปดื่มชาหลังมื้อเที่ยงแทน

Read More

นิทรรศการจอร์จส์ บราค

Column: From Paris เมื่อจอร์จส์ บราค (Georges Braque) ถึงแก่กรรมในวันที่ 31สิงหาคม 1963 รัฐบาลฝรั่งเศสจัดพิธีศพให้โดยมีอองเดร มัลโรซ์ (André Malraux) รัฐมนตรีวัฒนธรรมในขณะนั้นกล่าวคำสดุดี ถือเป็นจิตรกรคนเดียวที่รัฐให้ความสำคัญ จอร์จส์ บราค เกิดในปี 1882 ที่อาร์จองเตย (Argenteuil) พ่อเป็นช่างทาสี แต่ชอบเขียนรูปตอนวันหยุด เป็นรูปทิวทัศน์สไตล์อิมเพรสชั่นนิสต์ เมื่อครอบครัวย้ายไปเมืองเลอ อาฟวร์ (Le Havre) จอร์จส์ บราคชอบไปเตร็ดเตร่แถวท่าเรือ ถึงกระนั้นก็เข้าเรียนที่ Ecole supérieure d’art และเรียนเป่าขลุ่ยในเวลาเดียวกัน เขาเดินทางไปปารีสในปี 1900 ฝึกงานกับจิตรกรที่รับตกแต่งภายใน แล้วกลับมาเลอ อาฟวร์เพื่อรับราชการทหาร เมื่อออกประจำการ จึงเป็นจิตรกรเต็มตัว ในปี 1902 ไปปารีสอีก พำนักย่านมงต์มาร์ทร์ (Montmartre) จึงได้พบกับมารี โลรองแซง (Marie Laurencin)

Read More