Home > France (Page 2)

Pyramide du Louvre พีระมิดแก้วพระราชวังลูฟวร์

Column: From Paris ในปี 1989 กลับไปปารีสครั้งแรกหลังจากเรียนจบ สิ่งหนึ่งที่รีบไปดูคือ พีระมิดแก้วที่พระราชวังลูฟวร์ (Louvre) เมื่อฟรองซัวส์ มิตแตรองด์ (François Mitterrand) ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในปี 1981 เขามีดำริให้ปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ โดยจะให้หน่วยงานทั้งหลายที่ตั้งในพระราชวังแห่งนี้ เช่น กระทรวงการคลัง ย้ายออกไป เพื่อให้พิพิธภัณฑ์ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของพระราชวัง จึงเกิดโครงการ Grand Louvre ทั้งนี้ โดยไม่มีการเรียกประกวดราคาและเสนอรูปแบบสถาปัตยกรรม ฟรองซัวส์ มิตแตรองด์เลือกสถาปนิกชาวอเมริกันเชื้อสายจีน Ieoh Ming Pei เป็นผู้ออกแบบการปรับปรุงลูฟวร์ ซึ่งเสนอให้ใช้พื้นที่ตรงลานนโปเลอง (cour Napoléon) ซึ่งเป็นที่ตั้งของรูปทรงม้าของกษัตริย์หลุยส์ 14 (Louis 14) เพื่อทำเป็นทางเข้าใหญ่สู่พิพิธภัณฑ์ อันที่จริงการเสนอให้สร้างพีระมิดตรง cour Napoléon มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เพื่อรำลึกถึง 100 ปีของการปฏิวัติฝรั่งเศส นอกจากนั้น ยังพบพันธะสองอย่างที่ต้องทำในบันทึกของ Bernard François Balzac

Read More

ไปรษณีย์ฝรั่งเศส

Column: From Paris ชอบใจบริการไปรษณีย์ฝรั่งเศสมาก บุรุษ (สตรี) ไปรษณีย์แถวบ้านจะขี่จักรยานมาส่ง ที่รถจะมีกระเป๋าใส่จดหมายและเอกสาร รวมทั้งพัสดุเล็กๆ แต่ในบางย่านเห็นบุรุษไปรษณีย์เดินเข็นรถไปตามอาคารต่างๆ เพราะให้บริการในย่านที่ไม่ไกลจากสำนักงานไปรษณีย์ La Poste ไปรษณีย์ฝรั่งเศสเริ่มมีในปี 1441 สมัยกษัตริย์หลุยส์ที่ 11 เพื่อส่งหนังสือของราชสำนัก ทว่ารูปแบบการบริหารการไปรษณีย์แบบในปัจจุบันเริ่มในศตวรรษที่ 17 ให้บริการส่งจดหมาย ผู้ได้รับจดหมายเป็นผู้จ่ายค่าบริการ รัฐเป็นผู้ริเริ่มการให้บริการสำหรับการติดต่อภายใน และการส่งต่อคำสั่งและรายงานระหว่างหน่วยงาน ในปี 1879 ได้รวมกิจการไปรษณีย์และโทรเลขเข้าด้วยกัน ได้ชื่อใหม่ว่า La Poste, Télégraphes et Téléphones (PTT) ขึ้นกับกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม (Ministère des Postes et Télécommunications) ในปี 1946 ได้แบ่งออกเป็น 2 หน่วยงาน คือ การไปรษณีย์ (Direction de la Poste) และการโทรคมนาคม (Direction

Read More

อิมเพรสชั่นนิสต์ที่ลอนดอน

Column: From Paris Paris Plages เป็นกิจกรรมฤดูร้อนที่เทศบาลกรุงปารีสจัดระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคมถึงสิ้นเดือนสิงหาคม เป็นการแปลงริมแม่น้ำแซน (Seine) ช่วงหนึ่งให้เป็นชายหาด สำหรับคนที่ไม่มีโอกาสไปพักร้อน และเป็นสีสันสำหรับนักท่องเที่ยว แต่เดิมจะนำทรายมาเท ตั้งเก้าอี้ผ้าใบและร่มกันแดด บางหาดก็ปูหญ้าเทียม มีกิจกรรมสำหรับเด็กๆ สระว่ายน้ำ หน้าศาลากลางกรุงปารีส (Hôtel de ville) เททราย ขึงเน็ตสำหรับกีฬาวอลเลย์บอลชายหาด ทว่านั่นกลายเป็นอดีตไปแล้ว เพราะนายกเทศมนตรีกรุงปารีสคนปัจจุบันลดกิจกรรมหมดทุกอย่าง ยกเว้นการตั้งเก้าอี้ผ้าใบและร่มกันแดด มีกิจกรรมสำหรับเด็กเล็ก ผลก็คือ ผู้คนบางตา ไปเดินริมแม่น้ำแซนบ่อยๆ วันหนึ่งเห็นบอร์ดติดรีโปรดักชั่นภาพเขียนของจิตรกรอิมเพรสชั่นนิสต์ (impressionniste) หลายภาพด้วยกัน จึงได้ทราบว่ากำลังมีนิทรรศการอิมเพรสชั่นนิสต์ที่เปอติต์ ปาเลส์ (Petit Palais) Petit Palais เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับงานเอกซ์โปนานาชาติปี 1900 ต่อมาเป็นพิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์ ขึ้นอยู่กับเทศบาลกรุงปารีส Musée des beaux-arts de la Ville de Paris มีงานศิลป์มากมาย

Read More

Sex shop

Column: From Paris สมัยที่ไปเรียนที่เมืองนีซ (Nice) นักเรียนไทยกลุ่มใหญ่เลี้ยวเข้าไปในเซ็กซ์ชอป รุ่นเด็กดูไม่รู้เรื่อง แต่รุ่นใหญ่กิ๊กกั๊กกันสนุกสนาน นั่นเป็นครั้งแรกที่ไปเข้าไปในสถานที่ “อโคจร” ครั้งหนึ่งไปเที่ยวโคเปนเฮเกน เจ้าถิ่นพาเดินถนนที่มีการค้าประเวณี ไปเดินเล่นแถวปิกาล (Pigalle) เพราะอยากเห็นคาบาเรต์ที่ชื่อ Moulin Rouge รู้สึกเป็นอะไรที่ต้องดู ในอดีตย่านนี้เต็มไปด้วยคาบาเรต์และ music hall และแน่นอนย่อมมีหญิงบริการด้วย ผู้จำลองวิถีชีวิตของย่านปิกาลลงบนผืนผ้าใบคือ อองรี เดอ ตูลูซ-โลเทรก (Henri de Toulouse-Lautrec) ซึ่งใช้ชีวิตยามราตรีตามสถานที่เหล่านี้ แต่สิ่งที่ได้เห็นพร้อมกับคาบาเรต์ในปิกาลคือบรรดาเซ็กซ์ชอป เต็มสองฟากถนน แต่เมื่อใดที่เดินลัดเลาะตามซอกซอย พบว่าเป็นย่านที่น่าอยู่มาก เต็มไปด้วยเสน่ห์ อาคารสวย ที่แม้บางครั้งจะมีคุณผู้หญิงแต่งตัวสวยยืนรอแขกก็ตาม ปิกาลอยู่ในเขต 18 (18ème arrondissement) ซึ่งเป็นเขตที่หนุ่มสาวยุคใหม่นิยมมาพำนัก เทศบาลปรับปรุงเพื่อรองรับชุมชนใหม่เหล่านี้ด้วย เช่น โรงเรียนและสวนหย่อม ย่านชาตเลต์ (Châtelet) และเลส์ อาลส์ (Les Halles) รวมทั้งย่านโบบูรก์ (Beaubourg)

Read More

มิเชล เลอกรองด์

Column: From Paris ถ้ารู้จักเพลง I will wait for you และ The windmills of your mind ต้องรู้จักมิเชล เลอกรองด์ (Michel Legrand) มิเชล เลอกรองด์ เกิดในครอบครัวที่มีแต่เสียงดนตรี พ่อและลุงเป็นนักดนตรี เขาเล่นเปียโนได้ตั้งแต่อายุ 3 ขวบ โดยไล่โน้ตตามเสียงเพลงที่ได้ยินทางวิทยุ แม่จึงพาไปเรียนเปียโนอย่างเป็นกิจจะลักษณะ เมื่อครูไปทำงานที่ Conservatoire de Paris ก็พามิเชล เลอกรองด์ไปด้วย เขาจึงได้เรียนที่นี่ตั้งแต่อายุ 9 ขวบ นอกจากเปียโนแล้วยังไปหัดเล่นดนตรีชนิดอื่นๆ ซึ่งมีส่วนช่วยมากในการแต่งเพลงในภายหลัง เขาพบว่าดนตรีเป็นทางออกของเด็กหงอยเหงาอย่างเขา มิเชล เลอกรองด์ออกจาก Conservatoire de Paris เมื่ออายุ 20 ปี เขาเล่นเปียโนสำหรับการร้องเพลง “หน้าม่าน” ในยุคนั้นจะมีการแสดงดนตรีคั่นระหว่างข่าวและภาพยนตร์ หรือช่วงพักครึ่งเวลา เขาได้ทำงานกับนักร้องดังหลายคน

Read More

ลูร์ดส์ เมืองพระแม่มารี

Column: From Paris แบร์นาแดต ซูบีรูส์ (Bernadette Soubirous) เกิดที่มูแลง เดอ โบลี (Moulin de Boly) ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1858 ไปเก็บใบไม้แห้งในป่าพร้อมกับพี่และเพื่อน สองคนหลังเดินไปที่อื่น แบร์นาแดตได้ยินเสียงลม จึงเดินไปที่ถ้ำมัสซาเบียล (Grotte de Massabielle) และได้เห็นสตรีสวมชุดขาวผู้หนึ่ง คลุมผมด้วยผ้าขาวเช่นกัน คาดเอวด้วยผ้าสีฟ้า ที่เท้าแต่ละข้างมีดอกกุหลาบสีเหลือง เธอจึงทำเครื่องหมายไม้กางเขนและเริ่มสวดมนต์ พอสวดจบ สตรีผู้นั้นก็หายไป ต่อมาในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ แบร์นาแดตกลับไปที่ถ้ำอีก และสวดมนต์ไปได้สิบกว่าจบ สตรีในชุดขาวปรากฏให้เห็นอีก เธอพรมน้ำมนต์ไปที่ร่างของสตรีผู้นั้น ซึ่งยิ้มและพยักหน้ารับรู้ ก่อนที่จะหายตัวไป ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ แบร์นาแดตขอให้สตรีชุดขาวเขียนชื่อบนกระดานชนวน ก็ได้รับคำตอบว่าไม่จำเป็น และกล่าวว่า ข้าไม่ขอสัญญาว่าจะทำให้เจ้ามีความสุขในชาตินี้ แต่ในชาติอื่นๆ และขอให้แบร์นาแดตมาที่ถ้ำอีกเป็นเวลา 15 วัน แบร์นาแดตจึงกลับไปในวันที่ 19

Read More

Mai 68

Column: From Paris การเปลี่ยนแปลงใหญ่ในแต่ละครั้ง ย่อมมีการสูญเสีย ฝรั่งเศสมีสถาบันกษัตริย์จนถึงปี 1789 ราษฎรที่กรุงปารีสแร้นแค้น ในขณะที่ราชสำนักที่แวร์ซายส์ (Versailles) ไม่ตระหนัก ชาวปารีเซียงจึงลุกฮือเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 1789 สถาบันกษัตริย์ถูกล้มล้าง กษัตริย์หลุยส์ที่ 16 และ มารี-อองตัวแนต (Marie-Antoinette) รวมทั้งขุนนางผู้ภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ถูกประหารด้วยเครื่องกีโยตีน (guillotine) ถือเป็นการปฏิวัติใหญ่ของฝรั่งเศส หากการปฏิวัติครั้งนั้นใช่ว่าจะจบสิ้นลงในเร็ววัน แต่ยืดเยื้ออยู่หลายปี ผู้นำการปฏิวัติเข่นฆ่ากันเอง ฝรั่งเศสเพิ่งกลับมาเป็นหนึ่งเดียวในยุคนโปเลอง (Napoléon) เป็นยุคจักรวรรดิ (Empire) และแม้จะมีความพยายามรื้อฟื้นสถาบันกษัตริย์ แต่ไม่ได้ใช้ว่า กษัตริย์ของฝรั่งเศส – roi de France แต่เป็นกษัตริย์ของชาวฝรั่งเศส – roi des Français แล้วก็มาถึงยุคสาธารณรัฐ (République) ที่ล้มลุกคลุกคลาน จนมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 1958 การเมืองฝรั่งเศสจึงค่อยมั่นคง ฝรั่งเศสมีการ “ปฏิวัติ” ใหญ่อีกครั้งหนึ่งในปี

Read More

กีฬาฟุตบอลกับคนฝรั่งเศส

Column: From Paris ยุคหนึ่งสถานทูตฝรั่งเศสที่กรุงเทพฯ มีอุปทูตที่หนุ่มมาก อายุเพียงสามสิบกว่าๆ เป็นคนหนุ่มที่สนใจกีฬามาก ติดตามข่าวคราวและการถ่ายทอดสดทั้งฟุตบอล รักบี้ และอื่นๆ และนักการทูตผู้นี้แหละที่ทำให้รู้จักฟุตบอลฝรั่งเศสในยุคที่ทีมชาติฝรั่งเศสมีกองกลางที่เข้มแข็ง เรียกสี่ทหารเสือ อันมี มิเชล ปลาตินี (Michel Platini) หลุยส์ แฟร์นองเดซ (Louis Fernandez) ฌอง ติกานา (Jean Tigana) อแลง จีแรส (Alain Giresse) นักการทูตคนอื่นแอบถากถางลับหลังอุปทูตผู้นี้ว่า รสนิยมต่ำ เพราะชาวฝรั่งเศสในยุคนั้นถือฟุตบอลเป็นกีฬาสำหรับคนระดับล่าง ชาวฝรั่งเศสมองกีฬาฟุตบอลต่างออกไปเมื่อฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพจัดบอลโลกในปี 1998 France 98 ต่างหันมาเชียร์ฟุตบอล โดยเฉพาะอย่างยิ่งทีมชาติฝรั่งเศสที่ประกอบด้วยคนหลายสีผิว จนประธานาธิบดีฌาคส์ ชีรัก (Jacques Chirac) ให้คำจำกัดความว่า Black blanc beur และเมื่อฝรั่งเศสได้เป็นแชมป์โลก ชาวฝรั่งเศสทั้งประเทศปลื้มปีติ นับแต่นั้นภาพลักษณ์ของนักฟุตบอลดูดีขึ้น หลายคนกลายเป็นขวัญใจมหาชน อย่างไรก็ตาม ฟุตบอลสามารถดึงความสนใจของชนชั้นปกครองฝรั่งเศสเสมอมา เมื่อวันที่

Read More

ก้าวย่างของซีเนอดีน ซีดาน

Column: From Paris นักฟุตบอลฝรั่งเศสที่เป็นซูเปอร์สตาร์ระดับโลก นอกจากมิเชล ปลาตินี (Michel Platini) ในทศวรรษ 1980 แล้ว ยังมีซีเนอดีน ซีดาน (Zinedine Zidane) ที่กลายเป็นวีรบุรุษของชาวฝรั่งเศส เมื่อสามารถโขกลูกเข้าประตูบราซิลไป 2 ลูกในรอบชิงชนะเลิศปี 1998 ทำให้ฝรั่งเศสได้เป็นแชมป์โลก โดยลูกสามยิงโดยเอ็มมานูเอล เปอติต์ (Emmanuel Petit) ฝรั่งเศสจึงชนะไป 3-0 และต่อมาอีก 2 ปีได้เป็นแชมป์ยูโร ซีเนอดีน ซีดานรู้จักกันในชื่อ ซีซู (Zizou) ซีเนอดีน ซีดานเล่นฟุตบอลในฝรั่งเศส เริ่มดังเมื่อเล่นกับสโมสร Girondins de Bordeaux ก่อนย้ายไปสโมสร Juventus ของอิตาลี หลังจากที่ได้เป็นแชมป์โลกไม่กี่ปี ซีเนอดีน ซีดานก็ย้ายไปอยู่ทีม Real Madrid ของสเปน ซึ่งเป็นสโมสรที่รวมนักฟุตบอลดังอย่าง Raul, Luis

Read More

Bistronomie

Column: From Paris Bistro หรือ Bistrot บิสโทร บิสโทรต์ เป็นร้านเหล้าที่ขายอาหารด้วย ส่วน bistronomie บิสโทรโนมี เป็นร้านอาหารที่เสิร์ฟอาหารที่เป็น gastronomie Guide Michelin ฉบับสีแดง เป็นหนังสือที่แนะนำร้านอาหาร และให้ดาวแก่เชฟที่ทำอาหารอร่อย แต่การเป็นร้านอาหารติดดาวมิชแลงนั้นมีข้อจำกัดมากมาย ต้องมี cadre ที่โก้หรู ร้านต้องสวยโก้ ผ้าปูโต๊ะเป็นผ้าลินิน ไหนจะแก้วเจียระไน ช้อนส้อมเงิน ล้วนต้องเริ่ดหรู อาหารต้องอร่อย เป็น gastronomie อาหารต้องปรุงด้วยวัสดุที่มีคุณภาพ ตกแต่งสวยงาม ไวน์ชั้นยอด และการบริการเยี่ยม หากอย่างใดอย่างหนึ่งบกพร่อง Guide Michelin อาจลดดาวหรือถอนดาวได้ ร้านอาหารติดดาวจึงราคาแพงมาก มีลูกค้าเพียงหยิบมือหนึ่ง เชฟติดดาวพบว่าตนเองเหนื่อยมากกับการทำตามข้อจำกัดของ Guide Michelin และต้องใช้เงินมากในการทำนุบำรุง ไหนจะพนักงานทั้งในส่วนบริการและในห้องครัว ส่วนหนึ่งจึงขอถอนตัว คืนดาวให้ Guide Michelin แล้วหันมาทำร้านอาหารธรรมดา ที่เสิร์ฟอาหารแบบ gastronomie

Read More