Home > Entertainment (Page 3)

“จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่” บุก AEC เฟ้น พระเอกใหม่ ป้อนละคร-ซีรีส์ไทย สู่ “อินเตอร์”

ถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของวงการละครและซีรีส์ไทย เมื่อยักษ์ใหญ่แห่งวงการบันเทิงไทยอย่าง “จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่” ประกาศรับสมัครนักแสดงใหม่จากทั่วไทยและ 4 ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม AEC ได้แก่ เมียนมาร์, ลาว, เวียดนาม และ กัมพูชา เพื่อปั้นให้เป็นพระเอกใหม่ ภายใต้โปรเจ็คท์ “BRAVO! BOYS” (บราโว่! บอยส) มาร่วมแสดงละครและซีรีส์ในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ โดยคุณ “ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม” ประธานกรรมการบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เผยว่า “เป็นเรื่องที่ผมตั้งใจและคุยกันว่าอยากให้เกิดขึ้นมานานแล้ว เพราะเราตั้งใจให้แกรมมี่เป็นจุดศูนย์กลางของคนรุ่นใหม่ คนเก่งๆจากทุกภาคของประเทศไทยและประเทศต่างๆทั่วเออีซี เพื่อให้เข้ามาร่วมสร้างสรรค์คอนเทนต์สีสันใหม่ๆ สำหรับผู้ชมชาวไทยและชาวต่างประเทศที่ชื่นชมและติดตามละครและซีรีส์ไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก” ด้าน “บุษบา ดาวเรือง” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เผยว่า “รู้สึกคึกคักมากกับโปรเจ็คท์ “บราโว่! บอยส” นี้ น้องๆที่คิดว่าตัวเองมี

Read More

Netflix จับมือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ส่งซีรีส์ไทยกว่า 700 ชั่วโมง สู่สายตาสมาชิก 125 ล้านคนทั่วโลก

Netflix (เน็ตฟลิกซ์) ผู้นำบริการด้านความบันเทิงทางอินเทอร์เน็ตระดับโลก ได้ประกาศความร่วมมืออย่างเป็นทางการ กับ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ผู้นำทางด้านสื่อและธุรกิจบันเทิงแบบครบวงจรของเมืองไทย ในการนำคอนเทนต์ที่หลากหลายซีรีส์กว่า 700 ชั่วโมงไปออกอากาศให้กับสมาชิกของ Netflix (เน็ตฟลิกซ์) กว่า 125 ล้านคนทั่วโลกได้รับชมพร้อมกัน สำหรับข้อตกลงในครั้งนี้คือการนำซีรีส์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดของกลุ่มจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เช่น Hormones (ฮอร์โมน), Bad Genius (แบด จีเนียส), O-Negative (โอเนกาทีฟ) ฯลฯ เฉกเช่นเดียวกันกับซีรีส์ 11 เรื่องใหม่ที่กำลังจะออกอากาศ ไม่ว่าจะเป็น Girl From Nowhere The Series (เกิร์ล ฟอร์ม โนแวร์ เดอะ ซีรีส์), The Judgement (เดอะ จัดจ์เมนท์), Monkey Twins (มังกี้ ทวิน), Bangkok

Read More

ปรากฏการณ์ KABALI

 Column: AYUBOWAN สันทนาการหลักๆ ของชนชาวศรีลังกานอกจากจะออกมาหย่อนใจในสวนสาธารณะ หรือรวมกลุ่มเล่นกีฬากันอย่างสนุกสนานแล้ว ดูเหมือนว่าโรงภาพยนตร์ ก็เป็นแหล่งสันทนาการใหญ่ที่ดึงดูดผู้ชมได้อย่างหนาแน่น ความเป็นไปของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ศรีลังกา ในด้านหนึ่งก็คงคล้ายและใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียใต้อีกหลากประเทศที่ถูกบดบังไว้ด้วยภาพยนตร์จาก Bollywood ของอินเดียอยู่เป็นด้านหลัก โดยเฉพาะจากข้อเท็จจริงที่ว่า อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของศรีลังกาซึ่งเริ่มต้นขึ้นในปี 1947 หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เกิดขึ้นจากผลของผู้อำนวยการสร้างจากอินเดียใต้ ที่ทำให้ภาพยนตร์ศรีลังกาในยุคบุกเบิก ดำเนินไปท่ามกลางมิติของเทคนิควิธีการเล่าเรื่อง การถ่ายทำตามขนบแบบภาพยนตร์อินเดียไปโดยปริยาย แม้ว่าภาพยนตร์ศรีลังกาที่ผลิตขึ้นในช่วงที่ผ่านมาส่วนใหญ่ก็ผลิตภายใต้สื่อภาษาสิงหล ซึ่งเป็นภาษาหลักและเป็นภาษาของชนหมู่มากของศรีลังกา แต่ภาพยนตร์ภาษาฮินดีจากอินเดียก็ได้รับความสนใจและครองความนิยมในหมู่ผู้ชมได้เสมอ ประเมินในมิติที่ว่านี้ก็คงไม่แตกต่างจากแฟนหนังชาวไทยที่พร้อมจะซื้อบัตรเข้าชมภาพยนตร์จาก Hollywood มากกว่าที่จะสนับสนุนภาพยนตร์ไทยดีๆ สักเรื่อง หรือในความเป็นจริงภาพยนตร์ไทยดีๆ ยังไม่ค่อยมีให้สนับสนุนก็เป็นได้ แต่เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาพยนตร์ภาษาทมิฬจากฐานของอุตสาหกรรมภาพยนตร์อีกแห่งที่เมือง Kodambakkam ในเขต Chennai รัฐ Tamil Nadu ที่ได้รับการเรียกขานว่าเป็น Kollywood ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ที่ไม่จำกัดเฉพาะในบริบทของเมือง Chennai หรือในและอาณาเขตแว่นแคว้นของรัฐ Tamil Nadu ทางตอนใต้ของอินเดียเท่านั้น หากยังแผ่ข้ามมาสู่ศรีลังกาอีกด้วย ภาพยนตร์ภาษาทมิฬในนาม Kabali กลายเป็นหัวข้อสนทนาที่สร้างความตื่นตาตื่นใจอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะจากข้อเท็จจริงที่ว่า Kabali สร้างสถิติใหม่เป็นภาพยนตร์อินเดียที่ทำรายได้สูงสุดจากการฉายทั้งในโรงภาพยนตร์ 3,200 แห่งในอินเดียและอีกจำนวนหนึ่งในต่างประเทศในช่วงสัปดาห์แรก ด้วยมูลค่ารวมมากถึง 33 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื้อหาของ

Read More

ยุคดิจิตอลต้องสู้ด้วยทุน ทีวีธันเดอร์เตรียมเข้า mai

 สมรภูมิดิจิตอลทีวีได้ปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ของวงการผู้ผลิตสื่อให้แปลกแตกต่างออกไปอย่างที่ไม่มีวันเหมือนเดิม ควบคู่กับการช่วงชิงพื้นที่และทรัพยากรทางการผลิตกันอย่างเอิกเกริกด้วยมุ่งหมายที่จะต้องยืนให้อยู่ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดและเขม็งเกลียวที่พร้อมจะผลักให้ผู้ประกอบการบางรายล้มหายไปจากหน้าจอโดยปริยาย ล่าสุดบริษัท ทีวี ธันเดอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TVT ผู้ประกอบธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์และรายการบันเทิงชั้นนำ และให้บริการรับจ้างผลิตรายการและจัดกิจกรรมต่างๆ รวมถึงธุรกิจบริหารศิลปิน และผลิตและจำหน่ายหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊กได้ยื่นไฟลิ่งกับ ก.ล.ต. แล้วเพื่อนำเสนอขายหุ้นไอพีโอ 200 ล้านหุ้น โดยคาดหวังจะเป็นผู้นำธุรกิจด้านการผลิตคอนเทนต์และผลิตรายการที่มีมาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ประเด็นสำคัญของการยื่นขอเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai ของทีวี ธันเดอร์ อยู่บนข้อเท็จจริงที่ว่า การเปิดทีวีดิจิตอลที่มีมากถึง 24 ช่อง ถือเป็นโอกาสสำคัญที่ส่งผลให้บริษัทฯ มีการเติบโต และเป็นที่มาของการเตรียมตัวเพื่อระดมทุนสำหรับขยายกำลังการผลิตรายการโทรทัศน์และลงทุนในระบบการถ่ายทำรองรับทีวีดิจิตอล เพื่อการขยายตัวของบริษัทฯ ในอนาคต รวมถึงการพัฒนาสู่การเป็นผู้ผลิตที่มีมาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง ภัทรภร วรรณภิญโญ ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีวี ธันเดอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TVT ระบุว่าทางบริษัทฯ ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) และได้ยื่นแบบคำขอให้รับหุ้นสามัญของบริษัทฯ เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Read More

“เมเจอร์” ทศวรรษที่ 3 ปรับสูตรสยายปีก

 “วิชา พูลวรลักษณ์” ทุ่มทุนสร้างอาณาจักรธุรกิจเอ็นเตอร์เมนต์ที่ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ แต่ประสบการณ์และบทเรียนตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ปรับเปลี่ยนบิสสิเนสโมเดลจาก “Total Entertainment Lifestyle Company” สู่ความเป็นเมืองหนังและศูนย์รวมความบันเทิงระดับโลก ที่มีเป้าหมายใหญ่ชัดเจนมากขึ้น ภายใต้ 2 กลยุทธ์หลัก  ด้านหนึ่ง ปูพรมสาขาโรงภาพยนตร์เพื่อเป็นสะพานต่อยอดธุรกิจภาพยนตร์ อีกด้านหนึ่ง ปลุกปั้นธุรกิจภาพยนตร์ลงสาขาที่จะมีมากถึง 1,000 โรง ทั้งในและต่างประเทศ   ความสำเร็จของวิชา  คือ “โรงหนังโต หนังโต รายได้โตดับเบิ้ลอีกหลายเท่า” ที่สำคัญ เป้าหมายการก้าวเข้าสู่ปีที่ 21 ไม่ใช่แค่ตลาดในประเทศไทย แต่ขยายสู่สมรภูมิต่างประเทศ ทั้งตลาดอาเซียนและเอเชีย หลังชิมลางครั้งแรกเมื่อ 5 ปีก่อน โดยร่วมถือหุ้นในบริษัท พีวีอาร์ (PVR) บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศอินเดีย ตั้งบริษัทร่วมทุนดำเนินธุรกิจโรงภาพยนตร์และโบว์ลิ่ง แต่ดีลครั้งนั้นวิชาไม่ได้เข้าบริหารโดยตรง  จนล่าสุด ในปี 2557 บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน)

Read More

ลิเบอราชี

 ช่อง 4 บางขุนพรหมเป็นโทรทัศน์ช่องแรกที่รู้จัก ต่อมาย้ายมาอยู่บางลำพู เปลี่ยนชื่อเป็นช่อง 9 แล้วจึงมาถึงยุค อสมท. เป็นยุคที่ได้ชมรายการดีๆ จากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายการบันเทิงและเพลง จึงได้ชมรายการโชว์ของแพ็ตตี เพจ (Patti Page) ดอริส เดย์ (Doris Day) เอ็ดมุนโด รอส (Edmundo Ros) เจมส์ ลาสต์ (James Last) แอนดี้ วิลเลียมส์ (Andy Williams) ทอม โจนส์ (Tom Jones) เองเกลเบิร์ต ฮัมเพอร์ดิงค์ (Engelbert Humperdinck) ฯลฯ และรายการหนึ่งที่ชอบมากคือโชว์ของลิเบอราชี (Liberace) ชื่อลิเบอราชีให้ความรู้สึกว่าน่าจะมีเชื้อสายอิตาเลียน แล้วก็เป็นจริงตามนั้น ด้วยว่าพ่อของเขาเป็นชาวอิตาเลียนที่อพยพมายังสหรัฐอเมริกา ส่วนแม่เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายโปแลนด์ แม่ชื่นชอบดารารูปหล่ออย่างรูดอลฟ์ วาเลนติโน (Rudolph Valentino) จึงตั้งชื่อกลางให้ลูกชายว่า

Read More

“ฮอร์โมน เดอะซีรีส์” ภาพสะท้อน สังคมไทยยุค 4G

 “แม่กำลังจะมีน้อง...” คุณแม่ Single Mom เอื้อนเอ่ยความในใจ“แล้วเม่ท้องกับใคร... แม่ไม่ได้ป้องกันหรือ...แม่ไม่ได้มีแฟนนิ” เด็กวัยรุ่นเพศหญิงถามกลับด้วยความสงสัยข้อความที่ดูเหมือนจะกลับตาลปัตร สลับข้างนี้ เป็นส่วนหนึ่งของบทละครที่ดำเนินไปด้วยบทสนทนาและประโยคแรงๆ โดนๆ และตรงไปตรงมาจาก “ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น” ซึ่งอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่หนุนส่งให้ซีรีส์วัยรุ่นเรื่องนี้กลายเป็นกระแสยอดฮิตที่กำลังเป็น ทอล์ค ออฟ เดอะทาวน์ ในขณะนี้ปรากฏการณ์ที่สะท้อนผ่านออกมาเป็นบทละครนี้ นอกจากจะกำลังสื่อสารข้อความว่าด้วยความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา ความเป็นไปของผู้คนต่างวัย และวิถีชีวิตของวัยรุ่น ที่กำลังถูกทำให้เป็นประหนึ่งเรื่องราวที่หลบมุมและเข้าใจยาก ทั้งที่ความเป็นไปเหล่านี้เป็นเพียงเรื่องราวปกติธรรมดาของผู้คนในห้วงอายุและช่วงวัยแล้วในอีกมิติหนึ่ง ความเป็นไปและกระแสที่เกิดขึ้นจาก “ฮอร์โมน เดอะซีรีส์” ก็คือ ข้อเท็จจริงที่ว่า ในโลกยุคดิจิตอลนี้ ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงและเสพรับ “คอนเทนต์” ต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง ทั่วถึง ในลักษณะที่อาจกล่าวได้ว่า ไร้ข้อจำกัดกันเลยทีเดียว พัฒนาการและการมาถึงของเครื่องมือในยุคสมัยใหม่ได้ทลายกำแพงและข้อจำกัดด้านเวลาการออกอากาศในลักษณะดั้งเดิมลงอย่างสิ้นเชิง พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ทั้งผู้ผลิตสื่อ เจ้าของผลิตภัณฑ์ และผู้บริโภคที่เสพงานได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้อย่างเต็มที่ ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ดำเนินไปควบคู่กับพัฒนาการของอุปกรณ์-เครื่องมือ และระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นมารองรับกับยุคสมัยแห่งดิจิตอลนี้ไม่ว่าจะเป็น 3G หรือ 4G ซึ่งเป็นประหนึ่งประตูที่เปิดกว้างให้ผู้คนผ่านเข้าออกได้อย่างสะดวกและเป็นปัจจัยให้เกิดการผลิตซ้ำที่ช่วยกระตุ้นให้ยอดผู้เข้าชม “ฮอร์โมน เดอะซีรีส์” มีสูงถึงในระดับเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 5 ล้านครั้งในแต่ละสัปดาห์ จำนวนยอดผู้เข้าชมคลิปรายการจำนวนมากขนาดดังกล่าวนี้

Read More

น่านฟ้าใหม่ของ GMM “Content is King Again”

 กระแสความแรงของซีรีส์วัยรุ่น “ฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่น” เรียกได้ว่าไม่เป็นรอง “สุภาพบุรุษจุฑาเทพ” บางคนมองว่า กระแสแรงยิ่งกว่าละครภาคค่ำของช่องฟรีทีวีเสียอีกเพราะขณะที่ซีรีส์สุภาพบุรุษจุฑาเทพ ออกอากาศทางช่อง 3 ฟรีทีวี ซีรีส์ฮอร์โมนฯ ของ GTH ออกอากาศทางช่อง One ผ่านทางทีวีดาวเทียม GMM Z ของค่ายแกรมมี่เป็นหลัก ก่อนจะกลายเป็นกระแสบอกต่อจนผู้คนต้องไปตามดูทาง You Tube ส่งผลให้ยอดวิวทะลุหลักหลายล้านวิวกระแสตอบรับดังกล่าวไม่เพียงทำให้ตัวช่อง ONE และแบรนด์ GMM Z เป็นที่รู้จักแก่ผู้ชมมากขึ้น แต่ยังส่งผลให้เหล่าแบรนด์สินค้าและมีเดียเอเยนซี่หันมาสนใจลงโฆษณาในแพลตฟอร์มใหม่ของแกรมมี่เพิ่มขึ้น นี่เป็นข้อพิสูจน์ว่า ถ้า “คอนเทนต์ดี” ไม่ว่าออกอากาศผ่านช่องทางไหนผู้ชมและสปอนเซอร์ก็จะตามไป“...ใครที่มี ‘คอนเทนต์ที่ดี’ มากที่สุดถือเป็นผู้ชนะเพราะ Content is King”เป็นคำกล่าวของ “ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม” หัวเรือใหญ่แห่งค่ายแกรมมี่ ที่ประกาศไว้เมื่อครั้งมีงานแถลงนโยบายของแกรมมี่ประจำปี 2547 แม้ว่าธีมงานในครั้งนั้นระบุว่า “Music never dies" แต่คอนเทนต์ที่ “อากู๋” หมายถึง

Read More