Home > Economic (Page 3)

เอกชนหวังรัฐบาลใหม่ สร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจไทย

หลังการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยในรอบ 8 ปีของไทยผ่านพ้นไปไม่กี่วัน ดูเหมือนสถานการณ์การเมืองไทยที่มักจะถูกยึดโยงไว้กับความมั่นคงด้านอื่นๆ ทั้งเศรษฐกิจระดับมหภาค จุลภาค อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การลงทุน ด้วยว่าเสถียรภาพทางการเมืองจะสร้างความมั่นใจจนไปถึงสามารถกระตุ้นสัญญาณชีพของเศรษฐกิจไทยได้ หลายฝ่ายเรียกร้องให้ไทยมีการเลือกตั้งในเร็ววัน ด้วยหวังว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนั้นจะสามารถเปลี่ยนหน้าเศรษฐกิจได้ คงไม่ต่างอะไรกับนักพนันที่วาดฝันว่าไพ่ในมือของตนจะเปลี่ยนแต้มในยามเข้าตาจนให้สร้างความได้เปรียบมากขึ้น แม้บางส่วนจะเห็นต่างว่า รัฐบาลทหารมีข้อดีอยู่บ้าง นั่นคือความสงบภายใต้กฎหมายข้อบังคับที่ถูกประกาศใช้ ขณะเดียวกันภายใต้สถานการณ์ความสงบที่ฉาบไล้อยู่เบื้องหน้านั้น กลับซ่อนเร้นคลื่นใต้น้ำที่รอวันกระเพื่อม และถึงวันนี้ผลการเลือกตั้งที่ถูกเปิดเผยออกมาเกือบครบร้อยเปอร์เซ็นต์ หลายพรรคที่ได้คะแนนเสียงเป็นอันดับหนึ่ง อันดับสอง กำลังพยายามอย่างหนักที่จะจับขั้วการเมืองเพื่อจัดตั้งรัฐบาล แน่นอนว่าถึงเวลานี้ยังไม่มีใครให้คำตอบได้ว่า รัฐบาลใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น จะเป็นไปในรูปแบบใด เพราะความเป็นไปได้มีทั้งรัฐบาลผสมเสียงข้างมาก รัฐบาลผสมเสียงข้างน้อย หรือท้ายที่สุดจบที่รัฐบาลเฉพาะกาล แต่ถึงแม้จะยังไม่มีความแน่นอนในสถานการณ์การเมือง ทว่า ภาคเอกชนกลับแสดงความคิดความเห็น ที่เต็มไปด้วยความคาดหวังว่ารัฐบาลใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นน่าจะนำพาให้เศรษฐกิจไทยดำเนินไปข้างหน้าได้ ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แสดงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นการเมืองว่า “การเลือกตั้งอาจได้รัฐบาลผสม ซึ่งทำให้เกิดการยุบสภาบ่อยครั้ง แต่หากรัฐบาลใหม่มีนโยบายที่ชัดเจนและต่อเนื่อง เศรษฐกิจน่าจะขับเคลื่อนไปได้ แต่อาจไม่ใช่ทิศทางที่สูงมาก การเติบโตของประเทศในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีนี้ จะขยายตัวอยู่ในกรอบใกล้เคียง 4 เปอร์เซ็นต์ น่าจะมีโอกาสฟื้นตัวและเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ” หากดูตัวเลขการขยายตัวของ GDP ในห้วงยามที่ คสช. เข้ามาบริหารประเทศด้วยทัศนคติที่เป็นกลาง ต้องยอมรับว่าความสงบที่เกิดขึ้นภายในบ้านเมืองทำให้ไทยก้าวห่างจาก “คนป่วยแห่งเอเชีย” และทำให้ GDP

Read More

เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ฉุดไทยไปไม่พ้นภาวะชะงักงัน

แม้ว่าดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงต้นปี 2562 จะมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้น จากเหตุปัจจัยว่าด้วยกำหนดการเลือกตั้งที่คาดว่าได้สร้างความตื่นตัวทางเศรษฐกิจกว่า 5 หมื่นล้านบาทมาช่วยหนุน ควบคู่กับปริมาณนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เริ่มทยอยกลับมาสร้างสีสันให้กับการท่องเที่ยวไทยอีกครั้ง หากแต่ภายใต้สถานการณ์ความชะลอตัวทางเศรษฐกิจระดับนานาชาติที่ดำเนินต่อเนื่องจากเหตุของข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา รวมถึงกรณีว่าด้วยการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร หรือ BREXIT ที่ยังคงยืดเยื้อหาข้อสรุปที่พึงประสงค์ระหว่างกันไม่ได้ ได้กลายเป็นปัจจัยกดทับให้เศรษฐกิจไทยยังอยู่ในภาวะชะงักงันต่อเนื่องออกไปอีก ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ข้อพิพาทระหว่างจีน-สหรัฐอเมริกามีความผ่อนคลายลงจากการประกาศขยายเวลาการเก็บภาษีสินค้าจากจีนจากอัตราเดิมร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 25 ออกไปอีก 90 วันนับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2562 ซึ่งถือเป็นการประวิงเวลาให้ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมเจรจาเพื่อแสวงหาทางออกกันอีกครั้ง ซึ่งทำให้สงครามการค้าที่หลายฝ่ายกังวลใจยังไม่ขยายวงและบานปลายมากไปกว่าที่ผ่านมา แต่ความเคลื่อนไหวจากฝั่งฟากยุโรปกลับส่งสัญญาณเตือนถึงปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้น โดยการประชุมธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) เมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้ระบุถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ปรับลดอัตราเร่งลงมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากความไม่แน่นอนที่ยังคงดำเนินต่อไปจากเหตุปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ ภัยคุกคามจากนโยบายกีดกันทางการค้า และความเปราะบางในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ล้วนส่งแรงกระทบต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจยูโรโซน ถ้อยแถลงของธนาคารกลางยุโรป ดำเนินไปท่ามกลางการอ่อนค่าลงของเงินยูโรจนมาสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 21 เดือนในช่วงต้นเดือนมีนาคม ในขณะที่สมาชิก 19 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรร่วมกันในกลุ่มประเทศยูโรโซน เผชิญแรงกดดันที่เพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปี 2561 เมื่อเศรษฐกิจของอิตาลีประสบปัญหาจากประเด็นทางการเมืองภายใน และการเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ โดยอัตราขยายตัวของจีดีพีลดลงติดต่อกัน 2 ไตรมาส ขณะที่การถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (BREXIT) ของสหราชอาณาจักร ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนในหลายๆ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกันกับอียูโดยตรง โดยความวิตกกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่แน่นอนและไม่อาจคาดการณ์ได้

Read More

จับตาเศรษฐกิจจีนทรุด ระวังอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลก

เป็นที่ทราบกันดีกว่า จีน เป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 13 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจโลก ทว่าตั้งแต่กลางปี 2018 เป็นต้นมา เศรษฐกิจในประเทศจีนส่งสัญญาณการชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด สาเหตุหนึ่งที่สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อเศรษฐกิจจีน คือ การต่อกรกับสหรัฐฯ ในสงครามการค้า แม้ว่าจีนจะอยู่ในฐานะประเทศมหาอำนาจอันดับสองรองจากสหรัฐฯ ทว่าอำนาจเจรจาต่อรองที่จีนมีไม่สามารถสร้างความได้เปรียบให้แก่ตัวเองได้เลย เมื่อมูลค่าการนำเข้าสินค้าจีนของสหรัฐฯ มีมูลค่าสูงถึง 5 แสนล้านดอลลาร์ แต่เมื่อพิจารณามูลค่าการนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ ของจีนนั้น มีเพียง 2 แสนล้านดอลลาร์ นี่เองที่เป็นข้อจำกัดของจีนในการที่จะโต้ตอบสหรัฐฯ ด้วยกำแพงภาษี แม้ล่าสุดการเจรจาการค้าระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดนัลด์ ทรัมป์ และประธานาธิบดี สีจิ้นผิง เมื่อสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ จะได้ข้อสรุปว่า สหรัฐฯ จะเลื่อนการปรับเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์ เป็น 25 เปอร์เซ็นต์ จากเดิม 10 เปอร์เซ็นต์ ออกไปจากกำหนดเดิมที่จะมีการบังคับใช้ในวันที่ 1 มีนาคม ซึ่งทรัมป์ได้ทวีตข้อความว่า

Read More

หนี้สาธารณะ ภาระหนักเศรษฐกิจไทย

ท่ามกลางสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทย ที่ดูจะไม่มีวี่แววว่าจะมีทิศทางปรับตัวกระเตื้องขึ้นในเร็ววัน ตัวเลขหนี้สาธารณะของไทยกลับปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้หลายฝ่ายสะท้อนความกังวลใจ หากแต่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง ยืนยันว่ากรณีดังกล่าวไม่กระทบเศรษฐกิจ เพราะเป็นภาระหนี้ที่นำไปใช้จ่ายในโครงการขนาดใหญ่และช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัว ท่วงทำนองแห่งความเชื่อมั่นในลักษณะดังกล่าว นำไปสู่ความเคลื่อนไหวล่าสุดว่าด้วยการปรับขึ้นหนี้สาธารณะในปี 2562 อีก 2.3 หมื่นล้านบาทในการประชุมคณะรัฐมนตรีของ คสช. เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้ตัวเลขหนี้สาธารณะไทยไปอยู่ที่ระดับ 1.85 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 43.32 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จากเดิมที่อยู่ในระดับร้อยละ 42.7 ขณะที่ตัวเลขหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2561 อยู่ที่ระดับ 6.833 ล้านล้านบาท การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวนี้ เป็นผลมาจากการดำเนินโครงการต่างๆ เพิ่มเติม ทั้งเงินกู้รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) วงเงินลงทุน 3.2 หมื่นล้านบาท และโครงการที่ขอบรรจุเพิ่มเติมขออนุมัติเพิ่มเติมใหม่อีก 6 โครงการ วงเงินทั้งสิ้น 2.8 หมื่นล้านบาท

Read More

เงินบาทแข็งค่า ปัจจัยฉุดส่งออกทรุดตัว

อีกครั้งที่ “การส่งออก” ฟันเฟืองตัวสำคัญของเศรษฐกิจไทยถูกพูดถึงภายใต้นัยที่แสดงถึงความวิตกกังวล ซึ่งอาจจะเป็นเพราะปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออก ทั้งในเรื่องของศักยภาพในการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าโลก เมื่อพิจารณาจากผลงานการส่งออกของไทยตลอดทั้งปี 2561 ที่มีอัตราการขยายตัว 6.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ทว่าในบางเดือนพิษจากสงครามการค้ากลับส่งผลให้การส่งออกของไทยติดลบหลายครั้ง ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยว่า การส่งออกของไทยมีการขยายตัวต่ำกว่าหลายประเทศอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างการส่งออกของไทย จะเห็นได้ว่าการส่งออกสินค้าขั้นกลางมีสัดส่วนสูงสุดในการส่งออกของไทยทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานกับประเทศต่างๆ มีความสำคัญต่อการค้าไทย ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าการส่งออกสินค้าขั้นกลางของไทยเริ่มส่งสัญญาณการชะลอตัวและมีสัดส่วนลดลง ในขณะที่สัดส่วนการส่งออกสินค้าขั้นสุดท้ายกลับสูงขึ้น ในทางตรงกันข้าม การส่งออกสินค้าของเวียดนามและฟิลิปปินส์ขยายตัวได้ดีและเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ แสดงให้เห็นว่าไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันและมีบทบาทที่ลดลงในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลให้ไทยเสียโอกาสที่จะกอบโกยรายได้จากอุตสาหกรรมแนวนี้ที่มีแนวโน้มเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต ทั้งนี้ การที่เวียดนามและฟิลิปปินส์เข้ามามีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานแทนที่ไทย ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะไทยไม่สามารถแข่งขันด้านค่าแรงได้ เป็นเหตุให้ไทยไม่สามารถดึงดูดนักลงทุนให้มาลงทุนสร้างฐานการผลิตในไทยได้ และแม้ว่าไทยจะมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าขั้นสุดท้ายมากขึ้น แต่ปัจจุบันสินค้าขั้นสุดท้ายที่ไทยผลิตส่วนมากมีมูลค่าเพิ่มไม่สูงนัก เพราะไทยยังไม่มีศักยภาพมากพอที่จะสามารถผลิตสินค้าขั้นสุดท้ายที่ต้องใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงดังเช่นประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งประเด็นนี้ แม้ว่าภาครัฐกำลังเร่งเครื่องอย่างหนักที่จะผลักดันให้ไทยกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรม 4.0 ที่เน้นเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นสำคัญ และแน่นอนว่ากว่าเป้าหมายที่ไทยตั้งไว้จะบรรลุ การส่งออกสินค้าขั้นกลางอาจถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดไปมากพอสมควร เมื่อไทยยังไม่สามารถพัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าขั้นสุดท้ายที่มีมูลค่าเพิ่มสูงได้ การแข็งค่าของเงินบาทสร้างความวิตกกังวลให้แก่ผู้ประกอบการไทยไม่น้อย โดยภาคเอกชนมองว่า แนวโน้มที่ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่องนี้จะกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันการส่งออกของไทย และต้องการให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามาควบคุมดูแลให้อยู่ในภาวะที่สมดุล ทว่า ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) วิรไท สันติประภพ มองว่า การแข็งค่าขึ้นของเงินบาท มีสาเหตุหลักจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลง เพราะปัจจัยในประเทศสหรัฐฯ เช่นการเมือง การปิดตัวของรัฐบาล หรือ Government

Read More

เปิดกระเป๋าส่องแรงซื้อ ผู้บริโภคไทยในยุคไร้เหลื่อมล้ำ

ประเด็นปัญหาว่าด้วยเศรษฐกิจไทยรอบล่าสุด นอกจากจะผูกพันอยู่กับภาวะถดถอยที่แผ่กว้างออกไปและยังไม่มีวี่แววว่าจะไปสิ้นสุดที่จุดต่ำสุดเมื่อใด กำลังถูกถาโถมจากข้อเท็จจริงอีกด้านว่าด้วยความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่ผลักให้ประเทศไทยก้าวสู่อันดับโลก และสะท้อนความเป็นไปของวาทกรรมว่าด้วย รวยกระจุก จนกระจาย ที่เด่นชัดที่สุดอีกครั้ง รายงานของ CS Global Wealth Report 2018 ที่นำเสนอออกมาเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมาระบุว่าความมั่งคั่งของไทยในช่วงปี 2018 จำนวนกว่าร้อยละ 66.9 ถูกครอบครองโดยกลุ่มประชากรเพียงร้อยละ 1 ขณะที่ในปี 2016 ประมาณการกลุ่มนี้มีทรัพย์สินเพียงร้อยละ 58.0 หรือหากกล่าวอีกนัยหนึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ประชากรกลุ่มชนผู้มั่งคั่งนี้มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นอีกถึงร้อยละ 8.9 เลยทีเดียว ขณะเดียวกัน รายงานฉบับดังกล่าวยังระบุว่า ประชากรคนไทยกลุ่มที่ยากจนที่สุดร้อยละ10 กลับไม่มีทรัพย์สินถือครองเลย หรือถือครองทรัพย์สินรวมในอัตราร้อยละ 0 ซึ่งในกรณีเช่นว่านี้ยังไม่ได้นับรวมถึงภาระหนี้ ซึ่งอาจทำให้ตัวเลขในส่วนนี้ อยู่ในระดับที่ต้องติดลบ ขณะที่คนไทยร้อยละ 50 มีทรัพย์สินรวมประมาณร้อยละ 1.7 หรือหากนับประชากรร้อยละ 70 ก็มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเป็นเพียงร้อยละ 5 ของทรัพย์สินรวมของประเทศเท่านั้น ซึ่งเป็นภาพสะท้อนว่า คนครึ่งประเทศเป็นกลุ่มคนไม่มีเงินเหลือเก็บออม ข้อเท็จจริงจากรายงานว่าด้วยความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจฉบับดังกล่าวได้รับการตอบกลับจากหน่วยงานภาครัฐว่าเป็นการนำเสนอข้อมูลที่คลาดเคลื่อน เพราะเป็นการนำข้อมูลทรัพย์สิน ที่ดิน และบัญชีเงินฝาก

Read More

ภาวะเศรษฐกิจไทยปีหน้า ธปท. เตือน 3 ปัจจัยเสี่ยง

ช่วงเวลาไตรมาสสุดท้ายของศักราชนี้ดูจะดำเนินไปด้วยจังหวะเร้าที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อนไปในทิศทางที่หลายฝ่ายตั้งความหวัง เพราะหากผลสรุปตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวม การขยายตัวด้านการส่งออก การลงทุนภาคเอกชน เป็นบวก นั่นหมายความว่า ความพยายามอย่างสุดกำลังในเฮือกสุดท้ายของภาครัฐสัมฤทธิผลอย่างเหลือเชื่อ แม้ว่าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จะออกมาแสดงความคิดเห็นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจไทยหลายต่อหลายครั้งว่า ทิศทางเศรษฐกิจไทยไร้ปัญหา และยังมีกำลังขับเคลื่อนที่ดีขึ้น กระนั้นถ้อยแถลงของภาครัฐดูจะย้อนแย้งกับสถานการณ์ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เมื่อกระแสเสียงบ่นจากชาวบ้านร้านตลาดกลับเห็นต่าง พร้อมกับโอดครวญถึงความยากลำบากในการทำมาค้าขายในสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นไปได้หรือไม่ว่า ความพยายามของภาครัฐที่พยายามขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย และหวังให้ฟันเฟืองทุกตัวหมุนไปพร้อมๆ กันนั้น เป็นเพียงภาพฝันที่สร้างขึ้นเพื่อปลุกปลอบตัวเองไปวันๆ ล่าสุด วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แสดงทัศนะเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจไทยในศักราชหน้า ในงานสัมมนาเศรษฐกิจประจำปี 2561 ว่า “แม้เศรษฐกิจไทยจะสะท้อนการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง กระนั้นยังต้องเฝ้าระวัง 3 ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ มาตรการกีดกันทางการค้า ความผันผวนตลาดเงินตลาดทุนโลก และวัฏจักรดอกเบี้ยที่จะปรับขึ้น” แม้ว่าก่อนหน้านี้ ภาคการส่งออกของไทยจะได้รับผลกระทบจากสงครามทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ อยู่บ้าง แต่ดูเหมือนว่าความขัดแย้งระหว่าง 2 ประเทศมหาอำนาจจะไม่ได้สร้างผลเสียต่อภาคส่งออกของไทยไปเสียทั้งระบบ จะมีก็เพียงสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า กลุ่มซัปพลายเชน ของไทยที่อาจจะติดร่างแหจากมาตรการกีดกันทางการค้าครั้งนี้ เวลานี้แม้สงครามการค้าจะยังไม่สิ้นสุด แต่ไทยอาจได้รับอานิสงส์ โดยเฉพาะด้านการลงทุนในสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีซับซ้อน เพราะไทยนับว่ามีศักยภาพในการแข่งขันที่ค่อนข้างสูงในเวทีโลก นอกจากนี้สินค้าที่ไทยมีความได้เปรียบทางด้านวัตถุดิบอย่างการแปรรูปยางพารา ซึ่งจีนนำเข้าวัตถุดิบจากไทยเพื่อไปผลิตต่อและส่งออกไปสหรัฐฯ อาจมีการย้ายฐานการผลิตมาไทยเพิ่มมากขึ้น โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ผลบวกทางตรงของการกระจายฐานการผลิตสินค้าขั้นปลายน้ำ และสินค้าขั้นกลางที่ซับซ้อนในไทยกับการกระจายการลงทุนในกลุ่มสินค้าที่ไทยมีความได้เปรียบด้านวัตถุดิบโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นบรรษัทต่างชาติที่ประกาศเจตนารมณ์แล้ว และบางส่วนที่มีแนวโน้มย้ายฐานมาไทยเพิ่มจากสงครามการค้าอาจช่วยเพิ่มมูลค่า FDI

Read More

เศรษฐกิจโลกทรุด! จับตาคลื่นผู้อพยพรอบใหม่

ความไม่แน่นอนของระบบเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มจะซบเซาต่อเนื่องยาวนาน กำลังส่งผลให้เกิดคลื่นการอพยพของผู้คนครั้งใหม่ในหลากหลายพื้นที่ทั่วโลก และเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคมในระยะถัดจากนี้อย่างไม่อาจเลี่ยง การอพยพย้ายถิ่นของประชากรโลกในช่วงที่ผ่านมา อาจผูกพันอยู่กับประเด็นว่าด้วยสงครามและความขัดแย้ง ซึ่งนำไปสู่การย้ายถิ่นครั้งใหญ่ของประชากรทั้งจากภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือเข้าสู่ยุโรป ซึ่งติดตามมาด้วยวิกฤตผู้ลี้ภัยในปี 2015 ที่แม้ในปัจจุบันจำนวนผู้อพยพจะลดปริมาณลง แต่นั่นก็ไม่อาจทำให้สหภาพยุโรปและประเทศในยุโรปสามารถนิ่งนอนใจว่าการอพยพระลอกใหม่จะไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคต ก่อนหน้านี้ ประเทศในยุโรปหลายประเทศได้เรียกร้องให้มีมาตรการควบคุมคนเข้าเมืองที่รัดกุมยิ่งขึ้น ในขณะที่คณะกรรมการสหภาพยุโรปแจ้งว่าพร้อมยื่นมือให้ความช่วยเหลือผู้ประสบความเดือดร้อนจากความวุ่นวายทางการเมืองดังกล่าว โดยเฉพาะผู้อพยพย้ายถิ่นวัยหนุ่มสาวที่กำลังเผชิญปัญหาการว่างงานในประเทศแถบตะวันออกกลางและแอฟริกาตอนเหนือเหล่านั้น เพราะประเด็นปัญหาว่าด้วยผู้อพยพในยุโรปไม่ได้เกิดขึ้นอย่างโดดเดี่ยว หากแต่ยังเต็มไปด้วยความอ่อนไหวเปราะบางที่เกี่ยวเนื่องกับภูมิทัศน์ทางการเมืองและการบริหารจัดการทรัพยากรสำหรับกลุ่มประชากรที่เป็นฐานเสียงสนับสนุนการเลือกตั้ง และต่อเนื่องสัมพันธ์ไปสู่บริบทของการเมืองระหว่างประเทศอีกด้วย ขณะเดียวกันภาพของคลื่นมนุษย์ที่รอคอยโอกาสในการเข้าเมืองไปแสวงหาอนาคตใหม่ในภูมิภาคละตินอเมริกา กลับให้ภาพที่แตกต่างออกไป เพราะประชาชนจำนวนไม่น้อยยินดีที่จะทิ้งถิ่นฐานบ้านเรือนเดินเท้าไปยังแนวพรมแดนของทั้งประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงหรือพรมแดนสหรัฐอเมริกา ได้สะท้อนภาวะแร้นแค้นจากสภาพเศรษฐกิจที่ล้มเหลว ซึ่งแผ่ซ่านไปทั่วทั้งภูมิภาคอย่างชัดเจนที่สุด การอพยพลี้ภัยหนีถิ่นฐานของผู้คนที่เกิดขึ้นจากผลของความล่มสลายทางเศรษฐกิจ ในภูมิภาคละตินอเมริกาและอเมริกากลาง ดูจะเป็นประเด็นที่ทั่วโลกกำลังจับตามองอย่างสนใจ และเร่งหาแนวทางในการแก้ไขอย่างกังวล โดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) ระบุว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นสัญญาณเบื้องต้นที่บ่งชี้ว่าภูมิภาคละตินอเมริกากำลังต้องการความช่วยเหลือ “ปัญหานี้อาจทวีความรุนแรงจนนำไปสู่วิกฤตการณ์ที่เราได้เห็นมาแล้วในหลายพื้นที่ของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สถานการณ์ที่ยากลำบากเช่นนี้อาจกลายเป็นวิกฤตการณ์ได้อย่างรวดเร็ว และเราต้องเตรียมรับมือ” IOM ระบุ ขณะที่รายงานขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) ระบุว่าแนวโน้มการอพยพย้ายถิ่นของประชากรโลกกำลังมาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญ โดยประเทศต่างๆ พยายามเร่งฟื้นฟูการจ้างงานในประเทศ พร้อมกับสร้างเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง สะอาดและเท่าเทียมมากกว่าเดิม ซึ่งการวิเคราะห์การอพยพย้ายถิ่นฐานของประชากรโลกครั้งใหม่จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ประเด็นที่น่าสนใจจากรายงานของ OECD ดังกล่าวในด้านหนึ่งอยู่ที่การระบุว่าการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของผู้อพยพข้ามประเทศจำนวนมากกว่าร้อยละ

Read More

สัญญาณส่งออกหดตัว ระเบิดเวลาเศรษฐกิจไทย

ท่ามกลางความอึมครึมของสงครามการค้าระหว่าง 2 มหาอำนาจระดับนำทั้งสหรัฐอเมริกาและจีน ที่กำลังส่งผ่านคลื่นแห่งความกังวลใจและพร้อมจะฉุดรั้งให้เศรษฐกิจของโลกเข้าสู่ภาวะชะลอตัว ดูเหมือนว่าดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจไทยในช่วงตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปีได้แสดงอาการอ่อนไหวและตอบรับ “ภาวะซึมไข้” แล้วอย่างช้าๆ แนวโน้มแห่งอาการซึมไข้ทางเศรษฐกิจของไทยไม่ได้ปรากฏให้เห็นเฉพาะจากตัวเลขในไตรมาสที่ 3 เท่านั้นหากนักวิเคราะห์จำนวนไม่น้อยต่างระบุว่าห้วงเวลานับจากนี้ เศรษฐกิจของไทยกำลังดำเนินไปในทิศทางชะลอตัวต่อเนื่องทั้งในช่วงไตรมาสที่ 4 ส่งท้ายปี และส่งผลซบเซาเลยไปสู่ภาวะเศรษฐกิจในช่วงปี 2562 อีกด้วย ข้อมูลที่นำไปสู่การคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในเชิงลบส่วนหนึ่งตั้งอยู่บนข้อเท็จจริงที่ว่า ตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนกันยายนที่ผ่านมาปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 5.2 ซึ่งนับเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 19 เดือน โดยมีประเด็นว่าด้วยข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาเป็นปัจจัยหลักในการกดทับภาวการณ์เช่นนี้ นักวิเคราะห์จำนวนไม่น้อยประเมินว่าข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในสินค้าหลายประเภท โดยเฉพาะสินค้าส่งออกที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานการผลิตของจีน ขณะเดียวกันก็อาจได้รับผลจากทิศทางการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีนอีกด้วย ความเป็นไปในอีกด้านหนึ่งอยู่ที่ตัวเลขเศรษฐกิจจีนในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2561 ขยายตัวในทิศทางที่ชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.5 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2552 แม้ว่าผลของการเร่งการผลิตของภาคอุตสาหกรรมนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2/2561 มาช่วยประคองภาพรวมของการส่งออกในไตรมาสที่ 3/2561 ให้ยังคงขยายตัวร้อยละ 11.2 โดยเฉพาะการเร่งส่งออกของจีนไปยังสหรัฐฯ ซึ่งช่วยประคับประคองเศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 3/2561 ให้ยังเติบโตได้ร้อยละ 6.5 หากแต่ท่ามกลางประเด็นข้อพิพาททางการค้าที่มีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ประกอบกับการบริโภคภาคครัวเรือนมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2/2561 ส่งผลให้การผลิตในภาคอุตสาหกรรม (Industrial production) ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องและทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในไตรมาส

Read More

สงครามการค้าอุบัติ กระทบส่งออกไทย?

ฟันเฟืองตัวสำคัญในระบบเศรษฐกิจของไทยอย่างการส่งออก ที่หลายคนให้ความเชื่อมั่นว่าจะเป็นกำลังหลักที่ทำให้เกิดเสถียรภาพและแรงผลักสำคัญทำให้เศรษฐกิจไทยยังคงขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งอัตราการขยายตัวที่มีความต่อเนื่องอยู่ในระดับที่ดีนับตั้งแต่ต้นปี แม้ว่าจะเป็นรูปแบบการค้าที่ขาดดุลในรอบ 43 เดือนก็ตาม หากแต่สภาพการณ์ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องจึงไม่น่าแปลกที่หลายฝ่ายยังคงมองว่า การส่งออกของไทยน่าจะยังมีแรงเหวี่ยงที่ดีในช่วงครึ่งปีที่เหลือ แม้จะต้องจับตามองต่อประเด็นการเกิดสงครามการค้าระหว่าง 2 ประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและสหรัฐฯ ที่ก่อนหน้านี้ดูเหมือนจะเป็นช่วงที่คลื่นลมสงบ เพราะเหตุผลจากการให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่ตอบโต้ทางการค้าระหว่างกันเพิ่มขึ้น ทำให้บรรดานักธุรกิจส่งออก ศูนย์วิจัย ที่ต่างลุ้นว่าทิศทางการค้าระหว่างประเทศจะเป็นอย่างไรนั้น เบาใจอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง ทว่าห้วงยามนี้คลื่นลมที่เคยสงบตามคำมั่นสัญญา กลับเริ่มแสดงสัญญาณบางอย่าง เพราะเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนในอัตรา 25 เปอร์เซ็นต์ วงเงิน 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นมาตรการโต้กลับจีน ขณะที่รัฐบาลปักกิ่งเตรียมเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ ในอัตราและวงเงินเดียวกัน ซึ่งเป้าหมายอยู่ที่สินค้าเกษตร รถยนต์ นับว่าการรีดภาษีของทั้งสองประเทศเป็นการเปิดศึกแลกหมัดอย่างเต็มรูปแบบ แน่นอนว่าสงครามการค้าที่มีชนวนเหตุมาจากสหรัฐฯ และจีน ทำให้สถานการณ์ส่งออกของไทยได้รับผลกระทบอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เมื่อสินค้าส่งออกของไทยจำนวนไม่น้อยที่อยู่ในวงจรการค้าโลก กระทั่งล่าสุดกระทรวงพาณิชย์สั่งจับตาสถานการณ์นี้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศที่มีหน้าที่โดยตรง การงัดมาตรการทางภาษีตอบโต้กันระหว่างสหรัฐฯ และจีน ทำให้ไทยต้องรักษาฐานที่มั่นซึ่งเป็นตลาดค้าเดิม และยังต้องหามาตรการอื่นๆ มารองรับหากสถานการณ์ไม่สู้ดี นั่นคือการมองหาตลาดใหม่สำหรับสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าในครั้งนี้ ขณะที่รองอธิบดีกรมการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ สุพพัต อ่องแสงคุณ อธิบายแนวทางว่า “สถานการณ์สงครามการค้านี้ ต้องมอนิเตอร์เป็นรายกลุ่ม และต้องพยายามรักษาแรงเหวี่ยงของการส่งออกในทุกตลาด” นอกจากนี้กรมการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศยังได้พิจารณาตลาดใหม่ไว้สำหรับสถานการณ์สงครามการค้าที่อาจกระทบไทยในอนาคต เช่น ตลาดตะวันออกกลาง

Read More