Home > E-Commerce (Page 5)

New Retail: วิสัยทัศน์ Daniel Zhang อนาคตของ Alibaba?

แม้ว่าการประกาศวางมือของ Jack Ma และการส่งมอบตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร Alibaba ให้กับ Daniel Zhang เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาจะทำให้ผู้คนจำนวนมากฉงนฉงายและสืบเสาะประวัติความเป็นมาเป็นไปเพื่อทำความรู้จักกับ Daniel Zhang บุรุษที่จะก้าวขึ้นมากุมบังเหียนอาณาจักรธุรกิจมูลค่าหลายล้านล้านบาทคนนี้ให้มากขึ้น หากแต่ในความเป็นจริงกระบวนการในการส่งผ่านและเปลี่ยนถ่ายอำนาจใน Alibaba ดูจะได้รับการออกแบบและวางแผนมาแล้วเป็นอย่างดี เป็นกระบวนการที่ดำเนินการอย่างมีรูปธรรมและต่อเนื่องมาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่เมื่อครั้งที่ Jack Ma มอบตำแหน่ง CEO ให้กับ Jonathan Lu ในช่วงปี 2013-2015 ซึ่ง Alibaba กำลังจะเข้าจดทะเบียนใน NYSE ในห้วงเวลาขณะนั้น Daniel Zhang ซึ่งเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Alibaba ตั้งแต่ปี 2007 ด้วยการดำรงตำแหน่ง CFO ของ Taobao Marketplace เว็บไซต์ขายของออนไลน์ของ Alibaba ที่ในขณะนั้นยังไม่ทำกำไร และมีผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์ม 10 ล้านคนต่อวัน กำลังสร้างปรากฏการณ์และได้รับการขนานนามให้เป็น “ผู้เปลี่ยนโฉมหน้าการชอปปิ้งของคนจีน” แม้จะได้รับมอบหมายตำแหน่งเป็น

Read More

แจ็ค หม่า อำลา Alibaba สะท้อนพัฒนาการเอกชนจีน?

การประกาศของ Jack Ma เพื่อก้าวลงจากตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท Alibaba เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งอาจเป็นข่าวที่สร้างความตื่นตาตื่นใจและดึงความสนใจต่อสาธารณชนวงกว้างว่า การเปลี่ยนผ่านของอาณาจักรธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีมูลค่ามากกว่า 4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือมากกว่า 13 ล้านล้านบาทแห่งนี้จะดำเนินไปอย่างไร ขณะเดียวกันความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญนี้ ย่อมไม่ใช่สิ่งที่อยู่เหนือความคาดหมาย เพราะก่อนหน้านี้ Jack Ma ได้ขยับบทบาทด้วยการส่งมอบตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของ Alibaba ให้กับ Jonathan Lu เมื่อปี 2013-2015 ในช่วงขณะที่ Alibaba กำลังยื่นขอเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) และเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไป (IPO) ซึ่งทำให้ Alibaba สามารถระดมทุนได้มากถึง 2.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และกลายเป็นการระดมทุนครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กอีกด้วย แต่ความสำเร็จของการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ไม่ใช่หลักประกันในความสำเร็จและความท้าทายของ Alibaba ในอนาคต และเป็นเหตุให้ Jack Ma ผลักดัน Daniel Zhang ให้ขึ้นมาเป็น CEO แทน

Read More

ตลาด e-Commerce ไทยระอุ ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกสู้ด้วย “ข้อมูล”

ไม่ว่าการเติบโตของตลาด e-Commerce ในไทยจะเติบโตจากเหตุผลอะไร ระหว่างพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างรวดเร็ว หรือการเข้ามาบุกตลาดไทยของทุนข้ามชาติ แต่นั่นส่งผลให้มูลค่าตลาด e-Commerce ไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA ที่เปิดเผยรายงานมูลค่าตลาด e-Commerce นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 มีมูลค่า 2,245,147.02 ล้านบาท ปี พ.ศ.2559 มูลค่า 2,560,130.36 ล้านบาท ปี พ.ศ.2560 มูลค่า 2,812,592.03 ล้านบาท และปี พ.ศ.2561 ที่คาดการณ์ว่าจนถึงสิ้นปี มูลค่าตลาด e-Commerce จะสูงถึงกว่า 3 ล้านล้านบาท การเติบโตที่สูงขึ้นเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์ต่อปี จึงไม่น่าแปลกใจที่จนถึงเวลานี้ทุนข้ามชาติจะมองเห็นว่าตลาด e-Commerce ในไทยยังคงความหอมหวาน และยังเป็นตลาดที่น่าเข้ามาลงทุน เมื่อยังมีผู้เล่นไม่มากนัก แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเจ้าตลาดอยู่เพียงไม่กี่เจ้า ที่อาจจะเรียกได้ว่าประสบความสำเร็จในช่วงเวลานี้ ถือครองส่วนแบ่งตลาด แต่เป็นเรื่องที่น่าเสียดายไม่น้อยที่ทุนต่างชาติ ดูจะเข้าใจและสามารถวิเคราะห์ความต้องการ พฤติกรรมของคนไทยได้ดีกว่ากลุ่มทุนสัญชาติไทยด้วยกันเอง ทั้งการมาถึงของ

Read More

DHL eCommerce จับมือเกษมชัยฟู๊ดนำเสนอบริการใหม่ จัดส่งไข่สดจากฟาร์มถึงมือผู้บริโภคภายใน 24 ชั่วโมง

DHL eCommerce บริษัทในเครือ Deutsche Post DHL Group ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านโลจิสติกส์ของโลกร่วมมือกับเกษมชัยฟู๊ดผู้ผลิตไข่รายใหญ่ของประเทศไทย มอบทางเลือกและประสบการณ์ใหม่ให้ผู้บริโภคด้วยบริการจัดส่งไข่สดจากฟาร์มถึงมือผู้บริโภคภายใน 24 ชั่วโมงหลังการสั่งซื้อออนไลน์ ปัจจุบัน เกษมชัยฟู๊ดเน้นการดำเนินธุรกิจด้านการค้าส่งในรูปแบบ B2B (Business – to – Business) และได้เริ่มขยายธุรกิจด้วยการขายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์สำหรับผู้บริโภคโดยตรง และความร่วมมือดังกล่าวกับ DHL eCommerce ซึ่งมีเครือข่ายการให้บริการจัดส่งที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ จะทำให้ผู้บริโภคในประเทศไทยสามารถเข้าถึงการบริโภคไข่สดจากฟาร์มผ่านช่องทางออนไลน์ที่สะดวก รวดเร็ว และง่ายดาย ปัจจุบัน ตลาดการขายไข่ในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นการดำเนินธุรกิจในรูปแบบการค้าส่ง โดยที่ผู้ผลิตจะส่งไข่จากฟาร์มไปยังตลาดค้าส่งในพื้นที่ต่างๆ รวมถึงร้านขายของชำและซุปเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งปกติใช้เวลานานถึง 3-7 วันไข่จึงจะถูกส่งไปยังผู้บริโภค นอกจากนี้ ผู้ซื้อในตลาดยังต้องสั่งซื้อไข่จำนวนมากให้ถึงปริมาณขั้นต่ำที่รับซื้อจึงจะสามารถรับบริการจัดส่งได้ ซึ่งนับว่าเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นเกษมชัยฟู๊ดจึงร่วมมือกับ DHL eCommerce เพิ่มทางเลือกใหม่ด้วยการจัดส่งไข่สดตรงจากฟาร์มผ่านเครือข่ายการจัดส่งทั่วประเทศของ DHL eCommerce ให้ถึงมือผู้บริโภคอย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมง “เกษมชัยฟู๊ดดำเนินธุรกิจด้วยความรู้ความชำนาญ และความรักในอาชีพของเกษตรกร ประกอบกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ โดยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพให้แก่ผู้บริโภค นอกจากนี้ เกษมชัยฟู๊ดยังให้ความสำคัญสูงสุดกับความสดใหม่ของผลิตภัณฑ์

Read More

ฟู้ดดีลิเวอรี่ขยายตัว กับการบริโภคของสังคมไทย

ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วของคนรุ่นใหม่ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่เทคโนโลยีคือสิ่งสำคัญในชีวิต ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ ทั้งการท่องไปในโลกอินเทอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูล ข่าวสารต่างๆ และสาระบันเทิง ธุรกิจจัดส่งอาหารหรือ ฟู้ดดีลิเวอรี่ คือคำตอบที่ชัดเจนของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น รูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้คน ที่ต้องการความสะดวกสบาย มีวิถีชีวิตที่เร่งรีบ และมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใดหากธุรกิจฟู้ดดีลิเวอรี่จะขยายตัวในอัตราเร่งที่สูงมากเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่น หรือเมื่อเทียบกับธุรกิจร้านอาหารที่มีการเติบโตเพียงเล็กน้อยในปีที่ผ่านมา แม้บางคนจะจำกัดความว่า นี่เป็นธุรกิจที่เติบโตขึ้นได้จากความไม่มีเวลาของผู้บริโภคบางส่วนก็ตาม ปัจจุบันฟู้ดดีลิเวอรี่กลายเป็นอีกหนึ่งออปชันของการบริการ ที่ผู้ประกอบการร้านอาหารหยิบยกมานำเสนอแก่ลูกค้า และเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวก หรือไม่สามารถเดินทางไปซื้อสินค้าได้ด้วยตัวเอง การเปลี่ยนแปลงในทั้งสองมิติทำให้มูลค่าตลาดธุรกิจฟู้ดดีลิเวอรี่ในประเทศไทยมีมูลค่าสูงถึง 26,000 ล้านบาท ในปี 2560 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขที่เติบโตขึ้นมาเกือบ 15 เปอร์เซ็นต์จากปี 2559 มูลค่าตลาดที่สูงเกือบสามหมื่นล้านบาทในปี 2560 จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด หากจะมีผู้เล่นตบเท้าเข้ามาในเกมนี้พร้อมกับรูปแบบกลยุทธ์ที่ทำให้การแข่งขันดุเดือดมากขึ้น ไล่เรียงตั้งแต่ฟู้ดแพนด้า ที่เข้ามาเปิดตลาดนี้ตั้งแต่ปี 2557 นับเป็นรายแรกๆ ที่เข้ามาสร้างสีสันให้ธุรกิจฟู้ดดีลิเวอรี่ในไทย และครอบคลุมการให้บริการในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมไปถึงจังหวัดใหญ่ๆ อย่าง เชียงใหม่ ภูเก็ต และฟู้ดแพนด้าก็ไม่ใช่ทุนต่างชาติรายเดียวที่เข้ามาจับจองพื้นที่ของตลาดการบริการนี้ในไทย ในเวลาไล่เลี่ยกัน ลาล่ามูฟ บริษัทสัญชาติฮ่องกง ที่เปิดตัวมาเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในตลาดฟู้ดดีลิเวอรี่ สร้างปรากฏการณ์ที่เรียกว่าไม่ธรรมดา ด้วยการเติบโตในเปอร์เซ็นต์ที่สูงถึง 350 เปอร์เซ็นต์ในปี 2560 และประกาศตัวในฐานะผู้นำในตลาดนี้

Read More

ไปรษณีย์ไทยสู้ศึกรอบด้าน เร่งผลงานสนองกลยุทธ์ 4.0

กลายเป็นประเด็นใหญ่ขึ้นมาเมื่อมีรายงานว่า สมร เทิดธรรมพิบูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย (ปณท) ไม่ผ่านการประเมินผลงานประจำปี 2560 จนเกิดกระแสรวมตัวชุมนุมประท้วงของกลุ่มพนักงานพร้อมติดริบบิ้นดำเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคมที่ผ่านมา แม้ล่าสุด บอร์ดไปรษณีย์ไทยรีบออกมติสยบความเคลื่อนไหวยืนยันการประเมินผลงานยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา แต่ดูเหมือน “ไปรษณีย์ไทย” กำลังเจอศึกรอบด้าน ทั้งการแข่งขันในสมรภูมิธุรกิจโลจิสติกส์ที่เคยผูกขาดมาอย่างยาวนาน เพราะมีคู่แข่งหน้าใหม่เข้ามารุกตลาดดุเดือด ไม่ว่าจะเป็นเคอรี่เอ็กซ์เพรส เอสซีจีเอ็กซ์เพรส และไลน์แมน แถมบิ๊ก ปณท ยังถูกเกาะติดผลงานชนิดมีสิทธิ์หลุดจากตำแหน่งได้ ทั้งหมดทำให้ไปรษณีย์ไทยในฐานะองค์กรรัฐวิสาหกิจต้องเร่งปรับกลยุทธ์ทุกวิธี โดยเฉพาะการสนองนโยบาย 4.0 ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อเร่งผลงานรูปธรรมชิ้นสำคัญก่อนการเลือกตั้งในปี 2562 แผนสำคัญ คือการให้ไปรษณีย์ไทยเป็นตัวกลางต่อยอดเครือข่ายเน็ตประชารัฐที่ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 24,700 หมู่บ้าน ลดความเหลื่อมล้ำและกระจายรายได้ด้วย “อีคอมเมิร์ซ” โจทย์สำคัญ คือ ชาวบ้านขายสินค้า ปณท เป็นตัวกลางติดต่อผู้ซื้อด้วยระบบออนไลน์ เงินมาถึงชาวบ้านทั่วประเทศ ลูกหลานไม่ต้องย้ายถิ่นฐานเข้าเมืองใหญ่ ชาวบ้านในชุมชนลืมตาอ้าปากได้ ถ้าสำเร็จย่อมหมายถึงผลงานชิ้นโบแดงของรัฐบาล คสช. ซึ่งบิ๊กไปรษณีย์อย่างสมร เทิดธรรมพิบูล รับรู้ความต้องการและเป้าหมายของรัฐบาลอย่างดีตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่งช่วงเดือนมกราคม 2559 แน่นอนว่า

Read More

โลจิสติกส์ไทยสุดคึก รับกระแสอี-คอมเมิร์ซบูม

การมาถึงของอาลีบาบากรุ๊ป พร้อมกับบันทึกข้อตกลงที่จะลงทุนในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ด้วยมูลค่ารวมกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท ดูจะเป็นแรงกระตุ้นเร้าภาคธุรกิจและจุดประเด็นความหวังของรัฐบาลไทยที่จะนำธุรกิจอี-คอมเมิร์ซไทยให้ก้าวหน้าไปตามนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลที่มุ่งหมายไม่น้อยเลย ขณะเดียวกันกรณีดังกล่าวได้ส่งผลให้ภาคธุรกิจว่าด้วยการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ได้รับอานิสงส์จากการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ที่กำลังรุกเร้าและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตผู้คนในสังคมด้วยอัตราเร่ง อย่างก้าวกระโดด และดำเนินไปท่ามกลางสีสันที่น่าสนใจอย่างยิ่ง และกำลังส่งผลให้ภูมิทัศน์ของธุรกิจปรับเปลี่ยนและเกิดภาพใหม่ที่แปลกแตกต่างไปจากเดิม แผนการก่อสร้างโครงการ Smart Digital Hubในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มูลค่าลงทุนกว่า 11,000 ล้านบาท ของ “อาลีบาบา” ที่จะเริ่มก่อสร้างภายในปี 2561-2562 ซึ่งเป็นโครงการที่จะอาศัยเทคโนโลยีด้านการประมวลข้อมูลโลจิสติกส์ เพื่อทำให้การขนส่งสินค้าระหว่างไทย-จีน การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนสู่ประเทศเพื่อนบ้าน (CLMV) และไปยังที่อื่นๆ ทั่วโลก ที่ได้รับการคาดหวังว่าจะทำให้ประเทศไทยทะยานไปสู่ความเป็นศูนย์กลางการค้า “อี-คอมเมิร์ซ” ได้ไม่ยาก และคาดหวังว่าจะกรุยทางให้ไทยก้าวไปสู่ศูนย์กลางการขนส่งและโลจิสติกส์ในอนาคต สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA ได้ประเมินมูลค่าการซื้อขายผ่านออนไลน์ในปี 2561 ว่าจะพุ่งทะยานเพิ่มขึ้นไปสู่ระดับที่มีมูลค่าเกิน 3 ล้านล้านบาท จากปีก่อนหน้าที่อยู่ในระดับ 2.4 ล้านล้านบาท ซึ่งกรณีที่ว่านี้จะทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์และการขนส่งสินค้ากลายเป็นธุรกิจดาวรุ่งพุ่งแรงที่น่าจับตามอง และมีการแข่งขันสูง ด้วยเหตุที่การจัดการขนส่งสินค้าจากผู้ขายไปถึงมือผู้ซื้อยังคงต้องพึ่งพาการขนส่งสินค้าเป็นหลัก ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ทั้งที่เป็นผู้ประกอบการท้องถิ่นของไทยและจากต่างประเทศต่างทยอยสร้างฐานการให้บริการเพื่อรองรับและเก็บเกี่ยวอานิสงส์ของธุรกิจค้าออนไลน์ที่เติบโตแบบก้าวกระโดด โดยนอกจากบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท.)

Read More

อาลีบาบา-สยามเกตเวย์ ย้อนรอยเจาะตลาดจีน

ในขณะที่รัฐบาลไทยกำลังตื่นเต้นกับความร่วมมือหลายๆ ด้านกับอาลีบาบากรุ๊ป เว็บไซต์ค้าปลีก (B2C) ที่ใหญ่ที่สุดในจีน และเข้าถึงผู้บริโภคกว่า 1,400 ล้านคน โดยเฉพาะการเปิดตัว Thai Rice Flagship Store บนเว็บไซต์ของ Tmall.com ในเครืออาลีบาบากรุ๊ป เพื่อนำร่องผลักดันผู้ประกอบการและผู้ส่งออกข้าวเข้าถึงตลาดซื้อขายสินค้าทางออนไลน์ (e-Commerce) และเปิดตัวแคมเปญส่งเสริมการขายทุเรียนผ่านเว็บไซต์อย่างเต็มรูปแบบก่อนขยายไปยังผลไม้อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นมังคุด มะม่วง มะพร้าว และน้อยหน่า บริษัทไทย 2 แห่ง เกิดบิ๊กไอเดียสร้างธุรกิจเทรดดิ้งที่ให้บริการผู้ประกอบการเจาะตลาดต่างประเทศภายใต้คอนเซ็ปต์บริการแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียว ตั้งแต่การสนับสนุนด้านเงินทุน กระบวนการผลิตและจัดจำหน่ายผ่านช่องทางการจัดจำหน่าย เหมือน “ศูนย์กลางส่งออกสินค้าครบวงจร” ทั้ง online, offline, B2B, B2C และช่องทางร้านค้าปลอดภาษี การบริหารการส่งออก โดยตั้งเป้าหมายแรก คือ ตลาดจีนและวางแผนขยายครอบคลุมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ญี่ปุ่น เกาหลี หนึ่งบริษัท คือ กลุ่ม ที.เอ.ซี.คอนซูเมอร์ ผู้ประกอบธุรกิจจัดหา ผลิต และจำหน่ายเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ และสินค้าไลฟ์สไตล์

Read More

ไปรษณีย์ไทย เตรียมขยาย ‘จุดรับพัสดุ’ 1,000 แห่งทั่วไทย ปี61 รับอีคอมเมิร์ซโตทะลุ 3 ล้านล้าน

บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) รุกขยาย จุดรับพัสดุ หรือ Drop off จุดให้บริการรับพัสดุ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ค้าออนไลน์ที่จัดทำข้อมูลการฝากส่งผ่านระบบของไปรษณีย์ล่วงหน้าให้สามารถนำส่งพัสดุได้ทันทีครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เพิ่มเป็น 1,000 แห่ง ณ ที่ทำการฯทั่วไทย ภายในปี 2561 รองรับมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซโตทะลุ 3 ล้านล้านบาทครั้งแรก ทั้งนี้ บริการดังกล่าว มีมาตรฐานในการจัดส่งที่ 1-2 วัน สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล และ 2-5 วัน สำหรับพื้นที่ต่างจังหวัด โดยรองรับการส่งน้ำหนักสูงสุดที่ 20 กิโลกรัม นายวิบูลย์ เสรีชัยพร ผู้จัดการฝ่ายการบริหารลูกค้า บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) กล่าวว่า จากตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซ โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ระบุว่าในปี 2561 จะมีมูลค่าตลาดสูงทะลุ 3 ล้านล้านบาทเป็นครั้งแรก ไปรษณีย์ไทย

Read More

E-Commerce แข่งระอุ สนามประลองกำลังไทย-เทศ

ข่าวคราวการเข้ามาบุกตลาด E-Commerce ไทย ของนักลงทุนต่างชาติในช่วงนี้ น่าจะเป็นผลมาจากทิศทางการเติบโตของตลาดนี้ ที่เติบโตจากปี 2558 ถึง 12.42 เปอร์เซ็นต์ โดยมูลค่าตลาด E-Commerce ไทยในปัจจุบันอยู่ที่ 2.5 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ยังเปิดเผยผลสำรวจอีกว่า ตลาด E-Commerce แบบ B2B (Business-to-Business) ยังกินส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุดด้วยตัวเลข 1.3 ล้านล้านบาท และแบบ B2C (Business-to-Customer) มีมูลค่ากว่า 7 แสนล้านบาท อันดับสุดท้ายคือ แบบ B2G (Business-to-Government) มีมูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท การเติบโตของตลาด E-Commerce ดูจะสวนทางกับสภาพเศรษฐกิจของไทยโดยรวม เมื่อสภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงเวลาปัจจุบันดูจะขับเคลื่อนไปได้เฉพาะเครื่องจักรที่เรียกว่า “การส่งออกและบริการ” ตามรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในเดือนกรกฎาคม 2560 ว่า มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวดี สอดคล้องกับอุปสงค์ต่างประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Read More