Home > Condominium (Page 3)

คอนโดเศรษฐีแข่งเดือด เปิดสงครามชิงทำเลทอง

 ตลาดคอนโดมิเนียมในยุคหนี้ครัวเรือนพุ่งสูงกดดันให้ค่ายอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ย้ายแนวรบขึ้นไปเจาะตลาดไฮเอนด์ จับกลุ่มเศรษฐีกำลังซื้อสูง ทั้งระดับลักชัวรี่และซูเปอร์ลักชัวรี่ ซึ่งเชื่อว่าปี 2558 จะมีอัตราเติบโตสูงสุดและมีรายการทุบสถิติราคาขายอย่างต่อเนื่อง ทะลุจากตารางเมตรละ 300,000 บาท แตะ 400,000 บาท และในอนาคตมีแนวโน้มพุ่งทะยานไปถึง 600,000 บาท เช่นเดียวกับคอนโดมิเนียมใจกลางมหานครชั้นนำในต่างประเทศ ทำเลทองชนิดที่เรียกว่า ทุกตารางนิ้วถูกกลุ่มทุนไล่ฮุบ โดยเฉพาะเส้นสุขุมวิท ซึ่งมีอัตราการขายสูงถึง 85% นำหน้าย่านสีลมและสาทร ที่มีอัตราการขาย 78% หรือแม้กระทั่งคอนโดมิเนียมริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่กำลังบูม ยังมีอัตราการขายเฉลี่ยเพียง 67%  กฤษณ์ ณรงค์เดช ประธานบริษัท เคพีเอ็น กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า ตลาดที่อยู่อาศัยระดับบนย่านใจกลางเมืองยังคงมีดีมานด์สูง แม้ช่วงที่ผ่านมาระบบเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนทางการเมือง แต่ลูกค้ากลุ่มดังกล่าวเป็นเรียลดีมานด์ มีความต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงและเพื่อการลงทุนระยะยาว โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมใกล้แนวรถไฟฟ้าระดับซูเปอร์ลักชัวรี่ย่านสุขุมวิทเป็นตลาดที่มีช่องทางเติบโตสูงและมีซัปพลายไม่มาก จากปีก่อนมีโครงการอยู่ระหว่างก่อสร้างรวม 28,000 ยูนิต ปัจจุบันเหลือขายเพียง 6,000 ยูนิตเท่านั้น แน่นอนว่า นั่นคือเหตุผลสำคัญที่เคพีเอ็น กรุ๊ป ตัดสินใจลงทุนโครงการคอนโดมิเนียมระดับซูเปอร์ลักชัวรี่ทันทีที่คว้าที่ดินผืนสุดท้ายในซอยสุขุมวิท 39 เพราะจุดที่ตั้งอยู่ห่างจากบีทีเอส สถานีพร้อมพงษ์

Read More

ผู้เล่น “หน้าใหม่” กับโอกาสช่วงอสังหาฯ ขาลง

 หลังการประกาศปรับลดการเปิดโครงการใหม่ของบริษัทยักษ์ใหญ่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่าง “แสนสิริ” ซึ่งเป็นไปตามแผนธุรกิจปีนี้ที่จะเป็นแบบ “ระมัดระวัง” สอดรับกับทิศทางภาพรวมธุรกิจอสังหาฯ ปี 2557 ซึ่งที่ปรึกษาด้านอสังหาฯ หลายรายมองตรงกันว่าน่าจะอยู่ในอาการ “ทรงตัว”  เนื่องด้วยการแข่งขันที่สูงในธุรกิจนี้ การปล่อยสินเชื่อที่ยากขึ้นของสถาบันการเงิน บวกกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และสถานการณ์การเมืองที่น่าวิตกยิ่งขึ้น หลังการ “ปิดกรุงเทพฯ” ส่อแววยืดเยื้อและอาจรุนแรง ภายใต้บรรยากาศดังกล่าว ผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่ รายเล็ก ทั้ง “หน้าเก่า” และ “หน้าใหม่” หลายรายต่างพากันลดและชะลอการเปิดโครงการ โดยเฉพาะโครงการคอนโด ซึ่งคาดว่าปีนี้จะมีโครงการคอนโดเปิดใหม่ลดลง 20% จากปี 2556 ถึงกระนั้น เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาก็ยังมีผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่กล้าจัดงานเปิดการขายคอนโดอย่างเป็นทางการ   Library Houze พัฒนาโดยบริษัท ดิ เอสเตท ดีเวลลอปเมนท์ เป็นโครงการคอนโดสูง 8 ชั้น บนพื้นที่ 1 ไร่ 91 ตร.ว. มูลค่าโครงการราว 400 ล้านบาท ขนาดห้องมีตั้งแต่ 23-35 ตร.ม.

Read More

“ชุมชนน่าอยู่” การสร้างแบรนด์แบบ LPN

 พัฒนาการของ LPN ในช่วง10 ปีที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าแม้จะเกิดขึ้นจากผลของ “วิกฤต” แต่วันนี้จุดขายที่ว่า “ชุมชนน่าอยู่” ได้กลายเป็นประหนึ่งแบรนด์ที่มีมูลค่าของ LPN ไปแล้ว เพราะชุมชนน่าอยู่ ของ LPN สอดรับกับรูปแบบการอยู่อาศัยของคนเมืองที่จะมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น และแนวคิดนี้ยังช่วยให้บริษัทรอดพ้นจากวิกฤตการเงิน วิกฤตศรัทธา แม้กระทั่งวิกฤตแบรนด์ได้ด้วย“ในชั้นต้นพวกเราก็ไม่เข้าใจว่าชุมชนน่าอยู่คืออะไร แปลว่าอะไร เราไม่ได้คิดขึ้น เพื่อใช้เป็นกลยุทธ์การตลาด แต่กำหนดให้เป็นปรัชญาองค์กร และสิ่งที่เห็นในวันนี้ เป็นผลของปลายน้ำที่เราเริ่มทำกันมานาน” ทิฆัมพร เปล่งศรีสุข ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแอลพีเอ็นกล่าวสมัยที่แอล.พี.เอ็น. เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2532 ทิฆัมพรเองก็มีความคิดไม่ต่างจากนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายอื่น พัฒนาโครงการเพื่อขาย หมดแล้วก็ปิดโครงการ วิธีคิดของเขาเริ่มเปลี่ยนเมื่อเจอกับวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 ช่วงฟื้นฟูหลังวิกฤตครั้งนั้นทุกชุมชนที่บริษัทขายห้องชุดให้ ล้วนมีส่วนช่วยบริษัท กู้วิกฤต ด้วยการช่วยหาลูกค้าจากการชักชวนเพื่อนฝูงคนรู้จักมาซื้อโครงการที่ยังเหลือค้างจำนวนมากจนเขาและพนักงานต่างซาบซึ้ง“นั่นคือจุดที่ผมรู้สึกว่าผมได้รับจากลูกค้า เขาช่วยเรา เพราะอะไร ผมเชื่อว่าเป็นเพราะเราเทคแคร์ลูกค้า ถึงเวลาเดือดร้อนเขาก็อยากตอบแทน นี่คือสิ่งที่เราได้จากชุมชนที่ช่วยให้เราอยู่รอด ลองคิดดูว่าถ้าลูกค้าไม่แฮปปี้จะยอมเชียร์ให้คนมาซื้อไหม แต่นี่ลูกค้ามานั่งเซลส์ให้เลย เหตุการณ์นี้ทำให้เราเห็นผลของคุณค่าในตัวเรา และรู้สึกผูกพันกับชุมชน”นั่นเป็นจุดเปลี่ยนผ่านจากที่เน้นดำเนินธุรกิจแค่ขายห้องชุดจำนวนมากแบบเน้นปริมาณอย่างเดียว แอล.พี.เอ็น. ก็หันมาดำเนินงานด้านคุณภาพชีวิตชุมชนควบคู่กันไป โดยกำหนดให้เป็นทิศทางหลักในการแสดงตัวตนขององค์กร และมั่นใจว่าคุณภาพชีวิตชุมชนจะนำไปสู่ความยั่งยืนทางธุรกิจคุณภาพที่ว่านั้น ไม่ใช่แค่ตัวสินค้าอาคารชุด

Read More

24 ปี เส้นทางเจ้าพ่อคอนโด จาก “ชุมชนน่าอยู่” สู่ “ทาวน์ชิป”

 “กลุ่มลูกค้าของ แอล.พี.เอ็น. ยังมีเป้าหมายอยู่ที่ตลาดกลางและล่าง ถ้าจับกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้ได้ แม้จะเจอวิกฤตร้ายแรงแค่ไหน จะเกิดภาวะแบบปี 40 ก็อยู่ได้ กินได้ยาว เพราะฐานกำลังซื้อใหญ่มากและมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยอย่างแท้จริง”ฑิฆัมพร เปล่งศรีสุข ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ย้ำกับ ผู้จัดการ 360 ํ ในรถส่วนตัวที่เปิดประตูให้นักข่าวขึ้นได้อย่างไม่ถือตัวระหว่างการเยี่ยมชมโครงการ “ลุมพินี ทาวน์ชิป รังสิต-คลอง1” อภิมหาโปรเจ็กต์ที่จะเป็นกลยุทธ์ขับเคลื่อนแบรนด์ “แอล.พี.เอ็น.” เพื่อรุกตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะกลุ่มคอนโดมิเนียมที่มีผู้ประกอบการเจ้าใหญ่ลงมาเล่นมากขึ้นและทุ่มทุนเจาะทุกกลุ่มเซกเมนต์ ไม่ใช่เฉพาะตลาดบนเหมือนในอดีต  นักธุรกิจวัย 64 ปี ฉายา “เจ้าพ่อคอนโด” ชี้ศักยภาพของรังสิต การเติบโตของชุมชนที่มีความต้องการที่อยู่อาศัยใกล้เมือง เพราะส่วนใหญ่เป็นชุมชนอพาร์ตเมนต์ แฟลต ห้องเช่า เรียงรายตลอดตั้งแต่คลอง 1 ยาวถึงคลอง 6 ที่สำคัญมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากรัฐบาลกำลังเร่งดำเนินโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) เส้นทางรังสิต-บางซื่อ กลายเป็นที่มาของยุทธศาสตร์ปลุกปั้นต้นแบบ “ทาวน์ชิป” ติดถนนเลียบคลองรังสิต-นครนายก 

Read More

“พฤกษา” หวังรุกตลาดไฮเอนด์ ผุดคอนโดหรูกลางกรุงสู้

 การทุ่มทุนเกือบ 2,000 ล้านบาท ซื้อที่ดินกว่า 3 ไร่ พื้นที่บ้านหมอมีเก่า ใจกลางสยาม ซึ่งเป็นทำเลทองที่ไม่มีวันตาย ผุดโครงการคอนโดมิเนียมหรู “The Reserve” ของบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) โดยตั้งเป้าเจาะกลุ่มเป้าหมายระดับซูเปอร์พรีเมียม ถือเป็นสัญญาณการแข่งขันอันดุเดือดในตลาดคอนโดมิเนียมระดับไฮเอนด์ที่ไม่ใช่มีเพียงแค่ค่ายอสังหาริมทรัพย์หน้าเดิมๆ ผูกขาดตลาดอยู่ไม่กี่เจ้าที่สำคัญเป้าหมายของ “พฤกษา” ต้องการตำแหน่งแชมป์ในทุกตลาดอสังหาริมทรัพย์ ยึดทุกกลุ่มลูกค้า ทุกกำลังซื้อ หลังจากยกเครื่องโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่และประกาศเป้าหมายภายใน 5 ปี ขึ้นเป็น Top of Mind Brand ในตลาดธุรกิจที่อยู่อาศัยและเป็น Top 10 ของแบรนด์ธุรกิจที่อยู่อาศัยของเอเชีย จากปัจจุบันอยู่ในอันดับ 25 ของเอเชียจากจุดยืนในอดีต การเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์เน้นกลุ่มลูกค้าระดับกลางและล่าง เติบโตจากโครงการแนวราบอย่างทาวน์เฮาส์ การเร่งเจาะตลาดไฮเอนด์ของพฤกษากลายเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ บุกยึดตลาดคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นเป้าหมายแรกตามกระแสและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค จากรูปแบบ Urbanization ที่อยู่อาศัยขยายตัวตามการตัดถนนออกนอกเมือง เป็น Centralization รวมศูนย์เข้าสู่เมืองตามเส้นทางรถไฟฟ้าประเสริฐ

Read More