Home > China (Page 2)

อาลีบาบา-สยามเกตเวย์ ย้อนรอยเจาะตลาดจีน

ในขณะที่รัฐบาลไทยกำลังตื่นเต้นกับความร่วมมือหลายๆ ด้านกับอาลีบาบากรุ๊ป เว็บไซต์ค้าปลีก (B2C) ที่ใหญ่ที่สุดในจีน และเข้าถึงผู้บริโภคกว่า 1,400 ล้านคน โดยเฉพาะการเปิดตัว Thai Rice Flagship Store บนเว็บไซต์ของ Tmall.com ในเครืออาลีบาบากรุ๊ป เพื่อนำร่องผลักดันผู้ประกอบการและผู้ส่งออกข้าวเข้าถึงตลาดซื้อขายสินค้าทางออนไลน์ (e-Commerce) และเปิดตัวแคมเปญส่งเสริมการขายทุเรียนผ่านเว็บไซต์อย่างเต็มรูปแบบก่อนขยายไปยังผลไม้อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นมังคุด มะม่วง มะพร้าว และน้อยหน่า บริษัทไทย 2 แห่ง เกิดบิ๊กไอเดียสร้างธุรกิจเทรดดิ้งที่ให้บริการผู้ประกอบการเจาะตลาดต่างประเทศภายใต้คอนเซ็ปต์บริการแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียว ตั้งแต่การสนับสนุนด้านเงินทุน กระบวนการผลิตและจัดจำหน่ายผ่านช่องทางการจัดจำหน่าย เหมือน “ศูนย์กลางส่งออกสินค้าครบวงจร” ทั้ง online, offline, B2B, B2C และช่องทางร้านค้าปลอดภาษี การบริหารการส่งออก โดยตั้งเป้าหมายแรก คือ ตลาดจีนและวางแผนขยายครอบคลุมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ญี่ปุ่น เกาหลี หนึ่งบริษัท คือ กลุ่ม ที.เอ.ซี.คอนซูเมอร์ ผู้ประกอบธุรกิจจัดหา ผลิต และจำหน่ายเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ และสินค้าไลฟ์สไตล์

Read More

มองสัมพันธ์ จีน-อินเดีย ผ่าน BRICS Summit

การประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศ BRICS เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งอาจได้รับการประเมินจากผู้นำและสื่อบางประเทศว่ามีความสำคัญในฐานะที่ได้เข้าร่วมในการประชุมประเทศคู่สนทนาระหว่างผู้นำกลุ่มประเทศ BRICS กับประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา (Dialogue between Emerging Market Economies and Developing Countries : EMDCD) หากแต่ภายใต้กรอบโครงที่ใหญ่กว่านั้น BRICS Summit กำลังเป็นเวทีที่สองมหาอำนาจในเอเชีย ทั้งจีนและอินเดีย ต่างสำแดงพลัง และสร้างสมดุลใหม่ให้เกิดขึ้น แม้ว่า BRICS จะประกอบส่วนด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ แต่ความสนใจหลักจากการประชุมในครั้งนี้ ดูจะพุ่งประเด็นหลักไปที่บทบาทของจีนในการประกาศยุทธศาสตร์เชิงรุกผ่านกลไกของ EMDCD และท่าทีของจีนต่อความสัมพันธ์ทวิภาคีที่มีต่ออินเดีย มหาอำนาจอีกรายหนึ่งที่กำลังแสดงพลังคัดง้างบทบาทของจีนอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าจะอยู่ร่วมในกรอบความร่วมมือ BRICS ด้วยกันก็ตาม ความพยายามที่จะเพิ่มพูนและแข่งขันการมีบทบาทของจีนและอินเดียในเวทีเศรษฐกิจการเมืองโลกไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้น หากมีประวัติศาสตร์และพัฒนาการที่ต่อเนื่องยาวนาน ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่อาจเรียกได้ว่าทั้งรักทั้งชัง ที่ดำเนินไปด้วยความร่วมมือและขัดแย้งอยู่เป็นระยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจีนริเริ่มยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative (BRI) ตั้งแต่เมื่อช่วงปลายปี 2013 ซึ่งต่อมาได้รับการขนานนามในฐานะ The One

Read More

จาก OBOR สู่ ALIPAY การรุกคืบที่เป็นรูปธรรมจากจีน

ข่าวว่าด้วยสังคมไร้เงินสดในจีน ที่จุดพลุกระตุ้นความสนใจจากความสำเร็จของ ALIPAY ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบชำระเงินออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือชั้นนำของโลก และเป็นบริษัทในเครืออาลีบาบา กรุ๊ป ยักษ์ใหญ่ด้านอี-คอมเมิร์ซจากประเทศจีน ในด้านหนึ่งดูจะได้รับการประเมินอย่างจำกัดในฐานะที่เป็นเครื่องมือทางการเงินชนิดใหม่ที่เอื้ออำนวยความสะดวกในเชิงพาณิชย์ให้ดำเนินไปอย่างคล่องตัว แต่หากพิจารณาภายใต้กรอบโครงความเป็นไปทางยุทธศาสตร์ระดับมหภาคของจีน ทั้งในมิติของการประกาศนโยบายเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 หรือ The Silk Road Economic Belt and the 21st-century Maritime Silk Road รวมถึงความพยายามของจีนที่จะผลักดันให้เงินสกุลหยวนเป็นที่ยอมรับและมีบทบาทมากขึ้นในเศรษฐกิจการเมืองระดับนานาชาติ ผ่านการจัดตั้งธนาคาร Asian Infrastructure Investment Bank (AIIB) จังหวะก้าวของ ALIPAY ในการรุกคืบสร้างสังคมไร้เงินสดก็เป็นประหนึ่งข้อต่อเชื่อมในเชิงรูปธรรมให้กับยุทธศาสตร์ขนาดใหญ่ของจีนอย่างไม่อาจมองข้ามได้ การเกิดขึ้นและขยายตัวอย่างรวดเร็วของสังคมไร้เงินสด ภายใต้การนำของ ALIPAY ไม่ได้มีผลในการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางธุรกิจอี-คอมเมิร์ซอย่างจำกัดเท่านั้น หากแต่ในความเป็นจริงกลไกของสิ่งที่เกิดขึ้นนี้กำลังเป็นประหนึ่งการนำไปสู่การเกิดขึ้นของเงินสกุลใหม่ที่สามารถไหลบ่าและเคลื่อนย้ายสถานที่ไปได้อย่างเสรี ที่อยู่เหนือระเบียบข้อกำหนดไปไกล ยอดการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันทางการเงินที่มีมากถึงกว่า 600 ล้านครั้งในประเทศจีน ดำเนินไปอย่างมีอัตราเร่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะในช่วงระยะเวลาเพียง 2-3 ปีที่ผ่านมายอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันทางการเงินมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 3.4 เท่า จากระดับ 177 ล้านครั้งในปี 2014 มาสู่ระดับกว่า

Read More

ศรีลังกา: บนสมการถ่วงดุล มหาอำนาจจีน-อินเดีย

ในขณะที่สังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลไกภาครัฐพยายามเร่งหาผู้ลงทุนรายใหม่ๆ ด้วยการเดินสายขายโครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ EEC: Eastern Economic Corridor ด้วยหวังว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นประหนึ่งผลงานสำคัญ และช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยสามารถไถลตัวออกจากอาการติดหล่ม รวมถึงช่วยกู้ภาพลักษณ์ด้านผลงานการดำเนินงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่เข้ามายึดครองอำนาจการบริหารประเทศเป็นเวลากว่า 3 ปี ล่วงไปแล้ว หากแต่ในอีกฟากฝั่งหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ดินแดนที่เพิ่งฟื้นจากสงครามกลางเมืองและได้สัมผัสกับความสงบสันติมาได้ไม่ถึงทศวรรษกำลังต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งใหม่ สำหรับการพัฒนาในอนาคต โดยเฉพาะการเลือกและรักษาสมดุลแห่งอำนาจ จากการเข้ามามีบทบาททั้งในมิติของเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน โดยเอกชนและภาครัฐจากทั้งจีน อินเดีย และญี่ปุ่น ที่ต่างพร้อมแสดงตัวในการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ เพื่อก้าวสู่อนาคตที่สดใสร่วมกัน ศรีลังกา ซึ่งมีภูมิรัฐศาสตร์เป็นเกาะอยู่ทางตอนปลายของประเทศอินเดีย ถือเป็นพื้นที่ที่อินเดียเคยมีบทบาทนำมาตลอดในช่วงหลายทศวรรษแห่งประวัติศาสตร์ ก่อนที่จะสูญเสียพื้นที่และโอกาสให้กับจีน ในช่วงปี 2005 ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญก่อนที่รัฐบาลศรีลังกาจะเผด็จศึกและยุติสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อมากว่า 3 ทศวรรษลงได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดในปี 2009 รัฐบาลจีนแทรกเข้ามามีบทบาทในศรีลังกาด้วยการให้ความช่วยเหลือทางการทหารมูลค่ากว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2005 ซึ่งนับเป็นจังหวะก้าวที่สอดรับกับสถานการณ์ความต้องการของรัฐบาลศรีลังกาภายใต้การนำของ Mahinda Rajapaksa และเป็นจุดเริ่มต้นของทั้งการสานสายสัมพันธ์และการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ใหญ่ว่าด้วย String of Pearls และ One Belt, One Road (OBOR) ที่มีศรีลังกาประกอบส่วนอยู่ในยุทธศาสตร์นี้ด้วย การลงทุนของจีนในโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของศรีลังกาในยุคหลังสงครามกลางเมือง ดำเนินไปท่ามกลางอัตราเร่ง

Read More

NDB และ AIIB สองพลังขับเคลื่อน “พญามังกร”?

 ข่าวสารว่าด้วยความเป็นไปของสังคมไทยในช่วงเดือนกรกฎาคมดูเหมือนจะให้น้ำหนักกับปัจจัยทางเศรษฐกิจมากขึ้นทุกขณะ และมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคณะรัฐมนตรีอยู่เป็นระยะ ขึ้นอยู่กับจังหวะและโอกาสที่จะเกิดขึ้นเท่านั้น ขณะที่ในระบบเศรษฐกิจภาพใหญ่ในระดับนานาชาติ ความเป็นไปในช่วงเดือนกรกฎาคมที่กำลังจะผ่านไปนี้ กลับปรากฏแรงกระเพื่อมที่ส่งผลต่อดุลยอำนาจของโลกมากพอสมควร และอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ในระบบเศรษฐกิจการเมืองของโลกอย่างที่ไม่เคยมีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้นได้มาก่อน ต้องยอมรับว่า การประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศ BRICS ครั้งที่ 7 (7th BRICS Summit) ซึ่งประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ในช่วงระหว่างวันที่ 8-9 กรกฎาคม อาจจะถูกบดบังด้วยข่าวการทรุดตัวลงของราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จีน จนทำให้นักวิเคราะห์และผู้ลงทุนจำนวนไม่น้อยต่างหวั่นวิตกว่าเศรษฐกิจจีนอาจกำลังเผชิญกับภาวะฟองสบู่แตก หากแต่ผลของการประชุมและการผสานเสียงของกลุ่มผู้นำประเทศทั้ง 5 ในกรอบความร่วมมือของ BRICS กลับดังกังวานและเริ่มปรากฏรูปธรรมชัดเจนด้วยการเปิดสำนักงานของ NDB (New Development Bank) ในนครเซี่ยงไฮ้ ของจีนเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคมที่ผ่านมา และกำลังจะก้าวขึ้นมาเป็นจักรกลในการท้าทายขั้วอำนาจในระบบเศรษฐกิจการเงินของโลกรายเดิม ไม่ว่าจะเป็น ธนาคารโลก (World Bank) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)  แม้สถาบันการเงินแห่งใหม่นี้ จะมีโครงสร้างการถือหุ้นและสิทธิในการออกเสียงระหว่าง 5 ประเทศผู้ก่อตั้ง ที่ร้อยละ 20 อย่างเท่าเทียมกัน หากแต่ภายใต้การจัดตั้งกองทุนเงินสำรองเผื่อกรณีฉุกเฉิน

Read More

String of Pearls ไข่มุกบนจานหยกมังกร

 ข่าวการเยือนประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ของ Xi Jinping ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อช่วงกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นปรากฏการณ์ในแบบพิธีทางการทูตทั่วไปแล้ว การเดินทางเยือนดังกล่าว ยังเป็นกรณีที่บ่งชี้ถึงทิศทางและเข็มมุ่งแห่งวิสัยทัศน์ที่จีนกำหนดเป็นแนวนโยบายสำหรับอนาคตใหม่นี้ด้วย แม้ว่านักวิเคราะห์และผู้สันทัดกรณีจำนวนไม่น้อยจะให้ความสนใจและเฝ้ามองการพบกันของ Xi Jinping ผู้นำจีนและ Narendra Modi นายกรัฐมนตรีอินเดีย ในฐานะที่ต่างเป็นมหาอำนาจขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย แต่นัยความหมายของการเยือนมัลดีฟส์และศรีลังกา ก็มีความสำคัญไม่น้อยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากความมุ่งหมายของจีนในการขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจ การเมืองในระดับนานาชาติ ผ่านกรอบโครงความคิดว่าด้วย 21st Century Maritime Silk Route ดูจะเอื้อประโยชน์และจุดประกายความคิดที่สอดรับกับสถานการณ์ความเป็นไปที่เกิดขึ้นในศรีลังกาอย่างเด่นชัด เพราะหลังจากที่ Mahinda Rajapaksa สามารถสร้างเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศด้วยการยุติสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อยาวนานกว่า 3 ทศวรรษได้สำเร็จในปี 2009 และกำลังเดินหน้าสู่การเลือกตั้งเพื่อก้าวสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อปี 2010 ได้ประกาศแนวทางในการพัฒนาศรีลังกาให้ฟื้นคืนจากบาดแผลของประวัติศาสตร์สู่อนาคตใหม่ ภายใต้แนวนโยบายที่ได้รับการเรียกขานว่า Mahinda Chintana ด้วย “จินตภาพแห่งมหินทะ” ดังกล่าวนี้ ประกอบส่วนไปด้วยแนวความคิดที่จะพัฒนาและสร้างให้ศรีลังกาเป็น Regional 5 Hub หรือศูนย์กลางของกิจกรรม 5 ประการของภูมิภาค ไล่เรียงตั้งแต่การเป็นศูนย์กลางของการเดินสมุทร ศูนย์กลางของการเดินอากาศ ศูนย์กลางของความรู้ ศูนย์กลางด้านพลังงาน

Read More

ศรีลังกา เวทีประลองกำลังครั้งใหม่จีน-ญี่ปุ่น

 ขณะที่สังคมไทยกำลังให้น้ำหนักกับการคืนความสุขให้กับประชาชน และวาทกรรมบนแท่น Podium อีกฟากหนึ่งในมหาสมุทรอินเดีย ประเทศเล็กๆ ที่มีจำนวนประชากรประมาณ 22 ล้านคน กำลังให้การต้อนรับผู้นำระดับสูงของชาติมหาอำนาจสำคัญ 2 รายในเวลาไล่เรียงกัน การเดินทางเยือนศรีลังกาอย่างเป็นทางการของ Shinzo Abe นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 7-8 กันยายน ติดตามมาด้วยการเยือนของ Xi Jinping ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 16-17 กันยายน ได้สะท้อนภาพที่น่าสนใจในกลเกมยุทธศาสตร์และการพัฒนาที่กำลังจะเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงถึงความมุ่งหมายของศรีลังกาที่จะสร้างแรงบันดาลใจและความรุ่งเรืองครั้งใหม่ผ่านโครงการ Colombo Port City ซึ่งจะเป็นประหนึ่งจุดเชื่อมต่อที่สำคัญสำหรับการเดินทางใน 21st Century Maritime Silk Route ที่หลายฝ่ายกำลังให้ความสนใจ อภิมหาโครงการลงทุนขนาด 1.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐนี้ ถือเอาโอกาสการเดินทางเยือนศรีลังกาของ Xi Jinping ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นปฐมฤกษ์ในการเริ่มต้นก่อสร้างโครงการเมื่อวันที่ 17 กันยายนที่ผ่านมา และกลายเป็นหมุดหมายที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการเริ่มต้นปลุกพลังทางเศรษฐกิจของศรีลังกาให้กลับมาคึกคักอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน Colombo Port City จึงเป็นประหนึ่งไฮไลต์ของการเยือนศรีลังกาโดยผู้นำจีนในครั้งนี้ และกำลังจะเป็นการพลิกเปลี่ยนภูมิทัศน์ของศรีลังกาไปตลอดกาล โครงการที่ประกอบส่วนไปด้วยอาคารสำนักงาน กลุ่มโรงแรม อพาร์ตเมนต์

Read More

มองทุนจีนผ่านธุรกิจสื่อ ดึง “ซิงเสียนเยอะเป้า” สู่ AEC

 บรรดาหนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทยที่มีอยู่ 5-6 หัว “ซิงเสียนเยอะเป้า” นับเป็นหนังสือพิมพ์จีนที่มีประวัติยาวนานที่สุด และเป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาจีนที่มียอดขายสูงที่สุดในประเทศไทย ในอดีตหนังสือพิมพ์จีนฉบับนี้ได้รับความนิยมสูงจนได้ชื่อว่าเป็น “ไทยรัฐ” ภาคภาษาจีน แต่ช่วงหลังการอ่านหนังสือพิมพ์จีนค่อยๆ ลดลงพร้อมกับความนิยมในหัวหนังสือพิมพ์จีนเหล่านั้นกระทั่งเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ซิงเสียนเยอะเป้ากลับมาอยู่ในความสนใจของสื่อมวลชน คนจีนในเมืองไทย องค์กรการค้าการลงทุนและสมาคมชาวจีน รวมถึงบริษัทและห้างร้านเชื้อสายจีนอีกครั้ง เมื่อหนังสือพิมพ์ฉบับเก่าแก่นี้ประกาศร่วมทุนกับ “หนานฟาง” กลุ่มสื่อยักษ์ใหญ่จากประเทศจีน ซิงเสียนเยอะเป้าก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2493 โดย หู เหวิน หู่ และหู เหวิน เป้า สองพี่น้องชาวจีนโพ้นทะเลผู้มีชื่อเสียงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นเจ้าของกิจการยาหม่องตราเสือ กิจการหนังสือพิมพ์ซิงเสียนเยอะเป้าตกทอดมาสู่ลูกหลานตระกูลหูเรื่อยมาก กระทั่งวันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 “สดาวุธ เตชะอุบล” ประธานกรรมการบริษัท คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เข้ามาเทกโอเวอร์“ผมเข้ามาเทกโอเวอร์เมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว ช่วงนั้นหนังสือพิมพ์จีนส่วนใหญ่ยังไม่ได้มาตรฐาน ผมเข้ามาเพื่อปรับปรุงให้ซิงเสียนเยอะเป้ามีเทคโนโลยี

Read More