Home > CPF (Page 3)

ซีพี เปิดศึกอาหารสุขภาพ รุกตลาดเรดดี้มีลหมื่นล้าน

การเปิดตัวอาหารเพื่อสุขภาพแบรนด์ล่าสุด “สมาร์ทมีล (Smart Meal)” ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ “ซีพีเอฟ” สะท้อนเกมรุกธุรกิจอาหารขั้นต่อไปของเครือซีพีและย้ำชัดถึงวิสัยทัศน์ของธนินท์ เจียรวนนท์ ซึ่งกำลังต่อยอดผนึกแผนสร้าง “ครัวโลก” และ “ธุรกิจอาหารยุค 4.0” ภายใต้แนวคิด 3 สูง 1 ต่ำ คือเทคโนโลยีสูง ประสิทธิภาพสูง และการลงทุนสูง เพื่อนำมาสู่ต้นทุนที่ต่ำลง เทคโนโลยีสูง คือ มีผู้ช่วยหลัก “หุ่นยนต์” ที่สามารถทำงานได้ 24 ชั่วโมง ประสิทธิภาพสูง คือ การเร่งยกระดับทรัพยากรบุคคลในองค์กรทดแทนการใช้แรงงานและภายใต้สังคมยุคข้อมูลข่าวสารที่ดีขึ้นจะทำให้องค์ความรู้เรื่องการผลิตอาหารดีมากขึ้นด้วย ซึ่งทั้งหมดต้องอาศัยการลงทุนสูง ธนินท์ยังระบุผ่านสื่อเมื่อเร็วๆ นี้ว่า “สิ่งที่ซีพีมองหลังจากนี้ คืออาหารในอนาคตที่มีความหลากหลาย และเจาะกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันมากขึ้น เป็นการผลิตอาหารสำหรับการมีสุขภาพที่ดี ทำให้คนเจ็บป่วยน้อยลง เน้นการป้องกันตัวเองมากกว่าการรักษา อาหารสุขภาพจะตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุ คนเราอาจอยู่ได้ยืนยาวกว่า 100 ปี และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ซีพีกำลังเตรียมผลิตอาหารเพื่อคนสูงอายุและก้าวเข้าสู่ธุรกิจการดูแลผู้สูงอายุอย่างครบวงจร” ทั้งนี้ ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขคาดการณ์ว่า

Read More

CP รุกสงครามค้าปลีก เจาะ “เทสโก้–บิ๊กซี”

  ปี 2560 หลังจากใช้เวลาเกือบ 2 ปี จัดระเบียบธุรกิจค้าปลีก Food Retail และเผยโฉม “ซีพีเฟรชมาร์ท” โมเดลล่าสุด “คอมแพคซูเปอร์ (Compact Super)” ล่าสุด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ “ซีพีเอฟ” ประกาศเดินหน้าแผนรุกตลาด เปิดสงครามครั้งใหม่ เร่งสปีดผุดสาขาเพิ่มขึ้น รีโนเวตสาขาเก่า ที่สำคัญอัดกลยุทธ์ทั้งออฟไลน์–ออนไลน์ เพื่อขยายฐานลูกค้ากลุ่มเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เบื้องต้น ซีพีเอฟตั้งเป้าขยายร้านซีพีเฟรชมาร์ทโมเดลใหม่ในปีนี้ จำนวน 100 สาขา และทยอยรีโนเวตสาขาเดิม จากปัจจุบันมีสาขารวมทั้งสิ้น 420 แห่ง และเป็นสาขารูปแบบคอมแพคซูเปอร์แล้ว 100 แห่ง ชัยยุทธ ทิพย์สุวรรณพร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ “ซีพีเอฟ” เปิดเผย “ผู้จัดการ360 ํ” ว่า

Read More

ซีพี ยกเครื่อง “เฟรชมาร์ท” ลุย “คอมแพคซูเปอร์” ฉีกตลาด

  “Compact Super คือโมเดลที่ใช่แล้ว และจะเดินหน้าต่อในอนาคต...” ชัยยุทธ ทิพย์สุวรรณพร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ “ซีพีเอฟ” ย้ำกับ “ผู้จัดการ 360  ํ” ในร้านซีพีเฟรชมาร์ทโฉมใหม่ สาขาเสนานิคม ซึ่งเพิ่งเปิดตัวเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ และถือเป็นการยกเครื่องธุรกิจ “ซีพีเฟรชมาร์ท” ครั้งล่าสุด หลังจากเขย่าโมเดลหลายรอบตลอดระยะเวลา 13 ปีที่ผ่านมา แน่นอนว่า การเริ่มต้นธุรกิจค้าปลีก Food Retail ของซีพีเอฟมีเป้าหมายเพื่อเป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้าจากโรงงานในเครือสู่มือผู้บริโภค และขยายสัดส่วนรายได้ก้อนใหญ่ เพราะปัจจุบันธุรกิจของซีพีเอฟยังเน้นธุรกิจต้นน้ำและกลางน้ำ คือ ธุรกิจอาหารสัตว์ (Feed) และธุรกิจการเลี้ยงสัตว์ (Farm) รวมกันถึง 80% แต่ธุรกิจปลายน้ำอย่างผลิตภัณฑ์อาหาร (Food) สู่ตลาดผู้บริโภคยังมีเพียง 12% เท่านั้น  ขณะเดียวกัน แม้ดูเหมือนอาณาจักรเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) มีช่องทางค้าปลีกมากมาย ทั้งธุรกิจค้าส่งแม็คโครและร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น แต่ธงหลักอยู่ที่การสร้างช่องทางจำหน่ายที่ส่งต่อสินค้าจากเครือซีพีแบบเต็มๆ 100% เพื่อขยายตลาดและปลุกปั้นแบรนด์ในฐานะ

Read More

“ซีพี” รุกนิวคอนเซ็ปต์ ไลฟ์สไตล์คอมแพคซูเปอร์ฯ

เกือบ  8 ปี บนเส้นทางการขยายเข้าสู่ช่องทางค้าปลีกของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ภายใต้แบรนด์ “ซีพี” โดยมีบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ “ซีพีเอฟ” เป็นตัวขับเคลื่อนตามนโยบายใหญ่จากประธาน ธนินท์ เจียรวนนท์ มีการปรับเปลี่ยน Business Model หลายรอบ แก้จุดอ่อน หาจุดแข็ง และเสริมสิ่งเติมเต็มที่เหมาะสมกับโจทย์ทางการตลาด ล่าสุดยกเครื่องและเขย่าอีกรอบ โดยตั้งเป้าปี 2557 สร้างความแข็งแกร่งเพื่อเป็นผู้นำตลาด Food Retail ในเมืองไทยและยกขบวนหน้าร้านทุกโมเดลบุกตลาดโลกเต็มรูปแบบในปี 2558   ภายใต้จุดแข็งข้อสำคัญ คือการเป็น Food Convenience Store ที่ดีที่สุด จากจุดเริ่มต้น การเปิดเอาท์เล็ต “เอฟมาร์ท” จำหน่ายเนื้อสัตว์ หมู ไก่ ไข่ ขยายเป็น “ซีพีเฟรชมาร์ท” เปิดหน้าร้านที่มีสีสันมากขึ้น เพิ่มความหลากหลายของสินค้า ไม่ใช่แค่เนื้อสัตว์ดิบๆ แต่พัฒนาเข้าสู่การเป็น “ห้องครัวของชุมชน”

Read More

“ฟาร์มกุ้ง โมเดล” ตอกย้ำทฤษฎี “เจ้าตลาด” ของ CPF

 แม้กำไรสุทธิในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2556 ของ บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ ซีพีเอฟ (CPF) จะสูงถึง 5,311 ล้านบาท ขณะที่ยอดขายรวมอยู่ที่ 285,886 ล้านบาท แต่ถึงอย่างนั้น “อดิเรก ศรีประทักษ์” กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหารแห่ง CPF ออกมายอมรับว่า รายได้ปีนี้ของบริษัทน่าจะไต่ไม่ถึงเป้า 4 แสนล้านบาท  โดยมีสาเหตุหลักมาจากผลกระทบของโรคตายด่วนในกุ้ง หรือ EMS (Early Mortality Syndrome) ซึ่งสร้างผลกระทบรุนแรงต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจกุ้งของ CPF มากกว่าที่บริษัทคาดไว้ ซึ่งส่งผลให้การผลิตกุ้งของ CPF ในปีนี้หายไปเกือบครึ่งคือ จาก 6-7.5 หมื่นตัน เหลือเพียงกว่า 3 หมื่นตัน  ใกล้เคียงกับภาพรวมผลผลิตกุ้งของประเทศปี 2556 ซึ่งลดลงถึง 54% คือจาก 5.4 แสนตัน ในปี 2555

Read More

“ครัวไทยสู่โลก” เข็มมุ่งของผู้ประกอบการไทย

 การประกาศรุกตลาดต่างประเทศของผู้ประกอบการด้านอาหารของไทย ดูจะกลายเป็นยุทธศาสตร์และแนวโน้มที่ไม่อาจเลี่ยงได้ในอนาคต หลังจากที่ประเทศไทยวางยุทธศาสตร์ประเทศไว้ที่การเป็นครัวของโลกมานาน เกือบทศวรรษที่ผ่านมา เครือเจริญโภคภัณฑ์รุกเข้าไปลงทุนและวางโครงข่ายการผลิตในประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง และนับเป็นทุนไทย หรือผู้ประกอบการไทย ที่มีลำดับขั้นการพัฒนาทางธุรกิจสอดรับกับยุทธศาสตร์ของชาติมากที่สุดหลายหนึ่ง ก่อนหน้านี้ CPF เคยรุกตลาดญี่ปุ่นด้วยการร่วมลงทุนกับ Yonekyu Corp. บรรษัทผู้ประกอบการผลิตและแปรรูปเนื้อสัตว์ขนาดกลางจากญี่ปุ่น ด้วยการจัดตั้งบริษัท CP-Yonekyu เมื่อช่วงปลายปี 2004 เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ของ CPF ภายใต้ความมุ่งหวังว่าระดับการพัฒนาและเทคโนโลยีทางการผลิตของ Yonekyu อาจช่วยลดทอนระยะเวลาและเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นในอนาคต หลังจากที่ CPF ต้องได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ไข้หวัดนก ในช่วงก่อนหน้านั้นข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ในแต่ละปีญี่ปุ่นนำเข้าไก่สดแช่เย็น-แช่แข็ง และไก่แปรรูปจากประเทศไทยมีมูลค่าเฉลี่ยกว่า 16,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 47-52 ของมูลค่าการส่งออกเนื้อไก่ของไทย การสูญเสียตลาดส่งออกไก่ดังกล่าวได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตและแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ขึ้นมารองรับกับรายได้ที่หดหายไปด้วยแต่การปรับตัวของผู้ประกอบการไทย ย่อมมิได้เกิดขึ้นโดยลำพัง ท่ามกลางสุญญากาศที่ปราศจากคู่แข่งขันในการช่วงชิงช่องทางธุรกิจนี้ เพราะผู้ประกอบการเลี้ยงสุกรทั้งจากยุโรปและอเมริกา ต่างติดตามสถานการณ์และความเชื่อที่ว่า “วิกฤตของไก่คือโอกาสของหมู”CPF พยายามขยายบริบททางธุรกิจให้กว้างขวางออกไปจากปริมณฑลของไก่ โดยได้ขยายบริบททางธุรกิจเข้าสู่ Aquaculture และการขยายฐานรายได้ในหมวด Hams & Sausages รวมถึงธุรกิจแปรรูปอาหาร (processed foods) อีกหลากหลายที่กำลังมีบทบาทสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของ

Read More

ส่องทิศทางธุรกิจอาหารเครือซีพี ผ่านวิสัยทัศน์ “เจ้าสัวธนินท์”

 เป็นประจำทุกปีที่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF จะจัดงานเลี้ยงขอบคุณคู่ค้าและพันธมิตร แต่ความพิเศษของงานในปีนี้ ซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อค่ำคืนวันที่ 25 ตุลาคม ที่ผ่านมา อยู่ที่การปาฐกถาพิเศษโดย “ธนินท์ เจียรวนนท์” ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปีของ CPF พร้อมกับฉลองการก้าวขึ้นสู่ “เบอร์ 1” ในธุรกิจอาหารสัตว์โลกนอกจากการกล่าวขอบคุณเกษตรกรและพันธมิตรคู่ค้า เจ้าสัวซีพียังย้อนอดีตของธุรกิจอาหารสัตว์เครือซีพีพร้อมด้วยกุญแจความสำเร็จตลอด 60 ปี ทั้งยังกล่าวถึงแนวโน้มและทิศทางความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกธนินท์พูดเสมอว่า “โลกเปลี่ยนแปลง เราต้องเตรียมใจและต้องเปลี่ยนแปลงตามโลกให้ทัน” ซึ่งแน่นอนว่า ความเปลี่ยนแปลงของโลกที่อยู่ในความสนใจของธนินท์ ย่อมหมายถึง “มูลค่าธุรกิจ” ที่จะส่งผลต่ออนาคตและทิศทางของธุรกิจในเครือซีพีทั้งหมด โดย ผู้จัดการ 360 ํ สรุปประเด็นสำคัญมาพอสังเขป ดังต่อไปนี้“ถ้ายังมีมนุษย์อยู่ ธุรกิจซีพีก็อยู่ได้”“ธุรกิจการเกษตรไปจนถึงธุรกิจอาหารสัตว์ และต่อยอดไปถึงธุรกิจอาหารมนุษย์ ทั้งหมดนี้จะเป็นธุรกิจที่จะอยู่คู่กับมนุษย์ ฉะนั้นถ้าเมื่อไหร่ไม่มีมนุษย์ เมื่อนั้นธุรกิจซีพีถึงจะอยู่ไม่ได้” คำกล่าวของเจ้าสัวซีพี ปรากฏบ่อยครั้ง ไม่ได้เฉพาะบนเวทีครบรอบ

Read More

“ซีพี ฟู้ดเวิลด์” โลกทั้งใบ ภายใต้ “แบรนด์” เดียว

 ความพยายามสร้างโมเดลธุรกิจค้าปลีกของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ถือเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ที่เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ต้องการบรรลุเป้าหมาย เพราะไม่ใช่แค่กลยุทธ์สร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบอาหารที่มีมากมายอยู่ในมืออีกหลายสิบเท่า หลายร้อยเท่า และหลายพันเท่า แต่ยังเป็นการขยายช่องทางจำหน่ายและหน้าร้าน เพื่อกระจายสินค้าถึงมือกลุ่มเป้าหมายใหม่ทั่วโลก  ปัจจุบันโครงสร้างค้าปลีกของซีพีแยกเป็น 2 ส่วน คือ กลุ่มร้านอาหาร (Restuarant) ได้แก่ เชสเตอร์กริลล์ ธุรกิจห้าดาว ร้านอาหารจานด่วน “ซีพีคิทเช่น” ร้านเดอะกริลล์ ร้านสเต๊กหมูคูโรบูตะ สเต๊กปลา สแน็กทูโก และอีซี่สแน็ก ซึ่งกลุ่มนี้มีการขยายแบรนด์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มเมนูอาหารยอดนิยม และล่าสุดขยายเพิ่มอีก 2 แบรนด์ คือ ข้าวขาหมู “โป๊ยก่ายตือคา” ข้าวไข่เจียว และเพิ่มร้าน Otop thai เข้ามาทดลองขายสินค้ากลุ่มอาหารโอท็อปจากชุมชนต่างๆ  อีกกลุ่ม คือค้าปลีกอาหาร (Food Retail) ซึ่งช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมามีการปรับและยกเครื่องหลายครั้งตั้งแต่เริ่มเปิดร้าน “ซีพีเฟรชมาร์ท” ทดลองตลาดเมื่อ 7 ปีก่อน และปรับใหม่อีกครั้ง แยกเป็น

Read More