Home > AEC (Page 2)

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ ถ้ำผู้นำ เมืองเวียงไซย

นอกจากความงดงามของธรรมชาติที่เป็นเสน่ห์ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนแขวงหัวพัน แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวยอมเดินทางเป็นระยะทางไกลเพื่อมายังแขวงหัวพัน คือ อนุสรณ์สถาน “ถ้ำท่านผู้นำ” เมืองเวียงไซย สถานที่ที่มีร่องรอยของเรื่องราวในประวัติศาสตร์สมัยสงครามอินโดจีน ที่ยังหลงเหลือให้ชนรุ่นหลังได้สัมผัส หลังจากชาร์จแบตเตอรี่ให้กับตัวเองด้วยธรรมชาติที่งดงามของเมืองซำเหนือ แขวงหัวพันแล้ว เป้าหมายต่อไปของเราคือ “เมืองเวียงไซย (Vieng Xia)” เมืองเล็กๆ ที่อยู่ในแขวงหัวพัน อดีตศูนย์บัญชาการใหญ่ของกองทัพปลดปล่อยประเทศลาว เมืองเวียงไซย อยู่ห่างจากซำเหนือซึ่งเป็นเมืองเอกของแขวงหัวพันเพียง 30 กิโลเมตร มีรถสองแถวขนาดเล็กวิ่งรับส่งจากซำเหนือไปเวียงไซยวันละหนึ่งรอบในตอนเช้า ถึงแม้จะเป็นรถประจำเส้นทางแต่ก็ไม่ได้วิ่งทุกวันขึ้นอยู่กับจำนวนผู้โดยสาร เพราะความที่เมืองเวียงไซยอยู่ไม่ไกลจากซำเหนือ ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงใช้พาหนะส่วนตัวและรถอีแต๋นเอาเสียมากกว่า อีกทางหนึ่งคือเช่ารถสองแถวที่วิ่งบริการในเมืองซำเหนือ คล้ายกับรถแท็กซี่จะแชร์ค่าโดยสารกับคนอื่นหรือจะเหมาทั้งคันก็ได้ รถสองแถวลักษณะนี้มีอยู่เยอะ ตกลงนัดแนะเวลาและเจรจาค่าโดยสารได้กับคนขับโดยตรง มีทั้งแบบเหมาทั้งคันเพื่อไปส่งที่เวียงไซยอย่างเดียว แบบนำเที่ยวด้วย หรือจะพาไปส่งและรอรับกลับ สนนราคาแตกต่างกันออกไป แต่ไม่ได้แพงจนเกินไปนัก นักท่องเที่ยวที่ต้องการไปเที่ยวเมืองเวียงไซยแบบเช้าไปเย็นกลับ การเลือกใช้บริการเหมารถสองแถวถือว่าสะดวกทีเดียว แต่มีอีกหนึ่งทางเลือกที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวผมทองคือการเช่ารถมอเตอร์ไซค์ขับไปเอง ขับรถขึ้นเขาได้สัมผัสธรรมชาติแบบไม่มีอะไรปิดกั้น แต่ด้วยความที่เส้นทางจากซำเหนือไปยังเมืองเวียงไซยยังคงเป็นถนนที่ตัดเลียบเลาะเทือกเขา ดังนั้นความชำนาญในการขับขี่และคำนึงถึงความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อการเดินทางจะได้ไม่หยุดชะงัก จากซำเหนือเราใช้เวลาเดินทางไม่ถึงหนึ่งชั่วโมงก็มาถึงเมืองเวียงไซย ซึ่งตลอดเส้นทางยังคงเป็นป่าเขาและธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์งดงามอันเป็นเสน่ห์ของแขวงหัวพัน เมืองเวียงไซย เมืองเล็กๆ ที่อยู่ห่างไกล แต่ถือเป็นเมืองที่เป็นหัวใจของการท่องเที่ยวของแขวงหัวพัน เพราะเป็นเมืองที่มีลักษณะทางธรรมชาติที่สวยงาม ป่าไม้เขียวขจี ทุ่งนายาวเหยียดที่ทอดไปตามแนวภูผา ภูเขาหินปูนที่ตั้งเรียงรายเสมือนหนึ่งเป็นกำแพงทางธรรมชาติที่โอบล้อมเมืองทั้งเมืองไว้ มีบึงขนาดใหญ่อยู่กลางเมือง และเป็นเมืองที่มีอากาศเย็นสบายตลอดปีแม้จะเป็นช่วงฤดูร้อนก็ตาม ถ้ำผู้นำ แม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวแห่งเมืองเวียงไซย สิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนเมืองเวียงไซยไม่ได้มีเฉพาะธรรมชาติที่งดงามเท่านั้น

Read More

“ความสามารถ+พันธมิตร” ทางรอด SMEs ในยุค AEC ?

 ความเป็นไปของ AEC ดูจะแผ่ซ่านครอบคลุมไปในทุกบริบท ไล่เรียงตั้งแต่มิติทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม แต่ประเด็นที่กำลังสร้างความกังวลใจอย่างกว้างขวางน่าจะอยู่ที่อนาคตของ SMEs ไทยว่าจะดำเนินไปอย่างไรในกระแสธารแห่ง AEC ที่ว่านี้ แม้ว่าในความเป็นจริง SMEs ในหลายภาคอุตสาหกรรมจะถือเป็นธุรกิจที่มีอนาคตสดใส ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ สินค้าเกษตร อาหารแปรรูป พลังงานทดแทน รวมถึงกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพ บริการ เพราะมีโอกาสทางการค้าอยู่มากมาย และSMEs ของไทยก็มีศักยภาพที่จะก้าวไปสู่ตลาดภายนอกได้ โดยเฉพาะเมื่อมีการเปิด AEC  แต่ด้วยข้อจำกัดของขนาดธุรกิจที่อาจจะยังไม่แข็งแรงพอที่จะสร้างอำนาจต่อรองในการแข่งขัน ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs จำนวนไม่น้อยต้องอยู่ในภาวะชะงักงัน ซึ่งทางออกของประเด็นนี้ในด้านหนึ่งอยู่ที่การส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มจับมือกับพันธมิตร เพื่อสร้างพลังในการขับเคลื่อนธุรกิจ ช่วยลดต้นทุนการดำเนินการ ทั้งในมิติของค่าขนส่ง ค่าวัตถุดิบ การแลกเปลี่ยนวิธีในการบริหารจัดการและเทคโนโลยี เพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในอนาคต ประเด็นที่สำคัญอย่างยิ่งที่กลุ่ม SMEs ต้องตระหนักและเร่งดำเนินการ อยู่ที่การเก็บข้อมูลเพื่อมาพัฒนา สินค้าและบริการ สร้างคุณค่าคุณภาพ ไปสู่มาตรฐาน ไปสู่ลูกค้ากลุ่มที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นลำดับขั้นของการพัฒนา SMEs จากธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง ให้เติบโตเป็นธุรกิจขนาดใหญ่และเป็นบริษัทระดับโลก ที่ทันสมัย ซึ่งมีประเด็นว่าด้วยการปรับเปลี่ยนประสิทธิภาพของการผลิตและแข่งขันเป็นปัจจัยสำคัญ ทัศนะว่าด้วยการพัฒนา SMEs

Read More

“Kitchen of Myanmar” และนโยบาย 3 ประโยชน์ของซีพี

 ประเทศเมียนมาร์กำลังเป็นที่สนใจของนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ ในด้านหนึ่งเป็นเพราะเมียนมาร์มีทั้งความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ พลังงาน ก๊าซธรรมชาติ และแร่ธาตุต่างๆ ขณะเดียวกัน ถ้ามองในเชิงภูมิศาสตร์ ที่ตั้งของเมียนมาร์ก็มีความสำคัญอย่างมาก ด้วยว่ามีพรมแดนที่เชื่อมต่อถึง 5 ประเทศ ซึ่ง 2 ใน 5 ประเทศนั้น เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ติดอันดับโลก ทั้งจีนและอินเดีย นอกจากนี้ เมียนมาร์ยังมีทางออกสู่ทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล จึงทำให้สามารถเชื่อมโยงการขนส่งทางทะเลกับต่างประเทศได้สะดวก ดังนั้น หากมองในมิตินี้เมียนมาร์ก็จะสามารถเป็นฐานการผลิตและส่งออกที่ไม่แพ้ใครในอาเซียน และทำให้มีความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันไม่ใช่น้อย มิติมุมมองว่าด้วยเมียนมาร์นี้ ยังประกอบส่วนด้วยความเป็นประเทศที่มีอัตราค่าจ้างแรงงานที่อยู่ในระดับต่ำ จึงเป็นฐานกำลังของอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานได้ดี ขณะเดียวกันก็เป็นประเทศที่มีกำลังซื้อ เนื่องด้วยมีจำนวนประชากรมากถึง 58 ล้านคน ถือได้ว่าเป็นตลาดที่ขนาดใหญ่ทีเดียว ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้เมียนมาร์เป็นแม่เหล็กดึงดูดความสนใจของนักลงทุนเป็นอย่างดี ประเด็นดังกล่าวทำให้พลันที่รัฐบาลเมียนมาร์ส่งสัญญาณเปิดประเทศและปฏิรูปประชาธิปไตย นักลงทุนจำนวนมากที่เล็งเห็นโอกาสนี้ก็เดินทางเข้าไปดูลู่ทาง และเริ่มหาพันธมิตรปักหลักทำธุรกิจกันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามสัจธรรมที่ผู้คนในเครือข่ายของซีพี มักพูดกันเสมอๆ ว่า “ที่ใดมีหนอนเยอะที่นั่นก็ย่อมมีนกเยอะ” สำหรับเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี เข้าไปลงทุนในเมียนมาร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 จากการที่มองเห็นศักยภาพตลาดที่มีขนาดใหญ่ และมีความเพียบพร้อมของวัตถุดิบ ขณะที่ซีพีมีทั้งองค์ความรู้ และมีเทคโนโลยีในเกษตรอุตสาหกรรม พันธกิจของซีพีในเมียนมาร์กำหนดไว้ชัดเจนว่าจะมีเป้าหมายสู่การเป็น “Kitchen of Myanmar” และตลอดเวลาที่ผ่านมา

Read More

ทวาย: นัยความหมายทางยุทธศาสตร์

การเดินทางเยือนเมียนมาร์ ของนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ภายใต้ภารกิจสำคัญว่าด้วยการเยี่ยมชมความคืบหน้าของโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย กลายเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงและตั้งข้อสังเกตอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประพฤติกรรมที่ทำให้หลายฝ่ายเคลือบแคลงสงสัยเกี่ยวกับความเหมาะสมและประเด็นว่าด้วยผลประโยชน์ทับซ้อนที่พร้อมจะเป็นไปเพื่อสร้างความมั่งคั่งเฟื่องฟูให้กับเครือข่าย สิ่งหนึ่งที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ควรจะต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์ และควรตระหนักจากปรากฏการณ์ดังกล่าว ในด้านหนึ่งอยู่ที่ความด้อยประสิทธิภาพในงานสารนิเทศ ที่ไม่สามารถสื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชน หรือแม้แต่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้อย่างชัดเจนว่า รัฐบาลมีแนวทางและกำหนดบทบาทในเชิงยุทธศาสตร์ในเรื่องนี้ไว้อย่างไร โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายอาจเป็นโครงการที่มีความสืบเนื่องมาจากฐานรากที่บริษัทเอกชนไทย ได้รับสัมปทานในการพัฒนาพื้นที่ ก่อสร้าง และหาแหล่งทุน ที่มีลำดับขั้นและพัฒนาการมาตั้งแต่เมื่อช่วงกลางปี 2551 ก่อนที่จะมีการลงนามในข้อตกลงเรื่องสิทธิในการพัฒนาและดำเนินการบริหารโครงการทวายตามระยะเวลาการเช่าที่ดิน เป็นเวลามากกว่า 75 ปี ในช่วงปลายปี 2553 หากประเมินในมิติที่ว่านี้ โครงการดังกล่าวย่อมเป็นเพียงเรื่องราวความเป็นไประหว่างเอกชนไทยรายหนึ่ง ที่ได้เข้าไปเป็นคู่สัญญากับรัฐบาลแห่งเมียนมาร์ โดยที่เอกชนรายที่ว่าก็คงอยู่ในตำแหน่งและบทบาท ไม่แตกต่างจาก “นายหน้าที่วิ่งเร่ขายโครงการ” ให้กับผู้ร่วมทุนหรือผู้ประกอบการรายอื่นๆ ประเด็นที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ในห้วงที่พรรคประชาธิปัตย์ยังเรืองอำนาจในฐานะรัฐบาล ก็เคยวาดหวังจะให้โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายเป็นจักรกลในการผลิตสร้างเมกะโปรเจกต์ โดยอลงกรณ์ พลบุตร ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เคยประกาศบนเวทีปาฐกถาเรื่อง “GMS ในทศวรรษใหม่” ที่ จ. เชียงราย เมื่อต้นปี 2553 ว่า จะผลักดันท่าเรือน้ำลึกทวาย เป็นส่วนหนึ่งในอภิมหาโครงการเชื่อมตะวันออก-ตะวันตกที่สำคัญและใหญ่ที่สุดในอาเซียน ภายใต้ความร่วมมือไทย-เมียนมาร์ แต่ความเป็นไปและคืบหน้าของโครงการพัฒนาดังกล่าวกลับขึ้นสู่กระแสสูงในช่วงกลางปี 2555

Read More

Moly Care ปั้นแบรนด์ไทย ก้าวสู่ตลาด AEC

แบรนด์ Moly care หนึ่งในแบรนด์เอสเอ็มอีไทย ที่มีความฝันจะก้าวไปสู่ตลาด AEC ได้เตรียมตัวล่วงหน้ามาเป็นเวลา 5 ปี โดยใช้โมเดลธุรกิจแฟรนไชส์เป็นยุทธศาสตร์รุกและรับในเวลาเดียวกัน ความคืบหน้าในการรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ทั้ง 10 ประเทศที่จะเกิดขึ้นในปี 2558 เริ่มจากธุรกิจการค้า (trading) ได้สร้างความกระตือรือร้นให้กับผู้ประกอบการโดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอีในประเทศไทยเริ่มมองหาโอกาสอย่างต่อเนื่อง แม้ในประเทศไทยจะมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกว่า 2 ล้านราย ทว่ายังมีจำนวนน้อยที่ให้ความสนใจการเปิดเสรีการค้าภายใต้ความร่วมมือ AEC อาจเป็นเพราะยังไม่เข้าใจความหมายอย่างถ่องแท้และไม่รู้สภาพการแข่งขันว่าจะเผชิญกับสิ่งใด ในขณะที่เอสเอ็มอีส่วนใหญ่ยังไม่เห็นโอกาส แต่เอสเอ็มอีอย่างบริษัท โมลี จำกัด กลับเตรียมตัวล่วงหน้ามาเป็นเวลา 5 ปี และมีเป้าหมายชัดเจนที่จะออกไปขยายและเติบโตในตลาด AEC บริษัท โมลี จำกัด ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ถือหุ้นโดยครอบครัวกาญจนบัตร 100 เปอร์เซ็นต์ ให้บริการภายใต้แบรนด์โมลี แคร์ บริการล้างสี ดูดฝุ่น

Read More

สัญญาณจากดอย “ไตแลง”

กลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ท่ามกลางบรรยากาศการตั้งโต๊ะเจรจาสันติภาพระดับสหภาพ ครั้งที่ 2 ณ ห้องประชุม บก.ภาคสามเหลี่ยม เมืองเชียงตุง สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ระหว่างสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน (Restoration Council of Chan State: RCSS) และกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ (Shan State ARMY: SSA) ซึ่งมี พล.ท.เจ้ายอดศึกในฐานะประธาน RCSS เป็นหัวหน้าคณะกับตัวแทนรัฐบาลพม่า มี พล.อ.โซวิน รอง ผบ.ทหารสูงสุด ผบ.ทบ. และรองประธานคณะทำงานฝ่ายรัฐบาลพม่าคนที่ 1 เป็นหัวหน้าคณะ ก่อนที่ผู้นำ RCSS/SSA จะเดินทางต่อจากเชียงตุงไปตามเส้นทาง R3b เข้า หารือร่วมกับเจ้าจายลืน หรือจายเริญ ผู้นำเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ 4 (เมืองลา) บริเวณพรมแดนพม่า-เขตปกครองตนเองสิบสองปันนา มณฑลหยุนหนัน สาธารณรัฐ ประชาชนจีนที่มีข้อตกลงหยุดยิงกับรัฐบาล พม่ามาแล้ว 23 ปี

Read More